10 ธ.ค. 2556

เนื้อหาวันที่ 8-12-56

สรุปเนื้อหาวันที่ 8 ธันวาคม 2556
ภาษาอังกฤษ
ประโยคที่ แปลว่า ฉันมี...
I have a car. ฉันมีรถ 1 คัน
I have two bicycles. ฉันมีจักรยาน 2 คัน
I have a football team. ฉันมีทีมฟุตบอลอยู่ 1 ทีม
I have my own business. ฉันมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
I have no money. ฉันไม่มีเงินเลย
I have 300 baht. ฉันมีเงินอยู่ 300 บาท
I have a dream. ฉันมีความฝัน
I have three sisters and one brother. ฉันมีน้องสาว 3 คนและ น้องชาย 1 คน

ประโยคที่ แปลว่า ฉันเคยมี...
I had a lot of money. ฉันเคยมีเงินมากมาย
I had a big house. ฉันเคยมีบ้านหลังใหญ่
I had two wives. ฉันเคยมีภรรยา 2 คน
I had many books. ฉันเคยมีหนังสือมากมาย
I had three best friends. ฉันเคยมีเพื่อนที่ดีที่สุด 3 คน

คณิตศาสตร์
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมด้านขานา




โจทย์ให้ลองทำ ให้หาพื้นที่ของรูปต้อไปนี้


วิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง อัตราเร็ว และเวลา
  สูตร  ระยะทาง = อัตราเร็ว × เวลา
  หรือ  s = v × t
โดยที่ ระยะทาง มีหน่วยเป็น กิโลเมตร (กม.)
ความเร็ว มีหน่วยเป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กม./ชม.)
เวลา มีหน่วยเป็น ชั่วโมง (ชม.)
ตัวอย่าง ชัยขับรถด้วยอัตราเร็ว 90 กม./ชม. เป็นเวลา 30 นาทีจะได้ระยะทางกี่กิโลเมตร
วิธีทำ
ระยะทาง = อัตราเร็ว × เวลา
              = 90 x 30 / 60
               = 2700 / 60
               = 45 กิโลเมตร
ตัวอย่าง ชัยขับรถด้วยอัตราเร็ว 90 กม./ชม. ได้ระยะทาง 180 กิโลเมตร ต้องใช้เวลานานกี่ชั่วโมง
วิธีทำ
เวลา = ระยะทาง / อัตราเร็ว
         = 180 / 90
         = 2 ชั่วโมง

โจทย์ให้ลองทำ
1. แก้วเดินทางไปโรงเรียนที่อยู่ห่างจากบ้าน 800 เมตร โดยใช้ความเร็ว 2.5 กม./ชม. แก้วต้องใช้เวลาเดินนานเท่าไหร่
2. บ้านกับที่ทำงานอยู่ห่างกัน 4 กิโลเมตรถ้าน้ำขี่จักรยานด้วยอัตราเร็ว 8 กม./ชม. จะใช้เวลาน้อยกว่าเดินด้วยความเร็ว 2 กม./ชม. เท่าใด








13 ต.ค. 2556

บทเพลงแห่งอาเซียน


The ASEAN Way เป็นเพลงที่แต่งโดยคนไทย  คือ นายกิตติคุณ สุดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา  ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)
ภาษาอังกฤษ
Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look'in out to the world.
For peace our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream,
We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream,
We care to share
For it's the way of ASEAN.

คำแปล
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน

เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล

10 ก.ย. 2556

แนวข้อสอบรวบๆ 2

แบบทดสอบ
การพัฒนาแผนและโครงการอาชีพ
อช.32001ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย

1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของโครงการ
ก. กิจกรรมที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
ข. การวางแผนล่วงหน้าและจัดทำอย่างเป็นระบบ
ค. กิจกรรมที่สามารถวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติได้
ง. กิจกรรมที่ไม่ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าสามารถปฏิบัติได้เลย

2. ลักษณะของโครงการที่ดีเป็นอย่างไร
ก. สามารถติดตามและประเมินผลได้
ข. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน
ค. มีระยะเวลาการดำเนินงานที่แน่นอน
ง. ถูกทุกข้อ

3. ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องของการออม
ก. การเก็บเงินที่หามาได้โดยไม่จ่ายอะไรเลย
ข. ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่หลังจากการอุปโภค
ค. การเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็นและฉุกเฉิน

4. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการออม
ก. รายได้                    ข. อัตราดอกเบี้ย
ค. สถาบันการเงิน       ง. ของขวัญและของรางวัล

5. ข้อใดเป็นเป็นประเภทของการออม
ก. การออมโดยมีดอกเบี้ยและไม่มีดอกเบี้ย
ข. การออมด้วยตนเองและการออมโดยผู้อื่น
ค. การออมด้วยความสมัครใจและการถูกบังคับ
ง. การออมโดยการฝากประจำและออมโดยการฝากเผื่อเรียก

6. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการวางแผน
ก. การวางแผนทำให้ลดความไม่แน่นอน
ข. การวางแผนทำให้เกิดความเสียหายซ้ำซ้อน
ค. การวางแผนทำให้รู้มาตรฐานในการควบคุม
ง. การวางแผนทำให้รู้ทิศทางในการดำเนินงาน

7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเขียนโครงการ
ก. งบประมาณ                        ข. วัตถุประสงค์
ค. การกำหนดอายุโครงการ    ง. การประเมินผลโครงการ

9. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการวางแผน
ก. ระบุปัญหา                   ข. กำหนดวัตถุประสงค์
ค. รวบรวมและแปลข้อมูล
ง. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ

10. การตรวจสอบผลงานและการติดตามว่าการปฏิบัติงานนั้นเป็นอย่างไรอยู่ในข้อใดของการวางแผน
ก. การศึกษาแผน        ข. การประเมินผล
ค. การจัดระบบและประสานงาน
ง. การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

11. ข้อใดคือการจัดการความรู้ (KM, Knowledge Management))
ก. การระบุปัญหา
ข. การจัดสรรทรัพยากร
ค. การพัฒนาระบบข้อมูลไปสู่สารสนเทศ
ง. การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ความรู้

12. ข้อใดไม่ใช่ระดับความรู้
1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้
ง. (know-where)

13. ข้อใดไม่เป็นความรู้แบบชัดแจ้ง
ก. เว็บไซต์         ข. หนังสือ
ค. วัฒนธรรมองค์กร
ง. คู่มือการปฏิบัติงาน

14. ความรู้ที่เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริงภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อน
ก. ความรู้เชิงทฤษฎี  (Know-What)
ข. ความรู้ระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-How)
ค. ความรู้เชิงทฤษฎีและเชิงบริบท (Know-Why)
ง. ความรู้ในระดับคุณค่าความเชื่อ (Care-Why)

16. ข้อใดเป็นทุนทางสังคม
ก. ทุนทางวัฒนธรรม         ข. ทุนทรัพยากรบุคคล
ค. ทุนทรัพยากรธรรมชาติ   ง. ถูกทุกข้อ

17. “ผู้บริโภคสนใจซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพเท่านั้น”เน้นแนวคิดทางการตลาดข้อใด
ก. ความคิดมุ่งการขาย              ข. ความคิดมุ่งการตลาด
ค. ความคิดเกี่ยวกับการผลิต     ง. ความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

19. “งานที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำสารสนเทศและการสนับสนุนสารสนเทศ ได้แก่บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การที่ต้องใช้” ข้อความข้างต้นเป็นความหมายของข้อใดต่อไปนี้
ก. ข้อมูล            ข. สารสนเทศ
ค. ระบบสารสนเทศ        ง. ผิดทุกข้อ

21. ข้อใดคือประโยชน์ของการบันทึกรายรับ-รายจ่าย
ก. สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้
ข. ทราบว่ามีเงินคงเหลือเท่าใดในแต่ละวัน
ค. ทำให้ทราบรายรับรายจ่ายตลอดทั้งเดือน
ง. ถูกทุกข้อ

22. ใครปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตเพื่อให้มีรายได้และมีเงินทุนเพื่อใช้ในการขยายอาชีพ
ก. แดงปลูกผักสวนครัวหลายอย่าง
ข. น้ำเรียนหนังสือโดยขอเงินจากพ่อแม่
ค. แดงทำนาเสร็จแล้วนอนพักผ่อนอยู่บ้าน
ง. ไก่หาอาชีพเสริมหลังจากการทำงานประจำและยังจดบันทึกรายรับ รายจ่ายเป็นประจำ

23. ใครรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงิน
ก. ราตรีซื้อของทุกอย่างที่ตัวเองอยากได้
ข. นภาไม่ซื้อของกินเลยแต่ชอบขอเพื่อนกิน
ค. ดวงใจอยากได้โทรศัพท์จึงขอเงินแม่ไปซื้อ
ง. ลัดดาซื้อเฉพาะของใช้ที่จำเป็นและเงินที่เหลือก็เก็บออมไว้

24. กระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มประโยชน์ใช้สอยและมูลค่าในการแลกเปลี่ยน  ข้อความดังกล่าวเป็นความหมายของข้อใด
ก. การขาย         ข. การผลิต
ค. การตลาด      ง. การแลกเปลี่ยน

