31 ส.ค. 2554

ภาษาไทย04

บทความ

บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขั้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริงและ
ในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์
เอาไว้ เป็นสิ่งที่เราพบได้ในหนังสือพิมพ์

ลักษณะเฉพาะของบทความ
1. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังใสใจในขณะนั้น
2. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติม
3. ต้องมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกอยู่
4. มีวิธีเขียนให้ชวนอ่าน
5. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่าน

รายงาน

รายงาน คือ การรวบรวมหลักฐานที่แสดง ถึงข้อเท็จจริงเป็นข้อมูล
ที่สามารถนำมาปฏิบัติหรือปรับปรุงงานได้

การรายงานมี 3 ประเภทคือ
1. การรายงานด้วยการพูด
2. การรายงานด้วยการเขียน
3. การรายงานโดยใช้โสตทัศนูปการณ์

ส่วนประกอบของรายงาน
1. ปกนอก
2. ใบรองปก
3. ปกใน
4. คำนำ ในรายงานมีความสำคัญ คือ
    1. รายงานนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
    2. มีแรงบันบาลใจอย่างไรทำให้สนใจรายงานนี้หรือ
        ได้รับมอบหมายจากใคร
    3. มีอุปสรรคและปัญหาในการค้นคว้าอย่างไร
    4. รายงายมีประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างไร
    5. มีใครความช่วยเหลือในการทำงานอย่างไร โดยกล่าว
        ขอบคุณในต่อท้าย
5. สารบัญ เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านว่า เรื่องหรือบทต่างๆอยู่ในหน้าใด
6. บัญชีตาราง
7. บัญชีภาพ
8. เนื้อหาและส่วนประกอบเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
    เพราะเป็นส่วนที่กล่าวถึงเนื้อหาหรือข้อมูลที่ได้มา
9. บรรณานุกรม คือ รายชื่อเอกสาร หรือ สิ่งตีพิมพ์ หนังสือ สื่อ วัสดุ
    ที่ผู้รายงานนำมาประกอบในการค้นคว้าเพื่อเขียนรายงาน
    เป็นส่วนประกอบสุดท้ายของรายงาน
ตัวอย่างการเขียนบรรณนุกรม
1. แบบทราบผู้แต่ง
    ลัลลนา ศิริเจริญ. คู่มือกำสรวลศรีปราชญ์. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2517
    สิทธิ พินิจภูวดลและนิตยา กาญจนวรรณ. ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2520.
2. แบบไม่ทราบผู้แต่ง
    ลิลิตพระลอ. พิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2501, 190 หน้า

****

เชิงอรรถ
เชิงอรรถ คือ ข้อความที่เขียนไว้ส่วนล่างของหน้า โดยมีส้นคั่นแยก
จากเนื้อเรื่องและมีเลขกำกับไว้ตรงส่วนท้ายของข้อความและส่วนต้น
ของเชิงอรรถ เพื่อบอกแหล่งที่มาของเนื้อหาเพื่อขยายความตรงส่วนนั้น
เช่น

“สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์คือ คุณค่าในการดำรงชีวิต เพื่อรู้จักและ
เข้าใจชีวิต เข้าใจธรรมะ มนุษย์ย่อมสละได้ซึ่งทรัพย์เพื่ออวัยวะ
สละอวัยวะเพื่อชีวิต และสละชีวิตเพื่อธรรมะ”
------------------
 ศ.ศิวลักษณ์, อนาคตของไทย (กรุงเทพมหานคร : ทาสิโน, 2522) หน้า 184.

****

โครงการ
โครงการ คือ สารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างรอบคอบเป็นขั้นตอนพร้อมกับ
มีแผนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนโครงงาน เป็นการเขียนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการประเภทหนึ่ง

โครงงานมี 3 ประเภทคือ โครงงานที่นำเสนอโดยส่วนตัว
โครงงานที่นำเสนอโดยกลุ่ม โครงงานที่นำเสนอโดยหน่วยงาน

องค์ประกอบของโครงการ
1. ส่วนนำ หมายถึงส่วนที่จะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ
   โดยบอกว่า โครงการนั้นคือ โครงการอะไร เกี่ยวข้องกับใคร
   ใครเป็นผู้เสนอและดำเนินโครงการ ฯลฯ โดยมีส่วนประกอบย่อยดังนี้
   คือ ชื่อโครงการ ชื่อผู้เสนอและ / หรือผู้ดำเนินโครงการ ความเป็นมา
   และความสำคัญของโครงการ วัตถุประสงค์
2. ส่วนเนื้อความ ในส่วนนี้จะบอกรายละเอียดวิธีการดำเนินโครงการ
   ว่ามีลำดับอย่างไร โดยระบุ วัน เวลา สถานที่
3. ส่วนขยายของการเขียนโครงการ ประกอบด้วยค่าใช่จ่ายใน
    การดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาจแบ่งเป็น
    3 ส่วน ได้แก่
   1. หมวดค่าตอบแทน เป็นเงินให้กับวิทยากร
   2. หมวดค่าใสอย เป็นเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่จ่าย ค่าพาหนะ
   3. หมวดค่าวัสดุ เป็นเงินที่ใช้ในการซื้อวัสดุ อุปกรณ์

****

คำประพันธ์หรือร้อยกรอง
คำประพันธ์หรือร้อยกรอง คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ
ตามที่บัญญัติไว้ในตำราว่าด้วยการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
 ตำราดังกล่าวนี้ เรียกว่า “ฉันท์ลักษณ์”

คำสำคัญที่ควรรู้จัก1. คณะ คือ แบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์นั้นๆ
    แต่ละบทจะมีกี่บาท แต่ละบาทจะมีกี่วรรค เป็นต้น
2. สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำที่มีเสียงคล้องจองกัน มี 2 ชนิดคือ
    1) สัมผัสสระ เป็นเสียงที่สระ ตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น อ้อน – งอน, กด – รด, บน – กรน
    2) สัมผัสอักษร เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นหรือกัน เช่น รัก – ร้าง
นอกจากนั้นสัมผัสยังแบบได้อีก 2 แบบคือ สัมผัสนอก(วรรค), สัมผัสใน(วรรค)

3. คำครุ คือ เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว
    ในมาตราแม่ ก.กา เช่น อำ, ไอ, เอา, จำ, ดารา
4. คำลหุ คำที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น
    เช่น จะ, กุ, ผลิ, หิว, กะทิ
5. คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ขา ตี แท้ เครือ ทู
6. คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น แกลบ เย็บ
    โขก สุด ฤทธิ์ ประกบ
7. คำนำ คือ คำที่กล่าวขึ้นต้นในบทนำของคำประพันธ์
    เช่น บัดนั้น สักวา
8. คำสร้อย คือ คำที่ใช้ลงท้ายบทหรือ บาทร้อยกรอง เพื่อให้
   ความสมบูรณ์ เช่น พี่เอย แฮ แลนา ก็ดี

* * * * *

29 ส.ค. 2554

ภาษาอังกฤษ ม.ปลาย

คราวนี้เป็นการแปลภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมปลายกันบ้าง
ที่มาจากหนังสือภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม
หน้า 49
Nida is at the bank. She is talking to the teller.
นิดาอยู่ที่ธนาคาร เธอกำลังพูดคุยกับพนักงานหน้าเคาร์เตอร์

Teller : May I help you?
พนักงาน : ผมจะช่วยอะไรคุณได้บ้างครับ?

Nida : Yes, please. I want to deposit this money into my account.
นิดา : ใช่ค่ะ ฉันต้องการที่จะฝากเงินจำนวนนี้เข้าบัญชีธนาคารของฉัน

Teller : Is that a savings account or a current account?
พนักงาน : (บัญชีของคุณ) เป็นบัญชีแบบสะสมทรัพย์หรือ
            บัญชีเงินฝากกระแสรายวันครับ?

Nida : I want to deposit it into my savings account.
นิดา : ฉันต้องการฝากเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน

Teller : Just fill out this deposit slip.
พนักงาน : (เพียงแค่) ก็เพียงแต่กรอกรายละเอียดในสลิปฝากเงิน..ครับ

Nida : O.K. Thank you. Here you are.
นิดา : ได้ค่ะ ขอบคุณ ได้แล้วค่ะ/นี่ไง

Teller : Don’t forget your account number.
พนักงาน : อย่าลืม(ใส่)เลขที่บัญชีของคุณด้วย...ครับ

Nida : Oh, thanks. I almost forgot.
นิดา : โอ้...ขอบคุณ...ฉันเกือบจะลืมไปแล้วนะ...

Teller : Is that all?   Do you need anything else?
พนักงาน : หมดแล้วใช่ไหมครับ?
         คุณต้องการทำอะไรอีกหรือเปล่า...ครับ?

Nida : No, thank you. That is all. Thanks for all your help.
นิดา : ไม่แล้วค่ะ...ขอบคุณ...หมดแล้ว... ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ

อธิบายเสริม
ในบทสนทนานี้มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ เช่น
1. account ในที่นี้เป็น คำนาม(n) = บัญชีเงินฝากธนาคาร
   แต่ account ที่เป็นคำกริยา(v) = บรรยาย, อธิบาย, พิจารณา
2. fill out เป็นคำกริยา(v) = กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม
3. want เป็นคำกริยา (v) = ต้องการ, อยากจะทำ (อะไร)
    และมีรูปแบบการและวิธีการใช้ ดังนี้
   want to + กริยาช่องที่ 1 (v1) = ต้องการทำอะไร
ตัวอย่าง
   I want to be a doctor. (ฉันต้องการเป็นหมอ)
   He wants to visit his aunt. (เขาต้องการที่เยียมป้า)

 want someone to + กริยาช่องที่ 1 (v1) = ต้องการให้ใครทำอะไร
ตัวอย่าง
  I want my son to be a doctor. (ฉันต้องการให้ลูกชายของฉันเป็นหมอ)
  He wants his sister to visit his aunt. (เขาต้องการให้น้องสาวที่เยี่ยมป้า)

* * * * * *

หน้า 50
Dialogue (บทสนทนา)

Susan : Excuse me. Can you help me, please?
ซูซาน : ขอโทษค่ะ คุณช่วยฉันได้ไม่ค่ะ?

Seller : Certainly. What can I do for you?
พนังงานขาย : แน่นอนค่ะ มีอะไรให้ฉันช่วยค่ะ?

Susan : I need to purchase a jacket.
ซูซาน : ฉันต้องการซื้อเสื้อแจ็คเก็ต

Seller : What is your size, please?
พนังงานขาย : ขนาดอะไรค่ะ?

Susan : Medium should be fine.
ซูซาน : ขนาดกลางน่าจะดี

Seller : Is this one O.K.?
พนังงานขาย : ตัวนี้ ได้ไหม?

Susan : Hmm, Can I try it on?
ซูซาน : อืมม.. ฉันของลองใส่ดูก่อนได้ไหม?

Seller : Sure. The fitting room is in the left corner.
พนังงานขาย : ได้ค่ะ ห้องลองเสื้ออยู่ที่มุมด้านซ้าย

After a while…..
หลังจากนั้น...

Susan : Does it look like a good fit?
ซูซาน : มันดูพอดีแล้วหรือยัง?

