9 ก.ค. 2556

คณิตศาสตร์-ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
ตัวอย่าง
  |-3| = 3 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -3 เท่ากับ 3
  |-5| = 5 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -5เท่ากับ 5
  |3| = 3 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 3 เท่ากับ 3
  |5| = 5 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 5 เท่ากับ 5
  |0| = 0 อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ 0 เท่ากับ 0
  |-0.4| = อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -0.4 เท่ากับ 0.4
  |-2.35| = อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของ -2.35 เท่ากับ 2.35
หมายเหตุ 
1. เราอ่านว่า สัญลักษณ์ |  | ว่า ค่าสัมบูรณ์
2. ตัวเลขที่ถูกเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์ครอบไว้ จะมีผลลัพธ์ออกมา เป็นค่าบวกหรือศูนย์เท่านั้น
3. โดยทั่วไปแล้ว เราจะใช้สัญลักษณ์ในเรื่องค่าสัมบูรณ์ คือ
    |a| อ่านว่า ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง a เมื่อให้ a แทนจำนวนจริงใดๆ
ตัวอย่าง
จงหาค่าของ
  ข้อตกลง ในที่นี้เราจะใช้ สัญลักษณ์ / แทนการหาร
1. |-8| = 8
2. |-10| = 10
3. |-23| = 23
4. |-9| = 9
5. |13| = 13
6. |26| = 26
7. |2-7| = |-5| = 5
8. |10-2| = |8| = 8
9. |14-24| = |-10| = 10
10. |-6|+|-5| = 6+5 = 11
11. |-7|- |-11|= 7 - 11 = -4
12. |8| + |-12|= 8 + 12 = 20
13. |3-6| - |7-4| = |-3| - |3| = 3 - 3 = 0
14. |20-39| + |26-40| = |-19| + |-14| = 19 + 14 = 33
15. |15| / |-3| =  15 / 3 = 5
16. |-48| / |4| = 48 / 4 = 12  **
17. |-48 / 4| = |-12| = 12  **
18. -|5| - |-6| + |9|= -5 -6 + 9 = -11 + 9 = -2
19. |-3||-5| = 3x5 = 15
20. |-7||-2||-3 = 7x2x3 = 42

21. |2x4 - 17| = |8 - 17| = |-9| = 9
22. |7 - 4x5| = |7 -20| = |-13| = 13
23. |24 / 3 - 22| = |8 - 22| = |-14| = 14
24. |-13| - |2x(-5)| - |(-6)x1| = 13 - |-10| - |-6|
    = 13 - 10 - 6 = -3-6 = -9
25. |-6||5| - |4||-3| = 6x5 - 4x3 = 30 - 12 = 18

ลองทำเอง (ไม่ต้องส่ง)
1. |-9-2| + |4-6|=
2. |5+3-20| - |8-9+10| =
3. |-10| - |-20| + |30| =
4. |6x2 - 19| - 9=
5. |12| + |3x(-3)| - |(-5) x(-1)| =
6. |-36 / 4| + |-63 / 7|=
7. -|-20| / |-5|=
8. |3x(-2)x(6)| =
9. |7x2x(-5)| =
10. |15 / (-3) -4 | =
11. |3x(-6) - 12| / (-10) =
12. |-8||-3| + |-10||-2| =
13. |4||-7| - 18 =
14. |-2||-5||-6| - |-4||-8| =


8 ก.ค. 2556

คณิตสาสตร์-เศษส่วน

ตอนที่เรามาสลับฉาก...ดูตัวอย่างการคำนวณขั้นพื้นฐานของเศษส่วนกันบ้าง









































นักศึกษาสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.kruteeworld.com เรื่อง เศษส่วน

3 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์-โครงสร้างของโลก

รูปทรงสัณฐานของโลก
โลก (Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี (Oblate Ellipsoid)   คือมีลักษณะป่องตรงกลาง ขั้วเหนือ-ใต้ แบนเล็กน้อย แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ  สูง  ต่ำ ไม่ราบเรียบ  สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ

โครงสร้างของโลก
1. เปลือกโลก
   เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
   ชั้นที่1 : ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
   ชั้นที่2 : ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

2. แมนเทิล
   แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

3. แก่นโลก
  แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
  แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
  แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง

วิทยาศาสตร์-กาแล็กซี่

กาแล็กซี (Galaxy) หรือดาราจักร คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับ หลุมดำ ที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี่ โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่เกาะกลุ่มอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์

