29 ธ.ค. 2554

ตอบคำถามการบ้าน 25-12

ถามโดย อรชา มาลี
คำถาม อาจารย์. การบ้านวันที่ 25 นี้ที่ให้ทำ ประวัติคริสต์มาสนี้
ต้องแปลไทยด้วยปล่าวค่ะหรือเเค่ภาษาอังกฤษล้วนเลยค่ะ

คำตอบ เอาเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ เลยครับ แต่ถ้าอยากได้
คะแนนเพิ่มก็แปลคำศัพท์ที่ไม่รู้มาส่งด้วยก็ได้

28 ธ.ค. 2554

อวยพรปีใหม่ 2555

เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2555
ครูก็ขอให้นักศึกษาทุกคนประสบพบเจอแต่สิ่งที่ดี มีร่างกายที่
สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บ-ไม่จน มีเงินใช้ มีเงินเก็บสะสม
และขอให้ไปเที่ยวกันอย่างสนุกสนาน...กันถ้วนหน้า
และที่สำคัญ คือ มีสติ เมาไม่ขับ ถ้าซ้อนมอเตอร์ไซด์ต้อง
สวมหมวกกันน็อก นะ....อย่าลืม...

และครูก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่บ้านยังน้ำท่วมหรือ
กำลังซ่อมแซมบ้าน ก็สู้ต่อไป อย่าเพิ่งท้อ

แล้วพบกันปีหน้า 8 มกราคม 2555

*** Happy new year 2555 ***

26 ธ.ค. 2554

ภาพจากงานกีฬาสี25-12-54

หลังจากงานในรอบเช้า พบเขารอบบ่ายเราเปลี่ยนมาดู
การแข่งกีฬาสีบ้าง เป็นรอบคัดเลือกวันที่ 2
ฟุตซอล (หญิง)

ฟุตซอล (หญิง) เหมือนกันครับ

ผู้บรรยายและกรรมการจับเวลา

ฟุตซอล (หญิง) จับมือกันก่อน...สร้างมิตรภาพที่ดี

แต่ตอนแข่งจริงก็เอาจริงเอาจัง
และขอแถมท้ายด้วย ช็อตเด่นกีฬา(สี) ...
อย่าลืมติมตามในครั้งต่อไป
** ** ** **

งานวันคริตส์มาส 25-12-45

ในเป็นภาพจากกิจกรรมวันคริตส์ที่ เขตจอมทอง
ที่ผ่านมาแบบสดๆ ร้อนๆ เลยครับ ใครไม่ได้ไป
ขอบอกว่าน่าเสียดายมาก

กิจกรรมโยนห่วง


วันนี้ขอเปลี่ยนจากครูมาเป็นพิธีกร

โชว์ยิ้มหวาน

กิจกรรมสอยดาว


คุณลุงแซนต้า ครอส...จัดเต็มมาเลย

สาวสวย 3 สไตล์

พวกผมมา...แล้วนะครับ


โชว์แล้วลุ้นรางวัล


กิจกรรมโยนปิงปอง...มันส์มาก


กิจกรรมโยนลูกดอก ... มีลุ้นทุกดอกเหมือนกันครับ


รางวัลได้มาด้วยฝีมือล้วนๆนะค่ะ...ไม่ใช่จับฉลากได้มา


หนูน่ารักไหมค่ะ

นี่ก้อครูกับลูกศิษย์...


กิจกรรมการแสดง


กิจกรรมร้องเพลง


ขอยืมรางวัลคนข้างๆ...มาถ่ายรูปก็เอา
 ก็ต้องบอกวันเป็นงานเล็กๆ ที่ความสนุก-ความอบอุ่น-ความเป็นกันเอง
ไม่เล็กตามงานนะครับ

ภาพกิจกรรมวันที่18-12-54

วันที่จะขอนำภาพกิจกรรมการนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์
ของระดับมัธยมต้นและตามด้วยภาพกิจกรรมการแข่งกีฬาสี
มาให้ดูกัน...

มีทั้งผู้รายงานและผู้สาธิต

คุณครูอยู่อีกด้านครับ....