Seller : It’s definitely your size.
พนังงานขาย : นี้มันเป็นขนาดของคุณเลย

Susan : Yes, it is very nice. I’ll take it.
ซูซาน : ใช่...มันดีมากๆ ฉันจะเอาตัวนี้

Seller : How would you prefer to pay?
พนังงานขาย : คุณต้องการจ่ายเงินด้วยวิธีไหนค่ะ?

Susan : Can I use my credit card?
ซูซาน : ฉันสามารถใช้บัตรเครคิตได้ไม่ค่ะ?

Seller : Sure. You’ll just sign here.
พนังงานขาย : ได้ค่ะ...คุณเพียงลงชื่อตรงนี้ค่ะ

Susan : No problem.
ซูซาน : ไม่มีปัญหา

Seller : Thank you. I hope you enjoy your purchase.
      Good bye.
พนังงานขาย : ขอบคุณค่ะ ฉันหวังว่าคุณจะมีความสุขกับการซื้อของคุณ
     สวัสดีค่ะ

อธิบายเสริม

1. ในบทสนทนาบทมีคำว่า purchase อยู่ 2 ที่
purchase ตัวแรกเป็นคำกริยา(v) มีความหมายเหมือนกับ buy = ซื้อ
purchase ตัวแรกเป็นคำนาม(v) มีความหมายเหมือนกับ buying = การซื้อ
2. จากประ โยค Is this one O.K.?
    คำว่า one ในที่นี้เป็นคำสรรพนาม(pronoun)
    แทนคำว่า a jacket

3. try ... on  = ลองใส่(เสื้อ, รองเท้า), ลองทำ...(อะไร)
4. try to + v1 = พยายามทำ....(อะไร)
* * * * *

ภาษาอังกฤษ ม.ต้น

มาดูการแปลภาษาอังกฤษ ที่นำมาจากหนังสือภาษาอังกฤษ
ในชีวิตประวัน ของระดับ มัธยมต้นกันบ้าง

หน้า 50

Malee : Hello. Suda, Wanida had just told me that your father passed away
              yesterday morning. I'm so sorry about that.
มาลี : สวัสดี..สุดา วนิดาเพียงจะบอกฉันว่าคุณพ่อของเธอเสีย
           เมื่อวานตอนเช้า ฉันเสียใจด้วยนะ

Suda : May I apologize for not telling you about that yesterday?
            I'm so confused with it.
สุดา : ฉันต้องขอโทษที่ไม่ได้บอกคุณเรื่องนั้นตั้งแต่เมื่อวาน?
           ฉันรู้สึกสับสนมากเกี่ยวกับมัน

Malee : Don't worry. Be calm and do the best thing for him.
มาลี : ไม่ต้องเป็นห่วงหรอกนะ ขอให้สงบ(ตั้งสติให้ดี)และ
           ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขา(ดีกว่า)

Suda : Thank you very much. I will.
สุดา : ขอบคุณมาก ฉันจะทำตามนะ

อธิบายเสริม
1. คำว่า ตาย, เสียชีวิต ในภาษาอังกฤษมีใช้หลายคำได้แก่
    die (v.), dead (adj.), pass away(v.) หรือเป็นประโยคเช่น
    He has gone. 
   เขาจากไปแล้วหรือเขาตายแล้ว

2. คำว่า that ใน May I apologize for not telling you about that yesterday? และ
    คำว่า it ใน I'm so confused with it. แทนคำว่า your father passed away

3. คำว่า him ใน Be calm do the best thing for him. แทนคำว่า your father

* * * * *

หน้า 51

Situation 1 (สถานการณ์ที่1)
Mana : Malee, I had broken your keyboard.
มานะ : มาลี ฉันเพิ่งจะทำแป้นพิมพ์ของเธอเสีย

Malee : Don't worry. I'll have it repaired tomorrow.
มาลี : ไม่ต้องกังวลหรอก ฉันจะซ่อมมันวันพรุ่งนี้

Mana : And how about your examination next week.
มานะ : แล้วเรื่องการสอบของคุณสัปดาห์หน้าเป็นอย่างไรบ้าง

Malee : Oh! I've not finished Book II yet.
         It's really difficult for understand all the content.
มาลี : โอ้... ฉัน(อ่าน)ยังไม่จบเล่มที่ 2 เลย
        มันยากจริงๆที่จะทำความเข้าในเนื้อหาทั้งหมด

Mana : Take it easy. I can explain and summarize some content
       to you this evening.
มานะ : ใจเย็นๆ ฉันสามารถอธิบายและสรุปเนื้อหาบางส่วน
       ให้คุณได้บ่ายนี้

Malee : Thanks a lot for your kindness.
มาลี : ขอบคุณมากสำหรับความใจดี(เอื้อเฟื้อ)ของคุณ

Mana : Don't mention it.
มานะ : ไม่เป็นไรครับ

อธิบายเสริม
เมื่อต้องการปลอบใจตนอื่นเราสามารถใช้ประโยคต่อไปนี้ได้
    Don't worry. ไม่ต้องกังวลไปหรอก
    Take it easy. ใจเย็นๆ / ทำตัวตามสบายนะ

* * * *

ภาษาไทย03

มาต่อกันเลยนะครับถ้ายังไม่เหนื่อย

การเขียนเรียงความ

เรียงความ คือ การนำเอาคำมาประกอบแต่งเป็นเรื่องราวอาจใช้
วิธีการเขียนหรือการพูดก็ได้ เช่น การเขียนจด รายงาน
การตอบคำถาม ข่าว บทความ ต่างก็อาศัยพื้นฐานของเรียงความ
เรียงความมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนสรุปหรือส่วนท้าย

แนวทางการเขียนเรียงความ มีดังนี้
1. การเลือกเรื่อง
2. ประเภทของเรื่องที่จะเขียน แบ่งได้ 4 ประเภทคือ
    เพื่อความรู้ , เพื่อความเข้าใจ, เพื่อโน้มน้าวใจ
3. การวางโครงเรื่องก่อนเขียน
4. การเขียนย่อหน้า
5. การเชื่อมโยงย่อหน้า
6. สำนวนภาษา
7. การใช้หมายเลขกำกับ
8. การแบ่งวรรคตอนและเครื่องหมายวรรคตอน
9. สำนวนโวหาร

****

การย่อความ
การย่อความ คือ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องเดิมมาเขียนใหม่
ให้สั้นกว่าเดิมเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจและการนำไปใช้

คำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมาย
1. ญาติผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
    คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
    คำลงท้าย กราบเท้าด้วยความเคารพอย่างสูง หรือ
                      กราบเท้าด้วยความเคารพรักอย่างยิ่ง

2. ญาติลำดับรองลงมา เช่น ลุง ป้า น้า อา
    คำขึ้นต้น กราบ....ที่ความเคารพ หรือ กราบ....ที่ความเคารพอย่างสูง
    คำลงท้าย กราบมาด้วยความเคารพ หรือ ด้วยความเคารพ หรือ
                      ด้วยความเคารพอย่างสูง

3. พี่หรือญาติชั้นพี่
    คำขึ้นต้น พี่...ที่รัก หรือ ถึง ... ที่รัก หรือ ....เพื่อนรัก หรือ ...น้องรัก
    คำลงท้าย ด้วยความรัก หรือ รัก หรือ คิดถึง หรือ รักและคิดถึง

4. ครู อาจารย์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง
   คำขึ้นต้น กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
   คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง

5. ผู้บังคับบัญชาระดับใกล้ตัว
    คำขึ้นต้น เรียน ..... ที่เคารพ
    คำลงท้าย ด้วยความเคารพ

6. ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา
    ประวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา
    คำขึ้นต้น  กราบเรียน
    คำลงท้าย  ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

7. ข้าราชการตำแหน่งอื่นทุกตำแหน่งและคนทั่วไป
    คำขึ้นต้น เรียน
    คำลงท้าย ขอแสดงความนับถือ

8. พระสงฆ์
    คำขึ้นต้น นมัสการ
    คำลงท้าย ขอนมัสการความเคารพอย่างสูง หรือ
                      ขอนมัสการความเคารพ

ประเภทของจดหมาย
จดหมายแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ (เรียงลำดับจากเป็นทางการน้อยไปมาก)
1. จดหมายส่วนตัว
2. จดหมายกิจธุระ
3. จดหมายธุรกิจ
4. จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ

จดหมายราชการ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ

1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
4. หนังสือสั่งการและโฆษณา
5. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
* * * * *

ภาษาไทย02

มาดูกันต่อกับสรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทย

แหล่งความรู้

แหล่งความรู้ หมายถึง ที่อยู่ ที่รวมรวม ที่เก็บรักษา หรือสถาน
ที่ให้บริการความรู้ ด้านต่างๆ แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้

ประเภทของแหล่งความรู้
1. แหล่งความรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ
    มีประการณ์ในด้านต่างๆ
2. แหล่งความรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด
    ศูนย์การเรียนชุมชน วัด
3. สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือต่างๆ รวมทั้งสื่อ
    อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง คอมพิวเตอร์
    โปรแกรมการศึกษาต่างๆ ,CD การสอน
4. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ได้แก่ แร่ธาตุ แม่น้ำลำธาร ป่าไม้

****

หนังสือ
หนังสือ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. ตำราวิชาการ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ด้านต่างๆ โดยด้านทฤษฎี
    หรือเนื้อหาอย่างกว้างๆ
2. สารคดี เป็นหนังสือมีเนื้อหาสาระในด้านให้ความรู้ ความคิด
    พร้อมกับความเพลิดเพลิน
3. บันเทิงคดี เป็นหนังสือที่แต่งเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกเพลิดเพลิน
   โดยอาจจะแทรกข้อคิดไว้ด้วย เช่น นวนิยาย นิยาย วรรณคดี
   บทร้อยกรอง บทละคร
4. วารสารและหนังสือพิมพ์ หนังสือประเภทนี้คนทั่วไปอ่านบ่อย
    กว่าหนังสือประเภทอื่น เป็นหนังสือที่ต้องแข่งกับเวลา

****
แผนภาพความคิด
แผนภาพความคิด เป็นการแสดงความรู้ ความคิดโดยให้แผนภาพ
เป็นวิธีการนำความรู้หรือข้อเท็จจริงมาจัดระบบแล้วสร้างเป็นภาพ

แนวคิดเกี่ยวกับแผนภาพความคิด
1. เราใช้แผนภาพความคิด เมื่อพบว่าข้อมูลที่มีอยู่กระจัดจาย
    มาทำเป็นแผนภาพความคิด เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง
2. แผนภาพความคิดจะช่วยจัดความคิดให้เป็นระบบ
    นำไปสู่ความรู้ใหม่ๆได้
3. การใช้แผนภาพความคิด ช่วยให้จำเรื่องราวต่างๆได้ง่ายขึ้น
    และแม่นนำมากขึ้น
4. แผนภาพความคิดจะใช้ภาษาที่เป็นคำพูดหรือสัญลักษณ์สั้นๆ
    มาทำเป็นภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เอง

