26 มิ.ย. 2556

วิทยาศาสตร์-ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์4

วิทยาศาสตร์-ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์4
3 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) สภาพจิตใจ ได้แด่ ความคิด ความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ และมีความพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ในทางใดทางหนึ่ง

องค์ประกอบของเจตคติ เจตคติจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
  1. ความคิด (Cognitive Component)
  2. ความรู้สึก (Affective Component)
  3. พฤติกรรม (Behavioural Component)
     เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งมันจะมีอิทธิพลต่อการคิด การกระทำ และการตัดสินใจตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะคนเราเมื่อมีเจตคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไร แล้วก็จะมีความโน้มเอียงที่จะกระทำอย่างนั้นออกมา โดยไม่คิดว่าจะเป็นการยุ่งยากเสียเวลาหรือไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่าที่ควรก็ตาม

ผู้ที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ควรเป็นผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) มีความอยากรู้อยากเห็น
2) เป็นคนมีเหตุผล และเชื่อมั่นในความถูกต้อง
3) มีความเพียรพยายาม อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
4) มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
5) มีความถ่อมตน และมีความใจกว้าง
  จากคุณสมบัติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ และแม้บุคคลทั่วไปหากเป็นผู้มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้น นอกจากต้องอาศัยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้ว เจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการที่จะเป็นตัวช่วยเหลือและผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
******

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น