31 ก.ค. 2555

งานแห่เทียนพรรษา55

นี้เป็นภาพจากกิจกรรมเนื่องในวันแห่เทียนพรรษา
ในวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฏาคม 2555 ที่ผ่านมา
ช่วงแรก เป็นเตรียมงาน ในวันที่ 22 ก.ค. 2555 ก่อนวันงาน


อาจารย์และนักศึกษาส่วนหนึ่งช่วยกันจัดเครื่องไทยธรรม




นักศึกษาส่วนหนึ่งช่วยกันจัดและตกแต่งต้นเทียน

นักศึกษาอีกส่วนมาช่วยกันเติมน้ำหมักชีวภาพ

ช่วงที่ 2 ในวันจัดงานจริง 29 ก.ค. 2555

ถ่ายรูปร่วมกัน...ก่อนการจัดขบวน

เริ่มออกเดินเวียนขวารอบโบสถ์



อากาสถึงจะร้อนแต่ก็ยิ้มได้

ญาติโยมที่ทราบก็มาร่วมบุญด้วย

นำต้นเทียนขึ้นมาที่โบสถ์



ถวายต้นเทียนพรรษาและปัจจัย

ร่วมกันถวายเครื่องไทยธรรม

กรวดน้ำ


ท่านเจ้าอาวาสให้พร

หลังเสร็จงานเราก็มาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก




ขอขอบคุณนักศึกษาทุกคนที่ช่วยกันทำให้งานในครั้งนี้
เสร็จสิ้นด้วยดีและขอขอบคุณญาติโยมทุกท่านที่ได้ร่วมก้น
บริจาคปัจจัยในครั้งนี้ครับ....
ขอให้ทุกคนทุกท่าน จงมีแต่ความสุขความเจริญ ยิ่งๆขึ้นไป

* * * * *

30 ก.ค. 2555

สรุปเนื้อหาที่สอน29-7-55 (2)

สารเคมีในชีวิตประจำวัน ช่วงที่ 2
คำศัพท์อื่นๆที่น่าควรทราบ

สารพิษ (POISON) คือ สารที่ทำให้เป็นอันตราย หรือ ทำให้เสียชีวิต ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม คำนี้เป็นเป็นข้อเตือนถึงอันตรายที่รุนแรงที่สุด
เป็นพิษ (TOXIC) หมายถึง เป็นอันตรายทำให้อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ผิดปกติหรือ ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทานหรือสูดดม
สารก่อความระคายเคือง (IRRITANT) หมายถึง สารที่ทำให้เกิดความระคายเคือง หรืออาการบวมต่อผิวหนัง ตา เยื่อบุ และระบบทางเดินหายใจ
ติดไฟได้ (FLAMMABLE) หมายถึง สามารถติดไฟได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็ว
สารกัดกร่อน (CORROSIVE) หมายถึง สารเคมี หรือไอระเหยของสารเคมีนั้นสามารถทำให้วัสดุถูกกัดกร่อน ผุ หรือสิ่งมีชีวิตถูกทำลายได้

ความปลอดภัยขณะใช้สารเคมี
1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษแทน
2. อ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีการใช้ทุกครั้ง
3. สวมถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้ง ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายได้โดยการสัมผัสต่อผิวหนัง
4. สวมแว่นตาป้องกันสารเคมี ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อตา
5. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์เมื่อใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ทินเนอร์ เป็นต้น
6. หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีถ้ารู้สึกวิงเวียน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดศีรษะ
7. ควรใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในที่โล่งแจ้ง
8. ห้ามสูบบุหรี่เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้
9. ห้ามผสมผลิตภัณฑ์สารเคมีเอง เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน เกิดเป็นไอควันพิษหรืออาจระเบิดได้
10. พบแพทย์ทันทีถ้าสงสัยว่าได้รับสารพิษหรือได้รับอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน

กรดในชีวิตประจำวัน เช่น
น้ำอัดลม ประกอบด้วยกรดคาร์บอนิก
น้ำส้มและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ประกอบด้วยกรดซิตริกซึ่งมีอยู่ในส้ม มะนาว ส้มโอ
ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร เช่น กรดแอซีติก ซึ่งมีในน้ำส้มสายชู เป็นต้น
ใช้ในสารทำความสะอาดพื้นบ้าน เช่น กรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น

เบสในชีวิตประจำวัน เช่น
น้ำแอมโมเนียหรือแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ใช้ทำน้ำยาทำความสะอาดกระจก
ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ทำขนมต่าง ๆ
สบู่ ใช้ทำความสะอาดร่างกาย
ยาสระผม ใช้ทำความสะอาดเส้นผม
ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า

เกณฑ์การจำแนกสารเคมีในชีวิตประจำวัน
1. สารปรุงแต่งอาหาร
2. เครื่องดื่ม
3. สารทำความสะอาด
4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช
5. เครื่องสำอาง

สารอาหาร
สารอาหาร คือ “องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว”
   สารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน, เกลือแร่, และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน

องค์ประกอบของเคมีในชีวิต Chemistry of Life
สารประกอบขนาดใหญ่ (macromolecules) ในสิ่งมีชีวิต จัดเป็น 4 กลุ่มตามลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล ได้แก่
คาร์โบไฮเดรท (Carbohydrate) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O
โปรตีน (Protein) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N
ไขมัน (Lipid) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O