รูปแบบแผนภาพความคิด มี 4 รูปแบบ
1. รูปแบบจัดกลุ่ม รูปแบบนี้ยึดความคิดรวบยอดเป็นสำคัญและ
   จัดกลุ่มตามลำดับความคิดรวบยอย่อยเป็นแผนภาพ เช่น
   แผนผังโครงสร้างคณะทำงานจากผู้บริหารถึงพนังงาน,
   แผนผังของสมาชิกในครอบครัว
2. รูปแบบความคิดรวบยอด รูปแบบแบบนี้จะมีความคิดหลักและ
    มีข้อเท็จจริงที่จัดแบ่งเป็นระดับขั้นมาสนับสนุนความคิดหลัก
3. รูปแบการจัดลำดับ รูปแบบการจัดลำดับจะเป็นการจัดตาม
    เหตุการณ์ หรือช่วงเวลา มีการเริ่มต้นและสิ้นสุด
    เช่น การสรุปเหตุการณ์ต่างๆโดยเขียนตามปีพ.ศ.
4. รูปแบบวงกลม รูปแบบนี้เป็นชุดเหตุการณ์ที่อยู่ภายใต้
   กระบวนการที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
   เช่น แผนวงจรของสิ่งของสิ่งมีชีวิต หรือ ระบบนิเวศน์

ประโยชน์ของแผนภาพความคิด
1. ช่วยบูรณการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2. ช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดให้ชัดเจนขึ้น
3. ช่วยเน้นองค์ประกอบลำดับของเรื่อง
4. ช่วยพัฒนาการอ่าน การเขียนและการคิด
5. ช่วยวางแผนในการเขียนและการปรับปรุงการเขียน
6. ช่วยการอภิปราย
7. ช่วยวางแผนการสอนของครู
8. เป็นเครื่องมือการประเมินผล

*****
การอ่านคำประพันธ์
บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะ
ตามระเบียบบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบที่ว่าด้วยการประพันธ์

1. กลอนสุภาพ เป็นคำว่าประพันธ์ที่เก่าแก่ของไทยซึ่งเป็นที่นิยม
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
    ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนี่งมี 4 วรรค วรรคละ 8 พยางค์ เช่น

   ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย  ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย
   ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย     จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

2. โครงสี่สุภาพ เป็นคำว่าประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
    นอกจากมีการบังคับสัมผัสแล้วยังมีการบังคับเสียงเอก-โทด้วย
    ลักษณะของกลอนโครงสี่สุภาพ คือ 1 บท ต้องมี 4 บาท ( 4 บรรทัด)
    บาทละ 2 วรรค วรรคหน้าทุกวรรคมี 5 พยางค์ เช่น

    เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด พี่เอย
    เสียงย่อมยอยศใคร    ทั่วหล้า
    สองเขือพี่หลับใหล      ลืมตื่น ฤๅพี่
    สองพี่คิดเองอ้า            อย่าได้ถามเผือ

หมายเหตุ
ส่วนที่เป็นสีแดง คือ ตำแหน่งที่บังคับเสียงเอก
ส่วนทีเป็นสีน้ำเงิน คือ ตำแหน่งที่บังคับเสียงโท

3. กาพย์ยานีหรือกาพย์ยานี11
    กาพย์ยานี 1 บท มี 2 บาท (2 บรรทัด) บาทที่ 1 เรียกว่า บาทเอก
    บาทที่ 2 เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี 2 วรรค
    วรรคแรกมี 5 คำ(พยางค์) วรรคหลังมี 6 คำ(พยางค์)

        ลิงค่างครางโครกครอก    ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
     ชะนีวิเวกวอน                       นกหกร่อนนอนรังเรียง
(เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ)

หมายเหตุ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ เป็นกวีเอกของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย
ของพระเจ้าอยู่หัวบรรมโกศ บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ
กาพย์เห่เรือ ลักษณะการประพันธ์ 2 แบบคือ โคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี11

4. กาพย์สุรางคนางค์หรือกาพย์สุรางคนางค์ 28
    กาพย์สุรางคนางค์ 1 บท มี 7 วรรค วรรคหนึ่งมี 4 พยางค์
    รวมบทหนึ่งมี 28 พยางค์

                               สุรางคนางค์
  เจ็ดวรรคจักวาง   ให้ถูกวิธี
  วรรคหนึ่งสี่คำ     จงจำให้ดี
  บทหนึ่งจึงมี        ยี่สิบแปดคำ

*****

บทประพันธ์ หมายถึง เรื่องราวแต่งขึ้นบอกราวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เรื่องที่เล่านั้นอาจเป็นข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่สมมุติขึ้นตาม
ความคิดผันของผู้แต่ง

ลักษณะเด่นของบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
บทประพันธ์ที่ดี จะมีลักษณะเด่นหนึ่งใน 3 ประการนั้คือ
1. มีแนวความคิดที่ดี
2. มีกลวิธีการแต่งที่ดี
3. มีประโยชน์ เช่นให้ความรู้ ให้คติธรรม

หมายเหตุ
บทประพันธ์และผู้ประพันธ์ที่น่าจดจำ
กาพย์พระไชยสุริยา แต่งโดยสุนทรภู่
ศกุนตลา เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9
มัทนาพาธา เป็นพระราชนิพนธ์ใน
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 6 (รัชกาลที่)
นิราศนรินทร์ แต่งโดยนายนรินทร์เบศร์
โคลงโลกนิติ แต่งโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
อยู่กับก๋ง แต่งโดยหยก บูรพา

* * * * *

27 ส.ค. 2554

ภาษาไทย01

ลองมาดูสรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทยกันบ้างนะครับ

หลักการอ่าน ลักษณะของคนที่อ่านหนังสือเป็น
1. อ่านแล้วรู้เรื่องราวได้ตลอดแจ่มแจ้ง คือ อ่านแล้วจับใจความ
    ของเรื่องได้ หรือ รู้เรื่องได้โดยตลอด
2. ได้รับรสชาติของการอ่าน คือ อ่านแล้วเกิดความซาบซึ้ง
     ตามเนื้อหา เกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องที่อ่าน
3. วินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่อ่านได้ คือ เห็นประโยชน์ของเนื้อหาที่อ่าน
4. รู้จักนำสิ่งที่เป็นประโยชน์จากเรื่องที่อ่านมาใช้เหมาะสมกับสถานการณ์
5. รู้จักเลือกหนังสือที่อ่านได้เหมาะสมตามความต้องการในแต่ละโอกาส

ประเภทของการอ่าน มี 2 ประเภทคือ
1. การอ่านออกเสียง คือ การอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียงอ่านด้วย
2. การอ่านในใจ

ใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความที่เป็นแกนหรือหัวใจของเรื่อง

ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
1. ความหมายโดยตรง เป็นความหมายตามรูปคำที่กำหนดขึ้นและรับรู้ได้
    เข้าใจตรงกัน

คำพ้อง 3 มีลักษณะ คือ
1. คำพ้องรูป คือ คำที่สะกด(เขียน) เหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน เช่น
    เพลารถ กับ เพลาเย็น (เพ-ลา)
2. คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่สะกดต่างกัน เช่น
   การ กาน กานต์ กานท์ กาล กาฬ การณ์ กาญจน์
3. คำพ้องรูปพ้องเสียง คือ คำที่สะกดเหมือนกันและออกเสียงเหมือนกัน
    แต่มีความหมายต่างกัน เช่น
    ฉัน หมายถึง ตัวของเรา
    ฉัน หมายถึง กิน ทาน ใช้กับพระสงฆ์
    เชื่อม หมายถึง ทำให้มีรสหวาน
    เชื่อม หมายถึง ทำให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน

2. ความหมายโดยนัย (ความหมายรอง หรือ ความหมายแฝง)
    เป็นความหมายที่สื่อหรือนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงบางสิ่งบางอย่าง
    ที่ลักษณะหรือคุณสมบัติเหมือนความหมายโดยตรง เช่น
    เขาทำงานเอาหน้า (หมายถึง ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง)
    นักการเมืองชอบสาดโคลนให้กัน (หมายถึง พูดให้ร้าย)
    บ้านนี้รวยแต่เปลือก (ไม่รวยจริง)

สำนวน หมายถึง ข้อความที่มีความหมายพิเศษไปจากคำที่ประกอบ
อยู่ในข้อความนั้นไม่ได้มีความหมายตามรูปคำ มีความหมายเป็น
เชิงเปรียบเทียบ ต้องอาศัยความตีความ เช่น

อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง ของที่ไปอยู่ในมือของคนอื่นแล้วเอาคืนไม่ได้
วัวหายล้อมคอก หมายถึง เมื่อเกิดความเสียหายแล้วจึงคิดป้องกัน
ชี้นกบนปลายไม้ หมายถึง การพูดถึงสิ่งสุดวิสัยที่จะทำได้
แขวนนวม หมายถึง เลิกสิ่งที่ทำมาก่อน
งามหน้า หมายถึง ทำสิ่งที่ขายหน้า
จนตรอก หมายถึง หมดหนทางที่จะหนี
ทิ้งทวน หมายถึง ทำดีที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย
บอกศาลา หมายถึง บอกเลิก ตัดขาดไม่คบค้า
พระอิฐ พระปูน หมายถึง ทำนิ่งเฉยไม่เดือดร้อน
ลอยแพ หมายถึง ถูกไล่ออก ปลดออก

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ เป็นกลางๆ
มีความหมายเป็นคติสอนใจวสามารถนำตีความแล้วนำไปใช้พูด เช่น

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายถึง คนที่ทำผิดเองแต่ไปกล่าวโทษคนอื่น
ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การลงทุนมากเพื่องานที่ได้ผลน้อย
ไม้งามกระรอกเจาะ หมายถึง หญิงสวยที่มีมลทิน
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึงไม่ช่วยแล้วยังขัดขวาง

คำพังเพยที่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น
ไก่งามเพราะขน คนงานเพราะแต่ง
ตักน้ำใส่กระโหลกชะโงกดูเงา
หนีเสือปะจระเข้
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
คำอุปมาอุปไมย หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นสำนวนพวกหนึ่ง
เป็นทำนองเปรียบเทียบให้เห็นจริง เข้าใจและเกิดแจ่มแจ้ง
ภาพพจน์ชัดเจน เช่น
ดุเหมือนเสือ
ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด
แข็งเหมือนเพชร
กรอบเหมือนข้าวเกรียบ
กลมเหมือนมะนาว
ใจดำเป็นอีกา
บริสุทธิ์เหมือนหยาดน้ำค้าง
ตาดำเป็นนิล
หน้าขาวเหมือนไข่ปอก

การตีความ เป็นความเข้าใจความหมายของคำ สำนวน ข้อความ
หรือเนื้อหาซึ่งไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษร เป็นสิ่งที่ต้อง
อาศัยประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ ข่าว ประกาศและโฆษณาต่างๆ
2. ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กลอนต่างๆ

*****

โวหาร
โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เพื่อกล่าวความ
ให้เป็นเรื่องราว มี อยู่ 5 ลักษณะคือ
1. บรรยายโวหาร หมายถึง โวหารที่ใช้และการอธิบาย
   เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้
2. พรรณโวหาร คือ โวหารที่กล่าวถึงความงานของธรรมชาติ
    หรือสิ่งต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งและอารมณ์คล้อยตาม
3. เทศนาโวหาร เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอนหรือชักจูงให้ผู้อ่าน
    คล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษ
4. อุปมาโวหาร คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ
    เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
5. สาธกโวหาร คือ โวหารที่ยกเป็นตัวอย่างมาประกอบข้อความ
    เรื่องราวให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

* * * ความขยันและความตั้งใจเป็นบันไดสู่ความเจริญก้าวหน้า * * *

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง-09

มาดูกันต่อในเรื่องเนื้อหาบทเรียนที่ครูสรุปให้อ่าน
ตอนนี้เป็นเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาซิกซ์

