23 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง06

คราวนี้มาดูคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับศาสนาอิสลามกันบ้าง

1. ศาสนาอิสลาม มีลักษณะอย่างไร

    ศาสนาอิสลาม คือ ความศรัทธา ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติและ
    จริยธรรม ซึ่งบรรดาศาสดา ที่อัลลอฮฺ ได้ประทานลงมาเป็นผู้นำ
    เพื่อมาสั่งสอนและแนะนำแก่มวลมนุษยชาติ
2. ศาสดาของศาสนาอิสลามคือ ใคร
    ท่านนบีมุฮัมหมัด
3. คำว่า อิสลาม หมายถึง อะไร
    อิสลาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การสวามิภักดิ์
   ซึ่งหมายถึงการสวามิภักดิ์อย่างบริบูรณ์แด่ อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า
4. อัลลอฮฺ แปลว่า อะไร
    อัลลอฮฺ แปลว่า พระเจ้า
5. อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่าอะไร
   อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่า อัส-สิลมฺ หมายถึง สันติ
   กล่าวคือการสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้พบกับ
   สันติภาพทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

6. ประวัติของท่านมูฮัมหมัด (โดยสรุป)
   ท่านมูฮัมหมัดเกิดที่เมืองเมกกะตรงกับวันจันทร์ที่ 17 บ้างก็ว่า 12
   เดือนรอบีอุลเอาวัล ในปีช้าง ตรงกับ ค.ศ. 570 ในตอนแรกเกิดวรกาย
   ของมูฮัมหมัดมีรัศมีสว่างไสวและมีกลิ่นหอม แสดงถึงความพิเศษ
   ของทารก มุฮัมมัดสูญเสียมารดาเมื่ออายุ 6 ขวบ จึงอยู่ในความอุปการะ
   ของปู่ ต่อมาอีกสองปี ปู่ก็สิ้นชีวิตไปอีกคน มูฮัมหมัดจึงอยู่ในความดูแล
   ของ อะบูฏอลิบ ผู้เป็นลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกียรติคนหนึ่งในเผ่ากุเรชเช่นกัน

  ในวัยหนุ่มมูฮัมหมัดได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ มีใจเมตตา
  และจริงใจ จนกระทั่งได้สมญานามท่านว่า "อัลอะมีน" หรือผู้ซื่อสัตย์

  เมื่อมูฮัมหมัดมีอายุได้ 20 ปี ชื่อเสียงในความดีและความสามารถใน
  การค้าขายทราบถึง คอดีญะห์ เศรษฐีนีหม้ายผู้มีเกียรติจากตระกูลอะซัด
  แห่งเผ่ากุเรช นางจึงให้ท่านเป็นผู้จัดการในการค้า โดยให้ท่านนำสินค้าไป
  ขายยังประเทศซีเรียในฐานะหัวหน้ากองคาราวาน ปรากฏผลว่าการค้าดำเนิน
  ไปด้วยความเรียบร้อยและได้กำไรเกินความคาดหมาย จึงทำให้นางพอใจ
  ในความสามารถ และความซื่อสัตย์ของท่านเป็นอย่างมาก

  เมื่ออายุ 25 ปี ท่านได้แต่งงานกับนางคอดีญะห์ผู้มีอายุแก่กว่าถึง 15 ปี
  สิ่งแรกที่ท่านนบีมูหัมมัด ได้กระทำภายหลังสมรสได้ไม่กี่วันก็คือการปลด
  ปล่อยทาสในบ้านให้เป็นอิสระ ต่อมาการปลดทาสได้กลายเป็นบทบัญญัติ
  อิสลาม ทั้งสองได้ใช้ชีวิตครองคู่กันเป็นเวลา 25 ปีมีบุตรีด้วยกัน 4 คน
  หนึ่งในจำนวนนั้นคือท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

  ท่านหญิงคอดีญะห์เสียชีวิตปี ค.ศ. 619 ก่อนมูฮัมหมัดจะลี้ภัยไปยัง
  เมืองยัษริบ 3 ปี


