25 ธ.ค. 2555

แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ
ภาษาอังกฤษ
นี้คือ 20 คำศัพท์ ที่จะใช้สอบในสัปดาห์หลังปิดเทอม
Answer (v) = ตอบ
Choose (v) = เลือก
Come back = กลับมา
Come from (v) = มาจาก
Curly = หยิก, หยักศก

How (pron) = อย่างไร, วิธีไหน
Is going to (v) = จะ
Look like  = มีหน้าตา, มีลักษณะท่าทาง
Next week = สัปดาห์หน้า
Note = จดบันทึก

Plane (n) = เครื่องบิน
Select (v) = เลือก
Short (adj) = สั้น, เตี้ย
Should (v) = ควรจะ
Tall (adj) = สูง

The best (adj) = ดีที่สุด
This noon = เที่ยงนี้, ตอนกลางวันนี้
Uncle (v) = ลุง
Visit (v) = เยี่ยม, ไปหา
Where (pron) = ที่ไหน

คณิตศาสตร์
1) 2 x (15 + 2) - 19 = 2 x 17 -19 = 34 - 19
2) (30 x 6) - (20 / 5) = 180 - 4 = 45
3) (6-3)3 - (7-2)2 = 33 - 52 = 27 - 25 = 2
4) 122 + 42 - 72 = 144 +16 - 49 = 111
5) (10-5-9)2 + (-2-4)2 = (-4)2 + (-6)2 = 16 + 36 = 52

16 ธ.ค. 2555

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์-3

คำศัพท์พื้นฐานที่ต้องทราบ

หมายเหตุ นักศึกษาและผู้สนใจสามารถไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสาร ตัวเต็มชุดนี้ ได้ที่
http://kruteeworld.siamvip.com/
ให้ a b และ c เป็นจำนวนเต็มบวกใด

ตัวคูณร่วมน้อยที่สุด (ค.ร.น.) ของ a และ b คือ จำนวนเต็มที่น้อยที่สุด (c) ที่ a และ b สามารถหาร c ได้ลงตัว เช่น

1. จำนวน 3 และ 4 หารลงได้แก่ 12, 24, 36, 48,
    ค.ร.น. ของ 3 และ 4 คือ 12
2. จำนวน 2 และ 3 หารลงได้แก่ 6, 12, 24, 36,
     ค.ร.น. ของ 2 และ 3 คือ 6
3. จำนวน 4 และ 6 หารลงได้แก่ 12, 24, 36, 48
    ค.ร.น. ของ 4 และ 6 คือ 12


ตัวหารร่วมมากที่สุด (ห.ร.ม.) ของ a และ b คือ จำนวนเต็มที่มากที่สุด (c) ที่ c สามารถ หาร a และ b ได้ลงตัว

1. จำนวนที่หาร 4 ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 4
    จำนวนที่หาร 6 ลงตัวได้แก่  1, 2, 3, 6
    ห.ร.ม. ของ 4 และ 6 คือ 2
2. จำนวนที่หาร 12 ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12
    จำนวนที่หาร 16 ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 4, 8, 16
    ห.ร.ม. ของ 12 และ 16 คือ 4

จำนวนเฉพาะ (p) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่มาตัวหารได้ลงตัว (หรือตัวประกอบ) 2 ตัว คือ 1 และ p เช่น 3, 5, 7

จำนวนประกอบ คือ จำนวนเต็มที่มีตัวหารมันได้มากกว่า 2 ตัว หรือ สามารถเขียนในรูปของผลคูณของจำนวนอื่นได้หลายแบบ เช่น
   8 = 2×4      8= 1×8
  12 = 1×12   12 = 2×6    12= 3×4

การแยกตัวประกอบของจำนวนประกอบ คือ การเขียนจำนวนจำนวนหนึ่งให้อยู่ในรูปของผลคูณของจำนวนเฉพาะ เช่น
4 = 2x2 = 22
12 = 2x6 = 2x 2x3 = 22x3
18 = 2x9 = 2x 3x3 = 2x32
30 = 5x6 = 5x 2x3 = 2x3x5
81 = 9x9 = 3x3 x 3x3 = 34
800 =8x100 = 2x2x2 x 4x25 = 2x2x2 x 2x2 x 5x5 = 25 x52

การบวก-ลบเอกนาม ตอนที่ 1 (เอกนาม คือ ตัวเลขที่มีตัวหนังสือต่อท้าย)
1) x + x = 2x
2) x + 3x =  4x
3) 7x + x = 8x
4) 4x + 7x = 11x
5) 8x + 6x = 14x

การบวก-ลบเอกนาม ตอนที่ 2
1) 2x + (–x) =  2x -x = x
2) 5x + (–3x) = 5x -3x = 2x
3) 6x + (–x) = 6x -x = 5
4) 4x – (–x) = 4x + x = 5x 
5) 8x – (–5x) = 8x + 8x

การคูณเอกนาม ตอนที่1 (จุดในที่นี้และวงเล็บติดกัน เแทนเครื่องหมายคูณ)
1) 2x.3x = 6x2
2) 5x.2x = 10x2
3) 7x.4x = 28x2
4) 6x2.3x = 18x3
5) -3x.x3 = -3x4

การคูณเอกนาม ตอนที่2

1) (2x)2 = (2x)(2x) = 4x2
2) (3x)2 = (3x)(3x) = 9x2
3) (5x)2 = (5x)(5x) = 5x2
4) (–10x2)2 = (-10x2)(-10x2) = 100x4
5) (–12x3)2 = (-12x3)(-12x3) = 144x6