ศาสนาซิกข์

1. ลักษณะสำคัญของศาสนาซิกข์คืออะไร
   1.1 เป็นศาสนาที่รวมเอาจุดเด่นของศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม
         มาไว้เป็นอันเดียวกัน
   1.2 ถือเอาคัมภีร์เป็นศาสดาแทน
   1.3 ศาสนานี้ถือว่าพระเจ้ามีองค์เดียว ไม่เป็นพระเจ้าของศาสนาใด
   โดยเฉพาะแต่เป็นสากล ทรงพระนามว่า "วาเฮคุรุ" พระองค์ไม่มี
   ลักษณะเหมือนคนดังพระเจ้าของฮินดู ไม่มีรัก ไม่มีชัง ดังพระเจ้า
   ของอิสลามหรือคริสต์ ทรงเป็นสัตยเทพ ทรงความเป็นเอก เป็นอนันตะ
   ทรงสถิตอยู่ทั่วไป ทรงมีพระกรุณาในสรรพสัตว์เท่ากัน

2. ประวัติความเป็นมาของศาสนาซิกข์
    ศาสนาซิกข์ หรือสิกข์ เกิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาใหม่
    เกิดเมื่อ พ.ศ. 2012 โดยคิดตามปีที่เกิดของคุรุนานักผู้เป็นปฐมศาสดานี้
    คำว่าซิกข์ เป็นภาษาปัญจาบี ตรงกับภาษาบาลีว่า สิกขะ และตรงกับภาษา
    สันสกฤตว่า ศิษยะ แปลว่าศิษย์หรือผู้ศึกษาเล่าเรียน เพราะฉะนั้นชาวซิกข์
    ก็คือผู้เป็นศิษย์ของคุรุหรือศาสดาของศาสนาซิกข์ทุกองค์ ศาสนาซิกข์เกิด
    ในช่วงที่ศาสนิกของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูกับศาสนิกของศาสนาอิสลาม
   เผชิญหน้ากัน มีปัญหากระทบกระทั่งจนฆ่ากันอยู่เสมอ ทำให้นานักผู้มีจิตใจ
   สูง ทนไม่ไหวได้คิดหาทางที่จะนำความสงบสุขคืนมา จนเป็นเหตุให้เกิด
   ศาสนาซิกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นศาสนาซิกข์จึงเป็นศาสนาที่ประนีประนอม
   ศาสนาต่างๆ ในอินเดีย โดยเฉพาะระหว่างศาสนาฮินดูกับศาสนาอิสลาม

   ศาสนาซิกข์มีคำสอนที่ตั้งขึ้นใหม่แล้วยังนำคำสอนดีเด่นจากศาสนาต่างๆ
   จากศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามมาเป็นคำสอนด้วย ส่วนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป
   เช่นเรื่องการถือชั้นวรรณะ ความมีกิเลสของพระเจ้าเป็นต้น โดยให้ใหม่ว่า
   ทุกคนเป็นพี่น้องกันไม่แตกต่างกันเพราะมาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน
   ดังคำสอนที่ว่า พระเจ้ามีหลายพระนามเช่น พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ
  และนิรเภา เป็นต้น พระองค์เป็นพระเจ้าของมนุษยชาติทั้งมวล มิได้ผูกขาด
  ว่าเป็นพระเจ้าของฮินดู พระเจ้าของมุสลิม หรือของศาสนาใด ทรงประทับ
  อยู่ทุกแห่ง แต่ทรงชอบประทับอยู่ในใจของคน

3. ศาสดาคนแรกของศาสนาซิกข์ คือ ใคร
    ท่านนานัก
4. ประวัติของศาสดาคนแรก โดยสรุป
   ผู้ให้กำเนิดศาสนาซิกข์ คือ คุรุนานัก นานักเกิด ณ หมู่บ้านตัลวันทิ
   เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ปัจจุบันเรียกว่า "นังกานา สาหิพ" ทางทิศตะวันตก
   เฉียงใต้เมืองละฮอร์ บนฝั่งแม่น้ำราวี ประเทศปากีสถาน เกิดเมื่อวันที่
   15 เมษายน พ.ศ. 2012 ตระกูลเป็นฮินดู วรรณะพราหมณ์ บิดาชื่อกุล
   หรือเมห์ตากัลยาดาส มารดาชื่อตริปตะ มีฐานะยากจน มารดาเป็น
   ผู้เคร่งครัดในศาสนามาก ส่วนบิดาเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยเงินเดือนต่ำ
   คอยรับใช้ผู้ว่าราชการเมือง

  เมื่อนานักเจริญวัยอายุได้ 7 ขวบ ก็ได้รับการศึกษาในสำนักของครู
  ที่เป็นมุสลิม กล่าวว่านานักเป็นคนมีสติปัญญาและช่างคิดอ่านตั้งแต่
  อยู่ในวัยเด็ก สามารถแสดงปัญญาความสามารถไต่ถามความรู้เรื่อง
  พระเจ้าต่อครูอาจารย์ ได้ศึกษาศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู มีความรู้
  แตกฉานในคัมภีร์พระเวท ต่อมาอีก 2 ปี ได้ศึกษาภาษาเปอร์เซีย
  (อิหร่าน)เพื่อเรียนรู้ลัทธิคำสอนของโซโรอัสเตอร์ ผู้เป็นศาสดาของ
  ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้นานักสามารถแสดงวาทะโต้ตอบหลัก
  ศาสนากับคณาจารย์ผู้ใหญ่ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

  นานักเป็นคนมีนิสัยใจคอกว้างขวาง โอบอ้อมอารี แม้ไม่ใช่เป็นคนรวย
  ชอบแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ใฝ่การ
 ศึกษาเรื่องศาสนาอย่างมากไม่ชอบเป็นนักรบหรือค้าขาย เพราะมี
 ความมุ่งมั่นที่จะใช้หลักศาสนาเข้าแก้ไขสังคมที่แตกแยก พยายาม
 ที่จะค้นหาคำสอน เปรียบเทียบคำสอน และแก้ไขคำสอนให้ใช้ได้
 เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

  เมื่ออายุ 14 ปี ได้สมรสกับหญิงผู้เป็นกุลสตรีชาวตัลวันทิชื่อ สุลัขนี
  เมื่อแต่งงานแล้วประมาณ 10 ปี มีบุตร 2 คน คือ ศรีจันท และ
  ลักษมิทาส ปรากฏว่าชีวิตสมรสช่วงหลังๆ หาความสุขได้ยาก เพราะ
  นานักและภรรยามีนิสัยคนละแบบ นานักชอบความสงบ แต่ภรรยา
  ชอบสนุกแบบโลกียวิสัย จนในที่สุดนานักจึงตัดสินใจหนีภรรยาและ
  ลูกออกไปหาความสงบทางใจในป่า เมื่ออายุ 36 ปี

  เมื่อนานักได้เข้าไปอยู่ในป่าเพื่อเข้าสมาธิหาความสงบทางจิตได้ไม่นาน
  วันหนึ่งเมื่อได้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด จิตใจปลอดโปร่ง ได้นั่ง
  สมาธิหาความสงบ ขณะที่นั่งสงบอยู่นั้นนานักได้ประสบการณ์ทางจิตว่า
  ได้ดื่มน้ำทิพย์ถ้วยหนึ่งจากพระเจ้า ข้อความในคัมภีร์ครันถะได้กล่าวเอา
  ไว้ว่า พระเจ้าได้ประทานน้ำทิพย์ถ้วยหนึ่งซึ่งนานักได้รับด้วยความสำนึก
  ในพระคุณ แล้วพระเจ้าได้รับสั่งกับนานักว่า "เราจะอยู่กับเจ้า เราจะทำให้
  เจ้ามีความสุขสงบและจะทำทุกคนที่นับถือเราในเจ้ามีความสุขไปด้วย
  เจ้าจงออกจากที่แห่งนี้ไป จงไปข้างหน้า นึกถึงเรา สั่งสอนคนทั้งหลาย
  เช่นเดียวกับที่เจ้ากระทำอยู่ จงทำโลกให้สะอาด ระลึกถึงการท่องบ่น
  นามของเราไว้เป็นนิตย์ จงเป็นผู้มีเมตตา เป็นผู้สะอาดบูชาและกระทำใจ
  ให้เป็นสมาธิ ต่อไปเจ้าจงเป็นคุรุ (ครู) ของคนทั้งหลาย" นานักได้รับ
  ประสบการณ์ทางจิตดังกล่าว ก็เกิดความมั่นใจในตนเอง ทั้งโสมนัสเป็น
  อย่างยิ่ง และได้ชื่นชมกับประสบการณ์นั้น โดยอยู่ในป่าต่ออีก 3 วัน
  แล้วจึงได้เดินทางออกมา

5. หลักคำสอนสำคัญๆในศาสนาซิกข์ มีอะไรบ้าง
   หลักคำสอนในศาสนาซิกข์ที่สำคัญ คือ
   1) องค์ไตรรัตน์ 3 ประการ
   2) ศีล 5 ประการ
   3) หลักธรรมประจำชีวิตหรือศีล 21 ประการ
   4) หลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเข้าถึงสุขนิรันดรหรือนิรวาณ

6. เป้าหมายสูงสุดของศาสนาซิกข์ คือ อะไร
    ศาสนาซิกข์มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต เป็นความสุข
    ที่แท้จริงและนิรันดร คือ ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของ
   พระเจ้าหรือการได้รับพระมหากรุณาจากพระเจ้า

7. ศาสนาซิกข์มีวิธีการอย่างไรที่จะไปถึงเป้าหมาย
    ต้องบูชาพระเจ้าสวดเพลงสรรเสริญพระนามและการฟังพระนาม
    ของพระเจ้า ชาวซิกข์เชื่อว่าชีวิตในโลกนี้ยังต้องเกิดอีกหลาย
    ครั้งตราบที่ยังไม่สิ้นกิเลส

8. ศาสนาซิกข์มีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ อะไร
   1) นิกายนานักปันถิหรือสหัชธรี
   2) นิกายขาลสาหรือสิงห์

9. ศาสนาซิกข์มีคัมภีร์ที่สำคัญคือ อะไร
  ครันถะ สาหิบ คำว่าครันถะ ตรงกับภาษาบาลี ว่า คันถะ แปลว่า
  คัมภีร์ ส่วนคำว่า สาหิบ แปลว่า พระ ดังนั้นครันถะ สาหิบ แปลว่า
  พระคัมภีร์นั่นเอง ฝรั่งเรียกคัมภีร์ครันถะ สาหิบ ว่า The Lord Book
  ก็คัมภีร์ครันถะ สาหิบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
  1)  อาทิครันถ์สาหิบ แปลว่าพระคัมภีร์แรก คัมภีร์นี้คุรุอรชุน
       ศาสดาองค์ที่ 5 ได้จัดทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2147 โดยรวบรวมคำสอน
       ของคุรุองค์ก่อนๆ ตั้งแต่คุรุนานักจนถึงตัวท่านเอง รวมทั้ง
       คำสอนของนักปราชญ์ในศาสนาฮินดูคือ รามนันทะ และ
       นักปราชญ์ในศาสนาอิสลาม คือ กาบีร์ อยู่ด้วย
   2. ทสมครันถะ สาหิบ แปลว่าพระคัมภีร์ที่ 10 คัมภีร์นี้คุรุโควินทสิงห์
      ศาสดาองค์ที่ 10 เป็นผู้จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมคำสอนของคุรุองค์ก่อนบางองค์และของตัวท่านเองไว้รวมกัน