  เมื่ออายุ 30 ปี ท่านได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสหพันธ์ฟุดูล อันเป็นองค์กร
  พิทักษ์สาธารณภัยประชาชน เพื่อขจัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชน กิจการ
  ประจำวันของท่าน ก็คือ ประกอบแต่กุศลกรรม ปลดทุกข์ขจัดความเดือดร้อน
  ช่วยเหลือผู้ตกยาก บำรุงสาธารณกุศล

  เมื่ออายุ 35 ปี ได้เกิดมีกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะฮฺ ในเรื่องที่ว่า
  ผู้ใดกันที่จะเป็นนำเอา อัลฮะญัร อัลอัสวัด (หินดำ) ไปประดิษฐานไว้
  สถานที่เดิมคือที่มุมของกะอฺบะฮฺ อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะ
  รบราฆ่าฟันกันเองเพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากการถกเถียงใน
  ที่ประชุมเป็นเวลานาน บรรดาหัวหน้าตระกูลต่าง ๆ ก็มีมติว่า ผู้ใดก็ตามที่
  เป็นคนแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบะนีชัยบะฮฺในวันนั้น
 จะให้ผู้นั้นเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฏว่า มูฮัมหมัดเป็นคนเดินเข้าไป
 เป็นคนแรก ท่านจึงมีอำนาจในการชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้ว
 ท่านก็วางหินดำลงบนผืนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้า
 กันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กัน เอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น
 แล้วท่านก็เป็นผู้นำเอาหินดำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม

  ชาวอาหรับในอาราเบียสมัยนั้นเชื่อว่า อัลลอฮฺเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่ง
  สากลจักรวาลตามคำสอนดั้งเดิมของบรรพบุรุษอาหรับคือ อิสมาอีล
  และ อิบรอฮีม ผู้ก่อตั้งกะอฺบะฮฺ แต่ในขณะเดียวก็บูชาเทวรูปและผีสาง
  อีกด้วย ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า ชาวมุชริก นอกจากนี้ยังมี
  อาหรับบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์ ในนัจญ์รอน ส่วนในเมืองยัษริบ
  ก็มีชาวยิวหลายเผ่าอาศัยอยู่อีกด้วย

  ศาสนทูตมูฮัมหมัดเสียชีวิตในบ้านของท่านเอง ในนครมะดีนะห์
  เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 632 เมื่ออายุ 63 ปี

  ท่านมูฮัมหมัดในฐานะเป็นศาสนทูต
  เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับว่าวะฮ์ยู (การวิวรณ์) จากอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า
  ในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักกะฮฺ โดยฑูตญิบรีลเป็น
  ผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่ศาสนา
  ของอัลลอฮฺดั่งที่ศาสดามูซา (โมเสส) อีซา (เยซู)เคยทำมา นั่นคือ
  ประกาศให้มวลมนุษย์นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการ
  ติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมขึ้นเป็นเล่มเรียกว่า
  คัมภีร์อัลกุรอาน และท่านก็ได้เผยแผร่ศาสนาในเวลาต่อมา

7. สาส์นแห่งอิสลามที่ถูกส่งมาให้แก่มนุษย์ทั้งมวลมีจุดประสงค์
    หลัก 3 ประการคือ...
   1. เป็นอุดมการณ์ที่สอนมนุษย์ให้ศรัทธาในอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า
       เพียงพระองค์เดียว
   2. เป็นธรรมนูญสำหรับมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตส่วนตัว
       และสังคม เป็นธรรมนูญที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าในด้านการปกครอง
       เศรษฐกิจ หรือนิติศาสตร์ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ไปจนกระทั่งระดับรัฐ
   3. เป็นจริยธรรมอันสูงส่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ เน้นความอดกลั้น
      ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที
      ความสะอาดของกายและใจ ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเท่าเทียม
      และความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น สั่งสอนให้ละเว้น
      ความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา การติฉินนินทา ความเขลาและ
      ความขลาดกลัว การทรยศและอกตัญญู การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น