25. ข้อใดคือคุณภาพในการบริการ
ก. รูปร่าง สีสันสดใส ทนทาน
ข. รูปลักษณ์โดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
ค. ประสิทธิภาพในการทำงานความเหมาะสม
ง. การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

26. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหรือต้นทุนในการผลิต
ก. วัตถุดิบ            ข. แรงงาน
ค. ผลิตภัณฑ์       ง. การบริหารจัดการ

27. การวัดกำลังการผลิตวัดได้จากอะไร
ก. แรงงานและเงินทุน            ข. ผลผลิตและแรงงาน
ค. เงินทุนและปัจจัยการผลิต   ง. ผลผลิตและปัจจัยการผลิต

29. ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทำให้การจัดอาชีพประสบความสำเร็จ
ก. สภาพการเงินที่มั่นคง          ข. การจัดการอย่างมีคุณภาพ
ค. การใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า   ง. ถูกทุกข้อ

30. การผลิตและการควบคุมระบบการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่มาตรฐานประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก. กิจการจะต้องมีกำไรมากที่สุด
ข. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตควรมีคุณภาพสูงแต่ราคาต่ำ
ค. กระบวนการผลิตต้องมีความพร้อมทั้งคนและเครื่องมือ
ง. ผลผลิตจะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินอย่างเที่ยงตรง


แนวข้อสอบรวมๆ

แนวข้อสอบรวมๆ มีหลายวิชาปนกัน ลองอ่านนักดู...
1.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของศาสนา
ก. ความเชื่อถือ การปฏิบัติ          ข. คำสอนเกี่ยวที่เกี่ยวกับศีลธรรม
ข. คำสอนเกี่ยวกับเรื่องลึกลับ     ง. การศรัทธาบูชาพระเจ้า

2.ลัทธิหรือศาสนาที่มีหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์คือข้อใด
ก. อิสลาม           ข. คริสต์            ค. ฮินดู             ง.  พุทธ

3.ความหมายของ ศาสนาตามหลักสากล คืออะไร
ก. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสุข
ข. มีมาตรฐานการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
ค. คำสอนขาดเหตุผลแต่ประชาชนยังปฏิบัติตาม
ง. จุดรวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์

4.ตรีมูรติ ของศาสนาพราหมณ์ คืออะไร
ก. หลักธรรม     ข. เทพเจ้า      ค. คัมภีร์        ง. พิธีกรรม

5.โมกษะ มีความหมายที่ถูกต้องที่สุดตรงกับข้อใด
ก. การหลุดพ้นจากบ่วงมาร และสังสารวัฏ
ข. การหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา และอุปทาน
ค. การหลุดพ้นพันธะเครื่องผูกพันจากกองทุกข์ในโลก
ง. การหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงและตลอดไปเป็นถืออุดมคติอันสูงสุด

6.การโกรธเคืองใครแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ จัดอยู่ในอริยสัจสี่ข้อใด
ก. ทุกข์            ข. สมุทัย              ค. นิโรธ        ง. มรรค

7.เหตุใดจึงต้องมีการสังคายนาพระไตรปิฎก
ก. หลักคำสอนมิได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน    
ข. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าสูญหายไป
ค. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าใจได้ยาก
ง. ผู้ปฏิบัติให้หลักคำสอนคลาดเคลื่อนไปจากของเดิมมาก

8.การเรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์ ข้อใดสำคัญสุด
ก. ชีวิตทุกชีวิตต้องแตกดับ      
ข. ธรรมชาติของชีวิตไม่อาจยั่งยืนได้
ค. การเปลี่ยนแปลงของชีวิตเป็นธรรมชาติ
ง. การกระทำทั้งปวงต้องรอบคอบไม่ประมาท

9. ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นในกลุ่มชนชาติที่เคยนับถือศาสนาใดมาก่อน
ก. ศาสนายูดาย                 ข. ศาสนาอิสลาม  
ค. ศาสนา กรีกโบราณ       ง. ศาสนาโรมันโบราณ

10. ข้อใดคือความหมายของคำว่า ตรีเอกานุภาพ ในศาสนาคริสต์
 ก. มนุษย์ต้องมีความรัก 3 ลักษณะคือ รักตนเอง รักเพื่อนมนุษย์ และรักพระเจ้า
 ข. หน้าที่ของพระเจ้า 3 ประการคือ ผู้สร้าง ผู้รักษา และผู้ทำลาย
 ค. พระเจ้ามีองค์เดียว แต่มี3บุคคลคือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต
 ง. ให้เชื่อว่าพระเจ้าแปลงร่างได้ 3 ลักษณะคือพระบิดา พระบุตร และพระจิต

11. หลักศรัทธาในศาสนาอิสลาม หมายถึงศรัทธาในข้อใด
ก. เชื่อในความดีโดยไม่หวังผล     ข. เชื่อในพระเจ้าเพียงผู้เดียว
ค. เชื่อในประกาศิตของพระอัลเลาะห์
ง. เชื่อในพระเจ้า คัมภีร์ และกำหนดภาวการณ์ของพระเจ้า


12. จุดประสงค์ที่สำคัญของการถือศีลอด คือข้อใด
ก. ทำให้มีความอดทน            ข .เห็นคุณค่าของอาหาร
ค. มีความเป็นพวกเดียวกัน     ง. ฝึกให้มีเมตตาธรรมเมื่อเห็นคนหิว

13. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในสมัยอยุธยา
ก. มีลักษณะการปกครองแบบเทวสิทธิ์
ข. มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครอง
ค. มีการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์
ง. มีการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

14. ข้อใดมิใช่ผลที่เกิดจากการใช้ระบอบการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ก. เกิดความสามัคคีภายในชาติ
ข. พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นสมมุติเทพ
ค. ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ง. ทำให้เกิดการวางรากฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของคนไทย

15. การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือหลักข้อใดสำคัญสุด
ก. ต้องมีระบบพรรคการเมือง     ข. ต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ค. นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง    ง. ถือเสียงข้างมากในการตัดสิน

16. หน้าที่สำคัญของรัฐสภาคือข้อใด
ก. ออกกฎหมายรวมทั้งแก้ไข      ข. ควบคุมและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล
ค. ให้ความเห็นชอบกิจการสำคัญของประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ

17.ข้อใดไม่ใช่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศไว้ 3 ประการ
ก. อำนาจการปกครอง      ข. อำนาจนิติบัญญัติ
ค. อำนาจบริหารง.       อำนาจตุลาการ

18.ใครเป็นผู้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
ก. ประชาชน            ข. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค. ประธานสภาผู้แทนฯ    ง. กฎหมาย

19.กฏหมายในข้อใดที่รัฐบาลประกาศใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
ก. กฎหมายรัฐธรรมนูญ     ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. พระราชกำหนด     ง. พระราชบัญญัติ


20.สิ่งใดที่รัฐ กระทำมิได้ตามกฎหมาย
ก. ให้เสรีภาพประชาชนในการนับถือศาสนา
ข. ให้เสรีภาพประชาชนในการเดินทางในประเทศ
ค. ให้เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย
ง. ให้เงินอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนของเอกชน

21.บุคคลที่จะเป็นคนไร้ความสามารถได้เมื่อใด
ก. แพทย์สั่ง  ข. เจ้าหน้าที่รัฐสั่ง  ค. บิดามารดาสั่ง  ง. ศาลสั่ง

22.กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. ลักษณะการกระทำและสภาพจิตใจ
ข. ลักษณะความผิดและบทลงโทษ
ค. ลักษณะของการรับผิดชอบทางอาญา
ง. ลักษณะการกระทำที่เป็นความผิด

23. การหมั้นของผู้เยาว์จะสมบูรณ์เมื่อได้รับจากใครเมื่อผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา
ก. บิดาข. มารดา   ค. บิดาและมารดาง. บิดาหรือมารดา
24.ข้อใดคือความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ก. เป็นวิชาที่ศึกษาถึงระบบการซื้อขายสินค้าให้สมดุลกัน
ข. เป็นวิชาที่ศึกษาถึงปัญหาขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการผลิต ผลิตอย่างไร เพื่อใคร
ค. ศึกษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้ได้ผลผลิตพอกับความต้องการของตลาด
ง. ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้พอกับความต้องการของมนุษย์

24.ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้ามีวงจรอย่างไร
ก. ครัวเรือน ปัจจัยการผลิต สินค้า ผู้ผลิต
ข. ผู้ผลิต ปัจจัยการผลิต สินค้า ครัวเรือน
ค. ครัวเรือน ผู้ผลิต ปัจจัยการผลิต สินค้า
ง. ผู้ผลิต ครัวเรือน ปัจจัยการผลิต สินค้า