10. หลักคำสอนที่สำคัญ
   1) องค์ไตรรัตน์หรือองค์ 3 ประการ อันเป็นสิ่งสูงสุดในศาสนาซิกข์
       คือ พระเจ้า, ศรี(หลักธรรม), อกาล (ความแน่นอนของพระเจ้า)
   2) ศีล 5 ประการ (5ก) คือ
       1. เกศ คือ เอาผม หนวด เคราไว้ จะโกนไม่ได้
       2. กังฆา คือ จะต้องมีหวีเสียบหรือปักไว้ที่ผมเสมอ ขาดไม่ได้
       3. กรา คือ จะต้องมีมีดพกประจำตัว (บางทีใช้กำไลเหล็กสวมข้อมือ)
       4. กิรปาน คือ จะต้องมีดาบประจำตัว
       5. กฉา คือ จะต้องมีกางเกงขาสั้นโดยนุ่งไว้ข้างในประจำ
   3) ปฏิบัติเพิ่มเติมอีก 4 ประการ คือ
      1. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มน้ำเมา
      2. ไม่บริโภคเนื้ออย่างอิสลาม
      3. ไม่ตัดผม ไม่โกนหนวด
      4. ไม่แต่งกายหรือไม่ร่วมประเพณีกับมุสลิม

11. นักบวชเกี่ยวกับนักบวชในศาสนาซิกข์
   ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชหรือพระแม้ว่าจะมีวัดก็ตาม
   ท่านคุรุอมรทาสได้ประกาศให้มีวัดซิกข์ทุกหมู่บ้านที่มีศาสนิกชน
   ของซิกข์ และได้กำหนดเขตการเผยแผ่ศาสนาซิกข์ในอินเดียออก
   เป็น 22 เขต แต่ละเขตมีซิกข์ผู้มีศรัทธาในศาสนาอย่างแท้จริง
   หนึ่งคนเป็นผู้รับผิดชอบในเขตนั้นๆ

  ผู้ทำหน้าที่สอนศาสนาซิกข์ไม่มีเครื่องแบบ แม้นักบุญผู้หลุดพ้น
  ก็มิได้ถือกฎแห่งพรหมจรรย์ในวัดซิกข์ ใครก็สามารถทำหน้าที่
  ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ ผู้คงแก่เรียนในคัมภีร์ก็เป็น
  ผู้อ่านคัมภีร์เท่านั้น ส่วนผู้ร้องเพลงสวดก็มิได้ถือว่าเป็นพระสงฆ์
  ผู้ปฏิบัติกิจทางศาสนาเรียกว่าผู้ทำงานซึ่งทำด้วยความสมัครใจ
  ผู้หญิงในศาสนาซิกข์จึงทำงานทางศาสนาได้เท่าเทียมผู้ชาย
  และอาจมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาได้ทุกอย่าง เช่น
  พิธีปฏิญาณตนเป็นซิกข์ พิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น สำหรับ
  การอ่านคัมภีร์ทางศาสนาถือว่าเป็นหน้าที่ปกติของทุกคน

13. นิกายในศาสนาซิกข์ มี 2 นิกายคือ
     1. นิกายนานักปันถิ หรือสหัชธรี นิกายนี้เน้นไปในทางนับถือ
         คุรุนานัก จึงดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ตามรอยคุรุนานัก
         นิกายนี้โกนผมโกนหนวดเคราได้
     2. นิกายขาลสา หรือ สิงห์ นิกายนี้นับถือหนักไปทางคุรุโควินทสิงห์
         ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะไว้ผมตลอดทั้งหนวดเครายาว โดยไม่ตัด
         หรือโกนตลอดชีวิต

* * * * * *

23 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง08

ตอนนี้เป็นคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดที่ไหน ในช่วงเวลาใด
    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 1000 ปี
   ก่อนพุทธศักราช เป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

2. คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกี่ส่วน
   คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
   1. ศรุติ เป็นสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่มีผู้แต่ง
       แต่เป็นการค้นพบของฤๅษีทั้งหลาย เป็นของที่มีอยู่ชั่วนิรันดร
       เป็นลมหายใจของพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์พระเวททั้ง 4 หรือ
       ที่เรียกว่า ไตรเพท ได้แก่
    1.1 ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด เป็นบทเพลงสวดหรือมนตร์สรรเสริญ
          อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าและเทวี
    1.2 ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์
          ซึ่งเป็นบทร้อยแก้วที่อธิบายวิธีประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและ
          การทำพิธีบูชายัญ
    1.3 สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็นบทร้อยกรอง
         มีทั้งหมดถึง 1,549 บท โดยนำมาจากฤคเวทเป็นส่วนมาก ที่แต่ง
         ขึ้นใหม่ มีประมาณ 78 บท จะใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสม
         และขับกล่อมเทพเจ้า
    1.4 อถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์
         เป็นคาถาอาคมมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทำพิธีขับไล่เสนียดจัญไร
         และอัปมงคลให้กลับมาเป็นสวัสดิมงคล นำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู
    2. สมฤติ เป็นคัมภีร์ขั้นสอง เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันสืบมา มีการแต่ง
        ตำราประกอบขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนในการศึกษาคัมภีร์พระเวท
       เรียกว่า คัมภีร์เวทางคศาสตร์

3. หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ
    ได้แก่อะไร
    หลักอาศรม 4 หลักปรมาตมัน และหลักโมกษะ
4. เป้าหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อะไร
    ความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพรหมหรือปรมาตมัน
5. สัญลักษณ์สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่าอะไร
   เรียกว่า "โอม" คือ เครื่องหมายอักษรเทวนาครี

6. นิกายสำคัญๆ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 3 นิกาย ได้แก่อะไรบ้าง
   นิกาย-ไวษณวะ นิกายไศวะ และนิกายศักติ
7. คำว่า ปรมาตมัน คือ อะไร
    คือวิญญาณดั้งเดิมหรือความจริงสูงสุดของโลกและชีวิต
    หรือจักรวาล ซึ่งเรียกว่า พรหมัน
8. อาตมัน หรือ ชีวาตมัน คือ อะไร
   คือ เป็นส่วนอัตตาย่อย หรือวิญญาณย่อย ซึ่งปรากฏแยกออกมา
   อยู่ในแต่ละคน ดังนั้นการที่อาตมัน หรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไป
   รวมกับพรหมัน หรือ ปรมาตมันได้จึงจะพ้นจากทุกข์ ไม่มี
   การเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

9. โยคะ คืออะไร
    คือ การบำเพ็ญเพียรทำกรรมดี และประกอบพิธีกรรมต่างๆ
    แบ่งเป็น 4 อย่างใหญ่คือ
   1. กรรมโยคะ ทำกรรมดี
   2. ภักติโยคะ มีความภักดีในเทพเจ้า
   3. ชญานโยคะ การศึกษาจนเข้าใจพระเวท อย่างถูกต้อง
   4. ราชมรรค (ราชโยคะ) เป็นทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจ
       มุ่งบังคับใจให้อยู่ในอำนาจด้วยการบำเพ็ญโยคะกิริยา
      ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ราชโยคิน

10. หลักอาศรม 4 หมายถึง อะไร
      หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์
      วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิต
      ไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ได้แก่
 อาศรมที่ 1 (ปฐมวัย) เรียกว่า พรหมจรรย์อาศรม เริ่มตั้งแต่อายุ
      8-25 ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้ เรียกว่า พรหมจารี ภายในช่วงระยะเวลา
      25 ปีแรกนี้ พรหมจารีผู้อยู่ในพรหมจรรย์อาศรม มีหน้าที่ดังนี้
     1) ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน
     2) เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์
     3) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ
     4) ไม่คบกับเพศตรงกันข้าม
     5) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องทำพิธีเกศนตสันสกา (ตัดผม)
         และพิธีคุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์
 อาศรมที่ 2 (มัชณิมวัย) เรียกว่า คฤหัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ
     25-50 ปี มีหน้าที่ดังนี้
     1) ช่วยพ่อแม่ทำงาน
     2) แต่งงานมีครอบครัว
     3) ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว
 อาศรมที่ 3 (ปัจฉิมวัย) เรียกว่า วานปรัสถาศรม อยู่ในช่วง
     อายุ 50-75 ปี มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
    1) มอบสมบัติให้บุตรธิดา
    2) บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
    3) ออกบวชปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า วานปรัสถ์
    4) ทำประโยชน์แก่สังคมด้วยการเป็นครูอาจารย์
อาศรมที่ 4 คือ สันยัสตาศรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
   สำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็น สันยาสี
  เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้ บำเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้นตามห
  ลักกรรมโยคะต่อไป

11. หลักปรมาตมัน คือ อะไร
      หมายถึง สิ่งยิ่งใหญ่อันเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลก
     ซึ่งเรียกชื่อสิ่งนี้ว่า พรหม ปรมาตมันกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน
     และมีลักษณะดังต่อไปนี้
     1) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง
     2) เป็นนามธรรม สิงสถิตอยู่ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเรียกว่าอาตมัน
         เป็นสิ่งที่มอง ไม่เห็นด้วยตา
    3) เป็นศูนย์รวมแห่งวิญญาณทั้งปวง
    4) สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลกล้วนเป็นส่วนย่อย
        ที่แยกออกมาจากพรหม
    5) เป็นตัวความจริง (สัจธรรม) สิ่งเดียว (โลกและสิ่งอื่นๆ ล้วนเป็นมายา
        ภาพลวงที่มีอยู่ชั่วครั้งคราวเท่านั้น)
    6) เป็นผู้ประทานญาณ ความคิดและความสันติ
    7) เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในสภาพเดิมตลอดกาล

12. หลักโมกษะ คือ อะไร
   เป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาฮินดูสอนว่า
   "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว
  ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่ายตายเกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีกส"
  หลักโมกษะประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
  1. การนำอาตมันเข้าสู่ปรมาตมัน ด้วยการปฏิบัติธรรมใดๆ เพื่อให้
     วิญญาณของตนเข้ารวมกับปฐมวิญญาณ เรียกว่า "เข้าถึงโมกษก"
    คือความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งชีวิต
  2. วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะ ได้เสนอแนะหลักปฏิบัติที่สำคัญไว้
     3 ประการ คือ กรรมมรรค (กรรมโยคะ) ชยานมรรค (ชยานโมคะ)
     และ ภักติมรรค (ภักติโยคะ)

13. ตรีมูรติ หมายถึงสิ่งใด
     ศาสนาในยุคมหากาพย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เทพเจ้า
    ที่สำคัญในยุคมหากาพย์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์
    เทพเจ้าทั้ง 3 องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ1 และหน้าที่ของเทพเจ้า
    แต่ละองค์มีดังต่อไปนี้
   1. พระพรหม เป็นผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก
   2. พระศิวะ เทพเจ้าแห่งการทำลายและเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ
       มีหลายชื่อ เช่น อิศวร รุทระ และนาฏราช เป็นต้น พระศิวะเป็น
       เทพเจ้าสูงสุดในไศวนิกาย ประทับอยู่ที่ภูเขาไกรลาส มีโคนันทิ
      เป็นพาหนะ และมีศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายของพลังแห่งการสร้างสรรค์

