18 มิ.ย. 2555

สรุปวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่2

นักศึกษาและผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเนื้อหา ในตอนนี้ได้ที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

บทที่2 ชุมชนความพอเพียง
สาระสำคัญ
    ชุมชนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาชุมชนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนที่พอเพียงรวมทั้งตัวอย่างของชุมชนพอเพียงที่ประสบความสำเร็จและตัวอย่างของชุมชนพอเพียงด้านพลังงาน
   ความหมายของชุมชนชุมชนหมายถึงถิ่นฐานที่อยู่ของกลุ่มคนถิ่นฐานนี้มีพื้นที่อ้างอิงได้และกลุ่มคนนี้มีการอยู่อาศัยร่วมกันมีการทำกิจกรรมเรียนรู้ติดต่อสื่อสาร ร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาประจำถิ่นมีจิตวิญญาณและความผูกพันอยู่กับพื้นที่แห่งนั้นอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน

ขยายความ
ภูมิ มีความหมายว่า พื้น ชั้น พื้นเพ
ปัญญา หมายความว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด
ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นความรู้ ความสามารถ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หมายถึง ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น
การถ่ายทอดความรู้หรือการสอน หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้แสดงเข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว
*****

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. กลุ่มคน หมายถึงการที่คน 2 คนหรือมากกวา่นั้นเขา้มาติดต่อเกี่ยวข้องกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วยความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน
2. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแล้วและมีวิวัฒนาการไปถึงขั้นตั้งองคก์รทางสังคมแล้วก็จะมีการกำหนดแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสามารถดำเนินการตามภารกิจ
3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ หมายถึงตำแหน่งทางสังคมของคนในกลุ่มหรือสังคมบทบาท หมายถึง พฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคม

เรื่องที่2 การพัฒนาชุมชน
สนทยา พลตรี(2533:65–68)ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 3 ประการสรุปได้ดังนี้
1. การเขา้มีส่วนร่วมของประชาชนเอง เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ใ่ห้ดีขึ้นโดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย
2. การจัดให้มีการบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆ ที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่มการช่วยตนเอง
3. ช่วยเหลือกันและกันอันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(2539:1–2)ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วยสรุปได้ดังนี้
1.การพัฒนาคน ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพ
2.การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัวและชุมชน
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

กิจกรรมที่ชุมชนต้องรับผิดชอบ คือ
1. ตั้งคณะกรรมการบริหาร
2. ประเมินสภาพของชุมชน
3. เตรียมแผนการปฏิบัติ
4. หาทรัพยากรที่จำเป็น
ทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมของชุมชนทั้งหมดจะต้องมีการติดตามและการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน



กระบวนการชุมชน
1. วิเคราะห์ชุมชน
2. การเรียนรู้และการตัดสินใจของชุมชน
3. การวางแผนชุมชน
4. การดำเนินกิจกรรมชุมชน
5. การประเมินผลการดำเนินงานของชุมชน

องค์ประกอบการขับเคลื่อนชุมชน
1.โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของชุมชน
2.ความคิดพื้นฐานของประชาชน
3.บรรทัดฐานของชุมชน
4.วิถีประชาธิปไตย

ตัวอย่างของชุมชนพอเพียงด้านพลังงาน
   ตลอด 3 ปี (2549-2551)ของการเดินหน้าโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน 80 ชุมชน สนองพระราชดำริ“เศรษฐกิจพอเพียง”ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานด้วยมองเห็นศักยภาพชุมชนในการจัดการด้านพลังงานที่ชุมชนทำเองได้ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนใช้ในการดำเนินชีวิตนั้นทำได้จริง

แผนพลังงานชุมชน” คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกชุมชนที่เข้าร่วมในระยะเวลาที่ต่างกันพร้อมกับกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคชุมชนและภาควิชาการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดหรือสำนักงานพลังงานภูมิภาคซึ่งเป็นตัวแทนกระทรวงพลังงานไปเผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ“พลังงานเรื่องใกล้ตัว”และนำเสนอเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนหลากหลายประเภทให้ชาวบ้านเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการเพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วม คือ การต่อยอดหรือนำเทคโนโลยีที่กระทรวงพลังงานนำมาให้นั้นนำไปประยุกต์ต่อเพื่อการใช้งานที่สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันการลองทำลองใช้ให้เห็นผลกระจ่างชัดแล้วจึงบอกต่อ

พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน เป็นคำกล่าวรวมหมายถึงแหล่งที่มาของพลังงานที่สามารถนำมาทดแทนพลังงานเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ โดยไม่มีผลกระทบอื่นเกิดขึ้น
1. พลังงานแสงอาทิตย์
2. พลังงานความร้อนใต้พิภพ
3. พลังงานลม
4. เทคโนโลยีพลังงานชีวมวลและชีวภาพ
5. พลังงานขยะ
6. พลังงานนิวเคลียร์
7. ก๊าซธรรมชาติเหลว - Liquefied Natural Gas (LNG)
8. พลังงานไฮโดรเจน - พลังงานสมบูรณ์แบบ
9. พลังงานถ่านหินสะอาด
10. แก๊สโซฮอล์
11. ไบโอ-ดีเซล
12. ก๊าซธรรมชาติ

* * * * *



10 มิ.ย. 2555

สรุปวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่1

รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง (ทช31001)

สาระสำคัญ
   เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
   ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

เรื่องที่1 ความเป็นมาความหมายหลักแนวคิด
   พระบาทสมเด็จพระเจ้า้อยู่หัวได้พั้ฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เขา้ถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืนทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
  จุดเด่นของแนวปรัชญานี้ คือ แนวทางที่สมดุลโดยชาติสามารถทันสมัยและก้า้วสูความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้า้นกระแสโลกาภิวัฒน์

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนโดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาเมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไปหากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้า้งความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียวโดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วยก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้นซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ณหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคมพ.ศ .2517

เรื่องที่2 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“3 ห่วง 2 เงื่อนไข”

3 ห่วง คือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการเตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

2 เงื่อนไข คือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียงคือการยึดหลัก 5 ประการที่สำคัญในการดำเนินการ ได้แก่
1. ทางสายกลาง ในการดำเนินชีวิตตั้งแต่ระดับครอบครัวชุมชนและระดับรัฐรวมถึงเศรษฐกิจในทุกระดับ
2. มีความสมดุล ระหว่างคนสังคมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจมีความสมดุลในการผลิตที่หลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความพอประมาณ ความพอเพียงในการผลิตและการบริโภคบนพื้นฐานของความพอประมาณอย่างมีเหตุผลไม่ขัดสน ไม่ฟุ่มเฟือยในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มีความพอเพียง
4. มีระบบภูมิคุ้มกัน ในการดำรงชีวิตมีสุขภาพดีมีศักยภาพมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและมีความรอบรู้อย่า่งเหมาะสมพร้อมรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ
5. รู้เท่าทันโลก มีความรู้ มีสติปัญญาความรอบคอบ มีความอดทนมีความเพียร มีจิตสำนักในคุณธรรมและความซื่อสัตย์

  เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนทุกกลุ่มมิใช่แค่เกษตรกร การสร้างความความ“พอกิน-พอใช้”ในเศรษฐกิจพอเพียงนี้ มุ่งไปที่ประชาชนในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ที่ยังมีชีวิตแบบ“ไม่พอกิน-ไม่พอใช้” หรือยังไม่พอเพียง ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่คนชนบทหรือเกษตรกร เป็นแต่เพียงว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังยากจนนั้นมีอาชีพเกษตรกรมากกว่าสาขาอาชีพอื่นทำให้
  ความสำคัญลำดับแรกจึงมุ่งเข้าสู่ภาคเกษตรหรือชนบทที่แร้นแค้นจนมีรูปธรรมของการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกมาเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเป็นที่ประจักษ์ในความสำเร็จของการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้

* * * * *

สรุปวิชาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 1

วิชาวิทยาศาสตร์ (พว31001)

*** นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลด เอกสารชุดนี้ได้ที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml
ความหมายของวิทยาศาสตร์  แบ่งได้มี 2 ส่วน
1. วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
  สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร (ต้นไม้เติบโตได้อย่างไร)
  สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร   (ก้อนเมฆกับฟ้าร้องและฟ้าผ่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร)
2. วิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์

เรื่องที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักาะกษะทางวิทยาศาสตร์
   วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์ใช้กระบวนการสังเกต สำรวจ ตรวจสอบ ทดลองและนำผลมาจัดเป็นระบบหลักการ แนวคิดและทฤษฎี แนวคิดและทฤษฎี

