นักศึกษาและผู้ที่สนใจ เราได้จัดทำเนื้อหาตอนนี้ให้ดาวน์โหลดกัน
โดยไปที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml คลิกที่นี้ได้เลย
สรุปวิชากรุงเทพฯศึกษา
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับกรุงเทพฯ
1) คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร” มีชื่อเดิมว่า “บางกอก” (Bangkok) เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
2) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
3) เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ
4) เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก
5) แม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี
6) กรุงเทพฯมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 69 ของประเทศไทย
7) กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด
8) กรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
9) คำขวัญของกรุงเทพมหานคร
"กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย" เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม กทม. ได้สรุปยอดคะแนนโหวต
10) ประชากรปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก
11) เศรษฐกิจกรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat : Value added Tax) ในอัตรา 7 %
ประวัติของกรุงเทพ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ฝั่งธนบุรี จึงได้ชื่อว่า กรุงธนบุรี และในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ คือ ฝั่งพระนคร จึงได้ชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์
สัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
1) เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า (วัชระ หรือ วชิราวุธ)
2) ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อังกฤษ: Bangkok Metropolitan Region)
("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ)
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ จังหวัดสมุทรปราการ และอ่าวไทย ที่เขตบางขุนเทียน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
การบริหารกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพ พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งวาระคราวละ 4 ปี
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร ของเขตปกครองพิเศษและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร มีรองผู้ว่าราชการมี 4 คน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนปัจจุบันคือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร (11 ม.ค. พ.ศ. 2552 ถึง 10 ม.ค. พ.ศ. 2556) เป็นคนที่ 15
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1. กำหนดนโยบาย และบริหารราชการของกรุงเทพฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพฯ
3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ฯลฯ
4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
5. วางระเบียบ เพื่อให้งานของกรุงเทพฯ เป็นไปโดยเรียบร้อย
6. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพฯ
7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เช่น
7.1 การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพฯ
7.2 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพฯ
สภากรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร (ตัวย่อ: ส.ก.) เป็นองค์กร นิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการบริหารราชการกรุงเทพมหานครของฝ่ายบริหารอันมีผู้ว่าราชการกรุงเทพเป็นหัวหน้าคณะฯ ซึ่งประธานสภากรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก. เขตจอมทอง
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 61 คน
การคมนาคมในกรุงเทพฯ
ทางรถยนต์
ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
ถนนพระรามที่2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)
ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นทางหลวงซึ่งที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี
ทางรถไฟ
1) สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) เดินทางไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
2) สถานีรถไฟธนบุรี (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) เดินทางไปยังภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก
3) สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ เดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีนและปากน้ำแม่กลอง
ทางรถโดยสารประจำทาง (ไปต่างจังหวัด)
1) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือ หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
2) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
3) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ และภาคตะวันตก
ปัญหาในปัจจุบัน
การจราจรติดขัด, ถนนชำรุดใน, ทัศนียภาพ (จากภาพป้ายโฆษณา, การทิ้งขยะ, การสร้างอาคาร), อาชญากรรม, การก่อการร้าย
, มลพิษ, การขาดความเอาใจใส่ของคนในกรุงเทพต่อสภาพแวดล้อม
ราชวงศ์จักรี
ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยาม ต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"
สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี
ประจำราชวงศ์จักรีชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี
คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (สละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ยังอยู่ในราชสมบัติ
วัดประจำรัชกาล
รัชกาลที่ ๑ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
รัชกาลที่ ๒ วัดอรุณราชวราราม
รัชกาลที่ ๓ วัดราชโอรสาราม
รัชกาลที่ ๔ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
รัชกาลที่ ๕, รัชกาลที่ ๗ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
รัชกาลที่ ๖ วัดบวรนิเวศวิหาร
รัชกาลที่ ๘ วัดสุทัศนเทพวราราม
รัชกาลที่ ๙ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
******