  ลักษณะของพระศิวะเป็นรูปฤๅษี มี 4 กร นุ่งห่มหนังสัตว์ ประทับ
  นั่งบนหนังเสือโคร่ง ถืออาวุธตรีศูล ธนู และคทาหัวกะโหลกมนุษย์
  ห้อยพระศอด้วยประคำร้อยด้วยกะโหลก มีงูเป็นสังวาล พระศอมี
  สีดำสนิท กลางพระนลาฏมีพระเนตรดวงที่ 3 ซึ่งถ้าพระศิวะลืม
  พระเนตรดวงที่ 3 เมื่อใด ไฟจะไหม้โลกเมื่อนั้น เหนือพระเนตรดวง
  ที่ 3 มีรูปพระจันทร์ครึ่งซีก

  พระศิวะมีพระชายาชื่ออุมา หรือ ปารวตีเทวี

  3. พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาและคุ้มครองโลก
      พระนารายณ์ประทับอยู่ในเกษียรสมุทร มีพระยาอนันตราช
     เป็นบัลลังก์ ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีพระชายาชื่อ ลักษมี
     ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม ผู้อำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่ง
     และผู้มีใจเมตตาปราณี

14. นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกี่นิกายอะไรบ้าง
   1. นิกายไวษณวะหรือไวษณพ เชื่อในการอวตารของพระนารายณ์ว่า
   พระนารายณ์อวตาร 24 ครั้ง เพื่อช่วยมนุษย์โลกในคราวทุกข์เข็ญ
   นิกายนี้เคารพบูชาพระราม พระกฤษณะ หนุมาน และพระพุทธเจ้า
     
   นิกายไวษณวะนี้จะมีรอยเจิมหน้าผากเป็น 3 จุด เป็นเครื่องหมาย
   แสดงความเคารพ พระวิษณุ

  2. นิกายไศวะนิกายหรือนิกายที่นับถือพระศิวะ นิยมใช้มูลเถ้าสีขาว
 หรือสีเทา เขียนเป็นเส้นนอนตรงซ้อนกัน 3 เส้นที่หน้าผาก จุดหมาย
 สูงสุดของผู้นับถือนิกายไศวะ คือ โมกษะ หรือ การบรรลุความหลุดพ้น
 โดยการเข้าถึงความเป็นเอกภาพกับพระศิวะ

  3. นิกายศักติ นิกายนี้นับถือมเหสีของจอมเทพ 3 องค์ คือ
   พระนางสุรัสวดี มเหสีของพระพรหม พระนางอุมา
   มเหสีของพระศิวะ และพระนางลักษมี มเหสีของพระวิษณุ
   คำว่าศักติ แปลว่า อำนาจ หรือสมรรถนะ หรือ พลัง หมายถึง
   พลังที่จะนำความสำเร็จดังประสงค์มาให้ผู้ที่นับถือศักติ
   โดยมีความเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกล้วนแต่มีของคู่กัน เช่น
   มืด-สว่าง สุข-ทุกข์ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีเทพฝ่ายชาย
  ก็จะต้องมีเทพฝ่ายหญิงเป็นของคู่กัน 3

15. เทพองค์อื่นที่คนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้ความนับถือได้แก่
   พระอินทร์ ราชาของเทพและเทวดา
   พระอัคนี เทพแห่งไฟ
   พระวรุณ เทพแห่งฝน
   พระยม เทพของความตาย

* * * * *

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง07

ตอนนี้มาดูคำถาม-คำตอบเกี่ยวศาสนาคริสต์ กันบ้าง

1. ประวัติของพระเยซู โดยสรุป

   พระเยซูมีเชื้อชาติยิว คริสต์ศาสนาถือว่า วันสมภพ คือ 
   25 ธันวาคม ค.ศ. 1 (เป็นปีที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช ) ณ หมู่บ้านเบธเลเฮม
  แคว้นยูดา ในดินแดนปาเลสไตน์ (อิสราเอล ในปัจจุบัน) เป็นช่วงที่
  อาณาจักรโรมันเจริญถึงขีดสุดภายใต้การนำของพระเจ้าซีซาร์
  พระเยซู มารดาชื่อ มาเรีย บิดาชื่อ โจเซฟ เป็นคนเชื้อสายยิว
  อาศัยอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ในสมัยนั้นมีคำทำนายว่า "กษัตริย์แห่ง
  ชนชาติยิวได้บังเกิดขึ้นแล้ว" กษัตริย์เฮร็อค ผู้ครองแคว้นยูดาย
  ทรงทราบจึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเด็กชายที่เกิดในเมืองเบธเลเฮม
  ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น โจเซฟได้พาภรรยาและบุตรหลบหนี จนกระทั่ง
  กษัตริย์เฮร็อคเสียชีวิตลง พระเยซูก็ เติบโตขึ้นและด้วยความสนใจใฝ่
  หาความรู้ทางศาสนา เมื่ออายุ 30 ปี ได้พบกับนักบุญจอห์น ผู้เผยแพร่
  ศาสนายิวและได้รับศีลจุ่ม (แบพติสต์ ) จากจอห์นที่แม่น้ำจอร์แดน
  นับแต่นั้นมาพระเยซูก็ได้ชื่อว่า พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ)


  พระเยซูคริสต์ เริ่มประกาศคำสอนโดยรับเอาความเชื่อศาสนายิวเป็น
  หลักปฏิบัติและเป็นคำสอนที่สำคัญอันหนึ่งเรียกว่า "เทศนาบนภูเขา"
  พระเยซูส่งสาวกออกไปเผยแพร่คำสอนอันถือเป็นพระวจนะของพระเจ้า
  จนได้รับความนิยมจากชาวยิว และเชื่อว่าพระเยซูเป็นเมสสิอาห์ของยิว
  ต่อมานักบวชชาวยิวกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับพระเยซูถือว่ามาปฏิวัติศาสนา
  และเป็นผู้สร้างคำสอนใหม่ให้ศาสนา จึงพยายามหาทางกำจัดโดยกล่าวหา
  พระเยซูว่าพยายามซ่องสุมผู้คน เพื่อ กบฎชาวโรมันอันเป็นที่มาของการถูก
  ทหารโรมันจับตรึงไม้กางเขนจนถึงแก่ชีวิต เมื่ออายุ 33 ปี โดยประกาศ
  คำสอนได้เพียง 3 ปี เท่านั้น พวกสาวกที่เลื่อมใสพระเยซูก็ตั้งเป็นศาสนา
  ใหม่ขึ้น เรียกว่า " ศาสนาคริสต์ "

2. แนวคิดสำคัญๆในศาสนาคริตส์ มีอะไรบ้าง
   1. จุดหมายปลายทาง สวรรค์ (อยู่กับพระเจ้า)
   2. วิธีปฏิบัติ ทำตามบัญญัติของพระเจ้าซึ่งพระเยซูย่อลงมาเหลือ
      2 ข้อบ้าง 5 ข้อบ้าง 6 ข้อบ้างและเติมอีกข้อหนึ่งคือให้ทานแก่คนอนาถา
   3. ชีวิตในโลกนี้ มีเพียงครั้งเดียว
   4. ศาสนาคริตส์เชื่อว่ามนุษย์ตายแล้ววิญญาณยังไม่ไปไหน ยังคงอยู่ที่
      ศพคอยวันพิพากษาและจะกลับเข้าสู่ร่างศพฟื้นออกจากหลุมฝังศพ
      เมื่อเทพบริวารของพระเจ้าเป่าแตรแล้วพากันไปฟังคำพิพากษาจาก
      พระเจ้า ถ้าใครมีบาป ก็จะตกนรกชั่วนิรันดร์ ถ้าใครมีความดีมาก
      ก็ได้ขึ้นสวรรค์ไปอยู่กับพระเจ้า
3. ไตรเอกานุภาพ หรือ ตรีเอกภาพ หมายถึงสิ่งใด
   1. พระเจ้า หรือพระบิดา (The Father)
   2. พระบุตร (The son)
   3. พระจิต (The Holy spirit)
4. การทำความเคารพบูชาต่อไม้กางเขน มีวิธีการอย่างไร
   การทำความเคารพบูชาต่อไม้กางเขน วิธีทำคือ
  1. ยกมือขวาแตะหน้าผาก กล่าวว่า ขอเดชะพระบิดา
  2. ลดมือขวาลงมาแตะหน้าอก กล่าวว่า พระบุตร
  3. ยกมือขวาไปแตะที่บ่าซ้าย แล้วย้ายมาบ่าขวา กล่าวว่า พระจิต
  4. ประสานมือไว้ที่หน้าอกแล้วกล่าวว่า อา เมน (A Men) ซึ่งหมายความว่า
     ขอบุญกุศลนี้จงบันดาลให้พระเจ้าสถิตอยู่กับข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ

5. ศาสนาคริสต์ (Christianity) เป็นศาสนาแห่งความรัก เพราะเหตุใด
    เพราะพระเจ้าทรงรักมนุษย์ ทรงรักประชากรของพระองค์ ทรงสร้าง
    สัตว์ต่างๆขึ้นมาเพื่อรับใช้ เป็นอาหารแก่มนุษย์ และทรงให้มนุษย์
    ลงสู่นรกเมื่อไม่ศรัทธาในพระเจ้า ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่นับถือ
    ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและทุกสิ่ง
    รวมถึงมนุษย์โดยใช้เวลาเพียง 6วัน

6. คัมภีร์สำคัญในศาสนาคริสต์ เรียกว่า อะไร
    พระคริสตธรรมคัมภีร์หรือคัมภีร์ไบเบิล (The Bible)
7. ศาสนาคริสต์มีรากฐานมาจากศาสนาใด
    ศาสนายูดาห์ (หรือศาสนายิว)
8. ความเชื่อเกี่ยวกับการมาเกิดของพระเยซู มีว่าอย่างไร
    โดยสรุป มีความเชื่อว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระบุตรของพระเจ้า
    ที่มาบังเกิดเป็นมนุษย์ จากหญิงพรหมจรรย์ (สาวบริสุทธิ์) โดย
    ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า เพื่อไถ่มนุษย์ให้พ้นจากความบาปโดย
    การสิ้นพระชนม์ที่กางเขน และทรงฟื้นขึ้นมาจากความตายใน
    สามวันหลังจากนั้น และเสด็จสู่สวรรค์ประทับเบื้องขวาพระหัตถ์
   ของพระบิดา ผู้ที่เชื่อและไว้วางใจในพระองค์จะได้รับการอภัยโทษบาป

9. นิกายสำคัญๆในศาสนาคริสต์ มีกี่นินาย
    มี 3 นิกาย คือ
   1. นิกายโรมันคาทอลิกแปลว่าสากล เป็นนิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นใน
   หลักคำสอนของพระเยซูคริสต์เคารพพระนางมารีย์และนักบุญต่างๆ
  ภายในโบสถ์ของนิกายนี้จะมีรูปเคารพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารีย์
  และนักบุญต่างๆ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครรัฐวาติกัน มี
  พระสันตะปาปาเป็นประมุข โดยถือว่านักบุญเปโตรหรือนักบุญปีเตอร์
  คือพระสันตะปาปาพระองค์แรก มีนักบวช เรียกว่าบาทหลวง และผู้อุทิศตน
  ทำงานให้ศาสนจักรถ้าเป็นชายเรียกว่าบราเดอร์ (brother) หญิงเรียกว่า
  ซิสเตอร์ (sister) ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสตัง"