25. รายได้ประชาชาติหมายถึงข้อใด
ก. มูลค่าของสินค้าและการบริการขั้นปฐมภูมิ โดยคิดราคารวมในระยะเวลา1 ปี
ข. มูลค่าของสินค้าและการบริการขั้นสุดท้าย โดยคิดราคารวมในระยะเวลา1 ปี
ค. รายได้ของประชากรรวมกันทั้งในและต่างประเทศ คิดจากการขายสินค้าและบริการในช่วงระยะเวลา 1 ปี
ง. มูลค่าของสินค้าและการบริการขั้นสุดท้าย โดยคิดเป็นตัวเงินที่ผลิตขึ้นจากทรัพยากรในประเทศในระยะเวลา 1 ปี

26. เงินทำหน้าที่อย่างไร จึงถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ปริโภคและผู้ผลิต
ก. เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน   ข. เก็บมูลค่าของสินค้า
ค. มาตรฐานชำระหนี้ในอนาคต  ง. เป็นมาตรฐานการวัดมูลค่า

27.ข้อใดหมายถึง สภาพคล่องตัวสูง ในแง่ของเงิน
ก. สามารถแบ่งหรือเปลี่ยนเป็นส่วนย่อยได้ โดยมูลค่าคงที่
ข. เปลี่ยนเป็นสิ่งของหรือบริการอย่างอื่นได้ทันที
ค. ขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก
ง. มีมูลค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย

28.ธกส.เป็นสถาบันการเงินประเภทใด
ก. บริษัทเงินทุน    ข. ธนาคารพาณิชย์
ค. ธนาคารของรัฐบาล    ง. สหกรณ์

29. หน้าที่สำคัญที่สุดของธนาคารแห่งประเทศไทยคืออะไร
ก. ออกและพิมพ์ธนบัตร    ข. รักษาทุนสำรองเงินตรา
ค. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล   ง. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของชาติ

30.หน่วยงานใดเป็นแกนหลักในการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
ก. กรมบัญชีกลาง        ข. สำนักงานงบประมาณ
ค. กระทรวงการคลัง    ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย

31. สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นหน่วยงานในสังกัดใด
ก. กระทรวงมหาดไทยข. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ค. สำนักนายกรัฐมนตรีง. กระทรวงการคลัง

32. คำว่า ภาษี เริ่มใช้ในรัชกาลใด
ก. รัชกาลที่ 1   ข. รัชกาลที่ 2   ค. รัชการที่ 3   ง. รัชกาลที่ 4

33.ภาวะเงินเฟ้อ มีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอย่างไร
ก. สินค้าล้นตลาด      ข. การว่างงานสูงขึ้น
ค. ราคาสินค้าสูงขึ้น   ง. สินค้ามีราคาดุลยภาพ

34.ข้อใดเป็นนโยบายที่รัฐใช้ในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
ก. ลดอัตราภาษีอากร       ข. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ค. เพิ่มรายจ่ายในส่วนของรัฐมากขึ้น
ง. เลื่อนโครงการใหญ่ๆไปทำในอนาคต

35.สาเหตุของเงินฝืด คือข้อใด
ก. มีปริมาณเงินทุนหมุนเวียนในประเทศมาก
ข. มีปริมาณสินค้ามากเกินความต้องการ
ค. มีปริมาณสินค้าน้อยไม่พอขาย
ง. ราคาของปัจจัยการผลิตสูง

36.ข้อใดคือวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเป็นคัมภีร์ทางศาสนาอินเดีย
ก. พระเวท ข. สามเวท ค. ไตรเวท ง. มหากาพย์ภารตะ

37.การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนเป็นคำกล่าวของใคร
ก. ยอร์จ วิชิงตัน    ข. อับราฮัม ลินคอล์น
ค. โทมัส เจฟเฟอร์สัน    ง. แฟรงคลิน ดี รูสเวลส์

38.จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของ องค์การสหประชาชาติ คือข้อใด
ก. ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ข. ส่งเสริมกฎหมายระหว่างประเทศ
ค. บูรณะประเทศที่เสียหายจากสงคราม
ง. ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างนประเทศ

39 สาเหตุอะไรที่ทำให้ฝนมีสภาพเป็นกรด
ก. ไนโตรเจนออกไซด์     ข. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ค. คาร์บอนไดออกไซค์      ง. คาร์บอนมอนออกไซค์

3 ก.ย. 2556

ตอบคุณ mariya manya

คุณ mariya manya ถามคำถามที่น่าสนใจมาว่า
5 x 625 x 5ยกกำลัง2 = ?

เราสามารถ เปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกต้องและหาคำตอบได้ดังนี้
5 x 625 x 52 = 5 x 54 x 52 = 5 1+4+2 = 57

คุณ mariya manya และทุกคนที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.kruteeworld.com  หัวข้อเลขยกำลัง

ตัวอย่างโจทย์คณิตศาสตร์

1. ผลต่างของ 4 เท่าของจำนวนๆหนึ่งกับ 20 เท่ากับ ผลบวกของ 10 กับ 2  เท่าของจำนวนนั้น จำนวนนั้นคือ จำนวนใด
วิธีทำ ให้จำนวนนั้นคือ x
ผลต่างของ 4 เท่าของจำนวนๆหนึ่งกับ 20 = 4x + 20
ผลบวกของ 10 กับ 2  เท่าของจำนวนนั้น = 10 + 2x
จะได้
4x + 20 = 10+2x
 4x – 2x = 10 – 20
         2x = -10
           x = -10/2
           x = -5

2.  ก้อยมีเงิน 600 บาท ซื้อสมุด 3 เล่ม แล้วเหลือเงิน 210 บาทสมุดค่าเล่มละเท่าไหร่
วิธีทำ ให้สมุดราคาเล่มละ  m   บาท
จะได้สมการคือ
600 – 3x = 210
        -3x = 210 – 600
        -3x = -390
           x = -390/ -3
           x = 130

พื้นที่และปริมาตรของรูปทรง
1. สามเหลี่ยมรูปหนึ่งฐานกว้าง 12 นิ้ว สูง 9 นิ้ว
พื้นที่ = (1/2) × ฐาน × สูง = (1/2) × 12 × 9 = 6×9 = 54 ตารางนิ้ว
2. สี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีความกว้าง 20 เมตร ยาว 24 เมตร 
2.1 มีเส้นรอบรูปยาว = 2×(กว้าง + ยาว)
   = 2×(20 + 24) = 2×44 = 88 เมตร
2.2 มีพื้นที่ = กว้าง × ยาว = 20 × 24 = 480 ตารางเมตร

3. สี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปหนึ่งมีพื้นที่ 16 ตารางนิ้ว
3.1 แต่ละด้านมีขนาด
  พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน × ด้าน 
     16 = ด้าน × ด้าน
4 × 4 = ด้าน × ด้าน
 ด้าน = 4
3.2 เส้นรอบรูปยาว = 4 × ด้าน = 4× 4 = 16 นิ้ว

5. สระน้ำแห่งหนึ่งมีความกว้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร ลึก 5 เมตร จะสามารถบรรจุน้ำได้เท่าไหร่
ปริมาตรของสระ = กว้าง × ยาว × สูง
= 10 × 14 × 5
= 700 ลูกบากศ์เมตร

หน่วยวัดต่างๆ
1. น้ำหนักของคน ใช้หน่วยเป็น กิโลกรัม
2. ขนาดของสมุด ใช้หน่วยเป็น เซนติเมตร, นิ้ว
3. ระยะทางจากกรุงเทพถึงเลย ใช้หน่วยเป็น กิโลเมตร
4. พื้นที่ของห้องเรียน ใช้หน่วยเป็น ตารางวา, ตารางเมตร
5. ขนาดหน้าจอทีวี ใช้หน่วยเป็น นิ้ว
6. น้ำหนักของข้าว ใช้หน่วยเป็น กิโลกรัม, ตัน, ถัง

โจทย์ระคน
1. ฟ้ามีเงิน 3,600 บาทไปซื้อเสื้อ คิดเป็น 2 ใน 9 ของเงินที่ฟ้ามีอยู่
1.1 เสื้อราคา = (2/9) x 3600 = 7200/9 = 800 บาท
1.2 ถ้านำเงินที่เหลือไปซื้อหนังสือ คิดเป็น 3 ใน 8 ของเงินที่เหลือ ฟ้าจะเหลือเงินกี่บาท
ฟ้าจะเหลือเงิน 3600 – 800 = 3200 บาท
นำๆไปซื้อหนังสือ 3 ใน 8
หนังสือราคา = (3/8) x 3200 = 9600/8 = 1200 บาท
ฟ้าจะเหลือเงิน 3200 – 1200 = 2000 บาท

2. โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 1,250 คนขาดเรียนไป 8% นักเรียนขาดเรียนกี่คน
วิธีทำ 8% ของ 1250 = (8/100) x 1250 = 10000/100 = 100 คน

3. พ่อซื้อทองมาราคา 20,000 บาท ขายไปที่ราคา 24,000 บาท พ่อมีกำไรร้อยละเท่าใด
วิธีทำ ได้กำไร 24000 – 20000 = 4000 บาท
ได้กำไรคิดเป็นร้อยละ (4000 x 100)/2000 = 20

