7 มี.ค. 2555

สรุปวิชาวิทยาศาสตร์ บทที่6

บทที่ 6  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่ 1 กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
การแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
  การแทนที่ของสิ่งมีชีวิต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของชนิด
หรือชุมชนในระบบนิเวศตามกาลเวลา โดยเริ่มจากจุดที่ไม่มี
สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย จนกระทั่งเริ่มมีสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกเกิดขึ้น
ซึ่งกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่มีความทนทานสูง
และวิวัฒนาการไปจนถึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มสุดท้ายที่ เรียกว่า ชุมชนสมบูรณ์
(climax stage) การแทนที่ของสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเกิดแทนที่ชั้นบุกเบิก (Primary succession) การเกิดแทนที่
จะเริ่มขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาก่อนเลย ซึ่งแบ่ง
ออกได้ 2 ประเภท คือ
  1.1 การเกิดแทนที่บนพื้นที่ว่างเปล่าบนบก มี 2 ลักษณะด้วยกันคือ
การเกิดแทนที่บนก้อนหินที่ว่างเปล่า ซึ่งจะเริ่มจาก
   ขั้นแรก จะเกิดสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่นสาหร่ายสีเขียว หรือ ไลเคน
บนก้อนหินนั้น ต่อมาหินนั้นจะเริ่มสึกกร่อน เนื่องจากความชื้นและ
สิ่งมีชีวิตบนก้อนหินนั้น ซึ่งจากการสึกกร่อนได้ทำให้เกิดอนุภาคเล็กๆ
ของดินและทรายและเจือปนด้วยสารอินทรีย์ของซากสิ่งมีชีวิตสะสม
เพิ่มขึ้น จากนั้นก็จะเกิดพืชจำพวกมอสตามมา
  ขั้นที่สอง เมื่อมีการสะสมอนุภาคดินทราย และซากของสิ่งมีชีวิต
และความชื้นมากขึ้น พืชที่เกิดต่อมาจึงเป็นพวกหญ้า และพืชล้มลุก
มอสจะหายไป
  ขั้นที่สาม เกิดไม่พุ่มและต้นไม้เข้ามาแทนที่ ซึ่งไม้ยืนต้นที่เข้ามาใน
ตอนแรกๆ จะเป็นไม้โตเร็วชอบแสงแดด จากนั้นพืชเล็กๆที่เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้ก็ค่อยๆ หายไป เนื่องจากถูกบดบังแสงแดดจากต้นไม้ที่โตกว่า
  ขั้นสุดท้าย เป็นขั้นที่สมบูรณ์ (climax stage) เป็นชุมชนของกลุ่มมีชีวิต
ที่เติบโตสมบูรณ์แบบมีลักษณะคงที่ มีความสมดุลในระบบคือ ต้นไม้
ได้วิวัฒนาการไปเป็นไม้ใหญ่และมีสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง

การเกิดแทนที่บนพื้นทรายที่ว่างเปล่า ขั้นต้น พืชที่จะเกิดขึ้นจะเป็น
ประเภทเถาไม้-เลื้อย ที่หยั่งรากลงในบริเวณที่ชื้น ขั้นต่อไปก็จะเกิด
เป็นลำต้นใต้ดินที่ยาวและสามารถแตกกิ่งก้านสาขาไปได้ไกลและ
เมื่อใต้ดินมีรากไม้ ก็เกิดมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้น ทำให้ความสามารถ
ในการอุ้มน้ำก็เพิ่มมากขึ้นและธาตุอาหารก็เพิ่มขึ้น และที่สุดก็เกิด
ไม้พุ่ม และไม้ใหญ่ตามมาเป็นขั้นตอนสุดท้าย

