1 ส.ค. 2554

เนื่อหาเสริม-พัฒนาอาชีพ1-6

ตอนนี้มาดูเรื่องของธุรกิจในภาพที่ใหญ่ขึ้นเราเรียกว่า เศรษฐกิจ     
เศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน   ระบบเศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน มีสิ่งต้องคำนึง 2 ประการ คือ
1. การเป็นเจ้าของในทรัพยากรการผลิต
2. ความมีโอกาสอย่างเสรีที่จะเลือกได้ตามความพอใจ
    เนื่องจากการเป็นเจ้าของส่วนตัวในทรัพยากรการผลิต บางที่เรียก
ระบบแบบนี้ว่า ระบบทุนนิยม (Capitalism) หรืออาจเรียกว่า ระบบ
การประกอบกิจการเสรี (Free - Enterprise) เพราะแต่ละคนสามารถ
เลือกได้ว่าตนเองจะทำสิ่งใด แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เอกชนหรือ
ผู้ประกอบการในระบบนี้ไม่ได้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อการที่จะเลือก
ได้เองตามความพอใจ ดังนั้นจึงน่าจะใช้คำว่าการประกอบกิจการส่วนตัว
(Private Enterprise) เหมาะสมกว่าที่จะใช้คำว่า ทุนนิยม หรือการประกอบ
กิจการเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบผสม
(Mixed Economy) เช่น ประเทศไทย เป็นต้น

 ปัจจัยในการผลิต (Factor of Production) ได้แก่
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) ได้แก่ ที่ดิน น้ำ ป่าไม้
    และพลังงานต่าง ๆ
2. แรงงาน (Labor) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์
3. ทุน (Capital) หมายถึง โรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และเงินทุน
4. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หมายถึง ผู้ความเต็มใจที่จะเสี่ยง
    รวมทั้งความรู้และความสามารถที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอื่นอย่างมี
    ประสิทธิภาพ ให้เกิดผลกำไรขึ้น

สรุป ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญก็คือ คน (Man) , เงิน (Money) ,
วัตถุดิบ (Material) , เครื่องจักร (Machine) ที่เราเรียกย่อว่า 4M นั่นเอง
และยังรวมดับ ข้อมูลข่าวสาร (Information) ต่าง ๆ อีกด้วย

ชนิดของระบบเศรษฐกิจ    ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกัน
เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ที่มีแนวปฏิบัติ
คล้ายๆ กันมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความต้องการ
ของผู้บริโภค ในการเรียนรู้เรื่องของระบบเศรษฐกิจ เราจึ่งต้องอาศัย
ความรู้ในเรื่องของวิชาเศรษฐศาสตร์เข้าช่วย
  
     เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความพอใจ
ในความต้องการของมนุษย์ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำถามพื้นฐาน 4 ข้อ ที่นำมาใช้ในการพิจารณาระบบเศรษฐกิจ คือ
1. จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร
2. ผลิตอย่างไร
3. ผลิตเพื่อใคร
4. ใครเป็นเจ้าของและควบคุมปัจจัยหลักของการผลิต

ในปัจจุบันเราแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบทุนนิยม (Capitalism)     เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งมีกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตได้
ด้วยต้วเอง
      ระบบนี้รัฐบาลจะไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
รัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชน แต่ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและช่วยกระตุ้น ทั้งนี้
กลไกของตลาดจะเป็นตัวกำหนดในเรื่องของราคา โดยมีกำไรและการแข่งขัน
กันอย่างเสรีเป็นสิ่งจูงใจสำคัญ ของระบบเศรษฐกิจแบบนี้

2. ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน เป็นระบบที่มีการวางแผนมาจาก
รัฐบาลกลาง ประกอบด้วย
     2.1)  ระบบสังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจำกัด
เสรีภาพของเอกชน โดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตขนาดใหญ่
และเป็นผู้รควบคุมการผลิตในกิจการที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อประเทศ
โดยพยายามที่จะจัดสรรรายได้ให้เท่าเทียมกันมากที่สุด
    ในระบบนี้เอกชนยังมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจขนาดเล็กได้ แต่รัฐ
จะเข้าไปควบคุมและเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าหรือบริการเอง
     2.2)  ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะ
ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้น
จากการผลิตสินค้าและบริการเป็นของประชาชน

จุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน 
   1. ภาคเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิตและการบริโภค
   2. ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)   เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมระหว่างแบบทุนนิยมกับสังคมนิยม
คือ รัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการผลิตขั้นพื้นฐานต่งหรือ
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) แต่เอกชนก็เป็นเจ้าของได้เช่นกัน
ทั้งนี้รัฐอาจจะเข้าแทรกแซงกลไกทางการตลาดได้ในบางครั้ง เช่น
เพื่อสวัสดิการของประชาชน เป็นต้น

ชนิดของการแข่งขันระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นสภาวะการแข่งขัน
ระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร  แบ่งเป็น 4 แบบ คือ
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสภาวะทางตลาดที่มีผู้ซื้อ
และผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะ
ควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้
ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์

2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นระบบตลาด
ที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาด
หรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย

3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์
ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดผู้ให้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายรายเดียว
โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสิ่งแทนได้ เช่น การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น