30 ก.ค. 2555

สรุปเนื้อหาที่สอน29-7-55 (2)

สารเคมีในชีวิตประจำวัน ช่วงที่ 2
คำศัพท์อื่นๆที่น่าควรทราบ

สารพิษ (POISON) คือ สารที่ทำให้เป็นอันตราย หรือ ทำให้เสียชีวิต ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม คำนี้เป็นเป็นข้อเตือนถึงอันตรายที่รุนแรงที่สุด
เป็นพิษ (TOXIC) หมายถึง เป็นอันตรายทำให้อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ผิดปกติหรือ ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทานหรือสูดดม
สารก่อความระคายเคือง (IRRITANT) หมายถึง สารที่ทำให้เกิดความระคายเคือง หรืออาการบวมต่อผิวหนัง ตา เยื่อบุ และระบบทางเดินหายใจ
ติดไฟได้ (FLAMMABLE) หมายถึง สามารถติดไฟได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็ว
สารกัดกร่อน (CORROSIVE) หมายถึง สารเคมี หรือไอระเหยของสารเคมีนั้นสามารถทำให้วัสดุถูกกัดกร่อน ผุ หรือสิ่งมีชีวิตถูกทำลายได้

ความปลอดภัยขณะใช้สารเคมี
1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษแทน
2. อ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีการใช้ทุกครั้ง
3. สวมถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้ง ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายได้โดยการสัมผัสต่อผิวหนัง
4. สวมแว่นตาป้องกันสารเคมี ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อตา
5. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์เมื่อใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ทินเนอร์ เป็นต้น
6. หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีถ้ารู้สึกวิงเวียน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดศีรษะ
7. ควรใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในที่โล่งแจ้ง
8. ห้ามสูบบุหรี่เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้
9. ห้ามผสมผลิตภัณฑ์สารเคมีเอง เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน เกิดเป็นไอควันพิษหรืออาจระเบิดได้
10. พบแพทย์ทันทีถ้าสงสัยว่าได้รับสารพิษหรือได้รับอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน

กรดในชีวิตประจำวัน เช่น
น้ำอัดลม ประกอบด้วยกรดคาร์บอนิก
น้ำส้มและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ประกอบด้วยกรดซิตริกซึ่งมีอยู่ในส้ม มะนาว ส้มโอ
ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร เช่น กรดแอซีติก ซึ่งมีในน้ำส้มสายชู เป็นต้น
ใช้ในสารทำความสะอาดพื้นบ้าน เช่น กรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น

เบสในชีวิตประจำวัน เช่น
น้ำแอมโมเนียหรือแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ใช้ทำน้ำยาทำความสะอาดกระจก
ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ทำขนมต่าง ๆ
สบู่ ใช้ทำความสะอาดร่างกาย
ยาสระผม ใช้ทำความสะอาดเส้นผม
ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า

เกณฑ์การจำแนกสารเคมีในชีวิตประจำวัน
1. สารปรุงแต่งอาหาร
2. เครื่องดื่ม
3. สารทำความสะอาด
4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช
5. เครื่องสำอาง

สารอาหาร
สารอาหาร คือ “องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว”
   สารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน, เกลือแร่, และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน

องค์ประกอบของเคมีในชีวิต Chemistry of Life
สารประกอบขนาดใหญ่ (macromolecules) ในสิ่งมีชีวิต จัดเป็น 4 กลุ่มตามลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล ได้แก่
คาร์โบไฮเดรท (Carbohydrate) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O
โปรตีน (Protein) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N
ไขมัน (Lipid) ประกอบด้วยธาตุ C, H, O

คำศัพท์อื่นๆที่ได้พบในชีวิตประจำวัน
SPF (Sun Protect factor)
    ค่า SPF ในที่พบในครีมกันแดด หมายถึง ค่าป้องกันแสงแดด เช่น ถ้าเราตากแดด 12 นาที แล้วผิวไหม้ ถ้าทาครีม SPF 15 ผิวจะทนได้นานเป็น 15 เท่าคือ 180 นาที และถ้าเป็น SPF 50 ผิวก็จะทนได้นานมากขึ้นถึง 50 เท่าคือ 600 นาที ในเวลาที่ตากแดดเท่ากัน

