19 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง-04

1. คำว่า ศีล ในทางพระพุทธศาสนาแปลว่า อะไร
    ศีล (Morality) แปลว่าความปกติ
    การรักษาศีล ก็คือความตั้งใจรักษาความเป็นปกติของตน

2. ศีล 5 ได้แก่อะไรบ้าง
   1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ถึงการเบียดเบียน การประทุษร้าย
       ผู้อื่นให้ได้รับความเจ็บปวดและทรมานทั้งทางการและจิตใจ
   2. พึงละเว้นจากการขโมย ฉ้อฉล ด้วยการคดโกงเพื่อหวังในทรัพย์สินของผู้อื่น
   3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
   4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด นินทา เพ้อเจ้อ ให้ร้ายผู้อื่น
   5. พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา

3. การรักษาศีล 5 มีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
    มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ
    1) ทำให้เกิดความสงบในสังคม เป็นการป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น
        ทำให้ไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวงและความวุ่นวายในสังคม
    2) เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะการรักษาศีลเป็น
        การควบคุมกายหรือทางวาจา ไม่ให้ตอบสนองอำนาจของกิเลส

4. ขันธ์ 5 คือ อะไร
    ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่
    ประกอบด้วยรูปและนาม
    รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่ ดิน,น้ำ, ลม, ไฟ
    นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    1. เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส
    2. สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส
    3. สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง
    4. วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)

5. อริยสัจ 4 หมายถึง อะไร
    อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุด
    ของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจาก
    ความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
1. ทุกข์ (ตัวปัญหา) หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
    1.1 ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    1.2 ทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
          เช่น ความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ความโกรธ ความรัก
2. สมุทัย (สาเหตุของปัญหา) หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก)
    2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
    2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น
    2.3 วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
3. นิโรธ (การแก้ปัญหา)หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ
    ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
4. มรรค (วิธีการแก้ปัญหา) มีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์ที่ต้องทำร่วมกัน
    4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ การมองความเห็นในสิ่งต่างๆที่ถูกต้อง
    4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ การมีความเห็นในทางที่ถูกต้อง
    4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ
    4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ การดำเนินชีวิตหรือใช้ชีวิตประจำวัน
         อย่างทุกต้อง ตามบทบาทหน้าที่
    4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
    4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น
    4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ การมีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งทำดี

6. อริยสัจ 4 มีความสำคัญอย่างไร
    1. เป็นหลักธรรมที่ครอบคลุมหลักธรรมอื่นทั้งหมดในพระพุทธศาสนา
    2. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์
        ที่สามารถพิสูจน์ได้
    3. คำสอนที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหา
        ของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติโดยไม่ต้องขอสิ่งใด

7. ไตรลักษณ์ คืออะไร
    ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
    1. อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่แน่นอน ของสิ่งต่างๆทั้งรูปธรรมและนามธรรม
    2. ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป และต้องอดทน
    3. อนัตตา ความไม่มีตัวตนแท้จริง บังคับไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของได้

8. กรรม คือ อะไร
    กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา(ความตั้งใจ)

9. พรหมวิหาร 4 คืออะไร
   พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ ได้แก่
   1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
   2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น ให้พ้นจากความทุกข์
   3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
   4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

10. สังคหวัตถุ 4 คือ อะไร
     สังคหวัตถุ 4 คือหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
     1. ทาน การให้
     2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
     3. อัตถจริยา การทำตัวให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น
     4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

11. ฆราวาสธรรม 4 คือ อะไร

      หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
     1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
     2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
     3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
     4. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

12. บุญกิริยาวัตถุ 10 คือ อะไร
      บุญกิริยาวัตถุ 10 คือ หลักธรรมแห่งการทำบุญทางแห่ง
      การทำความดี 10 ประการ
    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
    5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
    6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

13. สัปปุริสธรรม 7 คือ อะไร
      สัปปุริสธรรม 7 คือหลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
   1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
   2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
   3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
   4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
   5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
   6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
   7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น