28 พ.ย. 2555

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์-2

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่สอนวันที่ 25 พ.ย. 2555
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถไปดาวน์โหลดเอกสารเรื่องนี้ ได้ที่ http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

ทบทวนพื้นฐานการคำนวณ ตอนที่2
การคูณจำนวนลบ
เรามีหลักการในการคูณ-หารจำนวนลบ เรามีหลักการคิดคำนวณ ง่ายๆ 2 ขั้นคือ
1. ให้นับจำนวนเครื่องหมายลบ ก่อน โดยที่
  ถ้า จำนวนเครื่องหมายลบ เป็นจำนวนคู่ คำตอบจะมีเครื่องหมายบวก หรือ ไม่มีเครื่องหมาย
  ถ้า จำนวนเครื่องหมายลบ เป็นจำนวนคี่ คำตอบจะมีเครื่องหมายลบ
2. คูณตัวเลขที่มีตามปกติ

ตัวอย่าง
1) (-5)(3) = -15      มีเครื่องหมายลบ 1 อัน เป็นจำนวนคี่
2) (-5)(-3) = 15      มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
3) (-3)(-2)(-4) = -24      มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
4) (6)(-2)(5) = -60         มีเครื่องหมายลบ 1 อัน เป็นจำนวนคี่

5) (-2)2 = (-2)(-2)= 4     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -2 คูณกัน 2 ตัว

6) (-2)3 = (-2)(-2)(-2) = -8    มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -2 คูณกัน 3 ตัว

7) (-2)4 = (-2)(-2)(-2)(-2) =16     มีเครื่องหมายลบ 4 อัน เป็นจำนวนคู่
   อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 4 หมายถึง -2 คูณกัน 4 ตัว

8) (-2)5 = (-2)(-2)(-2)(-2)(-2) = -32     มีเครื่องหมายลบ 5 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -2 ทั้งหมดยกกำลัง 5 หมายถึง -2 คูณกัน 5 ตัว

9) (-4)2 = (-4)(-4) = 16     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
  อ่านว่า -4 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -4 คูณกัน 2 ตัว

10) (-4)3 = (-4)(-4)(-4) =-64    มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -4 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -4 คูณกัน 3 ตัว

11) (-5)2 = (-5)(-5) =25     มีเครื่องหมายลบ 2 อัน เป็นจำนวนคู่
  อ่านว่า -5 ทั้งหมดยกกำลัง 2 หมายถึง -4 คูณกัน 2 ตัว

12) (-5)3 = (-5)(-5)(-5) = -125   มีเครื่องหมายลบ 3 อัน เป็นจำนวนคี่
  อ่านว่า -5 ทั้งหมดยกกำลัง 3 หมายถึง -4 คูณกัน 3 ตัว

หมายเหตุ การเขียนเครื่องหมายวงเล็บติดกัน (9)(-3) = (9)x(-3) อ่านว่า 9 คูณ -3
ตัวอย่างเพิ่มเติม
1)  32 – 22 = 3x3 – 2x2 = 9 – 4 = 5
2)  52 + 42 = 5x5 – 4x4 = 25 + 16 = 41
3)  42 – 33 = 4x4 – 3x3x3 = 16 – 29 = -13
4)  (-4)2 – 24 = (-4)x(-4) – 2x2x2x2 = 16 – 16 = 0
5)  72 – (-10)2 = 7x7 – (-10)x(-10) = 49 – 100 = -51
6)  (-2)2(-3) = (-2)(-2)(-3) = -12
7)  (-4)(-2)3 = (-4)(-2)(-2)(-2) = 32
8)  (-5)2(-2) = (-5)(-5)(-2) = -50
9)  (3)2(-5) = (3)(3)(-5) = -45
10)  (-10)2(-3) = (-10)(-10)(-3) = -300
11)  (-2)2(-1)(9) = (-2)(-2)(-1)(9) = -36
12)  (5)2(-6) = (-5)(-5)(6) = -150

25 พ.ย. 2555

สรุปเนื้อหาภาษาอังกฤษ(2)

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษที่สอนในวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. 55

คำศัพท์ หมวดร่างกาย (body)
arm แขน
blood เลือด
bone กระดูก
chin คาง
ear หู
eye ตา
face หน้า
feet เท้า(หลายเท้า)
finger นิ้ว
foot เท้า
hair ผม, เส้น
hand มือ
head หัว, ศีรษะ
heart หัวใจ
knee หัวเข่า
mouth ปาก
neck คอ
nose จมูก
shin คาง
shoulder หัวไหล่, บ่า
stomach ท้อง, ช่องท้อง
teeth ฟัน (หลายซี่)
thumb หัวแม่มือ, นิ้วโป้ง
tooth ฟัน 1 ซี่