โจทย์ปัญหา
1. มีไก่ 2 ตัว ตัวแรกจะขันออกมาทุก 9 นาที ไก่ตัวที่ 2 จะขันออกมาทุก 15 นาที ไก่ 2 ตัวนี้จะขันออกมาดังพร้อมกันทุกๆ กี่นาที (ถ้าครั้งแรกไก่ทั้ง2 ขันพร้อมกัน)
2. เชือก 3 เส้นยาว 18, 30, 42 เมตร ตามลำดับ ถ้าต้องตัดแบ่งเชือกทั้ง 3 เป็นเส้นเล็กลงและยาวเท่ากัน เชือกที่แบ่งได้จะยาวที่สุดยาวกี่เมตร และแบ่งได้กี่เส้น

10 ธ.ค. 2555

แนวข้อสอบ 16-12-55

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
ออก 10 คำจาก 12 คำนี้ และคำศัพท์ที่นักศึกษาจำมาเองอีก 5 คำ
at = ที่
because = เพราะว่า
before = ก่อน
daily = ทุกๆวัน
fast = เร็ว, อย่างรวดเร็ว
if = ถ้า
in = ใน
near = ใกล้
of = ของ, แห่ง
slowly = อย่างช้าๆ
under = ใต้
well= ดี

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์
1)  (70 + 28) / 7 - (6 x 2) = ......
2)  51 - (10 - 3)x5 = .......
3)  72 + (-6)2 - (-2)3 = .......
4) (-2)3(-1)2 -(3)3(-1)3 = ........
5) (8)2 -(9-12)2 = .......

แนวคิด
1)  (70 + 28) / 7 - (6 x 2) = 98 / 7 -12 = 14 - 12 = 2
2) 51 - (10 - 3)x5 =51 - 7x5 = 51 - 35 = 16
3)  72 + (-6)2 - (-2)3 = 49 + 36 -(-8) = 49 + 36 + 8 = 93
4) (-2)3(-1)2 -(3)3(-1)3 = (-8)(1) - (27)(-1) = -8 - 27 = -35
5) (8)2 -(9-12)2 = 64 - (-3)2 = 64 -9 = 55

* * * * * *

ภาษาอังกฤษ ตอนที่1-2

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังฤษที่สอนในวันที่ 2 และ 9ธันวาคม 2555
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ (Part of speech)
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ แบ่งได้เป็น 8 กลุ่ม คือ
1. คำนาม (Noun, n) ใช้ในการเรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ รวมทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
เช่น
table = โต๊ะ
paper = กระดาษ
face = หน้า, ใบหน้า
hand = มือ
plane = เครื่องบิน
news = ข่าว
water = น้ำ
thief = ขโมย
engineer = วิศวกร
document = เอกสาร
January = เดือนมกราคม
Monday = วันจันทร์

conversation = การสนทนา
examination = การสอบ
happiness = ความสุข
sadness = ความโศกเศร้า
leadership = ความเป็นผู้นำ

Sumalee = สุมาลี
Pranee = ปราณี
Somboon = สมบูรณ์

2. คำสรรพนาม (Pronoun, Pron) ใช้เรียกแทนคำนามที่เราได้พูดถึงไปแล้วโดยไม่เรียก ชื่อของคนหรือสิ่งนั้นตรงๆ 
I = ฉัน
you = คุณ
he = เขา
she = เธอ
it = มัน
they = พวกเขา, พวกมัน
we = พวกเรา

my = ของฉัน
his = ของเขา
her = ของเธอ
us = ของเรา

myself = ด้วยตัวฉันเอง
yourself = ด้วยตัวคุณเอง
himself = ด้วยตัวเขาเอง
ourself = ด้วยตัวพวกเราเอง

someone = บางคน
somewhere = บางแห่ง, บางที่
sometime = บางเวลา
anyone = ใครๆ , ทุกๆคน, ใครก็จาม
anytime = ทุกเวลา, เวลาใดก็ตาม

3. คำกริยา (Verb, v, vi, vt) ใช้แสดงการกระทำ, กริยาท่าทางของประธาน
jump = กระโดด
eat =  กิน, ทาน
buy = ซื้อ
write = เขียน
like = ชอบ
do = ทำ
make = ทำ
build = สร้าง
sit = นั่ง
sleep = นอน

4. คำคุณศัพท์ (adjective, adj) ใช้ขยายลักษณะของคำนาม ให้ภาพของคำนามนั้นมีความชัดเจนมากขึ้น
poor = จน
rich = รวย
tall = สูง
short = สั้น, เตี๋ย
new = ใหม่
old = เก่า, แก่
young = ยัง
handsome = หล่อ
ugly = น่าเกียจ

boring = น่าเบื่อ
exciting = น่าตื่นเต้น
interesting = น่าสนใจ
amazing = น่าตื่นตาตื่นใจ, น่าประหลาดใจ
bored = รู้สึกเบื่อ

excited = รู้สึกตื่นเต้น
interested = รู้สึกสนใจ
amazed = รู้สึกตื่นตาตื่นใจ, รู้สึกประหลาดใจ

5. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb, adv) คำที่ใช้ขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์, คำกริยาวิเศษณ์
quickly = อย่างรวดเร็ว
slowly = อย่างช้าช้า
usaully = โดยปกติ
often = บ่อยๆ
always = สม่ำ
very = มาก
badly = อย่าเลว, ย่ำแย่, แย่ลง