1.2 การแทนที่ในแหล่งน้ำ เช่น ในบ่อน้ำ ทะเลทราย หนอง บึง
ซึ่งจะเริ่มต้นจาก
  ขั้นแรก บริเวณพื้นก้นสระหรือหนองน้ำนั้นมีแต่พื้นทราย สิ่งมีชีวิต
ที่เกิดขึ้นคือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ เช่นแพลงก์ตอน
สาหร่ายเซลล์เดียว ตัวอ่อนของแมลงบางชนิด
  ขั้นที่สอง เกิดการสะสมสารอินทรีย์ขึ้นบริเวณพื้นก้นสระ จากนั้นก็จะ
เริ่มเกิดพืชใต้น้ำประเภท สาหร่าย และสัตว์เล็กๆที่อาศัยอยู่บริเวณที่มี
พืชใต้น้ำ เช่น พวกปลากินพืช หอยและตัวอ่อนของแมลง
  ขั้นที่สาม ที่พื้นพื้นก้นสระมีอินทรีย์สารทับถมเพิ่มมากขึ้นอันเกิดจาก
การตายของสาหร่ายเมื่อมีธาตุอาหารมากขึ้นที่พื้นก้นสระก็จะเกิดพืช
มีใบโผล่พ้นน้ำเกิดขึ้น เช่น กก พง อ้อ เตยน้ำ จากนั้นก็จะเกิดมีสัตว์
จำพวก หอยโข่ง กบเขียด กุ้ง หนอน ไส้เดือน และวิวัฒนาการมาจน
ถึงที่มีสัตว์มากชนิดขึ้น ปริมาณออกซิเจนก็จะถูกใช้มากขึ้น สัตว์ที่อ่อนแอ
ก็จะตายไป

  ขั้นที่สี่ อินทรีย์สารที่สะสมอยู่ที่บริเวณก้นสระจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่
สระจะเกิดการตื้นเขินขึ้น ในหน้าแล้ง ในช่วงที่ตื้นเขินก็จะเกิดต้นหญ้าขึ้น
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสระจะเป็นสัตว์ประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก
  ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นสมบูรณ์แบบสระน้ำนั้นจะตื้นเขินจนกลายสภาพ
เป็นพื้นดินทำให้เกิดการแทนที่ พืชบกและสัตว์บกและวิวัฒนาการจน
กลายเป็นป่าได้ในที่สุด  ซึ่งกระทบการแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบ
นิเวศจะต้องใช้เวลานานมากในการวิวัฒนาการของการแทนที่ทุกขั้นตอน

2. การแทนที่สิ่งมีชีวิตในขั้นทดแทน (Secondary succession)
เป็นการเกิดการแทนที่ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆในพื้นที่เดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป
เช่น บริเวณพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกโค่นถาง ปรับเป็นพื้นที่เพาะปลูก หรือ พื้นที่
ป่าไม้ที่เกิดไฟป่าในขั้นต้นของการแทนที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นเกิดขึ้น
แทนที่ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและการปลุกโดยมนุษย์ในขั้นที่เกิด
เองนั้น มักจะเริ่มด้วยหญ้า

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสังคมสิ่งมีชีวิต
1. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงแทนที่เป็นดังนี้
  สิ่งแวดล้อมเดิมเปลี่ยนแปลงไป (condition change)
  สิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอาศัยอยู่นั้นมีการปรับตัวให้เหมาะสม (adaptation)
  มีการคัดเลือกชนิดที่เหมาะสมเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
2. รูปแบบการแทนที่ มี 2 รูปแบบ คือ
** degradtive succession ในกระบวนการแทนที่แบบนี้ อินทรียวัตถุ
ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถูกใช้ไปโดย detritivore และ จุลินทรีย์
** autotrophic succession เป็นสังคมใหม่พัฒนาขึ้นมาบนพื้นที่ว่างเปล่า
3. กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ เกิดได้ 3 ปัจจัยดังนี้
ก facilitation คือการแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทาง
กายภาพทำให้เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ที่จะเข้ามาอยู่ได้
จึงเกิดการแทนที่ขึ้น
ข Inhibition เป็นการแทนที่หลังเกิดการรบกวนทางธรรมชาติหรือ
การตายของสปีชีส์เดิมเท่านั้น
ค Tolerance คือการแทนที่เนื่องจาก สปีชีส์ที่บุกรุกเข้ามาใหม่สามารถ
ทนต่อระดับทรัพยากรที่เหลือน้อยแล้วนั้นได้ และสามารถเอาชนะ
สปีชีส์ก่อนนี้ได้

4. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่
การเปลี่ยนแปลงแทนที่เกิดโดยธรรมชาติได้แก่ ภูเขาไฟระเบิด
แผ่นดินไหวผืนดินกลายเป็นแหล่งน้ำ ฯลฯ

เรื่องที่ 2 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติระดับท้องถิ่น ประเทศและระดับโลก
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึง สิ่งที่ปรากฏอยู่ตาม
ธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเองอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติ
ด้วยกันเอง (ทวี ทองสว่าง และ ทัศนีย์ ทองสว่าง,2523:4) ถ้าสิ่งนั้นยัง
ไม่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ
(เกษม จันทร์แก้ว,2525:4)
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
แบ่งโดยใช้เกณฑ์ของการนำมาใช้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Inexhaustible natural
resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีมนุษย์
เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นมาสิ่งเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ของมนุษย์ จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  1.1 ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (Immutable) ได้แก่
พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น แม้กาลเวลาจะผ่านไป
นานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  1.2 ประเภทที่เกิดการเปลี่ยนแปลง (Mutuable) การเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธี เช่น การใช้ที่ดิน
การใช้ทำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง
ด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ

2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ (renewable natural
resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปแล้วสามารถเกิดขึ้น
ทดแทนได้ ซึ่งอาจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดของทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภทนั้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น พืช ป่าไม้
สัตว์ป่า มนุษย์ ความสมบูรณ์ของดิน คุณภาพของน้ำและทัศนียภาพ
3. ทรัพยากรธรรมชาติสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recyclables natural
resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุที่นำมาใช้แล้ว
สามารถนำไปแปรรูปให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้ แล้วนำกลับมาใช้
ใหม่อีก (อู่แก้ว ประกอบไวยกิจ เวอร์,2525:208) เช่น แร่อโลหะ
ได้แก่ เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม แก้ว ฯลฯ
4. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป (Exhausting natural
resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วจะหมดไปจาก
โลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก
ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติและ
ถ่านหิน เป็นต้น

ความสำคัญและผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้
1. การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ใน
การดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่ามนุษย์จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
2. การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
ในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำ
หรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ จะมีประชาชนเข้า
ไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมง เป็นต้น
3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้
เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้อง อาศัยทรัพยากรธรรมชาติ
5. การรักษาสมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยใน
การรักษาสมดุลธรรมชาติ

กิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
1. กิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรม โดยไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และก่อให้เกิดมลพิษ
ต่อสิ่งแวดล้อมเช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดิน
ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง พังทลายของดิน และปัญหาน้ำทิ้ง
จากเหมืองลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
2. กิจกรรมทางการเกษตร เช่น มีการใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่ม
ผลผลิต ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
อนามัยของมนุษย์เนื่องจากมีการสะสมสารพิษ ไว้ในร่างกาย
ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว
และเกิดความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเจ็บป่วย
ของประชาชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง
3. กิจกรรมการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากร
อย่างฟุ่มเฟือย ขาดการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา
สิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปริมาณขยะที่มากขึ้นจากการบริโภคของ
เรานี้ที่มากขึ้นซึ่งยากต่อการกำจัด โดยเกิดจากการใช้ทรัพยากร
อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ลดน้อยลง เป็นต้น

เรื่องที่ 3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ละลุ
   "ละลุ" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "ทะลุ" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
แต่มีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 ไร่ ละลุ เกิดจากน้ำฝนกัดเซาะ1 ยุบตัวหรือ
พังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัวเมื่อถูกลม
กัดกร่อนจึงมีลักษณะเป็น รูปต่างๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา
บ้างมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงทำให้ละลุมีความสวยงามและแปลกตา
แตกต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคน

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็น
กลุ่มก๊าซร้อน ต่อมาเย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน แต่เนื่องจากบริเวณ
ผิวเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนกลางของโลกยังคงประกอบ
ด้วยของธาตุหนักหลอมเหลว ในทางธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้าง
ของโลกออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก
(mantle) และแก่นโลก (core) เปลือกโลก

คลื่นแผ่นดินไหวคืออะไร
ขณะที่แผ่นเปลือกโลกยึดติดกันอยู่ แรงดันของของเหลวภายใต้
แผ่นเปลือกโลกจะทำให้รอยต่อเกิดแรงเค้น (Stress) เมื่อเปลือกโลก
สะสมแรงเค้นถึงจุดแตกหัก เปลือกโลกจะเคลื่อนที่สัมพัทธ์ ระหว่างกัน
พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานออกมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
ของเปลือกโลกและเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นคลื่นแผ่นดินไหว การส่งผ่าน
พลังงานที่เปลือกโลกปลดปล่อยจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เกิดจากการ
เคลื่อนตัวของอนุภาคของดิน การเคลื่อนตัวของอนุภาคของดินดังที่
กล่าวมานี้จะมีลักษณะ คล้ายคลื่น จึงเรียกว่า คลื่นแผ่นดินไหว
คลื่นแผ่นดินไหวมี ๒ ประเภท คือ

ประเภทแรก เป็นคลื่นที่เกิดจากการอัดตัวที่เรียกว่า คลื่นอัดตัว
(Compressional Wave) หรือ คลื่นปฐมภูมิ (Primary Wave : P-Wave)
 หากเรามองที่อนุภาคของดิน ณ จุดใดจุดหนึ่ง เมื่อแผ่นเปลือกโลก
เคลื่อนที่เกิดแรงอัดขึ้น ทำให้อนุภาคของดินถูกอัดเข้าหากันอย่างรวดเร็ว
การอัดตัวอย่างรวดเร็ว ของอนุภาคดินก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาภายใน
ต่อต้านการหดตัว แรงปฏิกิริยานี้จะทำให้ดินขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว
ผ่านจุดที่เป็นสภาวะเดิม การขยายตัวของอนุภาคดินนี้ก็จะทำให้เกิด
แรงอัดในอนุภาคถัดไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ และ
แผ่รัศมีออกโดยรอบ คลื่นนี้จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1.5 - 8 กิโลเมตร/วินาที

ประเภทที่ ๒ เป็นคลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปร่างของอนุภาคแบบเฉือน
เรียกว่า คลื่นเฉือน (Shear Wave หรือ คลื่นทุติยภูมิ (Secondary Wave :
S-Wave) เช่นเดียวกับแรงอัดเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ นอกจาก
แรงอัดแล้ว ยังเกิดแรงที่ทำให้อนุภาคของดิน เปลี่ยนรูปร่าง การเปลี่ยน
รูปร่างของอนุภาคดินก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาภายในต่อต้านการเปลี่ยนรูปร่าง
ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่เป็นคลื่นแผ่รัศมีออกโดยรอบ คลื่นนี้จะเคลื่อนที่
ด้วยความเร็วประมาณร้อยละ ๖๐ - ๗๐ ของคลื่นอัดตัว

เราใช้อะไรวัดขนาดของแผ่นดินไหว
ขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน
(Seismograph)
มาตรการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา ที่นี้นิยมใช้ทั่วไป ๓ มาตรา
ได้แก่ มาตราริกเตอร์ มาตราการวัดขนาดโมเมนต์และมาตรา
ความรุนแรงเมอร์คัลลี

แผ่นดินถล่ม (land slides)
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก
เนื่องจากขาดความสมดุลในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิด
การปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลกและเกิดการเคลื่อนตัว
ขององค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แผ่นดินถล่ม
มักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมากบริเวณภูเขาและภูเขานั้นอุ้มน้ำ
ไว้จนเกิดการอิ่มตัว จนทำให้เกิดการพังทลาย