บทสนทนาเกี่ยวกับการทักทายง่ายๆ แบบเพื่อนหรือ คนที่รู้จักกันดีพอสมควร เพื่อที่จะได้พูดคุยเรื่องอื่นๆต่อไป
Jim : Good morning, Jane.
จิม : สวัสดี(ตอนเช้า) ครับ...เจน
Jane : Good morning, Jim. How are you (today)?
เจน : สวัสดี(ตอนเช้า) ค่ะ...จิม วันนี้คุณสบายดีหรือเปล่า?
Jim : I’m fine. Thank you. And you?
จิม : ผมสบายดี คุณขอบ แล้วคุณล่ะ?
Jane : Very well.
แจน : สบายดีมากๆ  หรือ
          Just chilly.  (ก็เรื่อยๆ, สบายดี)

หลักไวยกรณ์ภาษาอังกฤษ
การใช้ this – that – these - those
This แปลว่า นี่, นี้ ใช้ในการชี้บอกสิ่งของ 1 สิ่งที่อยู่ใกล้มือ
  This is my girlfriend. นี่คือแฟนของฉัน (เพื่อนหญิง)
  This is my boyfriend. นี่คือแฟนของฉัน (เพื่อนชาย)
  This is my country. นี่คือประเทศของเรา

That แปลว่า นั่น, โน่น ใช้ในการชี้บอกสิ่งของ 1 สิ่งที่อยู่ไกลมือ
  That is your room. นั่นคือห้องของคุณ
  That is his report. นั่นเป็นรายงานของเขา
  That is a notebook. นั่นคือสมุดจดงาน

These แปลว่า นี่, นี้ ใช้ในการชี้บอกสิ่งของหลายสิ่งที่อยู่ใกล้มือ
  These are her pets. นี่เป็นสัตว์เลี้ยงของเธอ
  These are our cars นี่เป็นรถของพวกเรา
  These are two boxes นี่เป็นกล่อง 2 ใส่

Those นั่น, โน่น ใช้ในการชี้บอกสิ่งของหลายสิ่งที่อยู่ไกลมือ
  Those are her sons. นั่นคือลูกๆของเธอ
  Those are ours houses. นั่นคือบ้านของพวกเรา
  Those are four trees. นั่นคือต้นไม้ 4 ต้น
นักศึกษาเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://kruteeworld.siamvip.com/

19 พ.ย. 2555

พิธีปฐมนิเทศ 2/2555

นี้เป็นภาพบางส่วนจากงาน พิธีปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่ และมอบวุฒิบัตร นักศึกษาที่จบในภาคการเรียนก่อน ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่าน

การลงทะเบียนในช่วงเช้า


อาจารย์ที่เป็นพิธีกร นัดหมายเกี่ยวพิธีการต่างๆ
 
ผ.อ. เจริญ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี


ประธานในพิธี นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง (ผู้อำนวยการเขตจอมทอง)
กล่าวเปิดงาน

พระอาจารย์ มหาวิชาญ ชุติปัญโญ
ปรารภธรรมะให้กับนักศึกษา

นาย สุทธิชัย วีรกุลสุนทรสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
และประธานสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร


ท่าน ผ.อ. เจริญ ของพวกเราให้โอวาท




รุ่นใหญ่แบบนี้ก็เรียนได้และจบได้

รุ่นเล็กก็เรียนจบเหมือนกัน

รุ่นใหญ่แบบนี้ก็เรียนจบได้...ครับ

สดชื่น...สดใส...กันเลย


รุ่นนี้ก็เรียนจบ...เช่นกัน
 
รุ่นนี้กำลังลุ้นให้จบอยู่ครับ...เล่นกล้องซะ..

หลังพิธีเลิกก็มีการพบอาจารย์ประจำ ศรช. กัน..ก่อนกลับ
* * * * *

13 พ.ย. 2555

เปิดเทอมใหม่

ขอต้อนรับ นักศึกษาทุกคน สู่ ศรช. วัดบางประทุนนอก ในภาคการเรียนที่ 2 /2555
ขอให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมที่่ต่างๆ ที่มี เพื่ิอทำให้ทุกคนจบการศึกษา อย่างมีคุณภาพ

ต่อไปเป็นภาพบรรยายกาศ ของวันเรียนวันแรกของพวกเรา

ไม่มีการให้เสียเวลา อ. อิงอร บอกเรื่องแจ้ง ทันที

นักศึกษาทั้งใหม่-เก่า ก็ตั้งใจจด




ขอเป็นบรรยายกาศดีๆ แบบนี้อยู่กับ ศรช. ของเราตลอดเทอม





สรุปเนื้อหาภาษาอังกฤษ(1)

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกษ วันที่ 11 พ.ย. 55
จำนวน ในภาษาอังกฤษ
จำนวนในภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะคือ จำนวนที่ใช้ในการนับและ จำนวนที่ใช้ในการบอกลำดับ

