วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องฤดูกาลและพายุ
ปัจจัยที่ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง
1.กระแสลมและฝน
กระแสลม คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา เพราะในบริเวณต่างๆมีความกดอากาศไม่เท่ากัน เกิดจากในบริเวณที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มาก อากาศบริเวณนั้นก็จะร้อนมีความกดอากาศต่ำและขยายตัวลอยสูงขึ้น อากาศจากที่อื่นซึ่งมีความกดอากาศสูงกว่าและมีอุณหภูมิต่ำกว่าก็เคลื่อนเข้ามาแทนที่
ฝน เกิดจากการเคลื่อนที่ของลมจากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าและถ้ากระแสลมเคลื่อนที่ผ่านทะเลหรือมหาสุมทร ก็จะนำเอาความชื้นและละอองน้ำไปเมื่อมากระทบกับบริเวณที่มีความเย็นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน
2.ความกดอากาศ
เนื่องจาก พื้นโลกในบริเวณต่างๆ มีค่าความกดอากาศไม่เท่ากัน ความกดอากาศนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอกเวลาขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยที่
** บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ จะเกิดฝนตก, เกิดลมพายุและมีอากาศเย็น
** บริเวณที่มีความกดอากาศสูง เช่น ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆฝน
เราใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า บารอมิเตอร์และบารอกราฟในการวัดความกดอากาศ
3) อุณหภูมิ
คือ ระดับความหนาว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพอากาศ เช่น กลางวัน จะมีอุณหภูมิ สูงกว่ากลางคืน นอกจากนั้นอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดลม พายุ หมอก น้ำค้าง เมฆ
4) ความชื้น
คือ ปริมาณไอน้ำในอากาศ หรือความสามารถของอากาศที่จะรับไอน้ำเอาไว้ได้ ซึ่งความชื้นนี้จะเปลี่ยนไปตามวัน เวลาและสถานที่
ความชื่นในอากาศ มีผลใช้การดำเนินชีวิตของเรา เช่น วันที่อากาศชื้น เราจะรู้สึกเหนียวตัวและอึดอัด เพราะมีอากาศมีความชื้นมาก ทำให้รับปริมาณไอน้ำได้น้อย เหงื่อของเราก็ระเหยได้น้อย แต่ถ้าวันที่อากาศแห้ง เราจะรู้สึกเย็นจนบางครั้งทำให้ผิวหนังแห้งและแตกเนื่องจากเหงื่อของเราระเหยได้มาก
เราใช้เครื่องวัดที่เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์(Hygrometer) เพื่อวัด ความชื้นในอากาศ ที่นิยมใช้คือแบบกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง
ลมต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ลม คือ มวลอากาศที่เคลื่อนที่ โดยมวลอากาศนี้จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเสมอ
ประเภทของลมมี 3 ประเภท คือ
1. ลมประจำเวลา
ลมบก เกิดในเวลากลางคืน เกิดจากลมที่พัดจากพื้นดินออกสู่ทะเล เนื่องจากพื้นดินคลายความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ ทำให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำสูงกว่าพื้นดิน มวลอากศจึงเคลื่อนจากฝั่งสู่ทะเล
ลมทะเล เกิดในเวลากลางวัน เกิดจากลมที่พัดจากทะเลสู่พื้นดิน เนื่องจากพื้นดินรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เร็วกว่าน้ำทำให้อุณหภูมิที่พื้นดินสูงกว่าพื้นน้ำ ทำให้มวลอากาศเย็นจากทะเลจึงเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง
2. ลมประจำฤดูหรือลมมรสุมในประเทศไทย
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ลมมรสุมฤดูร้อน) พัดจากมหาสมุทรอินเดียขึ้นสู่ทวีปเอเชีย โดยพัดผ่านประเทศไทยช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งขณะที่ลมมรสุมนี้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย ก็นำไอน้ำหรือความชื้นจากบริเวณนั้นมาสู่บริเวณที่พัดผ่าน ทำให้มีฝนตก
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมมรสุมฤดูหนาว) พัดจากประเทศจีนลงมาจนถึงบริเวณอ่าวไทยตอนใต้
3.ลมประจำถิ่น
ลมตะเภา เป็นลมที่พัดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างสูงทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำส่วนบริเวณอ่าวไทยอากาศจะเย็นกว่า มีลักษณะเป็นหย่อมความกดอากาศสูง จึงทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่จากอ่าวไทยเข้าสู่ดิน ถึงแม้ลมที่พัดมานี้จะมีความแรงไม่มาก แต่ก็ช่วยบรรเทาความร้อนในอากาศในช่วงฤดูร้อน ในสมัยก่อนพ่อค้าเรือสำเภาได้อาศัยลมตะเภาแล่นใบพาเรือมาเข้าสู่ปากอ่าวไทยได้สะดวก จึงขนามนามเรียกนี้ว่า ลมตะเภา
ลมว่าวหรือลมข้าวเบา เป็นลมที่พัดลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำชั่วคราวขึ้นในแถบอ่าวไทย ทำให้มวลอากาศจากพื้นดินเคลื่อนออกสู่ทะเล ลมว่าว ถือเป็นลมเย็นเวลาที่พัดผ่านมาจึงทำให้อุณภูมิของอากาศต่ำลง
การเกิดฤดูกาลของโลก
เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23.5 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว
ฤดูกาลในประเทศไทย
1. ฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความหนาวเย็นเข้ามาสู่ไทย ทำให้อากาศมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ตำแหน่งลำแสงของดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวพื้นโลกตอนเที่ยงวันจะอยู่ทางซีกโลกใต้ ทำให้ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นที่ในประเทศไทยเป็นลำแสงเฉียง ประมาณความเข้มของแสงก่อนลดน้อยลงตามไปด้วย
2.ฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) เป็นช่วงที่ลมมรสุมกระแสลมทะเลจีนใต้พัดเข้ามา สู่ประเทศไทยจากทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ได้โคจรมาตั้งฉากกับประเทศในเวลาเที่ยงวันพอดี ทำให้อากาศร้อนและจะมีอุณหภูมิสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน
3.ฤดูฝน (มิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาสู่ประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายไปทั่วประเทศ
พายุ (strom)
พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง
มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ
เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกันและมักเริ่มก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
2.1 พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
2.2 พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
2.3 พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
2.4 พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
2.5 พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
2.6 พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น
พายุฤดูร้อนในประเทศไทย
มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็น ที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย
การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
3. ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ
ที่มาของข้อมูล
http://th.wikipedia.org
http://www.panyathai.or.th
ข้อมูลจาก มูลนิธิคณะลูกเสือแห่งชาติ
* * * *