เป็นการดลองที่คลาสสิกที่สุด

มาทดลองกันนอกห้องในเห็นกัน...จะจะ...เลย

สงสัยมาสอนการเย็บผ้านะคู่นี้

เอากระป๋องมาโชว์ทำไม

ทุกคนตั้งฟังกันอย่างดี

ต่อไปเป็นการแข่งกีฬาสี
ซ้อม-อบเครื่องกันอยู่

หนูขอเล่นด้วยคน

แข่งจริงแล้วครับ

ลีลา...ไม่แพ้ทีมชาติ

นี่แฮนด์บอลครับ ผสมบัลเลย์นิดหน่อยครับ
** ** **

22 ธ.ค. 2554

การใช้ Google แปลภาษา

เนื่องจากมีนักศึกษาถามมาเกี่ยวกับการใช้ Google แปลภาษา
ช่วยแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย จะได้ทำการบ้านได้เร็วขึ้น
วันนี้ครูก็มีคำตอบให้ ขอให้ลองตามดังนี้
1. เข้าไปที่ Google
 2. ให้กดที่คำว่า แปลภาษา ตามกรอบสีแดง
3. พิมพ์คำศัพท์หรือประโยคที่ต้องการลงไปในช่องด้านซ้าย
แล้วคำแปลจะขึ้นมาในช่องด้านขวา
4. ถ้าต้องการได้ยินเสียงอ่าน ให้กดที่รูปลำโพง แล้วอย่าลืมเป็น
ลำโพงของนักศึกษาด้วยนะ...

รู้แบบนี้แล้ว...อย่าบ่นว่างานครูยากอีกนะ
ปล. คำบางคำ เครื่องก็แปลเพี้ยนๆ กรุณาใช้วิจารณญาณ
ของตัวเองด้วย...ครับ....
* * * * *

20 ธ.ค. 2554

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ5

สรุปเนื้อหาที่สอน 18 ธ.ค. 2554

ชนิดของคำต่อ
คำบุพบท (Preposition, Prep) คือ คำที่บอกความสัมพันธ์
ระหว่างคำนาม 2 คำในด้านตำแหน่ง, สถานที่, วัน, เวลา

หมายเหตุ คำที่ป้ายสีแดง เป็นคำที่ใช่สอบในครั้งต่อไป
1) in = ใน
He lives in his room.  
เขาพักอยู่ในห้องของเขา
  In บอกความสัมพันธ์ระหว่าง He กับ room ในด้านสถานที่

She was born in 1920.  
เธอเกิดในปี 1920
  In บอกความสัมพันธ์ระหว่าง She กับ 1920 ในด้านเวลา

All schools will open in December.
ทุกโรงเรียนจะเปิดเรียนในเดือนธันวาคม
  In บอกความสัมพันธ์ระหว่าง school กับ December ในด้านวัน

2) on = บน
A newspaper is on a green chair.
หนังสือพิมพ์อยู่บนเก้าอี้สีเขียว
  In บอกความสัมพันธ์ระหว่าง newspaper กับ chair ในด้านตำแหน่ง

I will go to work on Tuesday.
ฉันจะไปทำงานในวันอังคาร
  In บอกความสัมพันธ์ระหว่าง I กับ Tuesday ในด้านตำแหน่ง

3) at = ที่
He works at my company.
เขาทำงานที่บริษัทของฉัน
  at บอกความสัมพันธ์ระหว่าง He กับ company ในด้านสถานที่

She has lunch at 13 o’clock.
เธอทานข้าวเที่ยงตอนบ่ายโมง
  at บอกความสัมพันธ์ระหว่าง she กับ 13 o’clock ในด้านเวลา

You should not play football at noon.
คุณไม่ควรเล่นฟุตบอลตอนเที่ยงตรง
   at บอกความสัมพันธ์ระหว่าง you กับ noon ในด้านเวลา

4) under = ใต้
My pen is under your table.
ปากกาของฉันอยู่ใต้โต๊ะของคุณ
  under บอกความสัมพันธ์ระหว่าง pen กับ table ในด้านตำแหน่ง

An old man is sleeping under a big tree.
ชายชรากำลังนอนอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่
  under บอกความสัมพันธ์ระหว่าง man กับ tree ในด้านสถานที่

5) above = อยู่เหนือหัว
A lizard is above your head.
จิ้งจก(หรือตุ๊กแก) อยู่เหนือหัวของคุณ
  above บอกความสัมพันธ์ระหว่าง lizard กับ head ในด้านตำแหน่ง