4. ถ้าฝนเดินทางจากบ้านเดินด้วยอัตราเร็ว 40 เมตร/นาที ใช้เวลา 4 นาทีครึ่ง ตลาดอยู่ห่างจากบ้านฝนกี่เมตร
จาก  อัตราเร็ว 40 เมตร/นาที หมายถึง
1 นาที ฝนเดินทางได้ 40 เมตร
4 นาทีครึ่ง ฝนเดินทางได้ 40 x 4.5 = 160 เมตร
หรือ ใช้สูตร ระยะทาง = อัตรเร็ว x เวลา
จะได้  ระยะทาง 40 x 4.5 = 160 เมตร

5. พ่อเดินด้วยอัตราเร็ว 50 เมตรต่อนาที ถ้าบ้านกับร้านค้าอยู่ห่างกัน 1.5 กิโลเมตร พ่อต้องใช้เวลาเดินกี่นาที
จาก  อัตราเร็ว 50 เมตร/นาที หมายถึง
ระยะทาง 50 เมตร ต้องใช้เวลา 1 นาที
ระยะทาง 1 เมตร ต้องใช้เวลา 1/50 นาที
ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร(1500 เมตร) ต้องใช้เวลา 1/50 นาที
 = (1/50) x 1500 = 1500 / 50 = 30 นาที




27 ส.ค. 2556

เลขยกกำลัง โดยใช้สูตร

ตัวอย่างโจทย์ เรื่องเลขยกกำลัง โดยใช้สูตรลัด
ชุดที่ 1

ชุดที่ 2



26 ส.ค. 2556

โจทย์โจทย์คณิตศาสตร์

ตัวอย่างเพิ่มเติม การคำนวณพื้นฐาน
1. 4 + (5-18) - (- 6) = 4 - 13 + 6 = -9 + 6 = -3
2. 6 – (7- 10) × 4 +11 = 6 -(-3)x4 +10 = 6 + 12 + 10 = 28
3. (45÷3) + 24÷(-2) = 15 – 12 = 3
4. |-3| + |-7| - |-5| = 3 + 7 – 5 = 5
5. |-8-7| + |2 - 5| = |-15| + |-3| = 15 + 3 = 18
6. |7×4 - 40| - |22 + 3×(-8)| = |28 - 40| - |22 - 24| = |-12| - |-2| = 12 – 2 = 10
7. 52 + (-4)2 + (-3)3 = 25 +16 – 27 = 41 – 27 = 14
8. (4 - 11)2 + (3 - 14)2 = (-7)2 + (-11)2 = 49 + 121 = 170
9. 102 - 82 - (-17) = 100 - 64 +17 = 36 - 17 = 19
10. |43 - 92| - |16-(-24)| = |64- 81| - |16+24| = |-17| - |40| = 17 – 40 = -23

รากที่ 2 ชุดที่1

รากที่2 ชุดที่ 2






22 ส.ค. 2556

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์-1

แนวข้อสอบ
ข้อให้นักศึกษาอ่านทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา เหล่านี้เพื่อนำไปใช้ในการสอบ
ชุดที่1
1. 4 + (5-18) - (- 6) = 4 - 13 + 6 = -9 + 6 = -3
2. 6 – (7- 10) × 4 +11 = 6 -(-3)x4 +10 = 6 + 12 + 10 = 28
3. (45÷3) + 24÷(-2) = 15 – 12 = 3
4. |-3| + |-7| - |-5| = 3 + 7 – 5 = 5
5. |-8-7| + |2 - 5| = |-15| + |-3| = 15 + 3 = 18
6. |7×4 - 40| - |22 + 3×(-8)| = |28 - 40| - |22 - 24| = |-12| - |-2| = 12 – 2 = 10
7. 52 + (-4)2 + (-3)3 = 25 +16 – 27 = 41 – 27 = 14
8. (4 - 11)2 + (3 - 14)2 = (-7)2 + (-11)2 = 49 + 121 = 170
9. 102 - 82 - (-17) = 100 - 64  +17 = 36 - 17 = 19
10. |43 - 92| - |16-(-24)| = |64- 81| - |16+24| = |-17| - |40| = 17 – 40 = -23

ชุดที่2 
โปรดติดตามต่อไป....

เฉลยข้อสอบกลางภาค











21 ส.ค. 2556

เฉลยใบงาน-การแทนนค่า

การแทนค่า
การแทนค่าของ 1 ตัวแปรและ 2 ตัวแปร

การแทนค่าในสัญลักษณ์ของฟังก์ชั่น


การประยุกต์การแทนค่า ช่วยในการหาคำตอบ



หมายเหตุ นักศึกษาหรือผู้สนใจ ใบงานเรื่องนี้สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่
http://www.kruteeworld.com  ที่หัวข้อ ดาวน์โหลด กศน

เฉลยใบงาน-เรื่องรากที่2


ความหมายของรากที่ 2 จะอยู่ในเรื่อง เฉลยใบงานทฤษฎีบทปีทาโกรัส
การบวก-ลบ รากที่2


การถอดรากที่ 2
การคูณรากที่ 2


การหารรากที่ 2

โจทย์ระคนหรือโจทย์ยาก
แนวคิด ใช้กฎการกระจายหรือการแจกแจง คือ x(y + z) = xy + xy มาใช้

หมายเหตุ นักศึกษาหรือผู้สนใจ ใบงานเรื่องนี้สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่ 
http://www.kruteeworld.com  ที่หัวข้อ ดาวน์โหลด กศน






เฉลยใบงาน-เศษส่วน2

เฉลยใบงาน-เศษส่วน ชุดที่ 2
การคูณเศษส่วนแบบตัดทอนก่อนไม่ได้

การคูณเศษส่วนแบบตัดทอนก่อนได้


การคูณจำนวนคละ
การหารเศษส่วน
โจทย์ปัญหาเกี่ยวเศษส่วน


หมายเหตุ นักศึกษาหรือผู้สนใจ ใบงานเรื่องนี้สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่
http://www.kruteeworld.com  ที่หัวข้อ ดาวน์โหลด กศน



20 ส.ค. 2556

เฉลยใบงาน-ทฤษฎีบทปีทาโกรัส

เฉลยใบงาน-ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
พื้นฐานที่ควรทราบ
ความหมายของเลขยกกำลังและการเขียนจำนวนต่างๆให้อยู่ในรูปของเลขยกำลัง
รากที่2 ของจำนวนเต็ม
ความหมายของรากที่ 2


การหาค่าของรากที่ 2 การถอดรากโดยวิธีการดึงตัวซ้ำ

การแก้สมการรากที่ 2 แบบง่าย

โจทย์เกี่ยวรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีบทปีทากอรัส


โจทย์ปัญหา





13 ส.ค. 2556

คณิตศาสตร์-รูปสี่เหลี่ยม

สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยม
ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
1. สี่เหลี่ยมที่มีทุกด้านเท่ากันและทุกมุมเป็นมุมฉาก เรียกว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. สี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามเท่ากัน 2 คู่ และทุกมุมเป็นมุมฉาก เรียกว่า สี่เหลี่ยมผืนผ้า
3. สี่เหลี่ยมที่มีทุกด้านเท่ากันและทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก เรียกว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
4. สี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามเท่ากัน 2 คู่ และทุกมุมเป็นไม่มุมฉาก เรียกว่า สี่เหลี่ยมด้านขนาน
5. สี่เหลี่ยมที่มีด้านติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่ เรียกว่า สี่เหลี่ยมรูปว่าว
6. สี่เหลี่ยมที่มีด้านขนาน 1 คู่ เรียกว่า สีเหลี่ยมคางหมู
7. สีเหลี่ยมที่ไม่มีด้านและมุมใดที่ยาวเท่ากัน เรียกว่า สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าหรือสี่เหลี่ยมใด

เส้นทแยงมุม คือ เส้นที่ลากจากมุมหนึ่งไปยังมุมที่อยู่ตรงข้าม
เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม จะมี 2 เส้น

สูตร
สูตรเส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม = ผลรวมของด้านทั้ง 4
สูตรพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน × ด้าน
พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง × ยาว หรือ ฐาน × สูง
พื้นที่รูปสีเหลี่ยมด้านขนาน = ฐาน × สูง
พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และ สี่เหลี่ยมรูปว่าว = (1/2) ×ผลคูณของเส้นทแยงมุม
พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู  = (1/2) × สูง  x ผลบวกของด้านคู่ขนาน

ตัวอย่างโจทย์
ชุดที่ 1
1. สนามหญ้าแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่ผืนผ้า มีความกว้าง 18 เมตรและความยาว 20 เมตร
1.1)  สนามหญ้าแห่งนี้จะมีพื้นที่เท่าไหร่
วิธีทำ  พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง × ยาว = 18 ×20 = 360 ตารางเมตร

1.2) ถ้าฝนวิ่งรอบสนามหญ้าแห่งนี้ทุกวันวันละ 15 รอบ จะได้ระยะทางกี่เมตร
วิธีทำ การหาระยะที่ฝนวิ่งหาได้จาก ความยาวเส้นรอบรูปของสี่เหลี่ยม
เส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม = ผลรวมของด้านทั้ง 4 = 18 + 20 + 18 + 20 = 76 เมตร
ฝนวิ่งวันละ 15 รอบจะได้ระยะทาง = 76 × 15 = 1140  เมตร

