13 ธ.ค. 2554

อาเซียนศึกษา2

วันนี้มาเรามาทำความรู้จักประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกใน
กลุ่มอาเซียนกัน
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam
    แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว
แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong
    และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร ส่วนมากเป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตก
    ค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ
    รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม รองลงมาคือ
    ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และฮินดู
สกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)

ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี
ฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นองค์พระประมุข
ของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510

* รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดี
   ทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
* สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่ง
   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
* ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด
   และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

เศรษฐกิจ
1. บรูไน ฯ มีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจาก
อินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
รายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซมีมูลค่ากว่าร้อยละ 90
รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Petroleum Brunei)
เพื่อเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ
2. บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย
โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้
3. บรูไน ฯ มีอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องมือ
การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรปและอเมริกา
4. บรูไนฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาน้ำมันอย่างเดียว
สู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีมาตรการ
เปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน

สังคม
1. บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกัน
ด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บ
ภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่ค่อยประสบปัญหาทางการเมือง
2. ปัญหาทาาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหา
แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และปัญหาการว่างงาน
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น