3 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์-ระบบสุริยะ1

ระบบสุริยะ (Solar System)
  ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) 
     ระบบสุริยะของเรามีอายุมากกว่า 4,600 ล้านปี อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ก่อกำเนิดจากกลุ่มก๊าซที่เย็นตัวลงหลังการระเบิดใหญ่ (Big Bang) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาราจักรต่างๆมากมายเหลือคณานับ ระบบสุริยะของเราประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยและวัตถุอื่นๆเป็นสมาชิก นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
      โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับ จากดวงที่ใกล้ที่สุดหรือด้านในสู่ด้านนอกคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และยังมีดวงจันทร์บริวารของดวงเคราะห์แต่ละดวง ยกเว้น สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร และมีดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่มาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) เป็นหน่วยทางดาราศาสตร์

ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
1. ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญอย่างมากต่อโลกเราของ เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
   ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาวแต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง 
** อัตราเร็วของแสง (speed of light) = 299,792,458 เมตร/วินาที หรือ 3x108 เมตร/วินาที  หรือ 1,079,252,848.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
** ระยะ 1 ปีแสง คือ ระะยทางที่แสงเคลื่อนไปในเวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทางประมาณ = 9.5 × 1012 กิโลเมตร

2. ดาวเคราะห์ (Planet) เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสงและพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด 8 ดวง (จากเดิม 9 ดวง  ที่เราเรียกเคยเรียกว่า ดาวนพพระเคราะห์) ได้แก่
   ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร ดาวพุธเป็นมีขนาดใกล้เคียงกว่ากับดวงจันทร์ของเรามาก มีพื้นผิวคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ จึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย
   ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริย

   ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุด ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลา และ เราเรียกว่า ดาวประกายพรึก ถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
   ** ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรงเพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด
   ** ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ กล่าวคือดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก
   ** ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์
 
   โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
   ** โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือ มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในปีนั้น 1 ปีจะมี 366 วัน
   ** โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร

    ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร
  ** ดาวอังคาร บางครั้งถูกเรียกว่า ดาวแดง เพราะ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย
  ** หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเท่าสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อย
  ** ดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวง
 ** อังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก

  ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร
 ** ดาวพฤหัสบดีหนักกว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก
 ** ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์
 ** ดาวพฤหัสบดีมีเมฆที่ห่อหุ้มอยา เราพบว่าบนดาวมีพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก

 ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร
  ** ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี คือก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง
  ** ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร น้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ
  ** ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก

 ดาวยูเรนัส (Uranus) เราเรียกว่า ดาวมฤตยู มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096 กิโลเมตร
  ** ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น

  ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก ดาวเกตุ มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600 กิโลเมตร

และดาวที่เคยอยู่ในระบบสริยะของเราแต่ปัจจุบันถูกปลดไปแล้วคือ
  ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร

3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส

4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น