2. พื้นห้องแห่งหนึ่งกว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตร ถ้าต้องการปูนกระเบื้องขนาด 50×50 เซนติเมตร
2.1) ต้องใช้กระเบื้องทั้งหมดกี่แผ่น
วิธีทำ  แนวคิด 1 เมตร = 100 เซนติเมตร
ความกว้าง 8 เมตร = 8 ×100 = 800 เซนติเมตร
ความยาว 10 เมตร = 10 ×100 = 1000 เซนติเมตร
พื้นห้องจะมีพื้นที่ = กว้าง×ยาว = 800 × 1000 = 800000 ตารางเซนติเมตร
กระเบื้อง1 แผ่นมีพื้นที่ 50×50 = 2500 ตารางเซนติเมตร
ต้องใช้กระเบื้อง  800000 / 2500 = 320 แผ่น

2.2) ถ้ากระเบื้องแผ่นละ 40 บาทต้องใช้เงินกี่บาท
วิธีทำ ต้องใช้เงิน 320 × 40 = 12800 บาท

ชุดที่ 2
1. สี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปหนึ่ง มีด้านหนึ่งยาว 7 เซนติเมตร แล้ว
  1.1 จะมีพื้นที่ = ด้าน × ด้าน = 7 × 7 = 49   ตร.ซม.
  1.2 จะมีความยาวเส้นรอบรูป = 4×ด้าน = 4×7 = 28 ซม.

2. สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่ง มีด้านกว้าง 4 ซม.ความยาว 8 ซม. แล้ว
  2.1 จะมีพื้นที่ = กว้าง × ยาว = 4 × 8 =  32  ตร.ซม.
  2.2 จะมีความยาวเส้นรอบรูป = 2×(กว้าง +ยาว) = 2×(4 + 8) = 2×12 = 24  ซม.

3.  ลูกเต๋าลูกหนึ่ง มีแต่ละด้าน 2 ซม. จะมีพื้นที่ผิวเท่าไหร่
วิธีทำ แต่ละหน้าของลูกเต๋า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 6 รูป
พื้นที่ผิวของลูกเต๋า
= 6 × พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส
= 6 × 2 × 2
= 24 ตร.ซม.

พื้นห้องกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร ถ้าการปูกระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาน 30 ซม. ต้องใช้กระเบื้องกี่แผ่น
วิธีทำ เปลี่ยนหน่วยให้เหมือนกันก่อน  (1 เมตร = 100 เซนติเมตร)
ห้องกว้าง 6 เมตร = 6 ×100 = 600 ซม.
ห้องยาว 9 เมตร = 9 ×100 = 900 ซม.
มีพื้นที่ = 600 × 900 = 540000  ตร.ซม.
พื้นที่ของกระเบื้อง = 30 × 30 = 900 ตร.ซม.
ต้องใช้กระเบื้องจำนวน = 540000 / 900 = 600 แผ่น

12 ส.ค. 2556

คณิตศาสตร์-รูปสามเหลี่ยม

สรุปเนื้อหา เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม
1. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านเท่ากัน 2 ด้านเรียกว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
2. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านเท่ากัน 3 ด้านเรียกว่า สามเหลี่ยมด้านเท่า
3. รูปสามเหลี่ยมที่มี 1 มุม เป็นมุมฉาก เรียกว่า สามเหลี่ยมมุมฉาก
4. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่ง เป็นมุมป้าน เรียกว่า สามเหลี่ยมมุมป้าน
5. สูตรพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม(แบบง่ายๆ) คือ  (1/2) x ฐาน x สูง  โดยที่ 1/2 อ่านว่าเศษ 1 ส่วน 2) 
6. สูตรความยาวรูปของรูปสามเหลี่ยม คือ ผลบวกของความยาวทั้ง 3 ด้าน
7. รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มีสูตรเกี่ยวกับความยาวระหว่างด้านทั้ง 3 คือ
     c2 = a2 + b2   โดยที่
   c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก หรือ ด้านที่ยาวที่สุด
   a และ b เป็นความยาวด้านประกอบมุมฉาก หรือด้านสั่นทั้ง 2 
8. ผลบวกของขนาดของมุมภายในของสามเหลี่ยม เท่ากับ 180 องศา หรือ 2 มุมฉาก (1 มุมฉาก เท่ากับมุม 90 องศา)

ตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม
1. สามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีความยาวด้านทั้ง 3 เป็น 6, 10, 12 เซนติเมตร รูปสามเลี่ยมรูปนี้มีความยาวรอบรูปเท่าไหร่
วิธีทำ ความยาวเส้นรอบรูปสามเหลี่ยม
  = ผลบวกของความยาวของด้านทั้ง 3
  = 6 + 10 + 12
  = 28 เซนติเมตร
2. สามเหลี่ยมด้านเท่ารูปหนึ่งมีเส้นรอบรูป เท่ากับ 108 เซนติเมตร แต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาวเท่าไหร่
วิธีทำ ให้แต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมยาว x   เซนติเมตร
 ความยาวเส้นรอบรูปสามเหลี่ยม = ผลบวกของความยาวของด้านทั้ง 3
 108 = x + x + x
 108 = 3x
   3x = 108
    x = 108/3
    x = 36
3. สามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปหนึ่งมีเส้นรอบรูป เท่ากับ 42 เมตร มีฐานยาว 18 เมตร มีด้านประกอบมยอดยาวด้านละเท่าไหร่
วิธีทำ ให้ด้านประกอบมุมยอด m เมตร
วิธีทำ ความยาวเส้นรอบรูปสามเหลี่ยม = ผลบวกของความยาวของด้านทั้ง 3
          42 = 18 + 2m
18 + 2m = 42
        2m = 42 – 18
        2m = 24
          m = 24/2
          m = 12
4. สามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีแต่ละด้านยาว  x + 2, x + 7, x – 3 เมตร มีเส้นรอบรูปยาว 39 เมตร
วิธีทำ  ความยาวเส้นรอบรูปสามเหลี่ยม = ผลบวกของความยาวของด้านทั้ง 3
(x + 2) + (x + 7) + (x – 3) = 39
       x + 2 + x + 7 + x – 3 = 39
                             3x + 6 = 39
                                   3x = 39 – 6
                                   3x = 33
                                     x = 33 / 3
                                     x = 11

5. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง มีฐานยาว 14 เซนติเมตร และ สูง 18 เซนติเมตร จะมีพื้นที่เท่าไหร่
วิธีทำ สูตร พื้นที่สามเลี่ยม
= (1/2) × ฐาน × สูง
=  (1/2) × 14 × 18    (ตัดทอน 2 และ 14 ด้วย 2 ก่อน)
= 7 x 18
= 126 ตารางเซนติเมตร

6. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง มีฐานยาว 22 เซนติเมตร และ สูง 16 เซนติเมตร จะมีพื้นที่เท่าไหร่
วิธีทำ สูตร พื้นที่สามเลี่ยม
= (1/2) × ฐาน × สูง
= (1/2) × 22 × 16    (ตัดทอน 2 และ 16 ด้วย 2 ก่อน)
= 22 x 8
= 176 ตารางเซนติเมตร

7. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง มีพื้นที่ 40 ตารางเมตร มีความสูง 10 เมตร จะมีฐานยาวเท่าไหร่
วิธีทำ สูตร พื้นที่สามเลี่ยม = (1/2) × ฐาน × สูง
แทนค่า
             40 = (1/2) × ฐาน × 10
             80 = ฐาน × 10    (ย้าย 2 ขึ้นไปคูณกับ 40 ก่อน)
  ฐาน × 10 = 80
          ฐาน = 80 / 10
          ฐาน = 8  เมตร

8. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง มีพื้นที่ 120 ตารางเมตร มีฐานยาว 30 เมตร จะมีความสูงเท่าไหร่
วิธีทำ สูตร พื้นที่สามเลี่ยม = (1/2) × ฐาน × สูง
แทนค่า
120 = (1/2) × 30 × สูง
120 = 15 × สูง   (ตัดทอน 2 และ 30 ด้วย 2 ก่อน)
15 × สูง = 120
สูง = 120 / 15
สูง = 8  เมตร

9. สามเหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง มีด้านประกอบมุมฉากยาว 9 และ 12 จะมีด้านด้านประกอบมุมฉากยาวเท่าไหร่
วิธีทำ จากทฤษฎีบทปีทาโกรัส จะได้ว่า
c2 = a2 + b2
c2 = 92 + 122
c2 = 81 + 144
c2 = 225
c = 15

10. สามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีมุมขนาดมุมภายในเป็น x + 15 , x + 25 และ  2x ตามลำดับ มุมที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดกี่องศา
วิธีทำ  มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม = 180
แทนค่า
 (x + 15) + (x + 25) + 2x = 180
      x + 15 + x + 25 + 2x = 180
                          4x + 40 = 180
                                  4x = 180 - 40
                                  4x = 140
                                    x = 140 / 4
                                    x = 35
ดังนั้นแต่ละด้าน มีขนาด
x + 15 = 35 + 15 = 50
x + 25 = 35 + 25 = 60
2x = 2 x 35 = 70
มุมที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 70 องศา

