27 ส.ค. 2554

ภาษาไทย01

ลองมาดูสรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทยกันบ้างนะครับ

หลักการอ่าน ลักษณะของคนที่อ่านหนังสือเป็น
1. อ่านแล้วรู้เรื่องราวได้ตลอดแจ่มแจ้ง คือ อ่านแล้วจับใจความ
    ของเรื่องได้ หรือ รู้เรื่องได้โดยตลอด
2. ได้รับรสชาติของการอ่าน คือ อ่านแล้วเกิดความซาบซึ้ง
     ตามเนื้อหา เกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องที่อ่าน
3. วินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่อ่านได้ คือ เห็นประโยชน์ของเนื้อหาที่อ่าน
4. รู้จักนำสิ่งที่เป็นประโยชน์จากเรื่องที่อ่านมาใช้เหมาะสมกับสถานการณ์
5. รู้จักเลือกหนังสือที่อ่านได้เหมาะสมตามความต้องการในแต่ละโอกาส

ประเภทของการอ่าน มี 2 ประเภทคือ
1. การอ่านออกเสียง คือ การอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียงอ่านด้วย
2. การอ่านในใจ

ใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความที่เป็นแกนหรือหัวใจของเรื่อง

ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
1. ความหมายโดยตรง เป็นความหมายตามรูปคำที่กำหนดขึ้นและรับรู้ได้
    เข้าใจตรงกัน

คำพ้อง 3 มีลักษณะ คือ
1. คำพ้องรูป คือ คำที่สะกด(เขียน) เหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน เช่น
    เพลารถ กับ เพลาเย็น (เพ-ลา)
2. คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่สะกดต่างกัน เช่น
   การ กาน กานต์ กานท์ กาล กาฬ การณ์ กาญจน์
3. คำพ้องรูปพ้องเสียง คือ คำที่สะกดเหมือนกันและออกเสียงเหมือนกัน
    แต่มีความหมายต่างกัน เช่น
    ฉัน หมายถึง ตัวของเรา
    ฉัน หมายถึง กิน ทาน ใช้กับพระสงฆ์
    เชื่อม หมายถึง ทำให้มีรสหวาน
    เชื่อม หมายถึง ทำให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน

2. ความหมายโดยนัย (ความหมายรอง หรือ ความหมายแฝง)
    เป็นความหมายที่สื่อหรือนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงบางสิ่งบางอย่าง
    ที่ลักษณะหรือคุณสมบัติเหมือนความหมายโดยตรง เช่น
    เขาทำงานเอาหน้า (หมายถึง ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง)
    นักการเมืองชอบสาดโคลนให้กัน (หมายถึง พูดให้ร้าย)
    บ้านนี้รวยแต่เปลือก (ไม่รวยจริง)

สำนวน หมายถึง ข้อความที่มีความหมายพิเศษไปจากคำที่ประกอบ
อยู่ในข้อความนั้นไม่ได้มีความหมายตามรูปคำ มีความหมายเป็น
เชิงเปรียบเทียบ ต้องอาศัยความตีความ เช่น

อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง ของที่ไปอยู่ในมือของคนอื่นแล้วเอาคืนไม่ได้
วัวหายล้อมคอก หมายถึง เมื่อเกิดความเสียหายแล้วจึงคิดป้องกัน
ชี้นกบนปลายไม้ หมายถึง การพูดถึงสิ่งสุดวิสัยที่จะทำได้
แขวนนวม หมายถึง เลิกสิ่งที่ทำมาก่อน
งามหน้า หมายถึง ทำสิ่งที่ขายหน้า
จนตรอก หมายถึง หมดหนทางที่จะหนี
ทิ้งทวน หมายถึง ทำดีที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย
บอกศาลา หมายถึง บอกเลิก ตัดขาดไม่คบค้า
พระอิฐ พระปูน หมายถึง ทำนิ่งเฉยไม่เดือดร้อน
ลอยแพ หมายถึง ถูกไล่ออก ปลดออก

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ เป็นกลางๆ
มีความหมายเป็นคติสอนใจวสามารถนำตีความแล้วนำไปใช้พูด เช่น

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายถึง คนที่ทำผิดเองแต่ไปกล่าวโทษคนอื่น
ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การลงทุนมากเพื่องานที่ได้ผลน้อย
ไม้งามกระรอกเจาะ หมายถึง หญิงสวยที่มีมลทิน
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึงไม่ช่วยแล้วยังขัดขวาง

คำพังเพยที่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น
ไก่งามเพราะขน คนงานเพราะแต่ง
ตักน้ำใส่กระโหลกชะโงกดูเงา
หนีเสือปะจระเข้
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
คำอุปมาอุปไมย หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นสำนวนพวกหนึ่ง
เป็นทำนองเปรียบเทียบให้เห็นจริง เข้าใจและเกิดแจ่มแจ้ง
ภาพพจน์ชัดเจน เช่น
ดุเหมือนเสือ
ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด
แข็งเหมือนเพชร
กรอบเหมือนข้าวเกรียบ
กลมเหมือนมะนาว
ใจดำเป็นอีกา
บริสุทธิ์เหมือนหยาดน้ำค้าง
ตาดำเป็นนิล
หน้าขาวเหมือนไข่ปอก

การตีความ เป็นความเข้าใจความหมายของคำ สำนวน ข้อความ
หรือเนื้อหาซึ่งไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษร เป็นสิ่งที่ต้อง
อาศัยประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ ข่าว ประกาศและโฆษณาต่างๆ
2. ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กลอนต่างๆ

*****

โวหาร
โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เพื่อกล่าวความ
ให้เป็นเรื่องราว มี อยู่ 5 ลักษณะคือ
1. บรรยายโวหาร หมายถึง โวหารที่ใช้และการอธิบาย
   เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้
2. พรรณโวหาร คือ โวหารที่กล่าวถึงความงานของธรรมชาติ
    หรือสิ่งต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งและอารมณ์คล้อยตาม
3. เทศนาโวหาร เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอนหรือชักจูงให้ผู้อ่าน
    คล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษ
4. อุปมาโวหาร คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ
    เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
5. สาธกโวหาร คือ โวหารที่ยกเป็นตัวอย่างมาประกอบข้อความ
    เรื่องราวให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

* * * ความขยันและความตั้งใจเป็นบันไดสู่ความเจริญก้าวหน้า * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น