คำศัพท์อื่นๆที่ได้พบในชีวิตประจำวัน
SPF (Sun Protect factor)
    ค่า SPF ในที่พบในครีมกันแดด หมายถึง ค่าป้องกันแสงแดด เช่น ถ้าเราตากแดด 12 นาที แล้วผิวไหม้ ถ้าทาครีม SPF 15 ผิวจะทนได้นานเป็น 15 เท่าคือ 180 นาที และถ้าเป็น SPF 50 ผิวก็จะทนได้นานมากขึ้นถึง 50 เท่าคือ 600 นาที ในเวลาที่ตากแดดเท่ากัน

อนุมูลอิสระ (free radicals)
   ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย แต่จะเกิดออกซิเจนที่มีประจุลบ (O2) ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระ สารตัวนี้ยังสามารถไปรวมตัวกับสารบางอย่างในร่างกาย แล้วก่อเกิดเป็นสารพิษไปทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ปกติแปรสภาพไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
    อนุมูลอิสระ เป็นอนุภาคไม่คงตัว จึงทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่ติดกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า “ออกซิเดชั่น” (Oxidation) ซึ่งอาจก่อผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้
    อนุมูลอิสระ เกิดจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายแล้ว ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, จากรังสี, สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เช่น ควันเสียและเขม่าจากเครื่องยนต์, ควันบุหรี่, ยาฆ่าแมลง, การออกกำลังกายอย่างหักโหม

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
  คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น
1. ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
2. ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
   แหล่งอาหารที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี, ซีลีเนียม, วิตามิน เอ, แคโรทีนอยด์ (บีตาแคโรทีน ลูทีน และไลโคฟีน)

รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet, UV) ภาษาไทยเรียกว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน

โทษ
รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ UVA, UVB และ UVC ถ้าได้รับเป็นเวลานานๆจะทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ จึงให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย
  UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด แต่สามารถแปลงสภาพ DNA ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
  UVB เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้รู้สึกเหมือนทรายเข้าตาและทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract)

ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต
  แบล็กไลต์ (black light) เป็นหลอดที่เปล่งรังสียูวีคลื่นยาว มีสีม่วงดำ ใช้ตรวจเอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร, หนังสือเดินทาง, บัตรเครดิต ฯลฯ
  หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา
  ดาราศาสตร์ในทางดาราศาสตร์ จะใช้หลักการที่ว่าวัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา ทำให้เราสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี แต่ต้องไปในอวกาศ
  การฆ่าเชื้อโรค รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ เช่นฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ในเครื่องมือหรืออาหาร

รังสีเอกซ์ (X-ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในเบื้องต้นมีการใช้ช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และแต่ก็มีอันตรายต่อมนุษย์

AHA
  AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxy Acid เป็น สารประกอบที่มีฤทธิ์เป็น กรด ที่สกัดจากผลไม้ธรรมชาติ เช่น
กรดซิตริก จากมะนาว ส้ม และส้มโอ
กรดมัลลิก จาก แอปเปิ้ล
กรดไกลโคลิก จากอ้อย
กรดแล็กติก จากนมเปรี้ยว

ประโยชน์ ของ AHA
  ช่วยในการขจัดเซลล์ผิวแก่ๆ ให้หลุดออกได้ขึ้นเร็วขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่เร็วขึ้น ทำให้ผิวหนังดูเรียบเนียนและสดใสขึ้น
ผลข้างเคียงของกรดเอเอชเอ
  การใช้ AHA ในปริมาณความเข้มข้นสูง ทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง เกิดผื่นคัน และไวต่อแสงแดดได้หรือทำให้เกิดรอยดำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากได้

BHA
   BHA (บีเอชเอ) ย่อมาจาก Beta Hydroxy Acid เป็นสารที่สังเคราะห์ มีคุณสมบัติทนต่อ ความร้อน ไม่สลายตัวง่ายแบบ AHA สารประเภท BHA เช่น
  กรดซาลิกไซลิก (salicylic acid) ได้จากพริกมีออกฤทธิ์ลักษณะที่มีอาการปวดแสบปวดร้อน จึงใช้มาใช้เป็นส่วนประกอบใน ยาหม่อง

ผลข้างเคียงของบีเอชเอ
  การใช้ปริมาณความเข้มข้นสูง ก็มีผลเสียต่อผิวหนัง คือ เกิดการระคายเคือง ลอก แดง ทำให้ผิวบางลง มีการอาการไวต่อแสงแดด อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานโรคของเซลล์ผิวหนังต่ำและอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อได้ง่าย
* * จบ * *

สรุปเนื้อหาที่สอน29-7-55 (1)

เนื้อหาที่นำมาสอน ในวันที่ 29 ก.ค. 2555 เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์
หากนักศึกษาหรือผู้สนใจ จะนำเอกสารเรื่องนี้ไปใช้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่

http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รส และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอาหาร
ผงชูรส
   ผงชูรส ชื่อจริงคือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate)ผลิตจากแป้งมันสำปะหลังหรือกากน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น ใช้ในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร (Flavor Enhancer) เนื่องจากเมื่อผงชูรสละลายน้ำ จะแตกตัวได้โซเดียมและกลูตาเมตอิสระที่มีสมบัติในการเพิ่มรสชาติอาหาร โดยช่วยเพิ่มรสชาติของรสชาติพื้นฐาน คือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยวและรสขม (รสเผ็ด????)
   ปริมมาณในการใช้ คือ ประมาณ 1 ช้อนชาต่ออาหาร 10 ถ้วยตวง ถ้ามากเกินไปอาจมีเกิดอาการแพ้และไม่ควรใช้ผงชูรสในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์
   ปัจจุบันผงชูรสเป็นหนึ่งในวัตถุเจือปนอาหารที่ได้มีการควบคุมการใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 โดยมีหน่วยงานควบคุมคือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