  2. นิกายออร์โธด็อกซ์แปลว่าถูกต้อง นับถือในประเทศทางฝั่งยุโรป
  ตะวันออก เช่น กรีซ รัสเซีย โดยแยกตัวออกไปจากศาสนจักรตะวันตก
  เพราะไม่อยากอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะปาปาซึ่งมีอำนาจมากสูงกว่า
  กษัตริย์ ในสมัยนั้น โดยที่มิได้เปลี่ยนแปลงข้อความเชื่อ ข้อความเชื่อ
  ของนิกายออทอดอกซ์เหมือนกับข้อความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก
  มีอัครบิดรเป็นประมุข นิกายออทอดอกซ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
  คริสตจักร (หรือศาสนจักร) ตะวันออก

  3. นิกายโปรเตสแตนต์ แยกตัวมาจากนิกายโรมันคาทอลิกในช่วง
  คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นนิกายที่ถือว่าศรัทธาของแต่ละคนที่มีต่อ
  พระเจ้าสำคัญกว่าพิธีกรรม ซึ่งยังแตกย่อยออกเป็นหลายร้อยคณะ
  เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับพระคัมภีร์ และการปฏิบัติในพิธีกรรม
  นิกายนี้ไม่มีนักบวช เชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยมิต้อง
  อาศัยบาทหลวงและถือว่าพระเยซูได้ทรงไถ่บาปแก่ศาสนิกทุกคนไป
  เมื่อถูกตรึงกางเขนแล้ว นิกายนี้มีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมาย
  แห่งศาสนา ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสเตียน"

10. ศาสนาคริสต์ได้เข้ามาในประเทศไทย เมื่อใด
   ศาสนาคริสต์ได้เข้ามาในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
   ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณปี พ.ศ. 2127
   นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายแรกที่เข้ามา โดยคณะโดมินิกัน,
   คณะฟรังซิสกัน, คณะเยซูอิต

11. พิธีกรรมสำคัญในศาสนาคริสต์ ได้แก่อะไรบ้าง
   พิธีกรรมสำคัญในศาสนาคริสต์ที่สำคัญๆอยู่ 7 พิธี
   เรียกว่า พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์(The Seven Sacraments) มีดังนี้
   1. ศีลล้างบาป (Baptism) หรือการรับบัพติสมา เป็นพิธีแรกที่คริสตชน
       ต้องรับ โดยบาทหลวงจะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะพร้อม
       เจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก
   2. ศีลอภัยบาป (Confirmation) เป็นการสารภาพบาปกับพระเจ้า
       โดยผ่านบาทหลวง บาทหลวงจะเป็นผู้ตักเตือนสั่งสอนไม่ให้
       ทำบาปนั้นอีก และทำการอภัยบาปให้ในนามพระเจ้า
   3. ศีลมหาสนิท (Eucharist) เป็นพิธีกรรมรับศีลโดยรับขนมปัง
       และเหล้าองุ่นมารับประทาน โดยความเชื่อว่าพระกายและ
       พระโลหิตของพระเยซู
   4. ศีลกำลัง เป็นพิธีรับศีลโดยการเจิมหน้าผาก เพื่อยืนยันความเชื่อ
       ว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ตลอดไปและได้รับพระพรของพระจิตเจ้า
      ทำให้เข้มแข็งในความเชื่อมากขึ้น
   5. ศีลสมรส (Martrimony) เป็นพิธีประกอบการแต่งงาน โดยบาทหลวง
       เป็นพยาน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่
   6. ศีลบวช (Ordination) สงวนไว้เฉพาะผู้ที่จะบวชเป็นบาทหลวง
       และเป็นชายเท่านั้น
   7. ศีลเจิมคนไข้ (Anointing of the Sick) เป็นพิธีเจิมคนไข้โดยบาทหลวง
      จะเจิมน้ำมันลงบนหน้าผากและมือทั้งสองข้างของผู้ป่วย ให้ระลึกว่า
      พระเจ้าจะอยู่กับตนและให้พลังบรรเทาอาการเจ็บป่วย

   สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง
   7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 3 พิธีคือพิธีบัพติสมา,
   พิธีมหาสนิท และ พิธีสมรสศักดิ์สิทธิ์

12. ศาสนาคริสต์เกิดหลังพุทธศาสนา กี่ปี
      543 ปี
13. หลักตรีเอกานุภาพ (Trinity)หรือ ตรีเอกภาพ หมายถึง อะไร
      ความเชื่อว่าพระเจ้าทรง มี 3 ภาค คือ
   1. พระบิดา (The Father) หมายถึง พระเจ้าผู้สถิตอยู่ในสวรรค์
       ผู้ทรงสร้างโลก สรรพสิ่ง และมนุษย์
   2. พระบุตร (The Son) หมายถึง พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตร
       ของพระเจ้าผู้เสด็จมาในโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์
   3. พระจิต หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Holy Spirit) หมายถึง
      พลังอำนาจของพระเจ้าอันเป็นพลังแห่งความรักที่เชื่อมพระบิดา
      กับพระบุตรเข้าด้วยกัน และเป็นพลังอำนาจของพระเจ้าที่ทรง
     แสดงต่อมนุษย์เพื่อดลบันดาลให้มนุษย์กลับใจมาประพฤติปฏิบัติ
     ตามแนวทางของพระเจ้าพระคริสต์ธรรมใหม่

14. หลักแห่งความรัก (Love หรือ Agape) ในศาสนาคริสต์เป็นอย่างไร
   หลักความรักเป็นหลักคำสอนทางจริยธรรมที่สำคัญที่สุดของ
   ศาสนาคริสต์ ความรักในที่นี้มิใช่ความรักอย่างหนุ่มสาวอันประกอบ
   ด้วยกิเลสตัณหาและอารมณ์ปรารถนาอันเห็นแก่ตัว แต่หมายถึง
   ความเป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ความรักแบ่ง
   เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และ
   ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

15. หลักความศรัทธา 5 ประการในศาสนาคริสต์ มีอะไรบ้าง
   1. ศรัทธาว่าพระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
   2. ศรัทธาว่าพระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
   3. ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า
   4. ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด
   5. ศรัทธาในแผ่นดินสวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้าที่กำลังจะมาถึง

16. สัญลักษณ์สำคัญของศาสนาคริสต์ คือ สิ่งใด
   ในคริสต์ศาสนาทุกนิกายใช้เครื่องหมายเหมือนกันคือ ไม้กางเขน
   เดิมไม้กางเขนเป็นเครื่องมือสำหรับประหารชีวิตนักโทษในปาเลสไตน์
   คริสต์ศาสนาจึงถือว่า ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเสียสละ
   อันยิ่งใหญ่นิรันดรของพระเจ้า

* * * * *

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง06

คราวนี้มาดูคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับศาสนาอิสลามกันบ้าง

1. ศาสนาอิสลาม มีลักษณะอย่างไร

    ศาสนาอิสลาม คือ ความศรัทธา ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติและ
    จริยธรรม ซึ่งบรรดาศาสดา ที่อัลลอฮฺ ได้ประทานลงมาเป็นผู้นำ
    เพื่อมาสั่งสอนและแนะนำแก่มวลมนุษยชาติ
2. ศาสดาของศาสนาอิสลามคือ ใคร
    ท่านนบีมุฮัมหมัด
3. คำว่า อิสลาม หมายถึง อะไร
    อิสลาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การสวามิภักดิ์
   ซึ่งหมายถึงการสวามิภักดิ์อย่างบริบูรณ์แด่ อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า
4. อัลลอฮฺ แปลว่า อะไร
    อัลลอฮฺ แปลว่า พระเจ้า
5. อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่าอะไร
   อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่า อัส-สิลมฺ หมายถึง สันติ
   กล่าวคือการสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้พบกับ
   สันติภาพทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

6. ประวัติของท่านมูฮัมหมัด (โดยสรุป)
   ท่านมูฮัมหมัดเกิดที่เมืองเมกกะตรงกับวันจันทร์ที่ 17 บ้างก็ว่า 12
   เดือนรอบีอุลเอาวัล ในปีช้าง ตรงกับ ค.ศ. 570 ในตอนแรกเกิดวรกาย
   ของมูฮัมหมัดมีรัศมีสว่างไสวและมีกลิ่นหอม แสดงถึงความพิเศษ
   ของทารก มุฮัมมัดสูญเสียมารดาเมื่ออายุ 6 ขวบ จึงอยู่ในความอุปการะ
   ของปู่ ต่อมาอีกสองปี ปู่ก็สิ้นชีวิตไปอีกคน มูฮัมหมัดจึงอยู่ในความดูแล
   ของ อะบูฏอลิบ ผู้เป็นลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกียรติคนหนึ่งในเผ่ากุเรชเช่นกัน

  ในวัยหนุ่มมูฮัมหมัดได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ มีใจเมตตา
  และจริงใจ จนกระทั่งได้สมญานามท่านว่า "อัลอะมีน" หรือผู้ซื่อสัตย์

  เมื่อมูฮัมหมัดมีอายุได้ 20 ปี ชื่อเสียงในความดีและความสามารถใน
  การค้าขายทราบถึง คอดีญะห์ เศรษฐีนีหม้ายผู้มีเกียรติจากตระกูลอะซัด
  แห่งเผ่ากุเรช นางจึงให้ท่านเป็นผู้จัดการในการค้า โดยให้ท่านนำสินค้าไป
  ขายยังประเทศซีเรียในฐานะหัวหน้ากองคาราวาน ปรากฏผลว่าการค้าดำเนิน
  ไปด้วยความเรียบร้อยและได้กำไรเกินความคาดหมาย จึงทำให้นางพอใจ
  ในความสามารถ และความซื่อสัตย์ของท่านเป็นอย่างมาก

  เมื่ออายุ 25 ปี ท่านได้แต่งงานกับนางคอดีญะห์ผู้มีอายุแก่กว่าถึง 15 ปี
  สิ่งแรกที่ท่านนบีมูหัมมัด ได้กระทำภายหลังสมรสได้ไม่กี่วันก็คือการปลด
  ปล่อยทาสในบ้านให้เป็นอิสระ ต่อมาการปลดทาสได้กลายเป็นบทบัญญัติ
  อิสลาม ทั้งสองได้ใช้ชีวิตครองคู่กันเป็นเวลา 25 ปีมีบุตรีด้วยกัน 4 คน
  หนึ่งในจำนวนนั้นคือท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

  ท่านหญิงคอดีญะห์เสียชีวิตปี ค.ศ. 619 ก่อนมูฮัมหมัดจะลี้ภัยไปยัง
  เมืองยัษริบ 3 ปี


  เมื่ออายุ 30 ปี ท่านได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสหพันธ์ฟุดูล อันเป็นองค์กร
  พิทักษ์สาธารณภัยประชาชน เพื่อขจัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชน กิจการ
  ประจำวันของท่าน ก็คือ ประกอบแต่กุศลกรรม ปลดทุกข์ขจัดความเดือดร้อน
  ช่วยเหลือผู้ตกยาก บำรุงสาธารณกุศล

