19 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง-05

1. เป้าหมายของชีวิตในทางพุทธศาสนาเป็นอย่าง

    พระพุทธศาสนาวางเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ
   1. เป้าหมายระดับพื้นฐาน หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ใน
       ระดับชีวิตประจำวันที่มนุษย์ในสังคมต้องการ คือ
      ขยันหมั่นเพียร, เก็บออมทรัพย์, คบคนดีเป็นเพื่อน, ใช้ทรัพย์เป็น
   2. เป้าหมายระดับกลาง เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ คือ
      * ศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม
      * ศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
      * จาคะ ความเสียสละ
      * ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว
   3. เป้าหมายระดับสูงสุด หมายถึง พระนิพพาน

2. ถ้าจะศึกษาพระธรรมคำสอนล้วนๆ ควรศึกษาพระไตรปิฏกหมวดใด
    พระอภิธรรมปิฏก
3. หลักธรรมใดที่กล่าวถึงองค์ประกอบของชีวิต
    ขันธ์ 5
4. ในคำสอนที่เรียกว่า นามขันธ์ ขอใดที่นำไปสู่ความดีหรือความชั่วก็ได้
    สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง)
5. ข้อใดจัดเป็นคำสอนที่ทำให้ศาสนาพุทธมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
    ไตรลักษณ์
6. หลักธรรมของการเป็นเทพ-เทวดาคือ อะไร
    หิริ คือ ความละอายบาป ไม่อยากทำบาป เห็นว่าการทำบาป
    เป็นของทำให้ใจของเราเศร้าหมอง
    โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาปและผลของการทำบาป

7. หลักธรรมแห่งความสำเร็จหรือหลักธรรมแห่งการมีอิทธิฤทธิ์ คือ อะไร
     อิทธิบาท 4 แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ เป็นหลักธรรมที่
     แนวทางสู่ความสำเร็จของการงานหรือสิ่งที่ตั้งใจ
     (ซึ่งต้องทำด้วยตนเอง) ได้แก่
     1. ฉันทะ ความพอใจ ความเต็มใจในสิ่งนั้น
     2. วิริยะ ความพากเพียรในการกระทำต่อสิ่งนั้น
     3. จิตตะ ความเอาใจใส่ เมื่อลงมือทำต่อสิ่งนั้น
     4. วิมังสา ความหมั่นตรวจสอบ ดูแล ต่อสิ่งนั้น

8. หลักธรรมของพระราชาหรือนักปกครองมีชื่อว่า อะไร
    ทศพิธราชธรรม คือธรรมสำหรับพระราชามี 10 ประการ ดังนี้
   1. ทาน หรือการให้
   2. ศีล
   3. บริจาค ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์ของเราให้ผู้อื่น
   4. ความซื่อตรง (อาชชวะ)
   5. ความอ่อนโยน (มัททวะ) หรือเคารพในเหตุผลที่ควร
   6. ความเพียร (ตบะ)
   7. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ
   8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)
   9. ความอดทน (ขันติ)
   10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือ การตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ
        อยู่บนหลักการของการถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ

9. นิกายในพระพุทธศาสนา มีกี่นิกาย
    มี 2 นิกาย
    1. นิกายเถรวาทหรือหีนยาน (แปลว่ายานเล็ก)หรือหลุดพ้นไปคนเดียว
        นิกายนี้จะยึดมั่นและถือคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระวินัยตาม
        พระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด มีผู้นับถือแพร่หลายได้แก่ ประเทศลังกา
        ไทย มอญ พม่า ลาว เขมร เป็นต้น
    2. มหายาน (แปลว่ายานใหญ่) นิกายนี้ไม่ยึดถือพระธรรมวินัยอย่าง
        เคร่งครัดมากนัก มีการปรับปรุงพระวินัยและคำสอนให้เหมาะสม
        กับบุคคลและความเชื่อในท้องถิ่น นิกายนี้มีผู้นับถือในประเทศจีน
        เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต มองโกเลียและเวียดนาม

10. พระเจ้าอโศกมหาราช คือ ใคร
      พระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ
      ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. 260

11. พระเจ้าอโศกมหาราช มีความสำคัญอย่างไรกับพระพุทธศาสนา
      หลังจากที่พระองค์ได้ทำสงครามครั้งใหญ่มีผู้คนล้มตายมากมาย
      ทำให้พระองค์ทรงสลดใจมาก ครั้งหนึ่งได้ทรงสดับคำสอนในพุทธศาสนา
      แล้วเกิดทรงเลื่อมใส จึงหันมาทำนุบำรุงพระศาสนาด้วยการ
      1. สร้างมหาวิหาร 84,000 แห่งทั่วราชอาณาจักร
      2. ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระวินัยครั้งที่ 3 เป็นการประชุม
          คณะสงฆ์เพื่อตรวจทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของ
          พระพุทธเจ้ามีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 234 ใช้เวลา 9 เดือน
     3. ทรงการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาใน
         ประเทศต่างๆ และซึ่งเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
         เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันครั้งแรก

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น