น้ำตาล
    น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส
1) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้อีกแต่สามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่
1.1 กลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหาร ทั่วไป พบมากในผักและผลไม้สุก นอกจากนี้ยังพบกลูโคส ในกระแสเลือดอีกด้วย คนปกติจะมีกลูโคสประมาณ 100 mg ในเลืออด 100 cm3 ถ้ามีกลูโคสมากกว่า 160 mg ในเลือด 1000 cm3 จะถูก ขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
1.2 ฟรักโทส (Fructose) เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล ในธรรมชาติมักปน อยู่กับกลูโคสในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย

2) น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็คคาไรด์ (Disaccharide) หมายถึงคาร์โบไฮเดรตที่แตกตัวให้ โมโนแซ็กคาไรด์จำนวน 2 โมเลกุล หรือเกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์ 2-10 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้ ได้แก่
2.1 ซูโครส (Sucrose) เราเรียกว่า น้ำตาลทราย หรือ น้ำตาลอ้อย มีลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี พบในอ้อย ตาล มะพร้าว หัวบีท น้ำผึ้ง เป็นต้น เมื่อแตกตัวหรือย่อยซูโคสด้วยน้ำย่อยซูเครส (sucrose) ได้กลูโคสและฟรักโทส อย่างละ 1 โมเลกุล
      ซูโคส + น้ำ ----> กลูโคส + ฟรักโตส

2.2 มอลโทส (Maltose) ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี จะไม่พบอยู่เป็นอิสระในธรรมชาติ มอลโทสเกิดจากการย่อยแป้ง มอลโทสมีความหวานไม่มากนักประมาณ 0.4 เท่าของซูโครส
     มอลโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กลูโคส

2.3 แล็กโทส (Lactose) หรือ น้ำตาลนม พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก มีในนมทุกชนิด ผลึกมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายทราย ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส เมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแล็กโทสอย่างละ 1 โมเลกุล ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและยา ใช้แล็กโทสเพื่อลดขนาดผลึกซูโครส ในขนมหวานบางชนิดและใช้เป็น ส่วนประกอบของยาเม็ดบางชนิด
    แล็กโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กาแล็กโตส

เกลือ
    เกลือที่เรารู้จักโดยทั่วไปคือ เกลือแกง (Nacl) มีสภาพเป็นกลาง เกลือแกง มีรสเค็ม ใช้ในการปรุงรส เกลือแกงมีคุณสมบัติในการดูดน้ำออกจากเนื้อสัตว์ ผัก ทำให้สามารถช่วยชะลอระยะเวลาอาหารเสียช้าลง

สีผสมอาหาร
    สีผสมอาหาร ใช้เพื่อเพิ่มความดึงดูดใจ แต่งแต้มสีสัน ทำให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การใช้สีผสมอาหารช่วยให้การผลิตอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นที่พอใจ ของผู้บริโภค
สีธรรมชาติที่สกัดจากพืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ ได้แก่
สีเขียว จากใบเตยหอม, ใบย่านาง, พริกเขียว และใบคะน้า
สีดำ จากถ่านกาบมะพร้าว, ถั่วดำ และดอกดิน
สีแดง ข้าวแดง, มะเขือเทศสุก, กระเจี๊ยบ, มะละกอ, ถั่วแดง, พริกแดง, ครั่ง(เป็นแมลงตัวเล็กๆ ชอบอาศัยอยู่ตามต้นก้ามปู ต้นโพธิ์)
สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน
สีน้ำตาล จากน้ำตาลไหม้หรือคาราเมล
สีม่วง จากดอกอัญชันสีน้ำเงินผสมมะนาว, ข้าวเหนียวดำและถั่วดำ
สีแสด จากเมล็ดของผลคำแสด
สีเหลือง จากขมิ้นชัน, ขมิ้นอ้อย, ดอกโสน, ฟักทอง, ลูกตาลยี, ดอกคำฝอย ดอกกรรณิการ์, ลูกพุดและไข่แดง

สีจากสารเคมีบางประเภท ได้แก่
สารเคมีประเภทให้รสหวาน เช่น น้ำตาลทราย กลูโคส แบะแซ
สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร เช่น กรดอะซีติก (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว)
สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่างๆ
     สีผสมอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน


พิษจากการใช้สีผสมอาหาร
1. อันตรายจากสีสังเคราะห์ คือ สีจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ทำให้น้ำย่อยอาหารออกมาไม่สะดวก อาหารย่อยยาก เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขัดขวาง การดูดซึมอาหาร ทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย อาจมีอาการ ของตับและไตอักเสบ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
2. อันตรายจากสารอื่นที่ปะปนมา ได้แก่ โลหะหนักต่าง ๆ เช่น แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง โครเมียม เป็นต้น เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น พิษจากสารหนูนั้นเมื่อเข้าไปในร่างกาย จะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต จะเกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบ ทางเดินอาหาร โลหิตจาง และหากได้รับสารหนูปริมาณมากในครั้งเดียวจะเกิดพิษต่อร่างกายทันที โดยปาก และโพรงจมูกไหม้เกรียมแห้งทาง เดินอาหารผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งเพ้อคลั่ง และยังอาจมีอาการหน้าบวม หนังตาบวมด้วย ส่วนตะกั่วนั้นจะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบ เฉียบพลันและเรื้อรัง อาจทำให้ถึงกับ ชีวิตใน 1 - 2 วัน ส่วนอาการมีพิษเรื้อรังนั้นจะพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก มือตก เท้าตก เป็นอัมพาต เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้

