29 ส.ค. 2554

ภาษาไทย02

มาดูกันต่อกับสรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทย

แหล่งความรู้

แหล่งความรู้ หมายถึง ที่อยู่ ที่รวมรวม ที่เก็บรักษา หรือสถาน
ที่ให้บริการความรู้ ด้านต่างๆ แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้

ประเภทของแหล่งความรู้
1. แหล่งความรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ
    มีประการณ์ในด้านต่างๆ
2. แหล่งความรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด
    ศูนย์การเรียนชุมชน วัด
3. สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือต่างๆ รวมทั้งสื่อ
    อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง คอมพิวเตอร์
    โปรแกรมการศึกษาต่างๆ ,CD การสอน
4. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ได้แก่ แร่ธาตุ แม่น้ำลำธาร ป่าไม้

****

หนังสือ
หนังสือ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. ตำราวิชาการ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ด้านต่างๆ โดยด้านทฤษฎี
    หรือเนื้อหาอย่างกว้างๆ
2. สารคดี เป็นหนังสือมีเนื้อหาสาระในด้านให้ความรู้ ความคิด
    พร้อมกับความเพลิดเพลิน
3. บันเทิงคดี เป็นหนังสือที่แต่งเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกเพลิดเพลิน
   โดยอาจจะแทรกข้อคิดไว้ด้วย เช่น นวนิยาย นิยาย วรรณคดี
   บทร้อยกรอง บทละคร
4. วารสารและหนังสือพิมพ์ หนังสือประเภทนี้คนทั่วไปอ่านบ่อย
    กว่าหนังสือประเภทอื่น เป็นหนังสือที่ต้องแข่งกับเวลา

****
แผนภาพความคิด
แผนภาพความคิด เป็นการแสดงความรู้ ความคิดโดยให้แผนภาพ
เป็นวิธีการนำความรู้หรือข้อเท็จจริงมาจัดระบบแล้วสร้างเป็นภาพ

แนวคิดเกี่ยวกับแผนภาพความคิด
1. เราใช้แผนภาพความคิด เมื่อพบว่าข้อมูลที่มีอยู่กระจัดจาย
    มาทำเป็นแผนภาพความคิด เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง
2. แผนภาพความคิดจะช่วยจัดความคิดให้เป็นระบบ
    นำไปสู่ความรู้ใหม่ๆได้
3. การใช้แผนภาพความคิด ช่วยให้จำเรื่องราวต่างๆได้ง่ายขึ้น
    และแม่นนำมากขึ้น
4. แผนภาพความคิดจะใช้ภาษาที่เป็นคำพูดหรือสัญลักษณ์สั้นๆ
    มาทำเป็นภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เอง

รูปแบบแผนภาพความคิด มี 4 รูปแบบ
1. รูปแบบจัดกลุ่ม รูปแบบนี้ยึดความคิดรวบยอดเป็นสำคัญและ
   จัดกลุ่มตามลำดับความคิดรวบยอย่อยเป็นแผนภาพ เช่น
   แผนผังโครงสร้างคณะทำงานจากผู้บริหารถึงพนังงาน,
   แผนผังของสมาชิกในครอบครัว
2. รูปแบบความคิดรวบยอด รูปแบบแบบนี้จะมีความคิดหลักและ
    มีข้อเท็จจริงที่จัดแบ่งเป็นระดับขั้นมาสนับสนุนความคิดหลัก
3. รูปแบการจัดลำดับ รูปแบบการจัดลำดับจะเป็นการจัดตาม
    เหตุการณ์ หรือช่วงเวลา มีการเริ่มต้นและสิ้นสุด
    เช่น การสรุปเหตุการณ์ต่างๆโดยเขียนตามปีพ.ศ.
4. รูปแบบวงกลม รูปแบบนี้เป็นชุดเหตุการณ์ที่อยู่ภายใต้
   กระบวนการที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
   เช่น แผนวงจรของสิ่งของสิ่งมีชีวิต หรือ ระบบนิเวศน์

