16 ส.ค. 2554

เฉลยใบงาน-ภาษาไทย-ม.ต้น

ใบงาน วิชาภาษาไทย ระดับม.ต้น


ใบงานที่ 1
1. ลักษณะของผู้ที่อ่านหนังสือเป็น (เฉพาะหัวข้อ)
    อ่านแล้วรู้เรื่องราวได้ตลอด, ได้รับรสชาติจากการอ่าน,
    วินิจฉัยคุณค่าของหนังสือที่อ่านได้, รู้จักนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้
2. การอ่านมีประโยชน์กับตัวนักเรียนอย่างไรบ้าง
   (คิดเอง)
3. ใจความสำคัญหมายถึงอะไร
    ข้อความที่เป็นแกนหรือหัวใจของเรื่อง
4. คำว่า “กัน” ในกลอนมีความหมายกี่แบบอะไรบ้าง
    กันมีเพื่อนรักกันไม่กันเพื่อน กันกันเพื่อนรักกันกันไม่ได้
    แต่เพื่อนกันกันกันกันเจ็บใจ เพื่อนรักกันกันกันได้ไม่น่ากัน
    มี 3 ความหมาย คือ
   1. เพื่อน    2. กีดกั้น,ขัดขวาง  3. ด้วยกันหรือร่วมกัน (เป็นคำสร้อย)

5. ความหมายโดยนัย หมายถึงอะไร
    เป็นความหมายที่สื่อหรือนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงบางสิ่งบางอย่าง
    ที่มีลักษณะเหมือนกับคำที่มีควมหมายโดยตรง
6. สำนวน คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างมา 3 ตัวอย่าง
    ข้อความที่มีความหมายพิเศษไปจากคำที่ประกอบ
    อยู่ในข้อความนั้นไม่ได้มีความหมายตามรูปคำ
    1. ไก่อ่อน หมายถึง คนที่ยังไม้ชำนาญในชั้นเชิง
    2. ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายถึง ต่างฝ่ายต่างก็ร้ายเข้าหากัน
    3. คว่ำบาตร หมายถึง การบอกปฏิเสธไม่คบค้าสมาคมด้วย
7. คำพังเพย คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างมา 3 ตัวอย่าง
    ถ้อยคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆเป็นกลางๆ มีความหมายเป็นคติสอนใจ
  1. กระเช่อก้นรั่ว หมายถึง เป็นคนสุร่ยสุร่าย
  2. กล้านักมักบิ่น หมายถึง คนที่อวดเก่ง กล้าจนเกินไปจะอับจนสักวัน  3. ชาดไม่ดี ทาสีแดงไม่ได้ หมายถึง สันดานคนไม่ดี แก้อย่างไรก็ไม่ได้

8. บรรยายโวหารคืออะไร
    โวหารที่ใช้ในการอธิบาย เล่าเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรับรู้
    ความเข้าใจในเรื่องนั้น
9. พรรณนาโวหารคืออะไร
    โวหารที่กล่าวถึงความงามของธรรมชาติ สถานที่ ความรู้สึก
    ให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ่งและคล้อยตาม
10. สาธกโวหารคืออะไร
      โวหารที่ยกตัวอย่างมาประกอบข้อความ

* * * * *

ใบงานที่ 2
1. แหล่งความรู้ หมายถึง ที่อยู่ ที่รวบรวม ที่เก็บรักษาหรือสถานที่บริการความรู้ต่างๆ
2. ประเภทของแหล่งความรู้มีอะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่าง
    1. แหล่งความรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ผู้ที่มีความชำนาญ, ครู
    2. แหล่งความรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น ห้องสมุด
    3. สื่อ เช่น หนังสื่อพิมพ์ ทีวี
    4. แหล่งความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ แหล่งน้ำ, ป่าไม้

3. นักศึกษาได้รับประโยชน์อย่างไรบ้างจากห้องสมุด
    (คิดเอง)
4. หนังสือแบ่งเป็นกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร
    มี 4 ประเภท คือ
   1. ตำราวิชาการ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีหรือเนื้อหาสาระอย่างกว้าง
   2. สารคดี เป็นหนังสือในด้านให้ความรู้ความคิด พร้อมกับความเพลิดเพลิน
   3. บันเทิงคดี เป็นหนังสือที่แต่งมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น นิยาย, เรื่องสั้น
   4. วารสารและหนังสือพิมพ์ เป็นหนังสือคนทั่วไปอ่านบ่อย เป็นหนังสือที่ต้องแข่งกับเวลา