หมายเหตุ
** ดาราจักร หรือ กาแล็กซีมาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง น้ำนม ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way)
**หลุมดำ (Black Hole) คือ บริเวณในอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูง ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสงสว่างที่เคลื่อนที่เร็วประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ก็ออกจากหลุมดำไม่ได้ เมื่อไม่มีแสงออกมาหลุมดำจึงมืด

กาแลคซี (Galaxy) ซึ่งประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต ฝุ่นผงและ แก็สในอวกาศ กาแลคซีเมื่อแบ่งโดยใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์แบ่งออก 4 ประเภท คือ
1 กาแล็กซี่รูปวงกลมรี
2.กาแล็กซีรูปก้นหอย
3.กาแล็กซีรูปก้นหอยคาน
4.กาแล็กซีไร้รูปร่าง

กาแล็กซีทางเผือก (The Milky Way Galaxy)
โลกของเราอยู่ในกาแล็กซีทางเผือก ซึ่งจะประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ 2 แสนล้านดวง ระหว่างดาวฤกษ์เป็นอวกาศ บางแห่งมีฝุ่นแก๊สรวมกันอยู่เรียกว่า เนบิวลา ถ้าเรามองดูกาแล็กซีทางช้างเผือกทางด้านข้างจะเห็นเป็นรูปจานข้าว 2 จานประกบกัน แต่เมื่อดูจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปกังหัน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์อยู่ที่แขนห่างจากจุดศูนย์กลาง 30,000 ปีแสง เคลื่อนรอบศูนย์กลาง 200 ล้านปีหนึ่งรอบโดยกำลังพาเหล่าบริวารมุ่งหน้าไปทางกลุ่มดาวพิณ ใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกอยู่ทางกลุ่มดาวคนยิงธนู

คำถาม ทางช้างเผือกกับกาแล็กซีทางช้างเผือก เหมือนกันหรือต่างกัน
  ทางช้างเผือก เกิดจากดาวฤกษ์หลายหมื่นล้านดวงที่มาอยู่รวมกัน เห็นเป็นแนวฝ้าขาวจางๆ ขนาดกว้างประมาณ 15 องศา พาดผ่านเป็นทางยาวรอบท้องฟ้า
  กาแล็กซี ทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 200,000 ล้านดวงและเมฆฝุ่นกับแก๊สที่เรียกว่า เนบิวลา รวมทั้งระบบสุริยะ ทางช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก

วิทยาศาสตร์-ระบบสุริยะ2

เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ
การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์ เช่น
1. การแบ่งโดยใช้ขนาดของดาวเคราะห์ แบ่งได้ดังนี้
  1.1 ดาวเคราะห์จำพวกโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร โลกและดาวพลูโต
  1.2 ดาวเคราะห์ยักษ์ คือ ดาวที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
2. การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์โดยใช้วงโคจรของดาวเคราะห์ จะแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
  2.1 ดาวเคราะห์ชั้นใน คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดวงอาทิตย์มี 4 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร
  2.2 ดาวเคราะห์ชั้นนอก คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรถัดจากดาวเคราะห์น้อยออกไปมี 5 ดวงได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต
หมายเหตุ ถ้าไม่นับดาวพลูโต จะเหลือ 4 ดาว

ชื่อเล่นของดาวเคราะห์ที่คนเราตั้งขึ้น
1. ดาวเคราะห์น้อย (Asteriod) คือ ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กๆ เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกัน โคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เช่น พาลาส จูไน เวสตา ฮีรอส เป็นต้น
2. ดาวเคราะห์สีแดง คือ ดาวอังคาร เหตุที่เรียกดาวเคราะห์สีแดง เพราะว่าเมื่อสังเกตดูดาวอังคารจะมีสีแดงคล้ายเลือด เนื่องจากพื้นผิวดวงจันทร์เป็นสีแดงและมีฝุ่นละอองจำนวนมากฟุ้งกระจายขึ้นไปในบรรยากาศ ทำให้ท้องฟ้ามีสีแดงเหมือนพื้นผิว
3. เตาไฟแช่แข็ง หมายถึง ดาวพุธ เพราะดาวพุธมีลักษณะเหมือนลูกไฟแช่อยู่ในน้ำแข็งเนื่องจากด้านที่รับแสงอาทิตย์จะร้อนระอุมากเหมือนเตาไฟ ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงจะเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง
4. พี่น้องฝาแฝดของโลก หมายถึง ดาวศุกร์ เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกและมีขนาดใกล้เคียงกับโลก
5. ดาวเคราะห์ประหลาด หมายถึง ดาวเสาร์ เนื่องจากสมัยก่อนผู้สังเกตจะเห็นดาวเสาร์มี วงแหวนล้อมรอบอยู่ดวงเดียวในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขึ้นจึงพบว่าดาวเคราะห์ หลายดวงก็มีวงแหวนล้อมรอบเช่นเดียวกัน เช่น ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส เป็นต้น
6. โลกยักษ์ หมายถึง ดาวพฤหัสบดี เพราะดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด 8 ดวง
7. ดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่า มีเพียง 5 ดวง ได้แก่ดาวพุธดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ ส่วนที่เหลืออีก 3 ดวง คือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนและดาวพลูโตนั้นมองไม่เห็น ต้องใช้กล้องโทรทรรศ์ส่องดู