บอแรกซ์
  สารบอแรกซ์ (Borax) หรือ น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซหรือผงเนื้อนิ่ม มีลักษณะเป็นผลึกสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น สารบอแรกซ์เป็นสารที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้ว เพื่อให้ทนต่อความร้อน หรือใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง ใช้ในเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น สารบอแรกซ์เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร

พิษจากสารบอแรกซ์ในอาหาร
1. แบบเฉียบพลัน จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ และผมร่วง
2. แบบเรื้อรัง จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดการเบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
    โดยทั่วไปมักมีนำสารบอแรกซ์มาผสมลงในอาหารเพื่อให้อาหารมีความเหนียว หยุ่นกรอบ คงตัวได้นานและไม่บูดเสียง่าย อาหารส่วนใหญ่ที่พบว่ามีการเจือปนของสารบอแรกซ์ ได้แก่ เนื้อบด หมูบด ลูกชิ้นปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ และในขนมหวานต่าง ๆ เช่น ทับทิมกรอบ รวมมิตร วุ้น

สารเคมีในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น ก้อนดับกลิ่น (Deodorant), น้ำยาล้างจาน, น้ำยาซักผ้าขาว, สารขจัดสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง, น้ำยาเช็ดกระจก, ยาสีฟัน, น้ำปลา, น้ำส้มสายชู, น้ำมัน, น้ำตาลเทียม เป็นต้น

**** จบช่วงที่ 1 ****

19 ก.ค. 2555

สรุปเนื้อหาที่สอน22ก.ค.55

สรุปเนื้อหาที่สอน ในวันอาทิตย์ที่ 22 ก.ค. 2555
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวสาร
หากนักศึกษาหรือผู้สนใจ จะนำเอกสารเรื่องนี้ไปใช้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว
ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดย
วิธีการทางเคมี

ตัวอย่างของธาตุในสถานะต่างๆ
1. ธาตุมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง
ชื่อ                         สัญลักษณ์
คาร์บอน(Carbon)      C
ซิลิคอน(Silicon)       Si
โซเดียม(Sodium)     Na
กำมะถัน(sulphur)     S
ทองแดง(Copper)   Cu
สังกะสี(Zinc)           Zn
ตะกั่ว(lead)              Pb
เงิน(Silver)              Ag
ดีบุก(Tin)                Sn

2. ธาตุมีทั้งสถานะที่เป็นของเหลว
ชื่อ                         สัญลักษณ์
ปรอท (mercury)       Hg

3. ธาตุมีทั้งสถานะที่เป็นของก๊าซ
ชื่อ                         สัญลักษณ์
ไฮโดรเจน (Hydrogen)   H
ออกซิเจน (Oxygen)       O
ไนโตรเจน (Nitrogen)    N
ฮีเลียม (Helium)            He
คลอรีน (Chlorine)         Cl

หมายเหตุ
1. สารทุกชนิดประกอบขึ้นจากธาตุต่างๆมารวมกัน
2. สารบางชนิดมีองค์ประกอบเป็นธาตุชนิดเดียว เช่น
    เพชร มีองค์ประกอบเป็นธาตุคาร์บอน
    ก๊าซออกซิเจน (O2) 1 โมเลกุล มีองค์ประกอบเป็นธาตุออกซิเจน 2 อะตอม
    ก๊าซไนโตรเจน (N2) 1 โมเลกุล มีองค์ประกอบเป็นธาตุไนโตรเจน 2 อะตอม
3. สารบางชนิดเกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิด มารวมกันด้วยอัตราส่วนที่แน่นอนเกิดเป็นสารประกอบ เช่น
     น้ำ (H20) เกิดจากธาตุออกซิเจน (Oxygen) 1 ตะตอม รวมกับธาตุไฮโดรเจน (Hydrogen) 2 อะตอม
     คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เป็นสารที่เกิดจากธาตุคาร์บอน (Carbon) 1 อะตอม รวมกับธาตุออกซิเจน 2 อะตอม
     โซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง) NaCl โซเดียม 1 อะตอมและคลอรีน 1 อะตอม
     แอมโมเนีย NH3 ไนโตรเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 3 อะตอม