อาเซียนศึกษา-เติมคำ

1. อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ASEAN ย่อมาจากคำว่า Association of South East Asian Nations
2. สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รวงข้าว 10 รวง หมายถึง ประเทศ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
3. บุคคลของไทยที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนในสมัยแรกคือ พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันต์
4. การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน (ตามหนังสือแบบเรียน) หรือ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
5. ประเทศสมาชิกในอาเซียน มี 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไรดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา (ตามลำดับของหนังสือแบบเรียน)
6. เพลงประจำว่าอาเซียมีชื่อว่า The ASEAN Way
7. คำขวัญของอาเซียนคือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
8. สีในธงอาเซียน มีความหมายดังนี้
  สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
8. เลขาธิการสมาคมอาเซียน อยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี
9. AFTA ย่อมาจากคำว่า ASEAN Free Trade Area เรียกว่า เขตการค้าเสรีเอเซียน
10. ประเทศสุดท้ายที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน คือ กัมพูชา
11. เสา 3 หลัก ของประคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย
  ประชาคมความมั่นคงเอเซียน (ASC)
  ประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน (AEC)
  ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมเอเซียน (ASCC)
12. กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่ทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน
13. วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์ที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎหมายกฎกติกา ทำให้อาเซียนมีสถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernment organization)

รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ n-net

รายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์เข้าสอบ N-Net ระดับมัธยมต้น
1. มธุริน จิรชัยฐิติ เลขที่นั่งสอบ 10001700
2. ชัยวัฒน์ วิจิตรพิเชียรกุล เลขที่นั่งสอบ10001655
3. วีระยุทธ โพธิ์สา เลขที่นั่งสอบ10001720
4. เกรียงไกร สายสกล เลขที่นั่งสอบ 10001639
5. ประกายแก้ว คำสุข เลขที่นั่งสอบ 10001686
6. แสงเดือน สอนบัว เลขที่นั่งสอบ10001750
7. กฤษณะ ดอกชะเอม เลขที่นั่งสอบ 10001633
8. อภัสรา ศรีคำมา เลขที่นั่งสอบ 10001752
9. สิรินญากร คงโพชา เลขที่นั่งสอบ 10001737

รายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์เข้าสอบ N-Net ระดับมัธยมต้น
10. สายสุนีย์ โสภาพันธ์ เลขที่นั่งสอบ 10002079
11. โสมพรรณ เกษนอก เลขที่นั่งสอบ 10002096
12. พัชรี ปินะกาเส เลขที่นั่งสอบ 10002034
13. ภูมิศักดิ์ มณีรัตน์ เลขที่นั่งสอบ10002045
14. อรอนงค์ วาริน เลขที่นั่งสอบ 10002103
15. ธเนศ ศิริยามัน เลขที่นั่งสอบ10002006
16. ครรชิต ปินะถา เลขที่นั่งสอบ 10001973
17. ณัฐพงษ์ ทรัพย์สูงเนิน เลขที่นั่งสอบ 10001995
18. พิษณุ เอี่ยมพรเจริญ เลขที่นั่งสอบ 10002039

7 ส.ค. 2556

รายชื่อผู้จบและ มส.



รายชื่่อผู้จบ ระดับมัธยมต้น
1. นายชัยวัฒน์  วิจิตรพิเชียรกุล  ได้กพช. 30 ชม. ขาด  70  ชม.
2. นายวีระยุทธ  โพธิ์สา   ได้กพช. 70 ชม. ขาด  30  ชม.
3. นายเกรียงไกร  สายสกล  ได้กพช. 50 ชม. ขาด  50  ชม.
4. น.ส.ประกายแก้ว  คำสุข  ได้กพช. 100 ชม. ขาด  -  ชม.
5. น.ส.แสงเดือน  สอนบัว  ได้กพช. 100 ชม. ขาด  -  ชม.
6. นายกฤษณะ   ดอกชะเอม  ได้กพช. 100 ชม. ขาด  -  ชม.
7. น.ส.อภัสรา ศรีคำมา  ได้กพช. 70 ชม. ขาด  30  ชม.  70  30
8. น.ส.สิรินญากร   คงโพชา  ได้กพช. 70 ชม. ขาด  30  ชม.  ขอพักการเรียน

รายชื่่อผู้จบ ระดับมัธยมปลาย
1. นายพิทวัส   บุญธรรม   ได้กพช. 30 ชม. ขาด  70  ชม.
2. น.ส.สายสุนีย์    โสภาพันธ์  ได้กพช. 30 ชม. ขาด  70  ชม.
3. นางโสมพรรณ    เกษนอก  ได้กพช. 30 ชม. ขาด  70  ชม.
4. น.ส.พัชรี    ปินะกาเส  ได้กพช. 30 ชม. ขาด  70  ชม.
5. นายภูมิศักดิ์   มณีรัตน์ ได้กพช. 60 ชม. ขาด  70  ชม.
6. น.ส.อรอนงค์   วาริน   ได้กพช. 60 ชม. ขาด  40  ชม.  
7. นายธเนศ    ศิริยามัน ได้กพช. 40 ชม. ขาด  60  ชม.
8. นายครรชิต    ปินะถา  ได้กพช. 40 ชม. ขาด  60  ชม.
9. นายณัฐพงษ์   ทรัพย์สูงเนิน ได้กพช. 100 ชม. ขาด - ชม.
10. นายพิษณุ   เอี่ยมพรเจริญ  ได้กพช. - ชม. ขาด  100  ชม.

ผู้ที่มีรายชื่อหมดสิทธิ์สอบ ขอให้รีบติดต่อกับ อาจารย์อิงอร ด่วน
รายชื่่อผู้ที่หมดสิทธิ์สอบ  มัธยมต้น
1. นายชัยวัฒน์  วิจิตรพิเชียรกุล  ขาดเรียน 8 ครั้ง
2. นายวีระยุทธ  โพธิ์สา   ขาดเรียน 6 ครั้ง
3. นายเกรียงไกร  สายสกล  ขาดเรียน 8 ครั้ง
4. นายนิพนธ์     รัตนกสิกร  ขาดเรียน 10 ครั้ง
5. น.ส.ภัทรมน     โตเจริญ   ขาดเรียน 5 ครั้ง
6. น.ส.สุภาพร    ทรงกำพล   ขาดเรียน 8 ครั้ง
7. นายนันทวัฒน์   เอี่ยมสิน   ขาดเรียน 7 ครั้ง
8. นายฉัตรชัย นวลวิลัย   ขาดเรียน 6 ครั้ง
9. นายชาคริต    เนียมประพันธ์  ขาดเรียน 10 ครั้ง
10. น.ส.ชุติกาญจน์   วังเกล็ดแก้ว  ขาดเรียน 10 ครั้ง
11. นายเอกพันธ์     สำเภาทอง  ขาดเรียน 7 ครั้ง
12. นายณัฐวุฒิ    รุ่งเกรียงสิทธิ์   ขาดเรียน 10 ครั้ง
13. น.ส.สิรินญากร   คงโพชา  ขาดเรียน 10 ครั้ง  ขอพักการเรียน
14. นายธวัชชัย    สุวะเสน  ขาดเรียน 5 ครั้ง
15. นายสุรศักดิ์     โทนศิริ   ขาดเรียน 10 ครั้ง
16. นายวัชพล    สีมืด   ขาดเรียน 9 ครั้ง
17. นายวรวุฒิ    ศรีชาติ   ขาดเรียน 9 ครั้ง
18. นางสาวชนัดดา  พิริยะขจร  ขาดเรียน 4 ครั้ง

รายชื่่อผู้หมดสิทธิ์สอบ  มัธยมปลาย
1. นางปฤษณา    ใจศิริ  ขาดเรียน 10 ครั้ง
2. นายภูมิศักดิ์   มณีรัตน์  ขาดเรียน 8 ครั้ง
3. นายธเนศ    ศิริยามัน ขาดเรียน 6 ครั้ง
4. นางสาวภคมน  ชังลี  ขาดเรียน 6 ครั้ง
5. นายพิษณุ   เอี่ยมพรเจริญ  ขาดเรียน 10 ครั้ง
6. นายณัฐวัชต์   พิทักษ์นาคราช  ขาดเรียน 4 ครั้ง
7. น.ส.เบญจพร   โพติยะ   ขาดเรียน 4 ครั้ง
8. น.ส.วรรณิดา   ภูทองสุข   ขาดเรียน 4 ครั้ง
9. นายปริญญา   เบ็ญจาทิกุล  ขาดเรียน 4 ครั้ง
10. นายสุรพล    ศรีเรือง  ขาดเรียน 4 ครั้ง
11. นายรัฐพงศ์   ชังลี  ขาดเรียน 6 ครั้ง
12. นายณัฐวุฒิ   ศรีหนองห้าง  ขาดเรียน 10 ครั้ง   ไปเรียน ม. สยาม