ประโยชน์ของแผนภาพความคิด
1. ช่วยบูรณการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2. ช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดให้ชัดเจนขึ้น
3. ช่วยเน้นองค์ประกอบลำดับของเรื่อง
4. ช่วยพัฒนาการอ่าน การเขียนและการคิด
5. ช่วยวางแผนในการเขียนและการปรับปรุงการเขียน
6. ช่วยการอภิปราย
7. ช่วยวางแผนการสอนของครู
8. เป็นเครื่องมือการประเมินผล

*****
การอ่านคำประพันธ์
บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะ
ตามระเบียบบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบที่ว่าด้วยการประพันธ์

1. กลอนสุภาพ เป็นคำว่าประพันธ์ที่เก่าแก่ของไทยซึ่งเป็นที่นิยม
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
    ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนี่งมี 4 วรรค วรรคละ 8 พยางค์ เช่น

   ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย  ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย
   ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย     จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

2. โครงสี่สุภาพ เป็นคำว่าประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
    นอกจากมีการบังคับสัมผัสแล้วยังมีการบังคับเสียงเอก-โทด้วย
    ลักษณะของกลอนโครงสี่สุภาพ คือ 1 บท ต้องมี 4 บาท ( 4 บรรทัด)
    บาทละ 2 วรรค วรรคหน้าทุกวรรคมี 5 พยางค์ เช่น

    เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด พี่เอย
    เสียงย่อมยอยศใคร    ทั่วหล้า
    สองเขือพี่หลับใหล      ลืมตื่น ฤๅพี่
    สองพี่คิดเองอ้า            อย่าได้ถามเผือ

หมายเหตุ
ส่วนที่เป็นสีแดง คือ ตำแหน่งที่บังคับเสียงเอก
ส่วนทีเป็นสีน้ำเงิน คือ ตำแหน่งที่บังคับเสียงโท

3. กาพย์ยานีหรือกาพย์ยานี11
    กาพย์ยานี 1 บท มี 2 บาท (2 บรรทัด) บาทที่ 1 เรียกว่า บาทเอก
    บาทที่ 2 เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี 2 วรรค
    วรรคแรกมี 5 คำ(พยางค์) วรรคหลังมี 6 คำ(พยางค์)

        ลิงค่างครางโครกครอก    ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
     ชะนีวิเวกวอน                       นกหกร่อนนอนรังเรียง
(เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ)

หมายเหตุ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ เป็นกวีเอกของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย
ของพระเจ้าอยู่หัวบรรมโกศ บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ
กาพย์เห่เรือ ลักษณะการประพันธ์ 2 แบบคือ โคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี11

4. กาพย์สุรางคนางค์หรือกาพย์สุรางคนางค์ 28
    กาพย์สุรางคนางค์ 1 บท มี 7 วรรค วรรคหนึ่งมี 4 พยางค์
    รวมบทหนึ่งมี 28 พยางค์

                               สุรางคนางค์
  เจ็ดวรรคจักวาง   ให้ถูกวิธี
  วรรคหนึ่งสี่คำ     จงจำให้ดี
  บทหนึ่งจึงมี        ยี่สิบแปดคำ

*****

บทประพันธ์ หมายถึง เรื่องราวแต่งขึ้นบอกราวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เรื่องที่เล่านั้นอาจเป็นข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่สมมุติขึ้นตาม
ความคิดผันของผู้แต่ง

ลักษณะเด่นของบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
บทประพันธ์ที่ดี จะมีลักษณะเด่นหนึ่งใน 3 ประการนั้คือ
1. มีแนวความคิดที่ดี
2. มีกลวิธีการแต่งที่ดี
3. มีประโยชน์ เช่นให้ความรู้ ให้คติธรรม

หมายเหตุ
บทประพันธ์และผู้ประพันธ์ที่น่าจดจำ
กาพย์พระไชยสุริยา แต่งโดยสุนทรภู่
ศกุนตลา เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9
มัทนาพาธา เป็นพระราชนิพนธ์ใน
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 6 (รัชกาลที่)
นิราศนรินทร์ แต่งโดยนายนรินทร์เบศร์
โคลงโลกนิติ แต่งโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
อยู่กับก๋ง แต่งโดยหยก บูรพา

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น