5. สื่อประเภทอิเล็กทรอนิคมีลักษณะอย่างไร
   เป็นสื่อที่มีเครื่องมืออิเล็คทรอนิค ช่วยทำให้คนทั่วไปได้รับ
   ข่าวสารอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง
6. การอ่านอย่างวิเคราะห์หมายถึงอะไร
   การอ่านที่มีการพิจารณาแยกแยะรายละเอียดออกเป็นส่วนๆ
   เพื่อทำให้ความเข้าใจและให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

* * * * *

ใบงานที่ 3
1. รูปแบบของแผนภาพความคิด มีกี่แบบ อะไรบ้าง
   4 แบบ
  1. รูปแบบจัดกลุ่ม โดยยึดความคิดรวบยอดเป็นสำคัญและ
      จัดกลุ่มตามลำดับความคิดรวบยอดย่อย
  2. รูปแบบความคิดรวบยอด โดยมีความคิดหลักและ
      มีข้อเท็จจริงที่แบ่งเป็นระดับขั้นมาสนันสนุนความคิดหลัก
  3. รูปแบบจัดลำดับ เป็นการจัดลำดับเหตุการณ์ การจัดลำดับ
      ตามการเวลาหรือ การกระทำก่อนหลัง
  4. รูปแบบวงกลม เป็นชุดเหตุการณ์ภายใต้กระบวนการไม่มีจุดเริ่มต้น
      และจุดสิ้นสุดแต่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นลำดับต่อเนื่อง

2. เรียงความคืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
   คือการนำเอาคำมาประกอบแต่งเป็นเรื่องราวอาจใช้วิธีการเขียนหรือ
   พูดก็ได้ มีประกอบคือ การเขียนส่วนนำ, การเขียนส่วนเนื้อเรื่อง,
   การเขียนส่วนสุดท้ายหรือสรุป
3. แนวทางในการเขียนเรียงความมีอะไรบ้าง (ตอบโดยสรุป)
    การเลือกเรื่อง, ประเภทของเรื่องที่จะเขียน, การวางโครงเรื่องก่อนเขียน,
    การเขียนย่อหน้า, การเชื่อมโยงย่อหน้า, สำนวนภาษา, การใช้หมายเลขกำกับ,
    การแบ่งวรรคตอนและเครื่องหมายวรรค, สำนวนโวหาร
4. อ่านกลอนบทนี้แล้วตอบคำถาม
       นาคีมีพิษเพียง สุริโย
    เลื้อยบ่ทำเดชา แช่มช้า
   พิษน้อยยิ่งยโส แมลงป่อง
   ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี
4.1 กลอนนี้ใช้โวหารแบบใดบ้าง
      บรรยายโวหาร, อุปมาโวหาร
4.2 นักเรียนได้ข้อคิดอะไรจากกลอนบทนี้
      ผู้รู้จริงหรือเก่งจริงมักไม่แสดงตัวควรอยู่อย่างอ่อนน้อม
      ส่วนผู้ไม่รู้จริงหรือไม่เก่งจริงมักชอบทำตัวยิ่งใหญ่

5. เขียนคำข้นต้นและลงท้ายจดหมายของบุคคลต่อไปน้
    1. ผู้บังคับบัญชา เรียน....ที่เคารพ, ด้วยความเคารพ
    2. นายก กราบเรียน, ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
    3. พระภิกษุ มนัสการ, ขอนนัสการด้วยความเคารพ(อย่างสูง)
6. จดหมายราชการคืออะไร มีลักษณะอะไรที่โดดเด่นที่สุดของจดหมายราชการ
    เอกสารที่ถือเป็นหลักฐานในราชการ ลักษณะที่โดดเด่นคือ ต้องใช้
    ถ้อยคำและรูปแบบการเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่ราชการกำหนดไว้