9 ก.ค. 2556

คณิตศาสตร์-ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
ตัวอย่าง
  |-3| = 3 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -3 เท่ากับ 3
  |-5| = 5 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -5เท่ากับ 5
  |3| = 3 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 3 เท่ากับ 3
  |5| = 5 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 5 เท่ากับ 5
  |0| = 0 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 0 เท่ากับ 0
  |-0.4| = อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -0.4 เท่ากับ 0.4
  |-2.35| = อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -2.35 เท่ากับ 2.35
หมายเหตุ 
1. เราอ่านว่า สัญลักษณ์ |  | ว่า ค่าสัมบูรณ์
2. ตัวเลขที่ถูกเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์ครอบไว้ จะมีผลลัพธ์ออกมา เป็นค่าบวกหรือศูนย์เท่านั้น
3. โดยทั่วไปแล้ว เราจะใช้สัญลักษณ์ในเรื่องค่าสัมบูรณ์ คือ
    |a| อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง a เมื่อให้ a แทนจำนวนจริงใดๆ
ตัวอย่าง
จงหาค่าของ
  ข้อตกลง ในที่นี้เราจะใช้ สัญลักษณ์ / แทนการหาร
1. |-8| = 8
2. |-10| = 10
3. |-23| = 23
4. |-9| = 9
5. |13| = 13
6. |26| = 26
7. |2-7| = |-5| = 5
8. |10-2| = |8| = 8
9. |14-24| = |-10| = 10
10. |-6|+|-5| = 6+5 = 11
11. |-7|- |-11|= 7 - 11 = -4
12. |8| + |-12|= 8 + 12 = 20
13. |3-6| - |7-4| = |-3| - |3| = 3 - 3 = 0
14. |20-39| + |26-40| = |-19| + |-14| = 19 + 14 = 33
15. |15| / |-3| =  15 / 3 = 5
16. |-48| / |4| = 48 / 4 = 12  **
17. |-48 / 4| = |-12| = 12  **
18. -|5| - |-6| + |9|= -5 -6 + 9 = -11 + 9 = -2
19. |-3||-5| = 3x5 = 15
20. |-7||-2||-3 = 7x2x3 = 42

21. |2x4 - 17| = |8 - 17| = |-9| = 9
22. |7 - 4x5| = |7 -20| = |-13| = 13
23. |24 / 3 - 22| = |8 - 22| = |-14| = 14
24. |-13| - |2x(-5)| - |(-6)x1| = 13 - |-10| - |-6|
    = 13 - 10 - 6 = -3-6 = -9
25. |-6||5| - |4||-3| = 6x5 - 4x3 = 30 - 12 = 18

ลองทำเอง (ไม่ต้องส่ง)
1. |-9-2| + |4-6|=
2. |5+3-20| - |8-9+10| =
3. |-10| - |-20| + |30| =
4. |6x2 - 19| - 9=
5. |12| + |3x(-3)| - |(-5) x(-1)| =
6. |-36 / 4| + |-63 / 7|=
7. -|-20| / |-5|=
8. |3x(-2)x(6)| =
9. |7x2x(-5)| =
10. |15 / (-3) -4 | =
11. |3x(-6) - 12| / (-10) =
12. |-8||-3| + |-10||-2| =
13. |4||-7| - 18 =
14. |-2||-5||-6| - |-4||-8| =


8 ก.ค. 2556

คณิตสาสตร์-เศษส่วน

ตอนที่เรามาสลับฉาก...ดูตัวอย่างการคำนวณขั้นพื้นฐานของเศษส่วนกันบ้าง









































นักศึกษาสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.kruteeworld.com เรื่อง เศษส่วน

3 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์-โครงสร้างของโลก

รูปทรงสัณฐานของโลก
โลก (Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี (Oblate Ellipsoid)   คือมีลักษณะป่องตรงกลาง ขั้วเหนือ-ใต้ แบนเล็กน้อย แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ  สูง  ต่ำ ไม่ราบเรียบ  สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ

โครงสร้างของโลก
1. เปลือกโลก
   เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
   ชั้นที่1 : ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
   ชั้นที่2 : ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

2. แมนเทิล
   แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

3. แก่นโลก
  แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
  แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
  แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง

วิทยาศาสตร์-กาแล็กซี่

กาแล็กซี (Galaxy) หรือดาราจักร คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับ หลุมดำ ที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี่ โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่เกาะกลุ่มอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์

หมายเหตุ
** ดาราจักร หรือ กาแล็กซีมาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง น้ำนม ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way)
**หลุมดำ (Black Hole) คือ บริเวณในอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูง ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสงสว่างที่เคลื่อนที่เร็วประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ก็ออกจากหลุมดำไม่ได้ เมื่อไม่มีแสงออกมาหลุมดำจึงมืด

กาแลคซี (Galaxy) ซึ่งประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต ฝุ่นผงและ แก็สในอวกาศ กาแลคซีเมื่อแบ่งโดยใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์แบ่งออก 4 ประเภท คือ
1 กาแล็กซี่รูปวงกลมรี
2.กาแล็กซีรูปก้นหอย
3.กาแล็กซีรูปก้นหอยคาน
4.กาแล็กซีไร้รูปร่าง

กาแล็กซีทางเผือก (The Milky Way Galaxy)
โลกของเราอยู่ในกาแล็กซีทางเผือก ซึ่งจะประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ 2 แสนล้านดวง ระหว่างดาวฤกษ์เป็นอวกาศ บางแห่งมีฝุ่นแก๊สรวมกันอยู่เรียกว่า เนบิวลา ถ้าเรามองดูกาแล็กซีทางช้างเผือกทางด้านข้างจะเห็นเป็นรูปจานข้าว 2 จานประกบกัน แต่เมื่อดูจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปกังหัน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์อยู่ที่แขนห่างจากจุดศูนย์กลาง 30,000 ปีแสง เคลื่อนรอบศูนย์กลาง 200 ล้านปีหนึ่งรอบโดยกำลังพาเหล่าบริวารมุ่งหน้าไปทางกลุ่มดาวพิณ ใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกอยู่ทางกลุ่มดาวคนยิงธนู

คำถาม ทางช้างเผือกกับกาแล็กซีทางช้างเผือก เหมือนกันหรือต่างกัน
  ทางช้างเผือก เกิดจากดาวฤกษ์หลายหมื่นล้านดวงที่มาอยู่รวมกัน เห็นเป็นแนวฝ้าขาวจางๆ ขนาดกว้างประมาณ 15 องศา พาดผ่านเป็นทางยาวรอบท้องฟ้า
  กาแล็กซี ทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 200,000 ล้านดวงและเมฆฝุ่นกับแก๊สที่เรียกว่า เนบิวลา รวมทั้งระบบสุริยะ ทางช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก

วิทยาศาสตร์-ระบบสุริยะ2

เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ
การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์ เช่น
1. การแบ่งโดยใช้ขนาดของดาวเคราะห์ แบ่งได้ดังนี้
  1.1 ดาวเคราะห์จำพวกโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร โลกและดาวพลูโต
  1.2 ดาวเคราะห์ยักษ์ คือ ดาวที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
2. การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์โดยใช้วงโคจรของดาวเคราะห์ จะแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
  2.1 ดาวเคราะห์ชั้นใน คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดวงอาทิตย์มี 4 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร
  2.2 ดาวเคราะห์ชั้นนอก คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรถัดจากดาวเคราะห์น้อยออกไปมี 5 ดวงได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต
หมายเหตุ ถ้าไม่นับดาวพลูโต จะเหลือ 4 ดาว

ชื่อเล่นของดาวเคราะห์ที่คนเราตั้งขึ้น
1. ดาวเคราะห์น้อย (Asteriod) คือ ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กๆ เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกัน โคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เช่น พาลาส จูไน เวสตา ฮีรอส เป็นต้น
2. ดาวเคราะห์สีแดง คือ ดาวอังคาร เหตุที่เรียกดาวเคราะห์สีแดง เพราะว่าเมื่อสังเกตดูดาวอังคารจะมีสีแดงคล้ายเลือด เนื่องจากพื้นผิวดวงจันทร์เป็นสีแดงและมีฝุ่นละอองจำนวนมากฟุ้งกระจายขึ้นไปในบรรยากาศ ทำให้ท้องฟ้ามีสีแดงเหมือนพื้นผิว
3. เตาไฟแช่แข็ง หมายถึง ดาวพุธ เพราะดาวพุธมีลักษณะเหมือนลูกไฟแช่อยู่ในน้ำแข็งเนื่องจากด้านที่รับแสงอาทิตย์จะร้อนระอุมากเหมือนเตาไฟ ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงจะเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง
4. พี่น้องฝาแฝดของโลก หมายถึง ดาวศุกร์ เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกและมีขนาดใกล้เคียงกับโลก
5. ดาวเคราะห์ประหลาด หมายถึง ดาวเสาร์ เนื่องจากสมัยก่อนผู้สังเกตจะเห็นดาวเสาร์มี วงแหวนล้อมรอบอยู่ดวงเดียวในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขึ้นจึงพบว่าดาวเคราะห์ หลายดวงก็มีวงแหวนล้อมรอบเช่นเดียวกัน เช่น ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส เป็นต้น
6. โลกยักษ์ หมายถึง ดาวพฤหัสบดี เพราะดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด 8 ดวง
7. ดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่า มีเพียง 5 ดวง ได้แก่ดาวพุธดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ ส่วนที่เหลืออีก 3 ดวง คือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนและดาวพลูโตนั้นมองไม่เห็น ต้องใช้กล้องโทรทรรศ์ส่องดู