คำว่า Planet (แพลเน็ต) หรือ ดาวเคราะห์ เดิมเป็นคำที่มีความหมายว่า "ผู้ท่องเที่ยวไป" และชาวคนในสมัยโบราณนับถือว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นเทพ ได้แก่
- ดาวพฤหัสบดี คือ จูปิเตอร์ (Jupiter) เจ้าแห่งเทพทั้งมวล
- ดาวพุธ คือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร
- ดาวศุกร์ คือ วีนัส (Venus) เทพแห่งความรักและความงาม
- ดาวอังคาร คือ มาร์ส (Mars) เทพแห่งสงคราม
- ดาวเสาร์ คือ แซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งเกษตรบิดาของจูปิเตอร์




วิทยาศาสตร์-ระบบสุริยะ1

ระบบสุริยะ (Solar System)
  ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) 
     ระบบสุริยะของเรามีอายุมากกว่า 4,600 ล้านปี อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ก่อกำเนิดจากกลุ่มก๊าซที่เย็นตัวลงหลังการระเบิดใหญ่ (Big Bang) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาราจักรต่างๆมากมายเหลือคณานับ ระบบสุริยะของเราประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยและวัตถุอื่นๆเป็นสมาชิก นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
      โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับ จากดวงที่ใกล้ที่สุดหรือด้านในสู่ด้านนอกคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และยังมีดวงจันทร์บริวารของดวงเคราะห์แต่ละดวง ยกเว้น สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร และมีดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่มาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) เป็นหน่วยทางดาราศาสตร์

ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
1. ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญอย่างมากต่อโลกเราของ เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
   ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาวแต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง 
** อัตราเร็วของแสง (speed of light) = 299,792,458 เมตร/วินาที หรือ 3x108 เมตร/วินาที  หรือ 1,079,252,848.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
** ระยะ 1 ปีแสง คือ ระะยทางที่แสงเคลื่อนไปในเวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทางประมาณ = 9.5 × 1012 กิโลเมตร

2. ดาวเคราะห์ (Planet) เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสงและพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด 8 ดวง (จากเดิม 9 ดวง  ที่เราเรียกเคยเรียกว่า ดาวนพพระเคราะห์) ได้แก่
   ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร ดาวพุธเป็นมีขนาดใกล้เคียงกว่ากับดวงจันทร์ของเรามาก มีพื้นผิวคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ จึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย
   ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริย

   ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุด ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลา และ เราเรียกว่า ดาวประกายพรึก ถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
   ** ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรงเพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด
   ** ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ กล่าวคือดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก
   ** ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์
 
   โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
   ** โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือ มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในปีนั้น 1 ปีจะมี 366 วัน
   ** โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร

    ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร
  ** ดาวอังคาร บางครั้งถูกเรียกว่า ดาวแดง เพราะ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย
  ** หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเท่าสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อย
  ** ดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวง
 ** อังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก

  ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร
 ** ดาวพฤหัสบดีหนักกว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก
 ** ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์
 ** ดาวพฤหัสบดีมีเมฆที่ห่อหุ้มอยา เราพบว่าบนดาวมีพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก

 ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร
  ** ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี คือก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง
  ** ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร น้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ
  ** ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก

 ดาวยูเรนัส (Uranus) เราเรียกว่า ดาวมฤตยู มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096 กิโลเมตร
  ** ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น

  ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก ดาวเกตุ มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600 กิโลเมตร

และดาวที่เคยอยู่ในระบบสริยะของเราแต่ปัจจุบันถูกปลดไปแล้วคือ
  ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร

3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส

4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง

วิทยาศาสตร์- ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก เช่น อุปราคา ดาวหาง ดาวตก ฝนดาวตก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

** ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมา
** กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
** ดาราศาสตร์แยกออกเป็นหลายสาขา เช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์

ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงจะทำให้มันอยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) โคจรรอบดาวฤกษ์โดยที่ตัวมันเองไม่เป็นทั้งดาวฤกษ์และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น
นิยามของดาวเคราะห์
        เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเซ็ก ซึ่งมีนักดาราศาสตร์มากว่า 2500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
  1.เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์
  2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือใกล้เคียงกับทรงกลม
  3.มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
  4.มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 804.63 กม.
  5.ไม่ใช่ดาวฤกษ์
  6.ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวดวงอื่น
    จากนิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโตและดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 9 , 10 ถูกปลดออกจากระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ

ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ

**โปรดติดตามตอนต่อไป**

วิทยาศาสตร์-สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
** ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม อาคารบ้านเรือน วัด สะพาน
** ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา

สภาพสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์หรือเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตลอดเวลา มี 4 ประเภท คือ
1 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เป็นสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ แมลง พืช เชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส พยาธิต่างๆ เป็นต้น
2 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  เป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน รวมถึงสภาพความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน และรังสีต่างๆ
3 สิ่งแวดล้อมทางเคมี คือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในรูปแบบต่างๆ    เช่น สารตะกั่ว สารหนู ฝุ่น ควัน ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น
4  สิ่งแวดล้อมทางสังคม  เช่น การศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา เป็นต้น

2 ก.ค. 2556

วิทยาศาสตร์-บรรยากาศของโลก2

การจัดแบ่งชั้นบรรยากาศ
การจำแนกเพื่อจัดชั้นของบรรยากาศ เราใช้เกณฑ์ในการจัดจำแนกชั้นบรรยายกาศ ตามลักษณะเด่นชัด เช่น ตามอุณหภูมิ ตามสมบัติของแก๊สที่มีอยู่ ตามสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิจะแบ่งชั้นบรรยากาศได้ 4 ชั้น คือ
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้
   1) เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร
   2) ระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร
   3) โทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ
   4) เป็นชั้นมีปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น

2. สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น
    1) จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร และที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร
     2) สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย
     3) เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณแก๊สโอโซน (O3) เข้มข้นมาก

3. มีโซสเฟียร์ (mesophere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คือ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น

4. เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ
     1) ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
     2) ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส
     3) ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก
     4) บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นแก๊สระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียกเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์ จัดแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 4 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ตั้งแต่ส่วนที่ติดผิวโลกขึ้นไปในอากาศที่ระยะความสูง 10 กิโลเมตรโดยประมาณ
   2) มีส่วนประกอบของอากาศที่สำคัญมากคือ ไอน้ำ โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบของอากาศตามปกติ
2. โอโซโนสเฟียร์ (ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นของบรรยากาศที่อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก ถึงระยะประมาณ 50-55 กิโลเมตรจากผิวโลก
   2) บรรยกาศชั้นนี้จะแก๊สโอโซน (O3) อยู่มากที่สุด เราจะเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ชั้นโอโซน ก็ได้
3. ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
   1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรจากผิวโลก
   2) มีปริมาณอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก
   3) ระยะจากผิวโลกขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ พบว่าคลื่นความถี่ของวิทยุสามารถส่งสัญญาณไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่งบนโลกไปได้ไกลเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
4. เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
  1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงสุดถัดจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงกว่าผิวโลกประมาณ 660 กิโลเมตร
  2) ในชั้นบรรยากาศนี้ความหนาแน่นขององค์ประกอบของอากาศจะมีน้อยลง

การจัดจำแนกชั้นของบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตุนิยมวิทยา จัดจำแนกได้ถึง 5 ชั้น คือ
1. ชั้นที่มีอิทธิพลของความฝืด บรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ถึงระดับความสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นผิวของโลก เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนไปมาของอากาศ ความร้อนจากผิวโลกจะทำให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้มีโครงสร้างที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยการถ่ายทอดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณนั้นๆ
2. โทรโพสเฟียร์ส่วนชั้นกลางและชั้นบน บรรยากาศชั้นนี้จะมีการลดลงของอุณหภูมิขณะความสูงเพิ่มขึ้น อิทธิพลของความฝืดจะมีผลทำให้การไหลเวียนของอากาศน้อยลง
3. โทรโพพอส (tropopause) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้จะแบ่งเป็นชั้นที่มีไอน้ำและชั้นที่ไม่มีไอน้ำ
4. สตราโทสเฟียร์ (startosphere) บรรยากาศชั้นนี้จะมีความชื้น ฝุ่นละอองเพียงเล็กน้อย และมีโอโซนหนาแน่น
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ไปจนจดขอบนอกสุดของชั้นบรรยากาศโลกอุณหภูมิของอากาศ
******