      อิสลามเป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นทางนำในการดำรงชีวิต
      ทุกด้านตั้งแต่ตื่นจนหลับ และตั้งแต่เกิดจนตาย แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้น
      อายุ เพศ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ฐานันดร หรือ ยุคสมัย ใด

8. หลักคำสอนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามแบ่งไว้ 3 หมวด อะไรบ้าง
    1. หลักการศรัทธา
    2. หลักจริยธรรม
    3. หลักการปฏิบัติ

9. หลักศรัทธา 6 ประการของศาสนาอิสลาม ได้แก่
    1. ศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า
    2. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่อัลลอหฺประทานลงมาในอดีต เช่น
        เตารอต อินญีล ซะบูร และอัลกุรอาน
    3. ศรัทธาในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์
        และนบีมุฮัมหมัด เป็นศาสนทูตคนสุดท้าย
    4. ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺ บ่าวผู้รับใช้อัลลอฮฺ
    5. ศรัทธาในวันสิ้นสุดท้าย คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น
       เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
    6. ศรัทธาในกฎสภาวะ หรือ สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไข
       การกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า

10. หลักการปฏิบัติในศาสนาอิสลาม(ศาสนวินัย) ได้แก่...
   1. วาญิบ คือหลักปฏิบัติภาคบังคับที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ)
      ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงทัณฑ์ เช่น
      การปฏิบัติตาม ฐานบัญญัติของอิสลามรุกน) ต่างๆ การศึกษาวิทยา
      การอิสลาม การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
   2. ฮะรอม คือกฏบัญญัติห้ามที่มุกัลลัฟทุกคนต้องละเว้น
       ผู้ที่ไม่ละเว้นจะต้องถูกลงทัณฑ์
   3. ฮะลาล คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ อันได้แก่
       การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น
       การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง
       การค้าขายโดยสุจริตวิธี เป็นต้น
   4. มุสตะฮับ หรือซุนนะฮฺ  คือกฏบัญญัติชักชวนให้มุสลิม และมุกัลลัฟ
       กระทำ หากไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนศาสนวินัย โดยทั่วไป
       จะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการใช้น้ำหอม การตัดเล็บให้สั้น
   5. มักรูฮฺ คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ แต่พึงละเว้น คำว่า
       มักรูหฺ ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า น่ารังเกียจ โดยทั่วไปจะ
      เกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการทานอาหารที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ
      การสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ขัดต่อกาลเทศะ เป็นต้น
   6. มุบาฮฺ คือสิ่งที่กฏบัญญัติไม่ได้ระบุเจาะจง จึงเป็นความอิสระสำหรับ
       มุกัลลัฟที่จะเลือกกระทำหรือละเว้น เช่นการเลือกพาหนะ เครื่องใช้
       หรือ การเล่นกีฬาที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติห้าม

11. หลักปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม ได้แก่อะไรบ้าง
   1. ดำรงการละหมาด วันละ 5 เวลา
   2. จ่ายซะกาต
   3. จ่ายคุมส์ คือ จ่ายภาษี 1 ใน 5 ให้แก่ผู้ครองอิสลาม
   4. ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนทุกปี
   5. บำเพ็ญฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ หากมีความสามารถ
   6. ญิฮาด หรือ การปกป้องและเผยแพร่ศาสนาด้วยทรัพย์และชีวิต
   7. สั่งใช้ในสิ่งที่ดี
   8. สั่งห้ามไม่ให้ทำชั่ว
   9. การภักดีต่อบรรดอิมานอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด
 10. การตัดขาดจากศัตรูของอิมานอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด

12. นิกายที่สำคัญๆในศาสนาอิสลามได้แก่อะไรบ้าง
   1. นิกายซุนีย์ เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือ ซึ่งยึดถือัลอ-กุรอาน
      จริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด และแบบอย่างของสาวกเป็นหลัก
      แนวความคิดของนิกายซุนีย์ คือ เชื่อว่าท่านศาสดามุฮัมมัดมิได้
      แต่งตั้งตัวแทนไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป ดังนั้น หลังจากท่านจากไป
      แล้วตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำสืบต่อจากท่านจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม
      ต้องเลือกสรรกันเองตามความเหมาะสม
   2. นิกายชีอะห์ เป็นนิกายที่มีความเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้า
       ยึดมั่นในอัล-กุรอานและจริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดา
       อิมามผู้บริสุทธิ์ แนวความคิดของนิกายชีอะห์ คือเชื่อว่าท่านศาสดา
       มุฮัมมัดได้แต่งตั้งตัวแทน (อิมาม) ไว้แล้ว

13. ศาสนาอิสลามเข้ามาตั้งแต่ดินแดนประเทศไทยในสมัยใด
      สมัยสุโขทัย
14. ศาสนสถานของชาวมุสลิมเรียกว่าอะไร
      มัสยิดหรือสุเหร่า เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด
     เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ นอกจากนี้ยังเรียกว่า
     สุเหร่า เป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายู surau บ้างก็เรียกเรือนไม้
     ที่ใช้เป็นสถานที่นมาซ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าว่า สุเหร่า
     ถ้ามีขนาดใหญ่ก็เรียกว่า มัสญิด

15. วันสำคัญในศาสนาอิสลามได้แก่ อะไรบ้าง
   1. เดือนที่สำคัญที่สุดคือเดือนรอมะฎอน อันเป็นเดือนที่มุสลิม
       ถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งเดือน นั่นคือ 29 หรือ 30 วัน
   2. วันที่สำคัญที่สุดในแต่ละสัปดาห์คือวันศุกร์ อันเป็นวันที่มุสลิมจะ
       ไปร่วมที่มัสญิดเพื่อนมาซญุมอะหฺพร้อมกัน โดยที่อิมามมัสญิด
       จะอ่านคุตบะหฺก่อนการนมาซ
   3. ในแต่ละปีจะมีวันสำคัญสองวันนั่นคือ วันอีดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฎฮา
   4. ในแต่ละปี มุสลิมจะประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะหฺ เริ่มตั้งแต่วันที่ 9
        จนถึงวันที่ 14 เดือนซุลฮิจญะหฺ

16. คัมภีร์ในศาสนาอิสลามชื่อมีว่าอะไร
    คัมภีร์อัลกุรอานเป็นชาวมุสลิมที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก
    เพราะไม่ได้เกิดจากความคิดมนุษย ์แต่เป็นพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์
    ที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้มนุษย์โดยผ่านทางนบีฯมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)


   สาระสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงทั้งศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์
   สุขศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
  คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต เมื่อมีความขัดแย้ง
  เกิดขึ้นในทางศาสนาอิสลาม จะใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางใน
  การตัดสินปัญหา ความลึกซึ้งในภาษามีมากจนปัจจุบันนี้ยังไม่มี
  ปราชญ์คนใดเขียนได้ดีเท่า และในคัมภีร์ก็ไม่มีตอนใดที่ขัดแย้งกันเลย
  ทั้งๆ ที่นบีมุฮัมมัด ไม่มีความสามารถทั้งในการอ่านและการเขียนหนังสือ


  การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคน
  ต้องศรัทธา หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาบางส่วน
  ก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ และต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  นี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้
  จึงไม่มีการสังคายนาอัลกุรอานเลย

17. คัมภีร์อัลกุรอานมาจากที่ใด
   อัลลอหฺ ได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่ นบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็น
  ศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระผู้เป็นเจ้า
  ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใดๆ
  จากพระผู้เป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่าๆ
  ที่เคยได้ทรงประทานมา นั่นคือคัมภีร์เตารอหฺ (Torah) ที่เคยทรงประทาน
  มาแก่ศาสดามูซา คัมภีร์ซะบูร (Psalm) ที่เคยทรงประทานมาแก่
  ศาสดาดาวูด (David) และ คัมภีร์อินญีล (Evangelis) ที่เคยทรงประทาน
  มาแก่ศาสดาอีซา (Jesus) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง
  ภาษาของอัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของศาสดามุฮัมมัด

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น