23 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง08

ตอนนี้เป็นคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดที่ไหน ในช่วงเวลาใด
    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 1000 ปี
   ก่อนพุทธศักราช เป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

2. คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกี่ส่วน
   คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
   1. ศรุติ เป็นสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่มีผู้แต่ง
       แต่เป็นการค้นพบของฤๅษีทั้งหลาย เป็นของที่มีอยู่ชั่วนิรันดร
       เป็นลมหายใจของพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์พระเวททั้ง 4 หรือ
       ที่เรียกว่า ไตรเพท ได้แก่
    1.1 ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด เป็นบทเพลงสวดหรือมนตร์สรรเสริญ
          อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าและเทวี
    1.2 ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์
          ซึ่งเป็นบทร้อยแก้วที่อธิบายวิธีประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและ
          การทำพิธีบูชายัญ
    1.3 สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็นบทร้อยกรอง
         มีทั้งหมดถึง 1,549 บท โดยนำมาจากฤคเวทเป็นส่วนมาก ที่แต่ง
         ขึ้นใหม่ มีประมาณ 78 บท จะใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสม
         และขับกล่อมเทพเจ้า
    1.4 อถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์
         เป็นคาถาอาคมมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทำพิธีขับไล่เสนียดจัญไร
         และอัปมงคลให้กลับมาเป็นสวัสดิมงคล นำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู
    2. สมฤติ เป็นคัมภีร์ขั้นสอง เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันสืบมา มีการแต่ง
        ตำราประกอบขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนในการศึกษาคัมภีร์พระเวท
       เรียกว่า คัมภีร์เวทางคศาสตร์

3. หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการ
    ได้แก่อะไร
    หลักอาศรม 4 หลักปรมาตมัน และหลักโมกษะ
4. เป้าหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อะไร
    ความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพรหมหรือปรมาตมัน
5. สัญลักษณ์สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่าอะไร
   เรียกว่า "โอม" คือ เครื่องหมายอักษรเทวนาครี

6. นิกายสำคัญๆ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 3 นิกาย ได้แก่อะไรบ้าง
   นิกาย-ไวษณวะ นิกายไศวะ และนิกายศักติ
7. คำว่า ปรมาตมัน คือ อะไร
    คือวิญญาณดั้งเดิมหรือความจริงสูงสุดของโลกและชีวิต
    หรือจักรวาล ซึ่งเรียกว่า พรหมัน
8. อาตมัน หรือ ชีวาตมัน คือ อะไร
   คือ เป็นส่วนอัตตาย่อย หรือวิญญาณย่อย ซึ่งปรากฏแยกออกมา
   อยู่ในแต่ละคน ดังนั้นการที่อาตมัน หรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไป
   รวมกับพรหมัน หรือ ปรมาตมันได้จึงจะพ้นจากทุกข์ ไม่มี
   การเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

9. โยคะ คืออะไร
    คือ การบำเพ็ญเพียรทำกรรมดี และประกอบพิธีกรรมต่างๆ
    แบ่งเป็น 4 อย่างใหญ่คือ
   1. กรรมโยคะ ทำกรรมดี
   2. ภักติโยคะ มีความภักดีในเทพเจ้า
   3. ชญานโยคะ การศึกษาจนเข้าใจพระเวท อย่างถูกต้อง
   4. ราชมรรค (ราชโยคะ) เป็นทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจ
       มุ่งบังคับใจให้อยู่ในอำนาจด้วยการบำเพ็ญโยคะกิริยา
      ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ราชโยคิน

10. หลักอาศรม 4 หมายถึง อะไร
      หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์
      วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิต
      ไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ได้แก่
 อาศรมที่ 1 (ปฐมวัย) เรียกว่า พรหมจรรย์อาศรม เริ่มตั้งแต่อายุ
      8-25 ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้ เรียกว่า พรหมจารี ภายในช่วงระยะเวลา
      25 ปีแรกนี้ พรหมจารีผู้อยู่ในพรหมจรรย์อาศรม มีหน้าที่ดังนี้
     1) ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน
     2) เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์
     3) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ
     4) ไม่คบกับเพศตรงกันข้าม
     5) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องทำพิธีเกศนตสันสกา (ตัดผม)
         และพิธีคุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์
 อาศรมที่ 2 (มัชณิมวัย) เรียกว่า คฤหัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ
     25-50 ปี มีหน้าที่ดังนี้
     1) ช่วยพ่อแม่ทำงาน
     2) แต่งงานมีครอบครัว
     3) ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว
 อาศรมที่ 3 (ปัจฉิมวัย) เรียกว่า วานปรัสถาศรม อยู่ในช่วง
     อายุ 50-75 ปี มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
    1) มอบสมบัติให้บุตรธิดา
    2) บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
    3) ออกบวชปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า วานปรัสถ์
    4) ทำประโยชน์แก่สังคมด้วยการเป็นครูอาจารย์
อาศรมที่ 4 คือ สันยัสตาศรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
   สำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็น สันยาสี
  เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้ บำเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้นตามห
  ลักกรรมโยคะต่อไป