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต เป็นวิธีการได้มาของข้อสงสัย รับรู้ข้อมูล พิจารณาข้อมูล จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น
ตั้งสมมติฐาน เป็นการการระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็นคำตอบของปัญหาหรือ ข้อสงสัยนั้น ๆ
ออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
ดำเนินการทดลอง เป็นการจัดกระทำกับตัวแปรที่กำหนด ซึ่งได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม
รวบรวมข้อมูล เป็นการบันทึกรวบรวมผลการทดลองหรือผลจากการกระทำของตัวแปรที่กำหนด
แปลและสรุปผลการทดลอง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วย 13 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
  1.1 ทักษะการสังเกต (Observing)
  1.2 ทักษะการวัด (Measuring)
  1.3 ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ (Classifying)
  1.4 ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา(Using Space/Relationship)
  1.5 ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน (Using Numbers)
  1.6 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Comunication)
  1.7 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
  1.8 ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)

2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่
  2.1 ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypthesis)
  2.2 ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
  2.3 ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
  2.4 ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
  2.5 ทักษะการทดลอง (Experimenting)

คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร์ 6 ลักษณะ
1. เป็นคนที่มีเหตุผล
  จะต้องเป็นคนที่ยอมรับและเชื่อในความสำคัญของเหตุผล
  ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
  ค้นหาสาเหตุของปัญหาหรือเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น
2. เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น
  มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
  ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเสมอ
3. เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง
  เป็นบุคคลที่กล้ายอมรับการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลอื่น
  เป็นบุคคลที่จะรับรู้และยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
  เป็นบุคคลที่มีความซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
  สังเกตและบันทึกผลต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาและมีอคติ
5. มีความเพียรพยายาม
   ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์
   ไม่ท้อถอยเมื่อผลการทดลองล้มเหลว หรือมีอุปสรรค
  มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการค้นหาความรู้
6. มีความละเอียดรอบคอบ
  รู้จักใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
  ไม่ยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกว่าจะมีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
  หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปผลที่ยังไม่มีการวิเคราะห์แล้วเป็นอย่างดี

เรื่องที่ 2 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหา
    เป็นการกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นปัญหาที่ได้มาจากการสังเกต จากข้อสงสัยในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พบเห็น เช่น ทำไมต้นไม้ที่ปลูกไว้ใบเหี่ยวเฉา, ปลากัดขยายพันธุ์ได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การตั้งสมมติฐานและการกำหนดตัวแปร
    เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูลจากการสังเกต การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การพบผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ ฯลฯ และกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม

ตัวอย่าง สมมติฐาน เช่น แผ่นใยขดช่วยลดอัตราการไหลของน้ำ (ทำให้น้ำไหลช้าลง)
  ตัวแปรต้น คือ แผ่นใยขัด
  ตัวแปรตาม คือ ปริมาณน้ำที่ไหล
  ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ำที่เทหรือรด

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองและรวบรวมข้อมูล
  เป็นการปฏิบัติการทดลองค้นหาความจริงให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 2 และรวบรวมข้อมูลจากการทดลองนั้นอย่างเป็นระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
   เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากขั้นตอน ในรูปแบบของตาราง, กราฟ, แผนภูมิ ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 5 การสรุปผล
  เป็นการสรุปผลการศึกษา การทดลอง โดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 4 เป็นหลักสรุปผลการทดลอง

เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง ความรู้ทางวิชาการ รวมกับความรู้ด้านวิธีการและความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนองความต้องการของมนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ รวมทั้ง ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ

การนำเทคโนโลยีไปใช้
เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม
    เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น

เรื่องที่ 3 วัสดุและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
   อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือเครื่องมือที่ให้ทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ทดลองและหาคำตอบต่างๆทางวิทยาศาสตร์

ประเภทของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
1. ประเภททั่วไป เช่น บีกเกอร์ หลอดทดสอบ กระบอกตวง หลอดหยดสาร แท่งแก้วคนสาร เครื่องชั่งแบบต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ ตะเกียงแอลกอฮอล์เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือช่าง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ทั้งภายในห้องปฏิบัติการ และภายนอกห้องปฏิบัติการ เช่นเวอร์เนีย คีม และแปรง เป็นต้น
3. ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น กระดาษกรอง กระดาษลิตมัส และสารเคมี

กระดาษลิตมัส (LITMUS) เป็นกระดาษที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรดเบสที่เป็นของเหลว กระดาษลิตมัสมี 2 สี คือสีแดงหรือสีชมพูและสีน้ำเงินหรือสีฟ้า
ถ้าเป็นกรด pH < 4.5 กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
ถ้าเป็นกลาง 4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี
ถ้าเป็นเบส (pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆรวมกันด้วยพันธะเคมีซึ่งในห้องปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย

ชื่อทางเคมีและสารเคมีที่ควรรู้จัก
H2O   น้ำ
CO2   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
CO   ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์
O2    ก๊าซออกซิเจน
O3    ก๊าซโอโซน
H2    ก๊าซไฮโดรเจน
NaCl   เกลือ
HCl    กรดไฮโดรคลอลิก / กรดเกลือ
C6H12O6    แป้งและน้ำตาล
* * * * * *

โครงการ กศน.ร่วมใจ รู้รักษ์สิ่งเเวดล้อม


ร่วมถ่ายภาพก่อนเดินทาง ณ ศรช.วัดบางประทุนนอก

ท่านรองสมเกียรติ กล่าวเปิดโครงการ

ท่านเจ้าอาวาสวัดธรรมคุณาราม ให้โอวาสแก่นักศึกษา

ล่องเรือชมสิ่งแวดล้อมชายทะเลบางขุนเทียน

หลักเขตกรุงเทพฯที่ถูกน้ำทะเลยึดพื้นที่

อาจารย์อิงอร แจกต้นกล้าแก่นักศึกษา

ท่านรองสมเกียรติ นำทีมปลูก

นักศึกษาร่วมปลูกอย่างสนุก

ถึงจะเลอะโคลนอย่างที่เห็น...ก็ยังยิ้มอย่างมีความสุข
       ขอขอบคุณ ร.ต.ต. เทวัญ เมฆสุวรรณ สน.เทียนทะเล ที่ให้การอนุเคราะห์ประสานและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ

5 มิ.ย. 2555

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพิธีไหว้ครู

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพิธีไหว้ครู ที่ผ่านมา
ความหมายของดอกไม้สำหรับไหว้ครู

ดอกมะเขือ เป็นดอกที่มีลักษณะโน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อตน พร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปเติบโตงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก

หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกและดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่คนโบราณจึงเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขื่อไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงาม

ดอกเข็ม ดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติป้ญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และอาจเป็นได้ว่าเกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่น เหมือนรสหวานของดอกเข็ม

ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบางก็ตาม เมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสเป็นข้าวตอก
 
บทสวดเคารพครูอาจารย์

(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตะรานุสาสกา
(พร้อมกัน) ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ ผู้ก่อประโยชน์ศึกษาทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
(สวดจบ) ปัญญาวุฒิ กะเรเตเต ทินฺโนวาเท นะมามิหัง

คำปฏิญาณของนักศึกษา
เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรานักศึกษาจักต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของสถานศึกษา มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เรานักศึกษาจักต้องปฏิบัติตนไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น

* * * * *

พิธีไหว้ครูและมอบประกาศนียบัตร

พิธีไหว้ครูและมอบประกาศนียบัตร
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2555
ณ หอประชุมธรรมกิตติวงศ์ โรงเรียนวัดราชโอรส


เริ่มงานด้วยการลงทะเบียนและรับสูจิบัตร

พานสำหรับพิธีไหว้ครู

อาจารย์ที่เป็นพิธีกร

นักศึกษามาร่วมงานกันเต็มห้องประชุม

นายเจริญ เทวะเวชพงษ์ ผู้อำนวยการ กศน.เขตจอมทอง
กล่าวรายงานการจัดงาน

ผช. โฆษิต อักษรชาติ
กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ

บรรยายพิเศษโดย ประธานสภากรุงเทพมหานคร สก. สุทธิชัย วีรกุลสุนทร

บรรยายพิเศษในหัวข้อ การสร้างกำลังใจ โดย พระมหาวิชาญ ชุติปัญโญ

บรรยายพิเศษโดย นายเจริญ เทวะเวชพงษ์ ผู้อำนวยการ กศน.เขตจอมทอง

เริ่มพิธีไหว้ครูโดยให้นักศึกษากล่าวนำ

อาจารย์ที่เป็นพิธีกร

ท่านผู้อำนวยการและคณาจารย์



นักศึกษาอื่นๆ อ่านบทไหว้ครูและกล่าวคำปฏิญาณ

นักศึกษาเข้าแถวเตรียมประกอบพิธีไหว้ครู

นักศึกษาของเราเอง ตัวแทนมัธยมต้น


นักศึกษาตัวแทนมัธยมปลาย

นักศึกษาที่จะขึ้นรับประกาศนียบัตร

คู่นี้ก็สำเร็จการศึกษาเช่นกัน

รับประกาศนียบัตรจากที่ผู้อำนวยการเขตของเรา

อาจารย์ผู้ประกาศรายชื่อนักศึกษา


ศิษย์เก่าของเราก็มาร่วมแสดงความยินดี