6. คำบุพบท (Preposition, Prep) คำที่ใช้เชื่อมคำนามหรือสรรพนามเข้ากับประโยคเพื่อแสดง เวลา ตำแหน่ง
in =  ใน
on = บน
behind = ด้านหลัง
in front of = อยู่หน้า
at = ที่
under = ใต้
above = อยู่เหนือหัว
next to = ใกล้กับ, ติดกับ

7. คำสันธาน (Conjunction, Conj) คำที่ใช้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน
and = และ
but = แต่
or = หรือ
because = เพราะ
after = หลัง
before = ก่อน
when = ตอนที่, เมื่อ

8. คำอุทาน (interjection, Exclamatory) คำที่เราเปล่งเสียงออกมาอย่างไม่ตั้งใจ เช่น ตกใจ ประหลาดใจ เสียใจ
yeah = ใช่เลย
wow = ว้าว...
well  ไม่มีคำแปลสำหรับคำอุทานนี้ แต่ใช้พูดเมื่อ ต้องการหยุดคิดก่อนพูดต้องไป
umh ไม่มีคำแปลสำหรับคำอุทานนี้ แต่ใช้พูดเมื่อ ต้องการหยุดคิดก่อนพูดต้องไป
Oh, God = โอ้ พระเจ้า
Oh my God = โอ้ พระเจ้า
หรือ เป็นประโยคก็ได้
How beautiful it is. มันสวยอะไรอย่างนี้

How beautiful a room it is. ห้องมันสวยอะไรแบบนี้
What a fat boy he is.เขาเป็นเด็กที่อ้วนจัง
What beautiful flowers they are. ดอกไม้สวยอะไรแบบนี้
What a big house he has. เขามีบ้ายหลังใหญ่จัง

28 พ.ย. 2555

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์-2

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่สอนวันที่ 25 พ.ย. 2555
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถไปดาวน์โหลดเอกสารเรื่องนี้ ได้ที่ http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

ทบทวนพื้นฐานการคำนวณ ตอนที่2
การคูณจำนวนลบ
เรามีหลักการในการคูณ-หารจำนวนลบ เรามีหลักการคิดคำนวณ ง่ายๆ 2 ขั้นคือ
1. ให้นับจำนวนเครื่องหมายลบ ก่อน โดยที่
  ถ้า จำนวนเครื่องหมายลบ เป็นจำนวนคู่ คำตอบจะมีเครื่องหมายบวก หรือ ไม่มีเครื่องหมาย
  ถ้า จำนวนเครื่องหมายลบ เป็นจำนวนคี่ คำตอบจะมีเครื่องหมายลบ
2. คูณตัวเลขที่มีตามปกติ

ตัวอย่าง
1) (-5)(3) = -15      มีเครื่องหมายลบ 1 อัน เป็นจำนวนคี่
2) (-5)(-3) = 15      มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
3) (-3)(-2)(-4) = -24      มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
4) (6)(-2)(5) = -60         มีเครื่องหมายลบ 1 อัน เป็นจำนวนคี่

5) (-2)2 = (-2)(-2)= 4     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -2 คูณกัน 2 ตัว

6) (-2)3 = (-2)(-2)(-2) = -8    มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -2 คูณกัน 3 ตัว

7) (-2)4 = (-2)(-2)(-2)(-2) =16     มีเครื่องหมายลบ 4 อัน เป็นจำนวนคู่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 4 หมายถึง -2 คูณกัน 4 ตัว

8) (-2)5 = (-2)(-2)(-2)(-2)(-2) = -32     มีเครื่องหมายลบ 5 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 5 หมายถึง -2 คูณกัน 5 ตัว

9) (-4)2 = (-4)(-4) = 16     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
  อ่านว่า -4 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -4 คูณกัน 2 ตัว

10) (-4)3 = (-4)(-4)(-4) =-64    มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -4 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -4 คูณกัน 3 ตัว

11) (-5)2 = (-5)(-5) =25     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
  อ่านว่า -5 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -4 คูณกัน 2 ตัว

12) (-5)3 = (-5)(-5)(-5) = -125   มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -5 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -4 คูณกัน 3 ตัว

หมายเหตุ การเขียนเครื่องหมายวงเล็บติดกัน (9)(-3) = (9)x(-3) อ่านว่า 9 คูณ -3
ตัวอย่างเพิ่มเติม
1)  32 – 22 = 3x3 – 2x2 = 9 – 4 = 5
2)  52 + 42 = 5x5 – 4x4 = 25 + 16 = 41
3)  42 – 33 = 4x4 – 3x3x3 = 16 – 29 = -13
4)  (-4)2 – 24 = (-4)x(-4) – 2x2x2x2 = 16 – 16 = 0
5)  72 – (-10)2 = 7x7 – (-10)x(-10) = 49 – 100 = -51
6)  (-2)2(-3) = (-2)(-2)(-3) = -12
7)  (-4)(-2)3 = (-4)(-2)(-2)(-2) = 32
8)  (-5)2(-2) = (-5)(-5)(-2) = -50
9)  (3)2(-5) = (3)(3)(-5) = -45
10)  (-10)2(-3) = (-10)(-10)(-3) = -300
11)  (-2)2(-1)(9) = (-2)(-2)(-1)(9) = -36
12)  (5)2(-6) = (-5)(-5)(6) = -150

25 พ.ย. 2555

สรุปเนื้อหาภาษาอังกฤษ(2)

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษที่สอนในวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. 55