6) from = จาก
He comes from China.
เขามาจากประเทศจีน
   from บอกความสัมพันธ์ระหว่าง He กับ China ในด้านตำแหน่ง

The store opens from 9.00 to 22.00.
ร้านค้าเปิดตั้งแต่ 9 นาฬิกาถึง 22 นาฬิกา
  from บอกความสัมพันธ์ระหว่าง store กับ 9.00 ในด้านเวลา

เนื้อหาที่สอนเสริม
How do you spell your name?
  ชื่อของคุณสะกดอย่างไร

How does she go to work?
เธอไปทำงานอย่างไร
   She goes to work by bus / by taxi / on foot.
   เธอไปทำงานโดยรถประจำงาน /โดยรถแท็กซี่ / เดินไป

ถึงตรงนี้ก็มีคนสงสัยว่า go ในประโยคคำถามกับ goes 
ในคำตอบจึงเขียนต่างกัน ???
คำตอบคือ
1. ในประโยคใดๆที่มีคำกริยาช่วยอยู่ในประโยคแล้วคำกริยาแท้
ต้องเป็นกริยาช่องที่ 1 (v1) ที่มีไม่การเติม -s, -es และ
  * ถ้าเป็น v to have (have, has) ต้องใช้ have
  * ถ้าเป็น v to be  (is, am, are) ต้องใช้ be
  * ถ้าเป็น v to do (do, does) ต้องใช้ do
เช่น
She has dinner with me. เธอทานข้าวเย็นกับฉัน (has เป็น verb to have)
She will have dinner with me. เธอจะไปทานข้าวเย็นกับฉัน

I am a doctor. ฉันเป็นหมอ  (am เป็น v to be)
I will be a doctor. ฉันจะเป็นหมอ

2. ในประโยคที่แสดงถึงเหตุการณ์ที่เกิดเป็นปกติ,
เป็นชีวิตประจำวัน จะใช้คำกริยาช่องที่ 1 (v1) ที่มี
การเลือกเติม -s, -es กับประธานเอกพจน์ เช่น
He sits with his friends. เขานั่งกับกลุ่มเพื่อนของเขา
We sit on a huge sofa. พวกเรานั่งบนโซฟาตัวใหญ่มาก

เนื้อหาที่สอน(ต่อ)
Where does he come from?

เขามามาจากที่ไหน
  He comes from Lao.
  เขามาจากประเทศลาว

Where do they go?
พวกเขาไปไหน(เป็นประจำ)
  They go to hospital.
  พวกเขาไปโรงพยาบาล

What’s her name?
เธอชื่ออะไร
  Her name is Somsri.
  เธอชื่อสมศรี

How are you?
คุณเป็นสบายดีหรือ
  I am fine. Thank you.
  ฉันสบายดี ขอบคุณ

Are you from Thailand?
คุณมาจากประเทศไทย ใช่ไหม
  Yes, I am.
  ใช่
  No, I am not (No, I'm not.)
  ไม่ใช่
* * * * *

14 ธ.ค. 2554

อาเซียนศึกษา12

วิชาอาเซียนศึกษาในตอนนี้ ก็จะเป็นเกร็ดความรู้เสริม
เกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติและชื่อประเทศที่เป็นภาษาท้องถิ่น
ของประเทศต่างๆ ...
บรูไน
   ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกซิมปอร์
   ชื่อประเทศ : เนการาบรูไนดารุสซาลาม
กัมพูชา หรือ เขมร
  ดอกไม้ปรจำชาติ ดอกลำดวน
  ชื่อประเทศ : เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
อินโดนีเซีย
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี
  ชื่อประเทศ : เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย
ลาว
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกจำปาลาว (ดอกลีลาวดีหรือลั่นทม)
  ชื่อประเทศ : สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
มาเลเซีย
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกชบา
  ชื่อประเทศ : เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
พม่า
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกประดู่
  ชื่อประเทศ : ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
ฟิลิปปินส์
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกพุดแก้ว
  ชื่อประเทศ : เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
สิงคโปร์
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า
  ชื่อประเทศ (ภาษาอังกฤษ) : รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
  ชื่อประเทศ (ภาษาจีน) : ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
เวียดนาม
  ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกบัว
  ชื่อประเทศ : ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
ไทย
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์(ดอกคูณ)
  ชื่อประเทศ : ราชอาณาจักรไทย
* * * * *