11. หลักปรมาตมัน คือ อะไร
      หมายถึง สิ่งยิ่งใหญ่อันเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลก
     ซึ่งเรียกชื่อสิ่งนี้ว่า พรหม ปรมาตมันกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน
     และมีลักษณะดังต่อไปนี้
     1) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง
     2) เป็นนามธรรม สิงสถิตอยู่ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเรียกว่าอาตมัน
         เป็นสิ่งที่มอง ไม่เห็นด้วยตา
    3) เป็นศูนย์รวมแห่งวิญญาณทั้งปวง
    4) สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลกล้วนเป็นส่วนย่อย
        ที่แยกออกมาจากพรหม
    5) เป็นตัวความจริง (สัจธรรม) สิ่งเดียว (โลกและสิ่งอื่นๆ ล้วนเป็นมายา
        ภาพลวงที่มีอยู่ชั่วครั้งคราวเท่านั้น)
    6) เป็นผู้ประทานญาณ ความคิดและความสันติ
    7) เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในสภาพเดิมตลอดกาล

12. หลักโมกษะ คือ อะไร
   เป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาฮินดูสอนว่า
   "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว
  ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่ายตายเกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีกส"
  หลักโมกษะประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
  1. การนำอาตมันเข้าสู่ปรมาตมัน ด้วยการปฏิบัติธรรมใดๆ เพื่อให้
     วิญญาณของตนเข้ารวมกับปฐมวิญญาณ เรียกว่า "เข้าถึงโมกษก"
    คือความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งชีวิต
  2. วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะ ได้เสนอแนะหลักปฏิบัติที่สำคัญไว้
     3 ประการ คือ กรรมมรรค (กรรมโยคะ) ชยานมรรค (ชยานโมคะ)
     และ ภักติมรรค (ภักติโยคะ)

13. ตรีมูรติ หมายถึงสิ่งใด
     ศาสนาในยุคมหากาพย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เทพเจ้า
    ที่สำคัญในยุคมหากาพย์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์
    เทพเจ้าทั้ง 3 องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ1 และหน้าที่ของเทพเจ้า
    แต่ละองค์มีดังต่อไปนี้
   1. พระพรหม เป็นผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก
   2. พระศิวะ เทพเจ้าแห่งการทำลายและเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ
       มีหลายชื่อ เช่น อิศวร รุทระ และนาฏราช เป็นต้น พระศิวะเป็น
       เทพเจ้าสูงสุดในไศวนิกาย ประทับอยู่ที่ภูเขาไกรลาส มีโคนันทิ
      เป็นพาหนะ และมีศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายของพลังแห่งการสร้างสรรค์

  ลักษณะของพระศิวะเป็นรูปฤๅษี มี 4 กร นุ่งห่มหนังสัตว์ ประทับ
  นั่งบนหนังเสือโคร่ง ถืออาวุธตรีศูล ธนู และคทาหัวกะโหลกมนุษย์
  ห้อยพระศอด้วยประคำร้อยด้วยกะโหลก มีงูเป็นสังวาล พระศอมี
  สีดำสนิท กลางพระนลาฏมีพระเนตรดวงที่ 3 ซึ่งถ้าพระศิวะลืม
  พระเนตรดวงที่ 3 เมื่อใด ไฟจะไหม้โลกเมื่อนั้น เหนือพระเนตรดวง
  ที่ 3 มีรูปพระจันทร์ครึ่งซีก

  พระศิวะมีพระชายาชื่ออุมา หรือ ปารวตีเทวี

  3. พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาและคุ้มครองโลก
      พระนารายณ์ประทับอยู่ในเกษียรสมุทร มีพระยาอนันตราช
     เป็นบัลลังก์ ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีพระชายาชื่อ ลักษมี
     ผู้เป็นเทพีแห่งความงาม ผู้อำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่ง
     และผู้มีใจเมตตาปราณี

14. นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกี่นิกายอะไรบ้าง
   1. นิกายไวษณวะหรือไวษณพ เชื่อในการอวตารของพระนารายณ์ว่า
   พระนารายณ์อวตาร 24 ครั้ง เพื่อช่วยมนุษย์โลกในคราวทุกข์เข็ญ
   นิกายนี้เคารพบูชาพระราม พระกฤษณะ หนุมาน และพระพุทธเจ้า
     
   นิกายไวษณวะนี้จะมีรอยเจิมหน้าผากเป็น 3 จุด เป็นเครื่องหมาย
   แสดงความเคารพ พระวิษณุ

  2. นิกายไศวะนิกายหรือนิกายที่นับถือพระศิวะ นิยมใช้มูลเถ้าสีขาว
 หรือสีเทา เขียนเป็นเส้นนอนตรงซ้อนกัน 3 เส้นที่หน้าผาก จุดหมาย
 สูงสุดของผู้นับถือนิกายไศวะ คือ โมกษะ หรือ การบรรลุความหลุดพ้น
 โดยการเข้าถึงความเป็นเอกภาพกับพระศิวะ

  3. นิกายศักติ นิกายนี้นับถือมเหสีของจอมเทพ 3 องค์ คือ
   พระนางสุรัสวดี มเหสีของพระพรหม พระนางอุมา
   มเหสีของพระศิวะ และพระนางลักษมี มเหสีของพระวิษณุ
   คำว่าศักติ แปลว่า อำนาจ หรือสมรรถนะ หรือ พลัง หมายถึง
   พลังที่จะนำความสำเร็จดังประสงค์มาให้ผู้ที่นับถือศักติ
   โดยมีความเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกล้วนแต่มีของคู่กัน เช่น
   มืด-สว่าง สุข-ทุกข์ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีเทพฝ่ายชาย
  ก็จะต้องมีเทพฝ่ายหญิงเป็นของคู่กัน 3

15. เทพองค์อื่นที่คนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้ความนับถือได้แก่
   พระอินทร์ ราชาของเทพและเทวดา
   พระอัคนี เทพแห่งไฟ
   พระวรุณ เทพแห่งฝน
   พระยม เทพของความตาย

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น