คำศัพท์พื้นฐานที่ควรทราบ
   อะตอม (Atom) หมายถึงใช้สำหรับเรียกหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร ที่ไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก โดยเขาได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับวัตถุที่มีขนาดเล็ก
   โมเลกุล(Molecule) คือ หน่วยโครงสร้างที่เล็กที่สุดของธาตุที่สารประกอบที่สามารถอยู่ได้เป็นอิสระ และยังคงแสดงสมบัติของธาตุหรือสารประกอบนั้น ๆ โดยสมบูรณ์ โมเลกุลเกิดจากอะตอมรวมกัน โมเลกุลประกอบขึ้นด้วยธาตุเดียวหรือหลายธาตุ มายึดติดกันตามโครงสร้างของอะตอม
   สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวลสัมผัสได้โดยใช้ประสาทสัมผัส ต้องการที่อยู่ สามารถนำชั่ง ตวง วัด ได้ เช่น น้ำ ดิน อากาศ หิน ทราย กระดาษ เป็นต้น
   สาร (Substance) หมายถึง เนื้อของสสาร ที่นำมาศึกษาดังนั้นจึงใช้คำว่าสารแทนสสารได้
   สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น

สสารมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ภาพประกอบ
1. ของแข็ง (Solid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน
2. ของเหลว (Liquid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง จึงอยู่กันอย่างหลวมๆ อนุภาคของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น
3. ก๊าซ (Gas) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ

สมบัติของสถานะของสสาร
ของแข็ง ไม่เปลี่ยนรูปร่าง, อยู่กับที่, ทะลุผ่านได้ยาก, บีบอัดให้เล็กลงไม่ได้
ของเหลว รูปร่างไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับภาชนะ, ไหลได้, ทะลุผ่านได้ง่าย, บีบอัดให้เล็กลงได้ยาก
ก๊าซ รูปร่างเต็มภาชนะที่บรรจุ, ฟุ้งกระจายอย่างรวดเร็ว, ทะลุผ่านได้ง่ายมาก, บีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงของสาร
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่างทั่วไปของสาร แต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารใหม่ คือองค์ประกอบทางเคมีของสารยังคงเดิม เช่นการเปลี่ยนสถานะ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของสารทำให้เกิดเป็นสารใหม่ (เกิดปฏิกิริยาเคมี) สารจะมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไปและทำให้กลับมามีสมบัติดังเดิมได้ยาก และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย
3. การเปลี่ยนแปลงพลังงาน มี 2 ประเภท คือ
    ปฏิกิริยาคายความร้อน การเปลี่ยนแปลงทางเคมีประเภทนี้ จะมีการคายความร้อนออกมาให้กับสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
    ปฏิกิริยาดูดความร้อน ปฏิกิริยาเคมีประเภทนี้จะมีการดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบที่เกิดปฏิกิริยา ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง

การแปลงสถานะของสาร
จุดหลอมเหลว คือ อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
จุดเดือด คือ อุณหภูมิที่ของเหลวเดือด


แผนภาพของเปลี่ยนสถานะของสาร

สมบัติของสาร
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด เช่น สี กลิ่น รส สถานะ เนื้อสาร ความสามารถในการนำไฟฟ้า ความสามารถในการละลาย ความเป็นกรด - เบส จุดหลอมเหลว จุดเดือด ความหนาแน่น เป็นต้น เช่น  น้ำ เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดเดือด 100 องศาเซลเซียส
จุดเยือกแข็ง 0 องศาเซลเซียส (C)

คำถาม ถ้าเราเพิ่มเกลือลงไปในน้ำเป็นสารละลายเกลือ(น้ำเกลือ)แล้วจะมีผลต่อจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของน้ำเกลืออย่างไร
คำตอบ
จุดเดือดของน้ำเกลือ จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำ คือ มากกว่า 100 C
จุดหลอมเหลวน้ำเกลือ จะต่ำลงเมื่อเทียบกับน้ำ คือ น้อยกว่า 0 C

สมบัติของสาร อาจจะนำมาแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
   ประเภทที่1 สมบัติทางกายภาพ(Physical Properties) หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้น
   ประเภทที่2 สมบัติทางเคมี(Chemical Properties) หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น

จากสมบัติของสารสามารถแบ่งประเภทของสารโดยใช้เกณฑ์ต่าๆต่อไปนี้
1. ใช้สถานะเป็นของสาร จะแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
   ของแข็ง ได้แก่ เกลือ(โซเดียมคลอไรด์), ลูกเหม็น(แนพทาลีน), ทองแดง, กำมะถัน พลาสติกและเหล็ก
   ของเหลว ได้แก่ น้ำ น้ำเกลือ น้ำเชื่อมและปรอท
   ก๊าซ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนและคลอรีน
2. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
    สารที่ไม่นำไฟฟ้า ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ แนพทาลีน กำมะถัน เอธานอล คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ พลาสติก ไฮโดรเจน น้ำเชื่อม
    สารที่นำไฟฟ้า ได้แก่ ทองแดง น้ำเกลือ เหล็ก ปรอท

*** สารที่นำไฟฟ้าได้นำที่สุดคือ ทองคำ, เงิน, ทองแดง

3. การใช้สถานะและการนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่ง 5 กลุ่ม คือ
ของแข็งที่ไม่นำไฟฟ้า ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์บอเนต แนพทาลีน กำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ และพลาสติก
ของแข็งที่นำไฟฟ้าได้ ได้แก่ ทองแดง และเหล็ก
ของเหลวที่นำไฟฟ้าได้ ได้แก่ น้ำเกลือ และปรอท
ของเหลวที่ไม่นำไฟฟ้า ได้แก่ เอธานอล น้ำเชื่อม และโบรมีน
ก๊าซที่ไม่นำไฟฟ้า ได้แก่ คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน

4. การละลายน้ำและความเป็นกรด-เบสของสารละลายเป็นเกณฑ์ แบ่งสารออกได้ 4 กลุ่ม คือ
สารที่ละลายน้ำได้และมีสมบัติเป็นกลาง ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ เอธานอล น้ำเกลือ และน้ำเชื่อม
สารที่ละลายน้ำได้และมีสมบัติเป็นกรด ได้แก่ คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ และโบรมีน
สารที่ละลายน้ำได้และมีสมบัติเป็นเบส ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์
สารที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต แนพทาลีน ทองแดง กำมะถัน พลาสติก ไฮโดรเจน เหล็ก และปรอท

5. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ สามาตรแยกได้ 2 ชนิด คือ
  สารเนื้อเดียว (Homogeneous Substance) หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อของสารและสมบัติเหมือนกันตลอดทั้งมวลของสารนั้น ได้แก่ ธาตุ สารประกอบ และสารละลาย เช่น น้ำเกลือ น้ำกลั่น ทองแดง เป็นต้น
  สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแยกองค์ประกอบด้วยวิธีทางกายภาพได้อีก เรียกว่า สารบริสุทธิ์ (Pure Substance ) ส่วนสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 อย่างและสามารถแยกองค์ประกอบออกจากกันด้วยวิธีทางกายภาพ เรียกว่า ของผสมเนื้อเดียวหรือสารละลาย (Solution)
  สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว อาจเป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซก็ได้ อาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็ได้ ตัวอย่างเช่น เหล็ก ทองแดง น้ำ น้ำตาล ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสารบริสุทธิ์ แต่น้ำเชื่อม พริกกับเกลือ ไม่ใช่สารบริสุทธิ์
  สารเนื้อผสม (Heterogeneous Substance) หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อของสารและสมบัติไม่เหมือนกันตลอดทั้งมวลของสารนั้น สามารถมองเห็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันได้แก่ สารแขวนลอย เช่น น้ำโคลน ส้มต้ม ลอดช่องในน้ำกะทิ เป็นต้น

6. การใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์
  ธาตุโลหะ(metal) ได้แก่ โซเดียม (Na), เหล็ก (Fe), แคลเซียม (Ca), ปรอท (Hg), อะลูมิเนียม (Al), แมกนีเซียม (Mg), สังกะสี (Zn), ดีบุก (Sn) ฯลฯ
  ธาตุอโลหะ ได้แก่ คาร์บอน(C), ฟอสฟอรัส (P),กำมะถัน (S) โบรมีน (Br), ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจน (H2), คลอรีน (Cl2), ฟลูออรีน (F2) เป็นต้น
  ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) ได้แก่ โบรอน (B), ซิลิคอน (Si), เป็นต้น

สมบัติของโลหะ
1. ส่วนมากอยู่ในสถานะของแข็งยกเว้น ปรอท เป็นของเหลว ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดเป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
4. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโลหะจะนำไฟฟ้าได้น้อยลง
5. ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นสูง
6. เหนียวดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นได้
7. เคาะเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะเสียอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับอโลหะ
9. ส่วนใหญ่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดได้ก๊าซไฮโดรเจน
10. เมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นเบส

สมบัติของอโลหะ
1. มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดไม่เป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
4. เป็นฉนวนไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์
5. มีความหนาแน่นต่ำ
6. เปราะดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นไม่ได้
7. เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะรับอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับโลหะ
9. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด
10. เมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนจะได้สรประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกรด

สำหรับธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ จะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น

สารประกอบ (Compound) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันทางเคมีในอัตราส่วนโดยมวลคงที่ มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวคงที่และมีสมบัติต่างจากธาตุองค์ประกอบเดิมและไม่สามารถแยกกลับเป็นสารเดิมได้โดยง่าย เช่น เกลือ(NaCl), น้ำตาล เป็นต้น

สารละลาย (Solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
   1. ตัวทำละลาย (Solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
   2. ตัวละลาย (Solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน

สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น

** น้ำด่างทับทิม ประกอบน้ำเป็นตัวทำละลายและด่างทับทิมเป็นตัวละลาย
** น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวละลาย

กรด-เบส
  กรด (acid) หมายถึง สารที่มีธาตุ H (H+) เป็นองค์ประกอบที่สําคัญ เช่น กรดไฮโดรคลอลิก (HCl), กรดซัลฟิวริก (H2SO4), กรดอะซิติก (CH3COOH), วิตามินซี
  เบส (base) หมายถึง สารประกอบออกไซด์หรือไฮดรอกไซด์ของโลหะ (OH-)หรือ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH), แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (CaOH), น้ำสบู่

เมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส
ถ้าสารละลายนั้นเป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นสีแดง
ถ้าสารละลายนั้นเป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

สมบัติโดยทั่วไปของกรด-เบส
สารละลายกรด
1. มีรสเปรี้ยว
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป?นสีแดง
3. ทําปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำหรือเกลือเพียงอย่างเดียว
4. นําไฟฟ้าได้
5. ทําปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น สังกะสี(Zn), Mg (แมกนีเซียม), เหล็ก(Fe), อลูมิเนียม (Al)

สารละลายเบส
1. มีรสฝาด
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
3. ทําปฏิกิริยากับเบสได้เกลือน้ำหรือเกลือเพียงอย่างเดียว
4. นําไฟฟ้าได้
5. ลื่นคล้ายสบู่ เมื่อนําไปต้มกับไขมันจะได้สบู่