อาเซียนศึกษา11

และประเทศสุดท้ายคือบ้านของพวกเราเอง...
ประเทศไทย (Thailand)

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดน
  ทิศเหนือติดกับ ประเทศพม่าและประเทศลาว
    โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
  ทิศตะวันออกติด ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
  ทิศใต้ติด อ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
  ทิศตะวันตกติด ทะเลอันดามันและประเทศพม่า

พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายน
ถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจาก
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึง
เดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลาง
เดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวัน
ออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อน
ชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน

ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย เพราะไม่มีการบัญญัติใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม,
ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร
(His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
* นายกรัฐมนตรี คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่
 5 สิงหาคม 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
คนที่ 28 ของประเทศไทย และถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิง
คนแรกของไทย
* * * *

อาเซียนศึกษา10

ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก
เวียดนาม (Vietnam)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
   (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง :
  ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  ทิศใต้ ติดกับ อ่าวไทยและทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
     และ ติดกับราชอาณาจักร กัมพูชา
พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร : เป็น เวียด 80% เขมร 10 % ต่าย, ไท, เหมื่อง,
   ฮั้ว(จีน), นุง, ม้ง

ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
เปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้
ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุก
ในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง

ภูมิประเทศ ประเทศเวียดนามมีลักษณะคล้ายตัว s ขนาดใหญ่
ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทร
อินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว 3,730 กิโลเมตร
พื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้

ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อ
ปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้
ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom)
ในการเขียนภาษาเวียดนาม

ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ
นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70  ที่เหลือนับถือคริสต์, ลัทธิขงจื้อ มุสลิม
สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)

ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์)
โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
* ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียน มินห์ เจี๊ยต (27 มิถุนายน 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง
* เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น

การเมือง
การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์
เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว
ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership)
ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
1. กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดย
อดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2. กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ
เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution
อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3. กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก
นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาล
เวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่น
และเปิดกว้างมากขึ้น
* * * * *

อาเซียนศึกษา9

ประเทศต่อครูอยากจะบอกว่าเป็นประทศเล็กพริกขี้หนู คือ...
สิงคโปร์ (Singapore)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์
ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของ
ประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณ
ใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร
(ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร
และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร

เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : ชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์, ชาวอินเดีย และอื่น ๆ
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ)
จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชน
พูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษา
ที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน

ศาสนา : พุทธ, อิสลาม, คริสต์, ฮินดู, ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)

ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรี
เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (ดำรงตำแหน่งสอง
    สมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (12 สิงหาคม 2547)

นโยบาย
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 นายลี เซียน ลุงได้แถลงต่อประชาชน
ในโอกาสวันชาติสิงคโปร์ (National Day Rally Speech) โดยได้
ระบุถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
โดยในด้านการต่างประเทศนั้น สิงคโปร์จะให้ความสำคัญใน
การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซีย
และอินโดนีเซีย) รวมทั้งกับประเทศมหาอำนาจสำคัญๆ ได้แก่
สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย นอกจากนั้น
 จะให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
 และการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สำหรับนโยบายภายในประเทศ
 สิงคโปร์จะมุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงของโลก (remake Singapore) โดยให้ความสำคัญกับ
การส่งเสริมนวัตกรรม การประกอบการ การวิจัยและการพัฒนา
 (innovation, enterprise and R&D) สำหรับด้านสังคม จะให้
ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน
การดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรม
ด้านบริการเพื่อให้สิงคโปร์มีลักษณะของเมืองที่มีความเป็นสากล

การเปิดกว้างทางสังคม
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ย้ำในหลายโอกาสว่าประสงค์ที่จะ
พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น
(a more transparent and open society) โดยจะดำเนินการอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่านิยมที่เป็นคุณลักษณะ
เฉพาะของประเทศ (อาทิ การเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่าง
ด้านเชื้อชาติและศาสนา) มากกว่าการนำระบบเสรีนิยม
ประชาธิปไตยของตะวันตกมาปรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการเมืองสิงคโปร์เห็นว่าประเด็นเรื่องศาสนาและความแตกต่าง
ทางเชื้อชาติเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในสังคมสิงคโปร์
* * * * *