  เมื่ออายุ 35 ปี ได้เกิดมีกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะฮฺ ในเรื่องที่ว่า
  ผู้ใดกันที่จะเป็นนำเอา อัลฮะญัร อัลอัสวัด (หินดำ) ไปประดิษฐานไว้
  สถานที่เดิมคือที่มุมของกะอฺบะฮฺ อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะ
  รบราฆ่าฟันกันเองเพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากการถกเถียงใน
  ที่ประชุมเป็นเวลานาน บรรดาหัวหน้าตระกูลต่าง ๆ ก็มีมติว่า ผู้ใดก็ตามที่
  เป็นคนแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบะนีชัยบะฮฺในวันนั้น
 จะให้ผู้นั้นเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฏว่า มูฮัมหมัดเป็นคนเดินเข้าไป
 เป็นคนแรก ท่านจึงมีอำนาจในการชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้ว
 ท่านก็วางหินดำลงบนผืนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้า
 กันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กัน เอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น
 แล้วท่านก็เป็นผู้นำเอาหินดำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม

  ชาวอาหรับในอาราเบียสมัยนั้นเชื่อว่า อัลลอฮฺเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่ง
  สากลจักรวาลตามคำสอนดั้งเดิมของบรรพบุรุษอาหรับคือ อิสมาอีล
  และ อิบรอฮีม ผู้ก่อตั้งกะอฺบะฮฺ แต่ในขณะเดียวก็บูชาเทวรูปและผีสาง
  อีกด้วย ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า ชาวมุชริก นอกจากนี้ยังมี
  อาหรับบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์ ในนัจญ์รอน ส่วนในเมืองยัษริบ
  ก็มีชาวยิวหลายเผ่าอาศัยอยู่อีกด้วย

  ศาสนทูตมูฮัมหมัดเสียชีวิตในบ้านของท่านเอง ในนครมะดีนะห์
  เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 632 เมื่ออายุ 63 ปี

  ท่านมูฮัมหมัดในฐานะเป็นศาสนทูต
  เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับว่าวะฮ์ยู (การวิวรณ์) จากอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า
  ในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักกะฮฺ โดยฑูตญิบรีลเป็น
  ผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่ศาสนา
  ของอัลลอฮฺดั่งที่ศาสดามูซา (โมเสส) อีซา (เยซู)เคยทำมา นั่นคือ
  ประกาศให้มวลมนุษย์นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการ
  ติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมขึ้นเป็นเล่มเรียกว่า
  คัมภีร์อัลกุรอาน และท่านก็ได้เผยแผร่ศาสนาในเวลาต่อมา

7. สาส์นแห่งอิสลามที่ถูกส่งมาให้แก่มนุษย์ทั้งมวลมีจุดประสงค์
    หลัก 3 ประการคือ...
   1. เป็นอุดมการณ์ที่สอนมนุษย์ให้ศรัทธาในอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า
       เพียงพระองค์เดียว
   2. เป็นธรรมนูญสำหรับมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตส่วนตัว
       และสังคม เป็นธรรมนูญที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าในด้านการปกครอง
       เศรษฐกิจ หรือนิติศาสตร์ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ไปจนกระทั่งระดับรัฐ
   3. เป็นจริยธรรมอันสูงส่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ เน้นความอดกลั้น
      ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที
      ความสะอาดของกายและใจ ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเท่าเทียม
      และความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น สั่งสอนให้ละเว้น
      ความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา การติฉินนินทา ความเขลาและ
      ความขลาดกลัว การทรยศและอกตัญญู การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น


      อิสลามเป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นทางนำในการดำรงชีวิต
      ทุกด้านตั้งแต่ตื่นจนหลับ และตั้งแต่เกิดจนตาย แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้น
      อายุ เพศ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ฐานันดร หรือ ยุคสมัย ใด

8. หลักคำสอนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามแบ่งไว้ 3 หมวด อะไรบ้าง
    1. หลักการศรัทธา
    2. หลักจริยธรรม
    3. หลักการปฏิบัติ

9. หลักศรัทธา 6 ประการของศาสนาอิสลาม ได้แก่
    1. ศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า
    2. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่อัลลอหฺประทานลงมาในอดีต เช่น
        เตารอต อินญีล ซะบูร และอัลกุรอาน
    3. ศรัทธาในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์
        และนบีมุฮัมหมัด เป็นศาสนทูตคนสุดท้าย
    4. ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺ บ่าวผู้รับใช้อัลลอฮฺ
    5. ศรัทธาในวันสิ้นสุดท้าย คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น
       เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
    6. ศรัทธาในกฎสภาวะ หรือ สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไข
       การกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า

10. หลักการปฏิบัติในศาสนาอิสลาม(ศาสนวินัย) ได้แก่...
   1. วาญิบ คือหลักปฏิบัติภาคบังคับที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ)
      ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงทัณฑ์ เช่น
      การปฏิบัติตาม ฐานบัญญัติของอิสลามรุกน) ต่างๆ การศึกษาวิทยา
      การอิสลาม การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
   2. ฮะรอม คือกฏบัญญัติห้ามที่มุกัลลัฟทุกคนต้องละเว้น
       ผู้ที่ไม่ละเว้นจะต้องถูกลงทัณฑ์
   3. ฮะลาล คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ อันได้แก่
       การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น
       การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง
       การค้าขายโดยสุจริตวิธี เป็นต้น
   4. มุสตะฮับ หรือซุนนะฮฺ  คือกฏบัญญัติชักชวนให้มุสลิม และมุกัลลัฟ
       กระทำ หากไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนศาสนวินัย โดยทั่วไป
       จะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการใช้น้ำหอม การตัดเล็บให้สั้น
   5. มักรูฮฺ คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ แต่พึงละเว้น คำว่า
       มักรูหฺ ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า น่ารังเกียจ โดยทั่วไปจะ
      เกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการทานอาหารที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ
      การสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ขัดต่อกาลเทศะ เป็นต้น
   6. มุบาฮฺ คือสิ่งที่กฏบัญญัติไม่ได้ระบุเจาะจง จึงเป็นความอิสระสำหรับ
       มุกัลลัฟที่จะเลือกกระทำหรือละเว้น เช่นการเลือกพาหนะ เครื่องใช้
       หรือ การเล่นกีฬาที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติห้าม

11. หลักปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม ได้แก่อะไรบ้าง
   1. ดำรงการละหมาด วันละ 5 เวลา
   2. จ่ายซะกาต
   3. จ่ายคุมส์ คือ จ่ายภาษี 1 ใน 5 ให้แก่ผู้ครองอิสลาม
   4. ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนทุกปี
   5. บำเพ็ญฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ หากมีความสามารถ
   6. ญิฮาด หรือ การปกป้องและเผยแพร่ศาสนาด้วยทรัพย์และชีวิต
   7. สั่งใช้ในสิ่งที่ดี
   8. สั่งห้ามไม่ให้ทำชั่ว
   9. การภักดีต่อบรรดอิมานอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด
 10. การตัดขาดจากศัตรูของอิมานอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด

12. นิกายที่สำคัญๆในศาสนาอิสลามได้แก่อะไรบ้าง
   1. นิกายซุนีย์ เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือ ซึ่งยึดถือัลอ-กุรอาน
      จริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด และแบบอย่างของสาวกเป็นหลัก
      แนวความคิดของนิกายซุนีย์ คือ เชื่อว่าท่านศาสดามุฮัมมัดมิได้
      แต่งตั้งตัวแทนไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป ดังนั้น หลังจากท่านจากไป
      แล้วตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำสืบต่อจากท่านจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม
      ต้องเลือกสรรกันเองตามความเหมาะสม
   2. นิกายชีอะห์ เป็นนิกายที่มีความเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้า
       ยึดมั่นในอัล-กุรอานและจริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดา
       อิมามผู้บริสุทธิ์ แนวความคิดของนิกายชีอะห์ คือเชื่อว่าท่านศาสดา
       มุฮัมมัดได้แต่งตั้งตัวแทน (อิมาม) ไว้แล้ว

13. ศาสนาอิสลามเข้ามาตั้งแต่ดินแดนประเทศไทยในสมัยใด
      สมัยสุโขทัย
14. ศาสนสถานของชาวมุสลิมเรียกว่าอะไร
      มัสยิดหรือสุเหร่า เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด
     เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ นอกจากนี้ยังเรียกว่า
     สุเหร่า เป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายู surau บ้างก็เรียกเรือนไม้
     ที่ใช้เป็นสถานที่นมาซ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าว่า สุเหร่า
     ถ้ามีขนาดใหญ่ก็เรียกว่า มัสญิด

15. วันสำคัญในศาสนาอิสลามได้แก่ อะไรบ้าง
   1. เดือนที่สำคัญที่สุดคือเดือนรอมะฎอน อันเป็นเดือนที่มุสลิม
       ถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งเดือน นั่นคือ 29 หรือ 30 วัน
   2. วันที่สำคัญที่สุดในแต่ละสัปดาห์คือวันศุกร์ อันเป็นวันที่มุสลิมจะ
       ไปร่วมที่มัสญิดเพื่อนมาซญุมอะหฺพร้อมกัน โดยที่อิมามมัสญิด
       จะอ่านคุตบะหฺก่อนการนมาซ
   3. ในแต่ละปีจะมีวันสำคัญสองวันนั่นคือ วันอีดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฎฮา
   4. ในแต่ละปี มุสลิมจะประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะหฺ เริ่มตั้งแต่วันที่ 9
        จนถึงวันที่ 14 เดือนซุลฮิจญะหฺ

16. คัมภีร์ในศาสนาอิสลามชื่อมีว่าอะไร
    คัมภีร์อัลกุรอานเป็นชาวมุสลิมที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก
    เพราะไม่ได้เกิดจากความคิดมนุษย ์แต่เป็นพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์
    ที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้มนุษย์โดยผ่านทางนบีฯมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)


   สาระสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงทั้งศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์
   สุขศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
  คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต เมื่อมีความขัดแย้ง
  เกิดขึ้นในทางศาสนาอิสลาม จะใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางใน
  การตัดสินปัญหา ความลึกซึ้งในภาษามีมากจนปัจจุบันนี้ยังไม่มี
  ปราชญ์คนใดเขียนได้ดีเท่า และในคัมภีร์ก็ไม่มีตอนใดที่ขัดแย้งกันเลย
  ทั้งๆ ที่นบีมุฮัมมัด ไม่มีความสามารถทั้งในการอ่านและการเขียนหนังสือ


  การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคน
  ต้องศรัทธา หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาบางส่วน
  ก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ และต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  นี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้
  จึงไม่มีการสังคายนาอัลกุรอานเลย

17. คัมภีร์อัลกุรอานมาจากที่ใด
   อัลลอหฺ ได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่ นบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็น
  ศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระผู้เป็นเจ้า
  ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใดๆ
  จากพระผู้เป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่าๆ
  ที่เคยได้ทรงประทานมา นั่นคือคัมภีร์เตารอหฺ (Torah) ที่เคยทรงประทาน
  มาแก่ศาสดามูซา คัมภีร์ซะบูร (Psalm) ที่เคยทรงประทานมาแก่
  ศาสดาดาวูด (David) และ คัมภีร์อินญีล (Evangelis) ที่เคยทรงประทาน
  มาแก่ศาสดาอีซา (Jesus) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง
  ภาษาของอัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของศาสดามุฮัมมัด

* * * * *