คำศัพท์ หมวดร่างกาย (body)
arm แขน
blood เลือด
bone กระดูก
chin คาง
ear หู
eye ตา
face หน้า
feet เท้า(หลายเท้า)
finger นิ้ว
foot เท้า
hair ผม, เส้น
hand มือ
head หัว, ศีรษะ
heart หัวใจ
knee หัวเข่า
mouth ปาก
neck คอ
nose จมูก
shin คาง
shoulder หัวไหล่, บ่า
stomach ท้อง, ช่องท้อง
teeth ฟัน (หลายซี่)
thumb หัวแม่มือ, นิ้วโป้ง
tooth ฟัน 1 ซี่

บทสนทนาเกี่ยวกับการทักทายง่ายๆ แบบเพื่อนหรือ คนที่รู้จักกันดีพอสมควร เพื่อที่จะได้พูดคุยเรื่องอื่นๆต่อไป
Jim : Good morning, Jane.
จิม : สวัสดี(ตอนเช้า) ครับ...เจน
Jane : Good morning, Jim. How are you (today)?
เจน : สวัสดี(ตอนเช้า) ค่ะ...จิม วันนี้คุณสบายดีหรือเปล่า?
Jim : I’m fine. Thank you. And you?
จิม : ผมสบายดี คุณขอบ แล้วคุณล่ะ?
Jane : Very well.
แจน : สบายดีมากๆ  หรือ
          Just chilly.  (ก็เรื่อยๆ, สบายดี)

หลักไวยกรณ์ภาษาอังกฤษ
การใช้ this – that – these - those
This แปลว่า นี่, นี้ ใช้ในการชี้บอกสิ่งของ 1 สิ่งที่อยู่ใกล้มือ
  This is my girlfriend. นี่คือแฟนของฉัน (เพื่อนหญิง)
  This is my boyfriend. นี่คือแฟนของฉัน (เพื่อนชาย)
  This is my country. นี่คือประเทศของเรา

That แปลว่า นั่น, โน่น ใช้ในการชี้บอกสิ่งของ 1 สิ่งที่อยู่ไกลมือ
  That is your room. นั่นคือห้องของคุณ
  That is his report. นั่นเป็นรายงานของเขา
  That is a notebook. นั่นคือสมุดจดงาน

These แปลว่า นี่, นี้ ใช้ในการชี้บอกสิ่งของหลายสิ่งที่อยู่ใกล้มือ
  These are her pets. นี่เป็นสัตว์เลี้ยงของเธอ
  These are our cars นี่เป็นรถของพวกเรา
  These are two boxes นี่เป็นกล่อง 2 ใส่

Those นั่น, โน่น ใช้ในการชี้บอกสิ่งของหลายสิ่งที่อยู่ไกลมือ
  Those are her sons. นั่นคือลูกๆของเธอ
  Those are ours houses. นั่นคือบ้านของพวกเรา
  Those are four trees. นั่นคือต้นไม้ 4 ต้น
นักศึกษาเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://kruteeworld.siamvip.com/

19 พ.ย. 2555

พิธีปฐมนิเทศ 2/2555

นี้เป็นภาพบางส่วนจากงาน พิธีปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่ และมอบวุฒิบัตร นักศึกษาที่จบในภาคการเรียนก่อน ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่าน

การลงทะเบียนในช่วงเช้า


อาจารย์ที่เป็นพิธีกร นัดหมายเกี่ยวพิธีการต่างๆ
 
ผ.อ. เจริญ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี


ประธานในพิธี นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง (ผู้อำนวยการเขตจอมทอง)
กล่าวเปิดงาน

พระอาจารย์ มหาวิชาญ ชุติปัญโญ
ปรารภธรรมะให้กับนักศึกษา

นาย สุทธิชัย วีรกุลสุนทรสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
และประธานสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร


ท่าน ผ.อ. เจริญ ของพวกเราให้โอวาท




รุ่นใหญ่แบบนี้ก็เรียนได้และจบได้

รุ่นเล็กก็เรียนจบเหมือนกัน

รุ่นใหญ่แบบนี้ก็เรียนจบได้...ครับ

สดชื่น...สดใส...กันเลย


รุ่นนี้ก็เรียนจบ...เช่นกัน
 
รุ่นนี้กำลังลุ้นให้จบอยู่ครับ...เล่นกล้องซะ..

หลังพิธีเลิกก็มีการพบอาจารย์ประจำ ศรช. กัน..ก่อนกลับ
* * * * *

13 พ.ย. 2555

เปิดเทอมใหม่

ขอต้อนรับ นักศึกษาทุกคน สู่ ศรช. วัดบางประทุนนอก ในภาคการเรียนที่ 2 /2555
ขอให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมที่่ต่างๆ ที่มี เพื่ิอทำให้ทุกคนจบการศึกษา อย่างมีคุณภาพ

ต่อไปเป็นภาพบรรยายกาศ ของวันเรียนวันแรกของพวกเรา

ไม่มีการให้เสียเวลา อ. อิงอร บอกเรื่องแจ้ง ทันที

นักศึกษาทั้งใหม่-เก่า ก็ตั้งใจจด




ขอเป็นบรรยายกาศดีๆ แบบนี้อยู่กับ ศรช. ของเราตลอดเทอม





สรุปเนื้อหาภาษาอังกฤษ(1)

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกษ วันที่ 11 พ.ย. 55
จำนวน ในภาษาอังกฤษ
จำนวนในภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะคือ จำนวนที่ใช้ในการนับและ จำนวนที่ใช้ในการบอกลำดับ