อนุมูลอิสระ (free radicals)
   ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย แต่จะเกิดออกซิเจนที่มีประจุลบ (O2) ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระ สารตัวนี้ยังสามารถไปรวมตัวกับสารบางอย่างในร่างกาย แล้วก่อเกิดเป็นสารพิษไปทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ปกติแปรสภาพไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
    อนุมูลอิสระ เป็นอนุภาคไม่คงตัว จึงทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่ติดกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า “ออกซิเดชั่น” (Oxidation) ซึ่งอาจก่อผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้
    อนุมูลอิสระ เกิดจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายแล้ว ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, จากรังสี, สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เช่น ควันเสียและเขม่าจากเครื่องยนต์, ควันบุหรี่, ยาฆ่าแมลง, การออกกำลังกายอย่างหักโหม

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
  คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น
1. ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
2. ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
   แหล่งอาหารที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี, ซีลีเนียม, วิตามิน เอ, แคโรทีนอยด์ (บีตาแคโรทีน ลูทีน และไลโคฟีน)

รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet, UV) ภาษาไทยเรียกว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน

โทษ
รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ UVA, UVB และ UVC ถ้าได้รับเป็นเวลานานๆจะทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ จึงให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย
  UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด แต่สามารถแปลงสภาพ DNA ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
  UVB เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้รู้สึกเหมือนทรายเข้าตาและทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract)

ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต
  แบล็กไลต์ (black light) เป็นหลอดที่เปล่งรังสียูวีคลื่นยาว มีสีม่วงดำ ใช้ตรวจเอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร, หนังสือเดินทาง, บัตรเครดิต ฯลฯ
  หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา
  ดาราศาสตร์ในทางดาราศาสตร์ จะใช้หลักการที่ว่าวัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา ทำให้เราสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี แต่ต้องไปในอวกาศ
  การฆ่าเชื้อโรค รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ เช่นฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ในเครื่องมือหรืออาหาร

รังสีเอกซ์ (X-ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในเบื้องต้นมีการใช้ช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และแต่ก็มีอันตรายต่อมนุษย์

AHA
  AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxy Acid เป็น สารประกอบที่มีฤทธิ์เป็น กรด ที่สกัดจากผลไม้ธรรมชาติ เช่น
กรดซิตริก จากมะนาว ส้ม และส้มโอ
กรดมัลลิก จาก แอปเปิ้ล
กรดไกลโคลิก จากอ้อย
กรดแล็กติก จากนมเปรี้ยว

ประโยชน์ ของ AHA
  ช่วยในการขจัดเซลล์ผิวแก่ๆ ให้หลุดออกได้ขึ้นเร็วขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่เร็วขึ้น ทำให้ผิวหนังดูเรียบเนียนและสดใสขึ้น
ผลข้างเคียงของกรดเอเอชเอ
  การใช้ AHA ในปริมาณความเข้มข้นสูง ทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง เกิดผื่นคัน และไวต่อแสงแดดได้หรือทำให้เกิดรอยดำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากได้

BHA
   BHA (บีเอชเอ) ย่อมาจาก Beta Hydroxy Acid เป็นสารที่สังเคราะห์ มีคุณสมบัติทนต่อ ความร้อน ไม่สลายตัวง่ายแบบ AHA สารประเภท BHA เช่น
  กรดซาลิกไซลิก (salicylic acid) ได้จากพริกมีออกฤทธิ์ลักษณะที่มีอาการปวดแสบปวดร้อน จึงใช้มาใช้เป็นส่วนประกอบใน ยาหม่อง

ผลข้างเคียงของบีเอชเอ
  การใช้ปริมาณความเข้มข้นสูง ก็มีผลเสียต่อผิวหนัง คือ เกิดการระคายเคือง ลอก แดง ทำให้ผิวบางลง มีการอาการไวต่อแสงแดด อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานโรคของเซลล์ผิวหนังต่ำและอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อได้ง่าย
* * จบ * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น