3 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์- ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก เช่น อุปราคา ดาวหาง ดาวตก ฝนดาวตก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

** ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมา
** กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
** ดาราศาสตร์แยกออกเป็นหลายสาขา เช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์

ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงจะทำให้มันอยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) โคจรรอบดาวฤกษ์โดยที่ตัวมันเองไม่เป็นทั้งดาวฤกษ์และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น
นิยามของดาวเคราะห์
        เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเซ็ก ซึ่งมีนักดาราศาสตร์มากว่า 2500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
  1.เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์
  2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือใกล้เคียงกับทรงกลม
  3.มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
  4.มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 804.63 กม.
  5.ไม่ใช่ดาวฤกษ์
  6.ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวดวงอื่น
    จากนิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโตและดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 9 , 10 ถูกปลดออกจากระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ

ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ

**โปรดติดตามตอนต่อไป**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น