วิทยาศาสตร์-บรรยากาศของโลก

บรรยากาศของโลก
บรรยากาศ คือ อากาศ (air) ที่ห่อหุ้มโลกอยู่ทั้งหมด
อากาศ  คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่เฉพาะส่วน
อากาศเป็นสิ่งที่อยู่ในสถานะที่เป็นแก๊ส มีส่วนประกอบต่างๆดังนี้

1. ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร
  ** ไนโตรเจนทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศไม่เข้มข้น ทำให้การสันดาป(การเผาไหม้) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีลดความรวดเร็วลง
  ** ไนโตรเจนในอากาศบางส่วนจะถูกแบคทีเรียในดิน ในรากพืชบางชนิด ตรึงเอาไปไว้เพื่อประโยชน์ของพืช เมื่อพืชและสัตว์ตายลงจะสลายตัวเป็นไนโตรเจนกลับสู่อากาศอีกครั้ง
2. ออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร
  ** ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสันดาป พืชและสัตว์ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ (กระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์)
  ** ออกซิเจนเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
3. คาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.04 โดยปริมาตร    
  ** พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
  ** การหายใจออกของสิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอก
4. แก๊สเฉื่อย (inert gas) เป็นแก๊สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ เช่น
  1) อาร์กอน (Ar) สามารถนำไปใช้ในการทำหลอดไฟฟ้าเรืองแสง โดยนำอาร์กอนและไนโตรเจนใส่ลงในหลอดไฟฟ้า ไอของอาร์กอนจะทำให้หลอดไฟฟ้า เกิดการเรืองแสงขึ้นได้
  2) ฮีเลียม (He) เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นต่ำ นำไปใช้ในการบินของเรือเหาะในยุคก่อน
3) นีออน (Ne) เป็นแก๊สที่เปล่งแสงได้เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน นำมาทำป้ายโฆษณาในเวลากลางคืน
4) คริปทอน (Kr) และซีนอน (Xe) เป็นแก๊สที่มีน้อยที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยในอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำไฟโฆษณา
5) ไอน้ำ
6) ฝุ่นละออง
7) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส เป็นต้น

สมบัติของอากาศ
1. เป็นสสาร มีมวล มีตัวตน ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
2. เป็นของไหลถ่ายเทไปได้ตลอดเวลา อากาศจะไหลจากบริเวณที่มีความกดดันอากาศสูงไปยังบริเวณที่ความกดดันอากาศต่ำ จึงทำให้เกิดลม
3. ทำให้เป็นของเหลวได้โดยการเพิ่มความดันสูงๆ หรือทำให้เย็นจัดๆ อากาศจะเปลี่ยนไปเป็นของเหลว เรียกว่า อากาศเหลว มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี
4. อากาศมีความหนาแน่น มีความดัน มีความชื้น และมีระดับอุณหภูมิ
ความหนาแน่นของอากาศ 
** ความหนาแน่นของอากาศ (density) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ
** จากการทำการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ความสูงที่เพิ่มขึ้น 2 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล

ความดันอากาศ (air pressure) หมายถึง แรงดันของอากาศ ซึ่งก็เป็นเรื่องของสมบัติของอากาศที่ต้องการที่อยู่ อากาศจะเคลื่อนที่โดยโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ในสถานะของแก๊ส อากาศจะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทุกทางทำให้เกิดแรงที่เรียกว่า แรงดันอากาศ แรงดันอากาศจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของขนาดพื้นที่ อุณหภูมิ และอื่นๆ

ข้อควรทราบ
1. ความดัน 1 บรรยากาศ คือ ความดันของอากาศที่ทำให้ปรอทเคลื่อนสูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร
2. 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1.013105 นิวตันต่อตารางเมตร