ค่า pH
ค่า pH คือ ค่าที่บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลาย ระหว่าง 1-14 (กรด กลาง เบส)

สารละลาย(ค่า pH)
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (1.0-2.0)
น้ำมะนาว (2.4)
น้ำส้มสายชู (3.0)
น้ำองุ่น (3.2)
น้ำส้มคั้น (3.5)
น้ำปัสสาวะ (4.8-7.5)
น้ำลาย (6.4-6.9)
นมสด (6.5)
น้ำบริสุทธิ์ (7.0)
เลือด (7.35-7.45)
น้ำตาล (7.4)

** ความเป็น กรด มากค่า pH จะยิ่งต่ำลง
** ความเป็น เบส มากค่า pH จะยิ่งมากขึ้น

สารประกอบบางชนิดที่ควรทราบ
ชื่อสามัญ (ชื่อสารประกอบ)  สูตรเคมี
กรดน้ำอัดลม (Carbonic acid)  H2CO3
กรดกำมะถัน  (Sulfuric acid)  H2SO4
กรดเกลือ  (Hydrochloric acid)  HCl
ก๊าซไข่เน่า  (Hydrogen sulfide)  H2S
กรดน้ำส้ม   (Acetic acid)  CH3COOH
หินปูน  (Calcium carbonate) CaCO3
เกลือแกง  (Sodium chloride) NaCl
ทราย  (Silicon dioxide) SiO2
โซดาไฟ  (Sodium hydroxide) NaOH
ปูนขาว  (Calcium hydroxide) Ca(OH)2
กรดกัดแก้ว  (Fluoric acid)  HF
เอทานอล (Ethanol) (เอทิลแอลกอฮอล์) C2H5OH
เมทานอล (Methanol) (เมทิลแอลกอฮอล์) CH3OH
* * * * *

17 ก.ค. 2555

ตัวอย่างโจทย์คณิตศาสตร์

ส่วนนี้เป็นตัวอย่าง โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ
ที่นำมาใช้สอนเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2555

นักศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000016-ตัวอย่างการทำโจทย์.xhtml











สรุปเนื้อวิทยาศาสตร์

สรุปเนื้อหาที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ระบบนิเวศ
ผู้ที่สนใจจะนำเอกสารชุดนี้ไปใช้ สามารถดาวน์โหลดที่ฟรี
ที่ http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM)
   ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วง ๆในห่วงโซ่อาหารได้

องค์ประกอบของระบบนิเวศ
องค์ประกอบที่มีชีวิต ได้แก่
1) ผู้ผลิต (producer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์
2) ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
3) ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ดรา (fungi)ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก

การหมุนวงของพลังงาน
   เมื่อพืชและผู้ผลิตอื่นๆได้รับพลังงานในรูปของแสงอาทิตย์ จะทำการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารที่ให้พลังงาน เช่น แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต พลังงานจะไหลต่อไปยังสัตว์โดยการกินพืช และผู้ผลิตอื่นๆ ผู้ย่อยสลายสารที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรียและเห็ด (fungi) ในดินโดยได้รับพลังงานจากการย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ตายลงไป
  ในการใช้พลังงานเคมีเพื่อทำงาน สิ่งมีชีวิตจะปล่อยพลังงานความร้อน และพลังงานความร้อนนี้จึงไม่หวนกลับมาในระบบนิเวศได้อีก แต่สารสารเคมีต่างๆสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกระหว่างสังคมของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต

ห่วงโซ่อาหาร (food chain)


   หัวลูกศรแสดงเส้นทางการลำเลียงอาหารจากพืชผู้ผลิตผ่านไปสู่ผู้บริโภคแรกเริ่มที่กินพืช (herbivore) ผู้บริโภคลำดับสอง ผู้บริโภคลำดับสามไปจนถึงผู้บริโภคลำดับสี่ที่กินเนื้อ (carnivore)
   ห่วงโซ่อาหารจะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่มีผู้ย่อยสลาย decomposer) ได้แก่ จุลินทรีย์, แบคที่เรีย, เห็ดราซึ่งจะเปลี่ยน อินทรียสารเป็นอนินทรียสาร ซึ่งพืชและผู้ผลิตอื่น ๆสามารถ นำกลับไปใช้ได้อีก)

สายใยอาหาร (food web)
สายใยอาหาร คือ ห่วงโซ่อาหารที่มีความซับซ้อน

ตัวอย่าง
นกฮูกกินหนูซึ่งเป็นผู้บริโภคแรกเริ่มที่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด แต่นกฮูกอาจกินงูซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินเนื้ออีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย(omnivore) จะกินทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในระดับการกินต่างๆ
   ดังนั้นความสัมพันธ์เชิงการกินอาหารในระบบนิเวศจึงถูกถักทอให้มีความละเอียดซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นสายใยอาหาร