จำนวนที่ใช้ในการนับ เช่น
one = หนึ่ง         two = สอง
three = สาม       four = สี่
five = ห้า            six = หก
seven = เจ็ด       eight = แปด
nine = เก้า          ten = สิบ

eleven = สิบเอ็ด
twelve = สิบสอง
thirteen = สิบสาม
fourteen = สิบสี่
fifteen = สิบห้า
sixteen = สิบหก
seventeen = สิบเจ็ด
eigthteen = สิบแปด
nineteen = สิบเก้า
twenty = ยี่สิบ
twenty - one = ยี่สิบเอ็ด
twenty - two = ยี่สิบสอง
thirty = สามสิบ
forty = สี่สิบ
fifty = ห้าสิบ
sixty = หกสิบ
seventy = เจ็ดสิบ
eighty = แปดสิบ
ninety = เก้าสิบ
one hundred = หนึ่งร้อย

คำที่มีแถบสีแดงเป็นคำที่จะใช้สอบในสัปดาห์หน้า 2 ธ.ค. 2555

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์(1)


สรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร๋ ที่สอนวันที่ 11 พ.ย. 2555
ทบทวนพื้นฐานการคำนวณ
การบวก-ลบ-คูณ-หาร
ให้สังเกตการบวก - ลบต่อไปนี้
แบบที่ 1
1)  15 + 6 + 27 = 21 + 27 = 48
2)  32 - 15 + 7 = 17 + 7 = 24
3)  50 - 26 + 38 = 24 + 38 = 62
แบบที่ 2
1)  4 - 7 + 13 = 17 - 7 = 10               หรือ      4 - 7 + 13 = -3 +13 = 10
2)  6 - 15 + 24 = 30 - 15 = 15           หรือ     6 - 15 + 24 = -9 + 24 = 15
3)  12 - 20 + 34 = -8 + 34 = 26        หรือ     12 - 20 + 34 = -8 +34 = 26
แบบที่ 3
1) 2x3 + 9 = 6 + 9 = 15
2) 5 + 7x5 = 5 + 35 = 40
3) 42 - 4x9 = 42 - 36 = 6
4) 6x4 - 5x3 = 24 - 15 = 9
5) 24 ÷ 4 + 54 ÷ 6 = 6 + 9 = 15
6) 42 - 16 ÷ 2 = 42 - 8 = 34
สรุปว่า ต้องทำการคูณและการหารก่อนการบวกและการลบ
แบบที่ 4
1) (9 + 5) x 3 = 14x3 = 42
2) 9 + (5 x 3) = 9 + 15 = 24
3) 24 ÷ (4 + 2) = 24 ÷ 6 = 4
4) (24 ÷ 4) +2 = 6 + 2 = 8
5) 17 - (15 - 7) = 17 - 8 = 9
6) (40 + 5) ÷ (15 - 6) = 45 / 9 = 6
7) 19 + 3 x (6+5) = 19 + 3x11 = 19 + 33 = 52
สรุปว่า ถ้ามีเครื่องหมายวงเล็บให้ คิดเลขในวงเล็บก่อน

จำนวนลบ
ขอให้สังเกต การลบต่อไปนี้

4 - 2 = 2        เหลืออยู่ 2
4 - 3 = 1        เหลืออยู่ 1
4 - 4 = 0        หมดพอดี
4 - 5 = -1      ไม่พอ 1
4 - 6 = -2      ไม่พอ 2
4 - 9 = -5       ไม่พอ 5
4 - 11 = -7      ไม่พอ 7
4 – 15 = -11   ไม่พอ 11
4 – 32 = -28   ไม่พอ 28
4 – 40 = -36   ไม่พอ 36
5 - 8 = -3       ไม่พอ 3
5 - 11 = -6     ไม่พอ 6
5 - 15 = -10    ไม่พอ 10
9 - 17 = -8     ไม่พอ 8
9 - 21 = -13    ไม่พอ 13
10 - 20 = -10  ไม่พอ 10
12 - 30 = -18  ไม่พอ 18
13 – 19 = -6    ไม่พอ 6
20 – 43 = -23  ไม่พอ 23
31 – 50 = -19  ไม่พอ 19

เลขยกำลัง
เราจะอ่านสัญลักษณ์และให้ความหมายสัญลักษณ์ ต่อไปนี้ ว่า
23 อ่านว่า 2 (ยก)กำลัง 3  หมายถึง 2 คูณกัน 3 ตัว
23 = 2×2×2 = 8

24 อ่านว่า 2 (ยก)กำลัง 4 หมายถึง 2 คูณกัน 4 ตั
24 = 2×2×2×2 = 16

33 อ่านว่า 3 (ยก)กำลัง หมายถึง 3 คูณกัน 3 ตัว
33 = 3×3×3 = 27

35 อ่านว่า 3 (ยก)กำลัง หมายถึง 3 คูณกัน 5 ตัว
35 = 3×3×3×3×3 = 243



สำหรับผู้สนใจ สามารถไป ดาวน์โหลด เอกสารชุดนี้ได้ฟรีที่...
http://kruteeworld.siamvip.com ในหัวข้อ ดาวน์โหลด-- กศน. ครับ