ความชื้นของอากาศ (humidity) หมายถึง ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในกรณีที่มีความชื้นในอากาศสูงหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำมาก และถ้าอากาศมีความชื้นต่ำหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำน้อย
** อากาศอิ่มตัว หมายถึง อากาศที่มีปริมาณไอน้ำสูงมาก จึงเป็นอากาศที่ไม่สามารถจะรับไอน้ำจากที่ต่างๆ ได้อีก ในกรณีที่มีไอน้ำเกินกว่าระดับปกติมาก ไอน้ำจะจัดการตัวเองโดยการกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน
** ความชื้นสัมบูรณ์ หรือความชื้นแท้ (absolute humidity) เป็นความชื้นที่มีมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศหนึ่งหน่วยปริมาตร ในเวลาใดเวลาหนึ่ง มีหน่วยในการวัดเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมบูรณ์ในอีกความหมายก็คือ ความหนาแน่นของไอน้ำ หรือปริมาณไอน้ำในอากาศ ความชื้นสัมบูรณ์จะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำที่มีจริงในอากาศ กับปริมาตรของอากาศ ดังสมการ
** ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) เป็นวิธีการวัดความชื้นโดยการเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ระหว่างความชื้นสัมบูรณ์หรือมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศ กับมวลของไอน้ำที่อากาศจำนวนนั้นๆ จะมีได้อย่างเต็มที่ ณ อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน
** ความชื้นจำเพาะ (specific humidity) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำมีหน่วยเป็นกรัมต่อมวลของอากาศทั้งหมด 1 กิโลกรัม

** โปรดติดตามตอนต่อไป **

วิทยาศาสตร์-พลังงานกับชีวิต2

แหล่งพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทดแทน
1 แหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar Energy) 
   ดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ และใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด
1)  การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์โดยทางตรง 
  1.1   การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อน เป็นการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของพลังงานความร้อน (photothermal process)  โดยการใช้อุปกรณ์รับแสงดูดพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เช่น  ระบบอบแห้งแสงอาทิตย์  ระบบกลั่นน้ำแสงอาทิตย์ เป็นต้น
1.2  การใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า (photovoltaic process) ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell)

2) การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์โดยทางอ้อม เช่น  ทำให้ลม  คลื่น  กระแสน้ำในมหาสมุทร  และให้พลังงานปฏิกิริยาสังเคราะห์แสงของพืช  เป็นต้น

ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์
1. ความไม่แน่นอนของสภาพภูมิศาสตร์ มีผลต่ออัตราการตกกระทบของรังสีดวงอาทิตย์
2  ความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นเมืองร้อน แต่บางช่วงเวลา เช่น ฤดูฝนที่แสงแดดส่องลงมาน้อยทำให้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
3. เทคโนโลยีในการสร้างเครื่องรับแสงอาทิตย์ ยังไม่ได้รับการพัฒนาถึงขั้นที่มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
4. ต้นทุนการผลิตอุปกรณ์รับ และเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ยังมีราคาสูงมาก

2  แหล่งพลังงานจากน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ

  เราได้ประโยชน์จากพลังงานของน้ำด้วยการสร้างเขื่อน โดยอาศัยหลักการว่า น้ำที่สะสมอยู่ในที่สูงนั้นมีพลังงาน(ศักย์)มาก เมื่อปล่อยลงมาสู่ที่ต่ำก็จะสามารถขับเคลื่อนกังหันให้ไปปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
  ** พลังงานจากน้ำเป็นพลังที่สะอาดเพราะไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

3  แหล่งพลังงานจากลม
  ลม เกิด จากความ แตกต่างระหว่างความกดอากาศ ของบริเวณต่าง ๆ ของโลก  ซึ่งลมจะพัดจากบริเวณที่มี  ความกดอากาศสูง ไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
  วิธีนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชนวิธีหนึ่งได้แก่การก่อสร้างกังหันลมแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำหรือกลไกอื่นๆ เป็นต้น

4 แหล่งพลังงานจากชีวมวล  (Biomass Energy) 
เชื้อเพลิงชีวมวล คือ เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิต เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย  เศษไม้ เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร
ประโยชน์ของพลังงานชีวมวล
1 ช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น
2 การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก
3 เราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องในท้องถิ่น
4ชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข้อดีของเชื้อเพลิงชีวมวล 
1. มีปริมาณกำมะถันต่ำ
2. ราคาถูกกว่าพลังงานเชิงพาณิชย์อื่น ต่อหน่วยความร้อนที่เท่ากัน
3. มีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศ
4. พลังงานจากชีวมวลจะไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก