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างชนิดกัน
แบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆได้แก่
1. การแก่งแย่ง (competition)
  1.1 ในกลุ่มประชากรชนิดเดียวกัน เช่น การเลือกคู่, การแย่งอาหาร
  1.2 ในกลุ่มประชากรต่างชนิด เช่น เสือและสิงโต ล่ากวาง
2. การล่าเหยื่อ (predation)
  2.1 ผู้ล่า(predator) เช่น การมีอุ้งเล็บ ฟันและเขี้ยวที่แหลมหรือมีต่อมพิษ
  2.2 เหยื่อ(prey) การป้องกันตัวเองจากผู้ล่า เช่น การหลบหนี การซ่อนตัว การหนีเอาตัวรอดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อผู้ล่าอย่างปกติ พืชที่ถูกสัตว์กินเป็นอาหาร แม้จะไม่ถูกทำลายทั้งต้นก็จัดเป็นเหยื่อ
   ลักษณะของผู้ล่าและเหยื่อเป็นองค์ประกอบทางวิวัฒนาการที่จำเป็นต้องอยู่รอด โดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นตัวกลั่นกรองการปรับตัวทั้งของเหยื่อและผู้ล่า

3. ภาวะอยู่ร่วมกัน (symbiosis)
ภาวะอยู่ร่วมกัน (symbiosis)
1. ภาวะปรสิต (parasitism) (-,+)
   สิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ประโยชน์ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับอันตราย โดยสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้รับสารอาหารจากโฮสต์(Host) ได้แก่
  ยุงดูดเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  เพลี้ยต่างๆที่ดูดน้ำเลี้ยงจากพืช
  พยาธิตัวตืดในลำไส้ สามารถทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้
  ต้นกาฝาก ที่เกาะต้นไม้ใหญ่

2. ภาวะพึ่งพา (mutualism) (+,+)
เป็นการอยู่ร่วมกันที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น
  สาหร่าย (algae) กับรา(fungi) ในพวกไลเคน (lichen) โดยรา ให้ที่อยู่อาศัยและ ความชื้น ส่วน สาหร่าย ช่วยสังเคราะห์อาหาร
  ปูเสฉวนและดอกไม้ทะเล โดยปูเสฉวนให้ดอกไม้ทะเลยึดเกาะและพาเคลื่อนที่ ส่วนดอกไม้ทะเล ช่วยพรางตาต่อศัตรู
   มดอาศัยบนต้นอะเคเซีย โดยต้นอะเคเซีย ให้ที่อยู่และน้ำหวานที่ปลายใบ กับ มด คอยป้องกันศัตรู แมลง
  โพรโทซัวอาศัยอยู่ในลำไส้ปลวก ทำให้ปลวกย่อยเนื้อไม้ที่เป็นเซลลูโลสได้
  นกเอี้ยงหงอนกับควาย นกเอี้ยงอาศัยการกินอาหารจากปรสิตภายนอกบนหลังควาย ส่วนควายได้รับการกำจัดปรสิตออกไป

3. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (commensalism) (+,0)
เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วน อีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์
  ปลาฉลามวาฬกับเหาฉลาม
  กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่
  พลูด่างกับต้นไม้

สรุป
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด

คำศัพท์ที่น่าสนใจ
สิ่งมีชีวิต (Organism) หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต
ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกัน
กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กันโดยตรงหรือโดยทางอ้อม
โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน
แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำ
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
* * * * *

15 ก.ค. 2555

รายงานงานกลุ่มครั้งที่1

รายงานกลุ่มในวิชากรุงเทพศึกษา
กลุ่มที่1 รายงานในเรื่องวัดนางนองวรวิหาร


กลุ่มที่2 รายงานในเรื่องพิพิธภัณฑ์เด็ก

กลุ่มที่3 มารายงานในเรื่องตลาดนัดสวนจัตุจักร

 * * * * *

9 ก.ค. 2555

กิจกรรมพิเศษ-การดับเพลิง

ภาพจากกิจกรรมพิเศษ ในเรื่องของอุทกภัย, อัคคีภัยและรู้จัก
การดับเพลิงในเบื้องต้น

นักศึกษาที่รับหน้าที่ลงทะเบียน

นักศึกษาที่มาช่วยจัดงาน ทำงานกันอย่างแข็งขัน

เอกสารประกอบ การบรรยาย

เริ่มงานด้วยการลงทะเบียน....เหมือนเดิม

วิทยากรที่มาให้ความรู้เรื่องของอุทกภัยและอัคคัภัย

วิทยากรที่มาให้ความรู้เรื่องการดับเพลิง
 


ถ้งดับเพลิงชนิดต่างๆ

ถังดับเพลิงที่เราจะใช้ในการสาธิต



 
ทีมอาสาสมัครดับเพลิง (พระเอกตัวจริง)
 
เริ่มต้มการสาธิตกับสถานการณ์การที่เหมือนจริง
เมื่อเกิดไฟไหม้ในครัว

การขยายตัวของก๊าซหุ้งต้ม
ไฟจริง...ร้อนจริง
 
การดับเพลิงที่มีก๊าซออกจากสายยาง
ไม่ใช้ภาพถ่ายวิญญาณนะครับ
 
ให้นักศึกษาที่มีข้อสงสัย....ได้ลองทำจริง

สาธิตการปิดถังแก๊สที่มีเปลวไฟ

ให้นักศึกษาทุกคนได้ลองทำปฏิบัติจริง

ฝึกการใช้ถังดับเพลิง...ดับไฟเองจริงๆ


ขอขอบคุณท่านวิทยากรและอาสาสมัครผู้เสียสละ ทุกท่านที่มา
ให้ความรู้อันมีค่ากับนักศึกษา เพราะเป็นความรู้ที่เราไม่สามารถเรียนรู้
ได้จากแค่การอ่านหนังสือแล้วเกิดทักษะความรู้ความเข้าใจหรือ
จะรอให้เกิดเหตุการณ์จริงคงช้าเกินไป