24 ต.ค. 2555

การบ้านปิดเทอม

การบ้านปิดเทอม
วิชาภาษาอังกฤษ ให้นักศึกษาหาคำศัพท์จากหนังสือหรือคำศัพท์จากที่ต่างๆพบ นำคัดพร้อมกับแปล วันละ 5 คำ ให้ทำเริ่มแต่วันที่ 1 พ.ย. 2555 จะได้คำศัพท์รวม 50 คำ ตัวอย่าง
1 พ.ย. 2555
time = เวลา
Sunday = วันอาทิตย์
brush = แปรง
futsal = บอลสนามเล็ก
media = สื่อ
2. พ.ย. 2555
aution = การประมูล
Monday = วันจันทร์
hair = เส้นผม
shampoo = ยาสระผม
restart = เปิดเครื่องใหม่
*****

7 ต.ค. 2555

การเตรียมตัวเรียนในภาคการเรียนที่ 2/2555

ขอแจ้งให้นักศึกษาทราบว่า ในเทอมหน้าที่จะถึงนี้ มีวิชาหลักๆคือ วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นวิชาที่ยากมากๆ สำหรับนักศึกษาทุกคน ดังนั้น ครูจึงขอแนะนำให้นักศึกษาทุกคน เตรียมตัวเรียนดังนี้
วิชาคณิตศาสตร์ ขอให้ฝึกทักษะ การบวก ลบ คูณ หาร และท่องแม่สูตรคูณ
วิชาภาษาอังกฤษ หาคำศัพท์ต่างๆ อะไรก็ได้มาท่องจำไว้ก่อน ให้ได้มากที่สุด เพราะ เวลาให้ห้องเรียนอย่างเดียวไม่พอเพียง
หรือไปเว็บไซด์ http://kruteeworld.siamvip.com/ ของครู ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดมาทำก็ได้

ขอให้นักศึกษา คอยติดตามข่าวสาร จากที่เว็บไซด์ของพวกเราบ่อยๆ เพราะครูอาจจะสั่งการบ้านปิดเทอม ให้พวกเราได้ทำกัน

16 ก.ย. 2555

ประกาศข่าวของจากทาง ศรช. วัดบางประทุนนอก เอกชัย 9 แขวงบางขุนเทียน

เรื่องการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ประจำปี 2555
ผู้ที่สนใจขอเตรียมเอกสารต่างๆ ต่อไปนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
3. วุฒิการศึกษา 2 ชุด
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
5. เอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล 1 ชุด(ถ้ามี)
6. พร้อมเงินค่าสมัคร ประมาณ 1200 บาท
เปิดรับสมัครในวันที่ 1- 31 ตุลาคม 2555
สมัครได้ที่สำนักงานเขตจอมทอง

หากมีข้อสงสัย เชิญฝากคำถามได้ที่กล่องความคิดเห็นด้านล่าง

3 ส.ค. 2555

สรุปเนื้อหาที่สอน5-8-55(2)-ฤดูกาลและพายุ

สรุปเนื้อหาที่สอน5-8-55 ตอนที่ 2
วิชาวิทยาศาสตร์  เรื่องฤดูกาลและพายุ

ปัจจัยที่ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง
1.กระแสลมและฝน
กระแสลม คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา เพราะในบริเวณต่างๆมีความกดอากาศไม่เท่ากัน เกิดจากในบริเวณที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มาก อากาศบริเวณนั้นก็จะร้อนมีความกดอากาศต่ำและขยายตัวลอยสูงขึ้น อากาศจากที่อื่นซึ่งมีความกดอากาศสูงกว่าและมีอุณหภูมิต่ำกว่าก็เคลื่อนเข้ามาแทนที่

ฝน เกิดจากการเคลื่อนที่ของลมจากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าและถ้ากระแสลมเคลื่อนที่ผ่านทะเลหรือมหาสุมทร ก็จะนำเอาความชื้นและละอองน้ำไปเมื่อมากระทบกับบริเวณที่มีความเย็นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน

2.ความกดอากาศ
  เนื่องจาก พื้นโลกในบริเวณต่างๆ มีค่าความกดอากาศไม่เท่ากัน ความกดอากาศนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอกเวลาขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยที่
** บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ จะเกิดฝนตก, เกิดลมพายุและมีอากาศเย็น
** บริเวณที่มีความกดอากาศสูง เช่น ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆฝน
เราใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า บารอมิเตอร์และบารอกราฟในการวัดความกดอากาศ

3) อุณหภูมิ
  คือ ระดับความหนาว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพอากาศ เช่น กลางวัน จะมีอุณหภูมิ สูงกว่ากลางคืน นอกจากนั้นอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดลม พายุ หมอก น้ำค้าง เมฆ

4) ความชื้น
  คือ ปริมาณไอน้ำในอากาศ หรือความสามารถของอากาศที่จะรับไอน้ำเอาไว้ได้ ซึ่งความชื้นนี้จะเปลี่ยนไปตามวัน เวลาและสถานที่
   ความชื่นในอากาศ มีผลใช้การดำเนินชีวิตของเรา เช่น วันที่อากาศชื้น เราจะรู้สึกเหนียวตัวและอึดอัด เพราะมีอากาศมีความชื้นมาก ทำให้รับปริมาณไอน้ำได้น้อย เหงื่อของเราก็ระเหยได้น้อย แต่ถ้าวันที่อากาศแห้ง เราจะรู้สึกเย็นจนบางครั้งทำให้ผิวหนังแห้งและแตกเนื่องจากเหงื่อของเราระเหยได้มาก
  เราใช้เครื่องวัดที่เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์(Hygrometer) เพื่อวัด ความชื้นในอากาศ ที่นิยมใช้คือแบบกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง

ลมต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ลม คือ มวลอากาศที่เคลื่อนที่ โดยมวลอากาศนี้จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเสมอ

ประเภทของลมมี 3 ประเภท คือ
1. ลมประจำเวลา
ลมบก เกิดในเวลากลางคืน เกิดจากลมที่พัดจากพื้นดินออกสู่ทะเล เนื่องจากพื้นดินคลายความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ ทำให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำสูงกว่าพื้นดิน มวลอากศจึงเคลื่อนจากฝั่งสู่ทะเล
ลมทะเล เกิดในเวลากลางวัน เกิดจากลมที่พัดจากทะเลสู่พื้นดิน เนื่องจากพื้นดินรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เร็วกว่าน้ำทำให้อุณหภูมิที่พื้นดินสูงกว่าพื้นน้ำ ทำให้มวลอากาศเย็นจากทะเลจึงเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง
2. ลมประจำฤดูหรือลมมรสุมในประเทศไทย
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ลมมรสุมฤดูร้อน) พัดจากมหาสมุทรอินเดียขึ้นสู่ทวีปเอเชีย โดยพัดผ่านประเทศไทยช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งขณะที่ลมมรสุมนี้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย ก็นำไอน้ำหรือความชื้นจากบริเวณนั้นมาสู่บริเวณที่พัดผ่าน ทำให้มีฝนตก
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมมรสุมฤดูหนาว) พัดจากประเทศจีนลงมาจนถึงบริเวณอ่าวไทยตอนใต้

3.ลมประจำถิ่น
ลมตะเภา เป็นลมที่พัดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างสูงทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำส่วนบริเวณอ่าวไทยอากาศจะเย็นกว่า มีลักษณะเป็นหย่อมความกดอากาศสูง จึงทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่จากอ่าวไทยเข้าสู่ดิน ถึงแม้ลมที่พัดมานี้จะมีความแรงไม่มาก แต่ก็ช่วยบรรเทาความร้อนในอากาศในช่วงฤดูร้อน ในสมัยก่อนพ่อค้าเรือสำเภาได้อาศัยลมตะเภาแล่นใบพาเรือมาเข้าสู่ปากอ่าวไทยได้สะดวก จึงขนามนามเรียกนี้ว่า ลมตะเภา
ลมว่าวหรือลมข้าวเบา เป็นลมที่พัดลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำชั่วคราวขึ้นในแถบอ่าวไทย ทำให้มวลอากาศจากพื้นดินเคลื่อนออกสู่ทะเล ลมว่าว ถือเป็นลมเย็นเวลาที่พัดผ่านมาจึงทำให้อุณภูมิของอากาศต่ำลง

การเกิดฤดูกาลของโลก
เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23.5 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว

ฤดูกาลในประเทศไทย
1. ฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความหนาวเย็นเข้ามาสู่ไทย ทำให้อากาศมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ตำแหน่งลำแสงของดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวพื้นโลกตอนเที่ยงวันจะอยู่ทางซีกโลกใต้ ทำให้ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นที่ในประเทศไทยเป็นลำแสงเฉียง ประมาณความเข้มของแสงก่อนลดน้อยลงตามไปด้วย
2.ฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) เป็นช่วงที่ลมมรสุมกระแสลมทะเลจีนใต้พัดเข้ามา สู่ประเทศไทยจากทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ได้โคจรมาตั้งฉากกับประเทศในเวลาเที่ยงวันพอดี ทำให้อากาศร้อนและจะมีอุณหภูมิสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน
3.ฤดูฝน (มิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาสู่ประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายไปทั่วประเทศ

พายุ (strom)
พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง
  มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ
  เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกันและมักเริ่มก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
2.1 พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
2.2 พายุไซโคลน (cyclone)  เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
2.3 พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
2.4 พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
2.5 พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
2.6 พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

พายุฤดูร้อนในประเทศไทย
   มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็น ที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
3. ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

ที่มาของข้อมูล
http://th.wikipedia.org
http://www.panyathai.or.th
ข้อมูลจาก มูลนิธิคณะลูกเสือแห่งชาติ
* * * *

สรุปเนื้อหาที่สอน5-8-55(1)

สรุปเนื้อหาที่สอนในวันที่ 5 สิงหาคม 2555
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานนิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานได้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยาที่เกิดในระดับนิวเคลียสของอะตอม โดยเกิดได้จากหลายลักษณะดังนี้
1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) เกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน ธาตุหนักเหล่านี้ เราสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สารกัมมันตรังสี หรือ ธาตุกัมมันตรังสี
2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา, เบตา, แกมมาและนิวตรอน เป็นต้น
4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น

  สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยาจากพลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น พลังงานที่ได้จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง แล้วไอน้ำแรงดันสูงจะไปหมุนกังหันไอน้ำที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้า

สารกัมมันตรังสี (Radioactive) คือ สารที่สามารถปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี ดังนั้น สารกัมมันตรังสี ก็คือ สารหรือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีออกมาได้

กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) คือ รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี และเมื่อแผ่รังสีออกมา มันจะก็จะกลายสภาพไปเป็นธาตุชนิดอื่น

การแผ่รังสีจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยอัตราการแผ่รังสีของธาตุแต่ละชนิดนั้นเป็นสมบัติเฉพาะตัวและมีค่าคงที่ เราเรียกการอัตราการสลายตัวของสารเหล่านี้ว่า ครึ่งชีวิต หรือ Half life คือ ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เวลาสลายตัวจนเหลือปรมาณครึ่งหนึ่งของสารตั้งต้น

กัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวมี 3 ชนิด คือ
1. รังสีแอลฟ่า มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษ อากาศ น้ำที่หนาประมาณ 2- 3 ซ.ม. หรือโลหะบาง ๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
2. รังสีบีต้าหรือเบตา มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า ทะลุผ่านกระดาษบาง ๆ เสื้อผ้า มือ น้ำที่หนา 2 ซม. แผ่นอะลูมิเนียมหนา 1 ซม. ได้ และมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง
3. รังสีแกมมา เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และมีอำนาจทะลุทะลวงสูง ผ่านแผ่นตะกั่วหนา 1.5 มม. หรือแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้ แต่ถ้าใช้ตะกั่ว และคอนกรีต ผสมเข้าด้วยกันสามารถกั้นรังสีแกมมาได้

กัมมันตภาพรังสีที่ได้มาใช้ประโยชน์ เช่น
คาร์บอน-14 ในการคำนวณอายุของวัตถุโบราณหรือซากดึกดำบรรพ์
ไอโอดีน -131 ใช้ในทางการแพทย์ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
โคบอลต์ -60 และเรเดียม -226 รักษาโรคมะเร็ง
ยูเรเนียม -238 ในเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น

หน่วยวัดรังสี
หน่วยสำหรับวัดอัตราการเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตภาพรังสีที่นานาชาติใช้กันนั้นมีหน่วยเป็น "มิลลิซีเวิร์ตส์" หรือ "เอ็มเอสวี-MSV" ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามนามสกุลของศาสตราจารย์โรล์ฟ มักซิมิเลียน ซีเวิร์ต ชาวสวีดิช ผู้บุกเบิกการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต
1. ผลของรังสีที่มีต่อร่างกาย คือ เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผมร่วง เซลล์ตาย เป็นแผลเปื่อย เกิดเนื้อเส้นใยจำนวนมากที่ปอด (fibrosis of the lung) เกิดโรคเม็ดโลหิตขาวมาก (leukemia) เกิดต้อกระจก(cataracts) ขึ้นในนัยน์ตา เป็นต้น ซึ่งร่างกายจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับ ส่วนของร่างกายที่ได้ และอายุของผู้ได้รับรังสี
2. ผลของรังสีที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ คือ ทำให้โครโมโซม (chromosome) เกิดการเปลี่ยนแปลง มีผลทำให้ลูกหลานเกิดเปลี่ยนลักษณะได้
3. อาการที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับกัมมันตรังสีโดยไม่มีการควบคุม
3.1 คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
3.2 เม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรุนแรง
3.3 ระบบการสร้างโลหิตจากที่ไขกระดูกบกพร่อง
3.4 ร่างกายความต้านทานโรคต่ำ
3.5 เกิดความผิดปกติบริเวณที่ถูกรังสี เช่น ผิวหนังไหม้พุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เป็นต้น

เรียบเรียงข้อมูลจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

งานวันเกิดเจ้าอาวาสของพวกเรา

เนื่องจากในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมาวัดบางประทุนนอก
ของเราได้จัดงานสำคัญขึ้น คือ งานวันเกิดของพระมงคลวราภรณ์
(วิทยา ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดบางประทุนนอก ที่เคารพ
ของพวกเรา จึงขอถือโอกาสนี้นำภาพบางส่วนของงานมา
ให้พวกเรา ชาวศรช. วัดบางประทุนนอกได้ร่วมอนุโมทนา
และร่วมกันมีมุทิตาจิตต่อท่านกัน

















31 ก.ค. 2555

งานแห่เทียนพรรษา55

นี้เป็นภาพจากกิจกรรมเนื่องในวันแห่เทียนพรรษา
ในวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฏาคม 2555 ที่ผ่านมา
ช่วงแรก เป็นเตรียมงาน ในวันที่ 22 ก.ค. 2555 ก่อนวันงาน


อาจารย์และนักศึกษาส่วนหนึ่งช่วยกันจัดเครื่องไทยธรรม




นักศึกษาส่วนหนึ่งช่วยกันจัดและตกแต่งต้นเทียน

นักศึกษาอีกส่วนมาช่วยกันเติมน้ำหมักชีวภาพ

ช่วงที่ 2 ในวันจัดงานจริง 29 ก.ค. 2555

ถ่ายรูปร่วมกัน...ก่อนการจัดขบวน

เริ่มออกเดินเวียนขวารอบโบสถ์



อากาสถึงจะร้อนแต่ก็ยิ้มได้

ญาติโยมที่ทราบก็มาร่วมบุญด้วย

นำต้นเทียนขึ้นมาที่โบสถ์



ถวายต้นเทียนพรรษาและปัจจัย

ร่วมกันถวายเครื่องไทยธรรม

กรวดน้ำ


ท่านเจ้าอาวาสให้พร

หลังเสร็จงานเราก็มาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก




ขอขอบคุณนักศึกษาทุกคนที่ช่วยกันทำให้งานในครั้งนี้
เสร็จสิ้นด้วยดีและขอขอบคุณญาติโยมทุกท่านที่ได้ร่วมก้น
บริจาคปัจจัยในครั้งนี้ครับ....
ขอให้ทุกคนทุกท่าน จงมีแต่ความสุขความเจริญ ยิ่งๆขึ้นไป

* * * * *