จำนวนที่ใช้ในการนับ เช่น
one = หนึ่ง         two = สอง
three = สาม       four = สี่
five = ห้า            six = หก
seven = เจ็ด       eight = แปด
nine = เก้า          ten = สิบ

eleven = สิบเอ็ด
twelve = สิบสอง
thirteen = สิบสาม
fourteen = สิบสี่
fifteen = สิบห้า
sixteen = สิบหก
seventeen = สิบเจ็ด
eigthteen = สิบแปด
nineteen = สิบเก้า
twenty = ยี่สิบ
twenty - one = ยี่สิบเอ็ด
twenty - two = ยี่สิบสอง
thirty = สามสิบ
forty = สี่สิบ
fifty = ห้าสิบ
sixty = หกสิบ
seventy = เจ็ดสิบ
eighty = แปดสิบ
ninety = เก้าสิบ
one hundred = หนึ่งร้อย

คำที่มีแถบสีแดงเป็นคำที่จะใช้สอบในสัปดาห์หน้า 2 ธ.ค. 2555

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์(1)


สรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร๋ ที่สอนวันที่ 11 พ.ย. 2555
ทบทวนพื้นฐานการคำนวณ
การบวก-ลบ-คูณ-หาร
ให้สังเกตการบวก - ลบต่อไปนี้
แบบที่ 1
1)  15 + 6 + 27 = 21 + 27 = 48
2)  32 - 15 + 7 = 17 + 7 = 24
3)  50 - 26 + 38 = 24 + 38 = 62
แบบที่ 2
1)  4 - 7 + 13 = 17 - 7 = 10               หรือ      4 - 7 + 13 = -3 +13 = 10
2)  6 - 15 + 24 = 30 - 15 = 15           หรือ     6 - 15 + 24 = -9 + 24 = 15
3)  12 - 20 + 34 = -8 + 34 = 26        หรือ     12 - 20 + 34 = -8 +34 = 26
แบบที่ 3
1) 2x3 + 9 = 6 + 9 = 15
2) 5 + 7x5 = 5 + 35 = 40
3) 42 - 4x9 = 42 - 36 = 6
4) 6x4 - 5x3 = 24 - 15 = 9
5) 24 ÷ 4 + 54 ÷ 6 = 6 + 9 = 15
6) 42 - 16 ÷ 2 = 42 - 8 = 34
สรุปว่า ต้องทำการคูณและการหารก่อนการบวกและการลบ
แบบที่ 4
1) (9 + 5) x 3 = 14x3 = 42
2) 9 + (5 x 3) = 9 + 15 = 24
3) 24 ÷ (4 + 2) = 24 ÷ 6 = 4
4) (24 ÷ 4) +2 = 6 + 2 = 8
5) 17 - (15 - 7) = 17 - 8 = 9
6) (40 + 5) ÷ (15 - 6) = 45 / 9 = 6
7) 19 + 3 x (6+5) = 19 + 3x11 = 19 + 33 = 52
สรุปว่า ถ้ามีเครื่องหมายวงเล็บให้ คิดเลขในวงเล็บก่อน

จำนวนลบ
ขอให้สังเกต การลบต่อไปนี้

4 - 2 = 2        เหลืออยู่ 2
4 - 3 = 1        เหลืออยู่ 1
4 - 4 = 0        หมดพอดี
4 - 5 = -1      ไม่พอ 1
4 - 6 = -2      ไม่พอ 2
4 - 9 = -5       ไม่พอ 5
4 - 11 = -7      ไม่พอ 7
4 – 15 = -11   ไม่พอ 11
4 – 32 = -28   ไม่พอ 28
4 – 40 = -36   ไม่พอ 36
5 - 8 = -3       ไม่พอ 3
5 - 11 = -6     ไม่พอ 6
5 - 15 = -10    ไม่พอ 10
9 - 17 = -8     ไม่พอ 8
9 - 21 = -13    ไม่พอ 13
10 - 20 = -10  ไม่พอ 10
12 - 30 = -18  ไม่พอ 18
13 – 19 = -6    ไม่พอ 6
20 – 43 = -23  ไม่พอ 23
31 – 50 = -19  ไม่พอ 19

เลขยกำลัง
เราจะอ่านสัญลักษณ์และให้ความหมายสัญลักษณ์ ต่อไปนี้ ว่า
23 อ่านว่า 2 (ยก)กำลัง 3  หมายถึง 2 คูณกัน 3 ตัว
23 = 2×2×2 = 8

24 อ่านว่า 2 (ยก)กำลัง 4 หมายถึง 2 คูณกัน 4 ตั
24 = 2×2×2×2 = 16

33 อ่านว่า 3 (ยก)กำลัง หมายถึง 3 คูณกัน 3 ตัว
33 = 3×3×3 = 27

35 อ่านว่า 3 (ยก)กำลัง หมายถึง 3 คูณกัน 5 ตัว
35 = 3×3×3×3×3 = 243



สำหรับผู้สนใจ สามารถไป ดาวน์โหลด เอกสารชุดนี้ได้ฟรีที่...
http://kruteeworld.siamvip.com ในหัวข้อ ดาวน์โหลด-- กศน. ครับ