คำว่า Planet (แพลเน็ต) หรือ ดาวเคราะห์ เดิมเป็นคำที่มีความหมายว่า "ผู้ท่องเที่ยวไป" และชาวคนในสมัยโบราณนับถือว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นเทพ ได้แก่
- ดาวพฤหัสบดี คือ จูปิเตอร์ (Jupiter) เจ้าแห่งเทพทั้งมวล
- ดาวพุธ คือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร
- ดาวศุกร์ คือ วีนัส (Venus) เทพแห่งความรักและความงาม
- ดาวอังคาร คือ มาร์ส (Mars) เทพแห่งสงคราม
- ดาวเสาร์ คือ แซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งเกษตรบิดาของจูปิเตอร์




วิทยาศาสตร์-ระบบสุริยะ1

ระบบสุริยะ (Solar System)
  ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) 
     ระบบสุริยะของเรามีอายุมากกว่า 4,600 ล้านปี อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ก่อกำเนิดจากกลุ่มก๊าซที่เย็นตัวลงหลังการระเบิดใหญ่ (Big Bang) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาราจักรต่างๆมากมายเหลือคณานับ ระบบสุริยะของเราประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยและวัตถุอื่นๆเป็นสมาชิก นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
      โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับ จากดวงที่ใกล้ที่สุดหรือด้านในสู่ด้านนอกคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และยังมีดวงจันทร์บริวารของดวงเคราะห์แต่ละดวง ยกเว้น สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร และมีดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่มาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) เป็นหน่วยทางดาราศาสตร์

ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
1. ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญอย่างมากต่อโลกเราของ เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
   ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาวแต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง 
** อัตราเร็วของแสง (speed of light) = 299,792,458 เมตร/วินาที หรือ 3x108 เมตร/วินาที  หรือ 1,079,252,848.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
** ระยะ 1 ปีแสง คือ ระะยทางที่แสงเคลื่อนไปในเวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทางประมาณ = 9.5 × 1012 กิโลเมตร

2. ดาวเคราะห์ (Planet) เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสงและพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด 8 ดวง (จากเดิม 9 ดวง  ที่เราเรียกเคยเรียกว่า ดาวนพพระเคราะห์) ได้แก่
   ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร ดาวพุธเป็นมีขนาดใกล้เคียงกว่ากับดวงจันทร์ของเรามาก มีพื้นผิวคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ จึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย
   ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริย

   ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุด ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลา และ เราเรียกว่า ดาวประกายพรึก ถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
   ** ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรงเพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด
   ** ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ กล่าวคือดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก
   ** ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์
 
   โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
   ** โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือ มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในปีนั้น 1 ปีจะมี 366 วัน
   ** โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร

    ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร
  ** ดาวอังคาร บางครั้งถูกเรียกว่า ดาวแดง เพราะ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย
  ** หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเท่าสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อย
  ** ดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวง
 ** อังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก

  ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร
 ** ดาวพฤหัสบดีหนักกว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก
 ** ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์
 ** ดาวพฤหัสบดีมีเมฆที่ห่อหุ้มอยา เราพบว่าบนดาวมีพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก

 ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร
  ** ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี คือก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง
  ** ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร น้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ
  ** ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก

 ดาวยูเรนัส (Uranus) เราเรียกว่า ดาวมฤตยู มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096 กิโลเมตร
  ** ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น

  ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก ดาวเกตุ มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600 กิโลเมตร

และดาวที่เคยอยู่ในระบบสริยะของเราแต่ปัจจุบันถูกปลดไปแล้วคือ
  ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร

3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส

4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง

วิทยาศาสตร์- ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก เช่น อุปราคา ดาวหาง ดาวตก ฝนดาวตก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

** ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมา
** กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
** ดาราศาสตร์แยกออกเป็นหลายสาขา เช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์

ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงจะทำให้มันอยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) โคจรรอบดาวฤกษ์โดยที่ตัวมันเองไม่เป็นทั้งดาวฤกษ์และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น
นิยามของดาวเคราะห์
        เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเซ็ก ซึ่งมีนักดาราศาสตร์มากว่า 2500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
  1.เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์
  2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือใกล้เคียงกับทรงกลม
  3.มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
  4.มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 804.63 กม.
  5.ไม่ใช่ดาวฤกษ์
  6.ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวดวงอื่น
    จากนิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโตและดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 9 , 10 ถูกปลดออกจากระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ

ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ

**โปรดติดตามตอนต่อไป**

วิทยาศาสตร์-สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
** ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม อาคารบ้านเรือน วัด สะพาน
** ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา

สภาพสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์หรือเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตลอดเวลา มี 4 ประเภท คือ
1 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เป็นสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ แมลง พืช เชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส พยาธิต่างๆ เป็นต้น
2 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  เป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน รวมถึงสภาพความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน และรังสีต่างๆ
3 สิ่งแวดล้อมทางเคมี คือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในรูปแบบต่างๆ    เช่น สารตะกั่ว สารหนู ฝุ่น ควัน ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น
4  สิ่งแวดล้อมทางสังคม  เช่น การศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา เป็นต้น

2 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์-บรรยากาศของโลก2

การจัดแบ่งชั้นบรรยากาศ
การจำแนกเพื่อจัดชั้นของบรรยากาศ เราใช้เกณฑ์ในการจัดจำแนกชั้นบรรยายกาศ ตามลักษณะเด่นชัด เช่น ตามอุณหภูมิ ตามสมบัติของแก๊สที่มีอยู่ ตามสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิจะแบ่งชั้นบรรยากาศได้ 4 ชั้น คือ
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้
   1) เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร
   2) ระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร
   3) โทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ
   4) เป็นชั้นมีปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น

2. สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น
    1) จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร และที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร
     2) สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย
     3) เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณแก๊สโอโซน (O3) เข้มข้นมาก

3. มีโซสเฟียร์ (mesophere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คือ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น

4. เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ
     1) ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
     2) ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส
     3) ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก
     4) บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นแก๊สระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียกเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์ จัดแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 4 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ตั้งแต่ส่วนที่ติดผิวโลกขึ้นไปในอากาศที่ระยะความสูง 10 กิโลเมตรโดยประมาณ
   2) มีส่วนประกอบของอากาศที่สำคัญมากคือ ไอน้ำ โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบของอากาศตามปกติ
2. โอโซโนสเฟียร์ (ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นของบรรยากาศที่อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก ถึงระยะประมาณ 50-55 กิโลเมตรจากผิวโลก
   2) บรรยกาศชั้นนี้จะแก๊สโอโซน (O3) อยู่มากที่สุด เราจะเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ชั้นโอโซน ก็ได้
3. ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรจากผิวโลก
   2) มีปริมาณอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก
   3) ระยะจากผิวโลกขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ พบว่าคลื่นความถี่ของวิทยุสามารถส่งสัญญาณไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่งบนโลกไปได้ไกลเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
4. เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
  1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงสุดถัดจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงกว่าผิวโลกประมาณ 660 กิโลเมตร
  2) ในชั้นบรรยากาศนี้ความหนาแน่นขององค์ประกอบของอากาศจะมีน้อยลง

การจัดจำแนกชั้นของบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตุนิยมวิทยา จัดจำแนกได้ถึง 5 ชั้น คือ
1. ชั้นที่มีอิทธิพลของความฝืด บรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ถึงระดับความสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นผิวของโลก เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนไปมาของอากาศ ความร้อนจากผิวโลกจะทำให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้มีโครงสร้างที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยการถ่ายทอดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณนั้นๆ
2. โทรโพสเฟียร์ส่วนชั้นกลางและชั้นบน บรรยากาศชั้นนี้จะมีการลดลงของอุณหภูมิขณะความสูงเพิ่มขึ้น อิทธิพลของความฝืดจะมีผลทำให้การไหลเวียนของอากาศน้อยลง
3. โทรโพพอส (tropopause) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้จะแบ่งเป็นชั้นที่มีไอน้ำและชั้นที่ไม่มีไอน้ำ
4. สตราโทสเฟียร์ (startosphere) บรรยากาศชั้นนี้จะมีความชื้น ฝุ่นละอองเพียงเล็กน้อย และมีโอโซนหนาแน่น
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ไปจนจดขอบนอกสุดของชั้นบรรยากาศโลกอุณหภูมิของอากาศ
******