อาเซียนศึกษา8

ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีนักมวยชื่อก้องโลกและ
เป็นนักการเมืองในเวลาเดียวกัน คือ...
ฟิลิปปินส์ (Philippines)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น
  7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่
ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ
เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่าง
กันยาวมากที่สุดในโลก
  ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับ ทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก

พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)

ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู
  ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น

ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา เกือบทั้งหมดเป็น
ตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ใน
ปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino)
และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ
ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว
ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี
และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ
ภาษาตากาล็อก

ศาสนา : ร้อยละ 92 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือ
นิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3
สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP)

ระบอบการปกครอง
การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปน
และสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชใน
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดี
เป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ(วาระ ๖ ปี)
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน อาคีโน

  รัฐบาลของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม ให้ความสำคัญกับ
การปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง
และขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและ
มีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน
ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐาน
กฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน
และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน
ประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟู
สภาพเศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุก
ภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
(Millennium Development Goals – MDG) ภายในปี 2558


เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา.
  และข้าวเจ้า
ป่าไม้ มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
เหมืองแร่ ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก
   โครไมต์ ทองแดง เงิน
อุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ
   แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์

เศรษฐกิจการค้า
* ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 60 ประกอบ
อาชีพเกษตรกร แต่สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่
เพาะปลูก มีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขา
ที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน
* ประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ
ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ
เพื่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

อาเซียนศึกษา7

ประเทศต่อไปก็เป็นประเทศที่เพื่อนบ้านที่มีเขตแดน
ติดกันมากที่สุดคือ...
พม่า (Myanmar)

ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน
  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับ ทิเบตและจีน
  ทิศตะวันออกติดกับ ลาว
  ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับ ไทย
  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับ บังคลาเทศและอินเดีย
  ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับ ทะเลอันดามัน
     และอ่าวเบงกอล

พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) หรือ เนปีตอ(Nay Pyi Taw)
  มีความหมายว่า มหาราชธานี เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลาง
  การบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่
  วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ประชากร : มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ
   8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง
   (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2)
   อินเดีย (ร้อยละ 2)

ภูมิอากาศ : มีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาว
อากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
จะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น
เสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือ
ตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน

ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนา
ประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม,
ศาสนาฮินดู
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)

ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาล
ทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
(State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ
  พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง
   นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)

เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอน
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด
ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน
อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบน
มีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี
และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริด
มีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สัก
ทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ
มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
เป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ
* * * * *

อาเซียนศึกษา6

ประเทศต่อไปก็เป็นประเทศที่อยู่ติดกับเราทางภาคใต้คือ...
มาเลเซีย (Malaysia)

ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร โดยถูกแบ่งดินแดนสองส่วน
โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
1. มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดน
ทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย
11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ
กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
2. มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)
มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบ
ประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก

และมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ)
และเกาะลาบวน

พื้นที่ : 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ประชากร : ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลือเป็นชาวจีน เป็นชาวอินเดีย,
   ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว ไทยและอื่นๆอีก
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ, คริสต์, ฮินดู
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)

ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
   (Parliamentary Democracy)
1) ปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี เป็นประมุข
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู
ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส)
และผลัดเปลี่ยนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี
   ประมุของค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุล ฮาลีม
มูอัดซัม ชาห์ แห่งรัฐเกดะห์ ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2
วันนี้ 13 ธ.ค. 2554 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 14 ของมาเลเซีย

2) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรั
(Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister
ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ
ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี

การเมือง
    พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยม
แต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบาย
ในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
  โดยเฉพาะประเทศตะวันตก
2. พยายามเข้าไปมีบทบาทนำในอาเซียน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
  โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม เพื่อเป็นพลังต่อรองกับประเทศตะวันตก
  ในเวทีระหว่างประเทศ
3. พัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ยึดติดกับ
  รูปแบบของประเทศตะวันตกมีแนวดำเนินการของตนเองและ
  ให้ความสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ มาเลเซียมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังนี้
1) เปิดรับการค้า การลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก
เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563
(Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด
ตั้งเป้าหมายไว้
2) ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์
และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ
3) ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลัง
พัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ให้ความสำคัญ
กับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ)
โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษา
และการท่องเที่ยว

13 ธ.ค. 2554

อาเซียนศึกษา5

ประเทศต่อได้เป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้องของเราคือ ...
ลาว (Laos)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
   (The Lao People's Democratic Republic)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวง
   เหมือนกทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่
   อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)

