14 ธ.ค. 2554

อาเซียนศึกษา6

ประเทศต่อไปก็เป็นประเทศที่อยู่ติดกับเราทางภาคใต้คือ...
มาเลเซีย (Malaysia)

ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร โดยถูกแบ่งดินแดนสองส่วน
โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
1. มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดน
ทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย
11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ
กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
2. มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)
มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบ
ประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก

และมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ)
และเกาะลาบวน

พื้นที่ : 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ประชากร : ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลือเป็นชาวจีน เป็นชาวอินเดีย,
   ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว ไทยและอื่นๆอีก
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ, คริสต์, ฮินดู
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)

ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
   (Parliamentary Democracy)
1) ปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี เป็นประมุข
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู
ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส)
และผลัดเปลี่ยนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี
   ประมุของค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุล ฮาลีม
มูอัดซัม ชาห์ แห่งรัฐเกดะห์ ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2
วันนี้ 13 ธ.ค. 2554 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 14 ของมาเลเซีย

2) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรั
(Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister
ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ
ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี

การเมือง
    พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยม
แต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบาย
ในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
  โดยเฉพาะประเทศตะวันตก
2. พยายามเข้าไปมีบทบาทนำในอาเซียน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
  โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม เพื่อเป็นพลังต่อรองกับประเทศตะวันตก
  ในเวทีระหว่างประเทศ
3. พัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ยึดติดกับ
  รูปแบบของประเทศตะวันตกมีแนวดำเนินการของตนเองและ
  ให้ความสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ มาเลเซียมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังนี้
1) เปิดรับการค้า การลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก
เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563
(Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด
ตั้งเป้าหมายไว้
2) ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์
และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ
3) ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลัง
พัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ให้ความสำคัญ
กับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ)
โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษา
และการท่องเที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น