* * * *

ใบงานที่ 4
1. รายงานคืออะไร
   การนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้ารวมรวม ศึกษาเกี่ยวกับ
   เรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้วนำมาเรียบเรียงนำเสนอด้วยการเขียน...
2. รายงานมีกี่แบบ อะไรบ้าง
   3 แบบคือ การรายงานด้วยการพูด, การรายงานด้วยการเขียน,
   การรายงานโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
3. เชิงอรรถคืออะไร
    ข้อความที่เขียนไว้ส่วนล่างของหน้า โดยมีเส้นคั่นแยกจากตัวเรื่อง
    และมีเลขกำกับไว้ เพื่อบอกแหล่งที่มาของเนื้อหาเพื่อขยายความ
    ตรงส่วนนั้นให้กระจ่างขึ้น
4. บรรณานุกรมคืออะไร
    รายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งโสตทัศน์วัสดุ
    ที่นำมาใช้เขียนเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน
5. บทร้อยกรองคืออะไร
    การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ ตามที่มีบัญญัติ
    ไว้ในตำราด้วยการแต่งโคลง ฉันท์ กลอน ร่าย
6. สัมผัสนอก-ในคือ
    สัมผัสนอก คือ สัมผัสคำระหว่างวรรค
    สัมผัสใน คือ สัมผัสระหว่างคำในวรรค
7. ยกตัวอย่างคำที่สามารถสัมผัสกับเหล่านี้มา 4 คำ
    กัน : มัน, กัน, พัน, ฟัน, อัน, พรรณ, ปัน
    ไป : ไซ, ไข, ใด, ไฉ, ไมล์,
    รอง : สอง, ปอง, ดอง, ของ, ลอง, พอง
    กู : ถู, ภู, สู, ดู, ปลาทู

* * * * *

 
ใบงานที่ 5
1. คำครุ – ลหุ คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง
    1. คำครุหรือคำที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว
    ในมาตราแม่ ก.กาและมีตัวสะกดรวมทั้งประสมด้วย อำ ไอ ใด เอา
     เช่น จำ, ได้, ไข, ลัก
    2. คำลหุหรือคำที่มีเสียงเบา คือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั่น
    เช่น จะ, ดุ, ติ, ผิ, กระทะ
2. คำเป็น-ตำตาย คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง
    คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น
    ตา, ขา, มา, ดี, มี, อี, สี เสือ, เมื่อ, เชื่อ
    คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั่น เช่น
    แกลบ, แคบ, แบบ, เจ็บ, ตะข็บ, หยุด, หลุด, ผุด

3. อภิปราย คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปพูดแสดงความรู้
   ความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้
   ความคิดเห็น หรือเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
4. อภิปรายมีกี่แบบอะไรบ้าง (ตอบแบบสรุป)
   1. การอภิปรายกลุ่ม คือการอภิปรายที่ประกอบด้วยคน 5 – 20
       โดยพลัดกันพูดและฟัง เพื่อหาทางแก้ปัญหา
   2. การอภิปรายแบบเลือกเปลี่ยนความรู้ เป็นการอภิปรายที่ประกอบ
       ด้วยคน 2 ฝ่าย คือ คณะผู้อภิปรายและผู้ฟัง โดยมุ่งให้ความรู้
       และความคิดแก้ผู้ฟัง
   3. การอภิปรายแบบแพนแนล(panel) เป็นการอภิปรายที่ผู้อภิปราย
      แสดงความรู้ความคิดในเรื่องหรือประเด็นเดียวกันไม่แยกส่วน
   4. การอภิปรายแบบโต๊ะกลม เป็นการอภิปรายที่จัดสถานที่
       เป็นรูปวงกมเท่านั้น และการประชุมใกล้ชิดที่เป็นผู้บริหารในหน่วยงาน

5. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้
6. คำ คือ พยางค์ที่มีความหมาย
7. ยกตัวอย่างคำที่มี 1 พยางค์ มา 5 คำ
    โต๊ะ, มือ, น้ำ, ยา, ปลา, ขา, ก้าง, นอน
8. ยกตัวอย่างคำที่มี 2 พยางค์ มา 5 คำ
    ประเด็น, ลูกน้ำ, เต้นรำ, พูดคุย, น้ำฝน, กระบือ, ฝนเทียม
* * * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น