ที่ตั้ง :
  ทิศเหนือติดกับ ประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
  ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับ ประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร)
  ทิศใต้ ติดกับ ประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันออก ประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันตก ประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศประเทศลาวตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน
ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย)
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
  (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดย
  พรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ พรรคประชาชน
  ปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม
  เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือ
    พลโท จูมมะลี ไชยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน
   (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)

สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติลาว (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติ
  จากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน)
  สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร)
  ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

เศรษฐกิจ
ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่
ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจ
เสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลัก
ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

ตลาดหลักทรัพย์
ลาวกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(10-10-10) เป็นวันเปิด
ดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว โดยมีที่ปรึกษาทาง
การเงินจากประเทศไทย และได้รับความช่วยเหลือจาก
ประเทศเกาหลี เปิดทำการจริงในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
จะมีบริษัทแรกเข้าจดทะเบียนประมาณ 5 บริษัท

การนำเข้าและการส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง
ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ
และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยัง
ประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

การนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน
เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญ
ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี
และเครื่องอุปโภคบริโภค

ประชากร
ประเทศลาวมีประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ลายเชื้อชาติ
ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า"
สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่
ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาว
หรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก เป็นกลุ่มชาวลาว
ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
2. ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น
ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น
ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมาก
อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว นอกจากนี้ยังมีชาวลาว
เชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ

ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาว เป็นภาษาทางการ ส่วนในกลุ่ม
ชาวลาวเทิงและชาวลาวสูง ยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่า
ของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ได้แก่
ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยัง
ใช้ในราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง

ศาสนา
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็น
ศาสนาประจำชาติ ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของ
ชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ศาสนาอื่นๆเช่น ศาสนาคริสต์
และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก

วัฒนธรรม
1. มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยมาก มีคำกล่าวว่า
“มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น” ในด้านดนตรี
ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ
ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา
วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก
บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น
2. ลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีข
องลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน
3. การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือ
ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)
4. อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
* * * * *

อาเซียนศึกษา4

ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีเกาะหมู่ขนาดที่สุดในโลก คือ...
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่บนเส้นทางเชื่อม
   ต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียและ
   เป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
    มีเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
    และมีพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ
   ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ คือ ภาษาอินโดนีเซีย
   หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 87
  ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ร้อยละ 6 อื่นๆ ได้แก่ศาสนา
  คริสต์นิกายแคทอลิก, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ 4
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR)
* ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (ตุลาคม 2547)

ระบบการเมืองการปกครอง   - อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดี
เป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี โดยใช้หลักปัญจศีล
เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย
1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว
2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม
3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย
4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ
5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล

ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรสำคัญประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ
ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง นิเกิล บ๊อกไซด์ ทอง เงิน และแร่เหล็ก
นอกจากนี้ มีทรัพยากรป่าไม้ถึงร้อยละ 59 ของพื้นที่
ทรัพยากรประมงจำนวนมาก ซึ่งยังไม่ได้รับการสำรวจ

เศรษฐกิจการค้า
   สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน
ผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษ น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยาสูบ โกโก้
เครื่องเทศ ยางและผลิตภัณฑ์ ปลาและปลาหมึกแช่เย็นและ
แช่แข็ง สิ่งทอ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และ
ส่วนประกอบ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์
   สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและ
ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อะไหล่รถยนต์และ
รถจักรยานยนต์ เครื่องจักรเครื่องกล เครื่องพิมพ์ เยื่อกระดาษ
ไฮโดรคาร์บอน เรือและอุปกรณ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์
เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า แป้งข้าวสาลี ข้าว เป็นต้น
* * * * *

อาเซียนศึกษา3

ตอนมาทำความรู้จักกับประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับ
ประเทศของเราคือ
กัมพูชา (Cambodia)ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดน
  ทิศเหนือติดกับไทย และลาว 
  ทิศตะวันออกติดเวียดนาม
  ทิศตะวันตกติดประเทศไทย
  ทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ : 181,035 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร : ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่นๆ ร้อยละ 2
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
   20 - 36 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาอื่นๆเช่น
   อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทยศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
   (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย)
   ศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์
  เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
   เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
* นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)
พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา,
   พรรคฟุนซินเปค, พรรคสม รังสี, พรรคนโรดม รณฤทธิ์
เพลงชาติ: เพลงนาคราช (Nokoreach)

