13 ธ.ค. 2554

อาเซียนศึกษา5

ประเทศต่อได้เป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้องของเราคือ ...
ลาว (Laos)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
   (The Lao People's Democratic Republic)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวง
   เหมือนกทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่
   อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)

ที่ตั้ง :
  ทิศเหนือติดกับ ประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
  ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับ ประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร)
  ทิศใต้ ติดกับ ประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันออก ประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันตก ประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศประเทศลาวตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน
ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย)
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
  (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดย
  พรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ พรรคประชาชน
  ปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม
  เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือ
    พลโท จูมมะลี ไชยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน
   (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)

สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติลาว (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติ
  จากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน)
  สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร)
  ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

เศรษฐกิจ
ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่
ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจ
เสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลัก
ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

ตลาดหลักทรัพย์
ลาวกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(10-10-10) เป็นวันเปิด
ดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว โดยมีที่ปรึกษาทาง
การเงินจากประเทศไทย และได้รับความช่วยเหลือจาก
ประเทศเกาหลี เปิดทำการจริงในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
จะมีบริษัทแรกเข้าจดทะเบียนประมาณ 5 บริษัท

การนำเข้าและการส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง
ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ
และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยัง
ประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

การนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน
เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญ
ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี
และเครื่องอุปโภคบริโภค

ประชากร
ประเทศลาวมีประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ลายเชื้อชาติ
ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า"
สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่
ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาว
หรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก เป็นกลุ่มชาวลาว
ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
2. ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น
ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น
ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมาก
อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว นอกจากนี้ยังมีชาวลาว
เชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ

ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาว เป็นภาษาทางการ ส่วนในกลุ่ม
ชาวลาวเทิงและชาวลาวสูง ยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่า
ของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ได้แก่
ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยัง
ใช้ในราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง

ศาสนา
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็น
ศาสนาประจำชาติ ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของ
ชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ศาสนาอื่นๆเช่น ศาสนาคริสต์
และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก

วัฒนธรรม
1. มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยมาก มีคำกล่าวว่า
“มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น” ในด้านดนตรี
ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ
ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา
วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก
บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น
2. ลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีข
องลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน
3. การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือ
ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)
4. อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น