ข้อเสียของพลังงานจากชีวมวล (เปรียบเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเตา)
1. ชีวมวลมีปริมาณที่ไม่แน่นอน ผลผลิตที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และแม้ชีวมวลจะมีอยู่มากแต่กระจัดกระจาย ทำให้รวบรวมได้ยาก
2. ค่าใช้จ่ายสูงที่จะลงทุนเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ระหว่างโรงงานสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ
3. โรงงานขาดความเชื่อมั่นที่จะลงทุน เนื่องจาก ขาดความมั่นใจด้านเทคโนโลยี ไม่มีผู้ให้คำปรึกษาทางเทคนิค และขาดการสนับสนุนการลงทุนจากสถาบันการเงิน เนื่องจากความไม่แน่นอนของปริมาณชีวมวล
4. ราคาซื้อและขายไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสิ้นเปลืองยังต่ำมาก เมื่อเทียบกับไฟฟ้าที่ได้จากชีวมวล จึงไม่เกิดแรงจูงใจในการผลิตเว้นแต่ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสิ้นเปลืองจะสูงขึ้นในอนาคต

พลังงานความร้อนจากชีวมวลที่ผ่านการแปรรูป
  คือ การนำชีวมวลไปผ่านการแปรรูปให้อยู่ในรูปของน้ำมัน หรือก๊าซ ก่อนที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงจากพืช ซึ่งแหล่งพลังงานชนิดนี้เรียกว่า ไฟโตเลียม (Phytoleum)  ในการนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4  กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มแอลกอฮอล์ (Alcohol)
เอธานอล หรือเอธิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่แปรรูปมาจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล โดยผ่านกระบวนการหมัก (fermentation)
** แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) ได้จากการผสมน้ำมันเบนซิน (Benzene หรือ Gasoline)กับแอลกอฮอล์
** ดีโซฮอล์ (Diesohol) ได้จากการผสมน้ำมันดีเซลกับแอลกอฮอล์

ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์ 
- ทำให้เกิดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์ สามารถช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสีย  โดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ลง 20-25%
- ขณะนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเบนซินวันละประมาณ 20 ล้านลิตร หากนำแอลกอฮอล์มาผสมร่วมกับน้ำมันเบนซินจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ประมาณ 10 % หรือวันละ 2 ล้านลิตร และประหยัดเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมัน
- ลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท  ทั้งนี้ เพราะสามารถนำผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูป  ใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานได้

2.กลุ่มไบโอดีเซล (Biodiesel) 
ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำมันพืชชนิดต่างๆ หรือไขมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหาร มาเข้าขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยการเติมแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือเอทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)ภายใต้สภาวะที่อุณหภูมิสูง เพื่อเปลี่ยนเป็นเมทิลเอสเตอร์(methyl ester), เอทิลเอสเตอร์ (ethyl ester) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ไบโอดีเซล"
3.กลุ่มน้ำมันพืชโดยตรง (Straight Vegetable oil) 
โดยการนำการผสมน้ำมันพืชกับน้ำมันชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันก๊าด หรือ ผสมกับน้ำมันดีเซล แต่การการใช้ในกลุ่มนี้ยังมีน้อยอยู่ในปัจจุบัน
4.กลุ่มแก๊สชีวภาพ(Biogas) 
แก๊สชีวภาพ ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์ หรือเศษซากอาหารที่เหลือ ที่ย่อยไม่หมดเมื่อสัตว์กินเข้าไป

5  พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)
ได้แก่ น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน โคลนเดือด และก๊าซ ซึ่งได้มาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนแตก และน้ำบางส่วนไหลซึมลงไปใต้ผิวโลก ไปสะสมตัวและรับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนสูงกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ ที่พยายามแทรกตัวขึ้นมาตามรอยเลื่อนแตกของชั้นหิน

6 พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์  (Nuclear energy)
  1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุหนัก โดยกระบวนการยิง นิวตรอนไปยังนิวเคลียสของอะตอมหนัก แล้วทำให้นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วนเกือบเท่ากัน ในปฏิกิริยานี้มวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไป กลายเป็นพลังงานออกมา และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งวิ่งเร็วมากพอที่จะไปยิงนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไปทำให้เกิดปฏิริยาต่อเนื่องเรื่อยไป เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)
  ** การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ที่เราใช้กันอยู่ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น โดยการใช้แท่งยูเรเนียม-235

  2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Nuclear Fusion) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เป็นผลจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุเบาเป็นนิวเคลียสของธาตุหนัก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกมา
   ** พลังงานความร้อนและแสงสว่างที่ดวงอาทิตย์ส่งมายังโลกเป็นผลปฏิกิริยาฟิวชัน
*******

วิทยาศาสตร์-พลังงานกับชีวิต

พลังงานกับชีวิต
ความสำคัญและประโยชน์ของพลังงาน
** พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดความอบอุ่น
** พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ถูกใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญให้กับทุกชีวิตบนโลก
** พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้นของพลังงานในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการดำรงชีวิต โดยพลังงานเหล่านี้ถูกใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การหายใจ  การเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
** มนุษย์ยังค่อยๆเรียนรู้วิธีที่ใช้พลังงานเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์กลไก  ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ

ความหมายและรูปแบบของพลังงาน
   พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้  คำว่า งาน ในที่นี้หมายถึง การกระทำของแรงซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไป  สิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวของแรงหรือเปลี่ยนตำแหน่งทิศทางในการเคลื่อนที่หรือหยุดการเคลื่อนที่ได้ สิ่งนั้นย่อมมีพลังงาน 

การจัดแบ่งรูปของพลังงานออกเป็น 6 รูป ได้แก่
1. พลังงานกล พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ
2. พลังงานเสียง  เป็นพลังงานที่ทำให้อนุภาคของอากาศเคลื่อนที่ในลักษณะที่เกิดเป็นส่วนอัด-ส่วนขยาย  เมื่อการเคลื่อนที่ของอนุภาคอากาศในลักษณะดังกล่าวเดินทางมาถึงหูมนุษย์ก็ทำให้เยื่อแก้วหูเกิดการสั่นในความถี่ของการสั่นที่ต่างกัน  แล้วส่งไปยังสมองซึ่งแปลความออกมาเป็นเสียงที่เราได้ยิน
3.   พลังงานแสง เป็นพลังงานที่ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ในลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หนังสือบางเล่มได้จัดพลังงานแสงเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเพราะช่วงของแสงจัดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
4. พลังงานความร้อน  เป็นพลังงานที่ทำให้อนุภาคของสสารเกิดการสั่นสะเทือน  (ในกรณีซึ่งเป็นของแข็ง)  หรือมีการเคลื่อนที่เร็วมากขึ้น  (ในกรณีซึ่งเป็นของเหลวหรือก๊าซ)  อันจะทำให้เกิดผลที่ตามมา  เช่น  การเปลี่ยนสถานะ  
5. พลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ หรือลวดทองแดง
6. พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่แฝงอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลของสารเคมี ที่เรียกว่าพันธะเคมี  โดยทำหน้าที่ยึดอะตอมต่างๆ  ภายในโมเลกุล  แรงยึดระหว่างโมเลกุลจะมีผลต่อการจัดเรียงตัวของอะตอมและโมเลกุลของสารเคมี  เมื่อพันธะแตกสลายพลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างพลังงานเคมี เช่น พลังงานในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในอาหาร

แหล่งของพลังงาน
โดยทั่วไปแหล่งพลังงานสามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
** แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไป (non - renewable energy) หรือ พลังงานสิ้นเปลือง  เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เมื่อนำมาใช้แล้วจะหมดสิ้นไปเรื่อยๆ ต้องใช้เวลานานนับล้านๆ ปี จึงจะสามารถเกิดขึ้นอีก  เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ  ถ่านหิน หินน้ำมัน  เป็นต้น

**แหล่งพลังงานใช้ไม่หมด (renewable energy)  หรือ พลังงานหมุนเวียน หรือแหล่งพลังงานทดแทน เป็นแหล่งพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ  เช่น  แสงอาทิตย์  ลม  น้ำ  ชีวมวล (เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย และมูลสัตว์) ความร้อนใต้พิภพ และปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นต้น

แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดหรือพลังงานสิ้นเปลือง
แหล่งพลังงานจากปิโตรเลียม (Petroleum) 
   ปิโตรเลียม คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นของผสมของโฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ ที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือทั้งสามสภาพปะปนกัน  ถ้าแยกประเภทของปิโตรเลียมชนิดต่างๆ  สามารถแยกได้คือ  น้ำมันดิบ (Crude oil)  ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) และก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) โดยปกติน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมักจะเกิดร่วมกันในแหล่งปิโตรเลียม
** น้ำมันดิบคือปิโตรเลียมที่อยู่ในสถานะของเหลว
** ก๊าซธรรมชาติคือปิโตรเลียมที่อยู่ในสถานะของก๊าซ
** ก๊าซธรรมชาติเหลวนั้น หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นก๊าซในขณะที่อยู่ตามธรรมชาติในแหล่งที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินภายใต้สภาพอุณหภูมิและความกดดันที่สูง แต่เมื่อถูกนำขึ้นมาถึงระดับผิวดินในขั้นตอนของการผลิต   อุณหภูมิและความกดดันที่ลดลงทำให้ก๊าซเหล่านั้นกลายสภาพไปเป็นของเหลว เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว

**โปรดติดตามตอนต่อไป **