เศรษฐกิจและสังคม
1. กัมพูชายังเป็นกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจน
ประเทศหนึ่ง  ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงให้ความสำคัญอย่างมาก
ต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อมุ่งขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น
2. รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายและประกาศใช้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
(จัตุโกณ) เพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอภาคและ
ประสิทธิภาพในกัมพูชา ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 15
กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โครงสร้างของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
* * * * *

อาเซียนศึกษา2

วันนี้มาเรามาทำความรู้จักประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกใน
กลุ่มอาเซียนกัน
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam
    แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว
แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong
    และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร ส่วนมากเป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตก
    ค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ
    รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม รองลงมาคือ
    ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และฮินดู
สกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)

ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี
ฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นองค์พระประมุข
ของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510

* รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดี
   ทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
* สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่ง
   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
* ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด
   และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

เศรษฐกิจ
1. บรูไน ฯ มีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจาก
อินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
รายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซมีมูลค่ากว่าร้อยละ 90
รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Petroleum Brunei)
เพื่อเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ
2. บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย
โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้
3. บรูไน ฯ มีอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องมือ
การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรปและอเมริกา
4. บรูไนฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาน้ำมันอย่างเดียว
สู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีมาตรการ
เปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน

สังคม
1. บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกัน
ด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บ
ภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่ค่อยประสบปัญหาทางการเมือง
2. ปัญหาทาาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหา
แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และปัญหาการว่างงาน
* * * * *

อาเซียนศึกษา1

วันครูขอนำข้อมูลในวิชาอาเซียนศึกษามาให้ได้อ่านกัน


การก่อตั้ง
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN)
ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง
 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ
อินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
 นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
 นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และ
พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลา
ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม
(วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา
(วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก
ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม
วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
ของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและ
องค์กรระหว่างประเทศ

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบ
ด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก
10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือ
ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน
การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนว
นโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกัน
ประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัด
ทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม
(Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement)
หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of
Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น
ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุม
เพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือ
ในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก
โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้า
สำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)

2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat
เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก
อาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผล
การดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political
     and Security Community–APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural
    Community–ASCC)

คำขวัญที่ใช้คือ
"One Vision,One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

อาเซียน +3
อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้

อาเซียน +6
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้,
ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย

7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี
ในประชาคมอาเซียน ได้แก่ แพทย์, ทันตแพทย์, นักบัญชี,
วิศวกร, พยาบาล, สถาปนิก, นักสำรวจ

ที่มา
สำนักงาน กศน.  http://203.172.142.8/en/index.php?
   option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21

สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ http://www.bic.moe.go.th/ 
ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ครับ
** ** **

11 ธ.ค. 2554

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ4

สรุปเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ (ต่อ)
คำกริยาวิเศษณ์ (adverb, adv) คือ คำที่ใช้สำหรับการ
ขยายคำอื่นๆ คือ

หมายเหตุ
คำศัพท์ที่ป้ายสีแดงเป็นคำที่ให้สอบในสัปดาห์ต่อไป

1) ขยายคำกริยา
He works hard every day.  เขาทำงานอย่างหนักทุกวัน
    hard ขยาย คำว่า works
She eats rice slowly.  เธอกินข้าวอย่างช้าๆ
    slowly ขยายคำว่า eats
I drive my car carefully.  ฉันขับรถของฉันอย่างระมัดระวัง
   carefully ขยายคำว่า drive

2.ขยายคำคุณศัพท์
He is very rich. เขารวยมาก
    very ขยายคำว่า rich
She has very long hair. เธอมีผมที่ยาวมาก
     very ขยายคำว่า long

3. ขยายคำกริยาวิเศษณ์เอง
She speaks too quickly.เธอพูดเร็วมากเกินไป
    too ขยายคำว่า quickly

ชนิดของคำกริยาวิเศษณ์
1. คำกริยาวิเศษณ์บอกระดับ เช่น
  very  มาก   
  too  มากเกินไป
  so   มาก
  much  มาก
  enough  พอ, เพียงพอ
  only  เท่านั้น

2. คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา เช่น
  today   วันนี้
  tomorrow  วันพรุ่งนี้
  tonight  คืนนี้
  soon  เร็วๆนี้
  yesterday  เมื่อวานนี้

3. คำกริยาวิเศษณ์บอกลักษณะ
คำกลุ่มนี้มักได้มาจากคำคุณศัพท์ เช่น
carefully  อย่างระมัดระวัง   มาจาก careful
beautifully  อย่าง สวยงาม มาจาก beautiful
quickly  อย่างรวดเร็ว  มาจากquick
loudly  อย่างดัง  มาจาก loud
slowly  อย่างช้า  มาจาก slow
lazily  อย่างเกียจคร้าน  มาจาก lazy
angrily  อย่างโกรธเคือง  มาจาก angry
busily  อย่างยุ่งยาก,มีงานมาก  มาจาก busy
clearly  อย่างง่ายดาย  มาจาก clearly
easily  อย่างมีความสุข  มาจาก easy
happily  อย่างมีความสุขมา จาก happy
gently  อย่างสุภาพ  มาจาก gentle
smoothly  อย่างราบรื่น  มาจาก smooth
uglily  อย่างน่าเกลียด มาจาก ugly

คำบ้างคำเป็นได้ทั้ง คำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ เช่น
fast  อย่างรวดเร็ว

4. คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่
sometimes  บางครั้งบางคราว
frequently  บ่อยๆ
never  ไม่เคย
often  บ่อย
daily ทุกวัน
monthly  ทุกเดือน
always  สม่ำเสมอ

ส่วนที่สอนเพิ่มเติม
การแปลประโยค
Our school is in a small temple, but it is so clean and beautiful.
โรงเรียนของพวกเราอยู่ในวัดเล็กๆ แต่มันสะอาดและสวยงาม

Sometimes I work late because
I have many things to do before I go to bed.
บางครั้งฉันก็ไปทำงานสายเพราะฉันมีงานหลายอย่าง
ที่ต้องทำก่อนที่ฉันจะเข้านอน

The old persons worry about next generation.
คนแก่เป็นห่วงเกี่ยวกับคนรุ่นต่อไป

Health is the key of happiness.
สุขภาพเป็นกุญแจของความสุข

I have a question about Thai life.
ฉันมีคำถามเกี่ยวกับชีวิตของคนไทย

He gives a cup to his friend.
เขาให้ถ้วยกับเพื่อนของเขา

We want to be doctors to help poor people.
พวกเราอยากจะเป็นหมอเพื่อช่วยคนยากจน

She writes four books a year.
เธอเขียนหนังสือได้ 4 เล่มต่อปี

I see a red box on my chair.
ฉันเห็นกล่องสีแดงบนเก้าอี้ของฉัน
* * * * *

4 ธ.ค. 2554

งานมอบประกาศนียบัตร2554

ในหัวข้อนี้ก็ครูขอให้ภาพจากงาน พิธีปฐมนิเทศและพิธีมอบ
ประกาศนียบัตร นักศึกษาผู้จบหลักสูตร ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2554
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตจอมทอง
วันอาทิตย์ที่ 4 ที่ธันวาคม 2554 ณ หอประชุมธรรมกิตติวงศ์
โรงเรียนวัดราชโอรส ที่ผ่านมาแบบสดๆร้อนๆ ไม่ให้เสียเวลามา
ชอบภาพเหตุการณ์กันเลยดีกว่า...

เริ่มด้วยการลงทะเบียนและเข้าห้องประชุม


ท่านประธานในพีธี







ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

นักศึกษาของศรช. วัดบางประทุนนอกของเราเอง

ท้ายนี้ก็เป็นช่วงตกเก็บ
ก๊วนป่วน 4 + 1 ครับ

ประชุมเล็กๆกับอาจารย์อิงอร

คนกลาง...ครูหนุ่ยของพวก

ขอโชว์...ยิ้มหวาน..จ้า...
ยิ้มหวาน เบอร์ 1

ยิ้มหวาน เบอร์ 2

ยิ้มหวาน เบอร์ 3 และ 4
สุดท้ายนี้ครูขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่จบ และ
ขอยินดีต้อนรับกับนักศึกษาใหม่ ในภาคการเรียนนี้ครับ...
* * * * *