ประเภทของแผ่นดินถล่ม
1. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างแผ่นดินถล่มที่เคลื่อน
ตัวอย่างช้าๆ เรียกว่า Creep เช่น Surficial Creep
2. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเรียกว่า Slide
หรือ Flow เช่น Surficial Slide
3. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เรียกว่า Fall Rock Fall

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของวัสดุ
ที่ล่วงหล่นลงมาได้ 3 ชนิด คือ
** แผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของผิวหน้าดินของภูเขา
** แผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ยังไม่แข็งตัว
** แผ่นดินถล่มที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของชั้นหิน

ปัจจัยที่ส่งเสริมความรุนแรงของแผ่นดินถล่ม
1. ปริมาณฝนที่ตกบนภูเขา
2. ความลาดชันของภูเขา
3. ความสมบูรณ์ของป่าไม้
4. ลักษณะทางธรณีวิทยาของภูเขา

ลำดับเหตุการณ์ของการเกิดแผ่นดินถล่ม
เมื่อฝนตกหนักน้ำซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดิน อิ่มน้ำ
แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้
แรงต้านทานการเลื่อนไหล ของดินลดลง เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูง
ก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงตามความชันของลาดเขา
เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุด และเป็นจุดแรกที่มี
การเลื่อนไหลของดิน เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้วก็จะเกิดต่อเนื่อง
ขึ้นไปตามลาดเขา

ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินถล่ม
** ลักษณะของดินที่เกิดจากการผุพังของหินบนลาดเขา
** ลาดเขาที่มีความลาดชันมาก (มากกว่า 30 เปอร์เซนต์)
** มีการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า

การจัดการกับของเสียที่ถูกขับถ่ายออกจากเมืองอย่างมี
ประสิทธิภาพโดยมีงานหลักทั้ง 3 ประการที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองที่สำคัญ ได้แก่
1. การสงวนรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหลัก โดยเฉพาะการจัด
การด้านน้ำ เพื่อให้ทุกคนได้รับน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค
และเพื่อการเพาะปลูกและแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับการดูแลป้องกันอย่างดีที่สุด
2. บรรดาของเสีย ขยะ ที่ขับถ่ายออกจากกิจกรรมของเมือง
มีการขนถ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ไม่ปล่อยให้มีการโยนภาระหรือต้นทุน ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็น
ภาระของบุคคลหรือธุรกิจ (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมลภาวะนั้น)
ให้กับผู้อื่น

เรื่องที่ 7 การปฏิบัติตนหรือการร่วมมือกับชุมชนในการป้องกันพัฒนา
หรือแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม
การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด
เพื่อให้มีประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลานานที่สุด
 ทั้งนี้ต้องให้มีการสูญเสียทรัพยากรน้อยที่สุด และจะต้องมีการกระจาย
การใช้ทรัพยากรให้เป็นไปโดยทั่วถึงกันด้วย
การพัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญ การปรับปรุงเปลี่ยนไปในทางที่
ทำให้เจริญขึ้น ซึ่งการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นได้นั้น
แนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม
3.1 ระดับบุคคล ประชาชนทุกคนควรมีจิตสำนึกที่ดีต่อแนวทาง
การอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการง่าย ๆ คือ
1. ต้องรู้จักประหยัด
2. ต้องรู้จักรักษา
3. ต้องรู้จักฟื้นฟูทรัพยากรให้ฟื้นตัวและรู้จักปรับปรุงให้ดีขึ้น
4. ช่วยกันส่งเสริมการผลิตและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ต้องรู้จักนำทรัพยากรที่ใช้แล้วมาผลิตใหม่
6. ต้องรู้จักนำทรัพยากรอื่น ๆ มาใช้แทนทรัพยากรที่มีราคาแพง
หรือกำลังจะลดน้อยหมดสูญไป
7. ต้องช่วยกันค้นคว้าสำรวจหาแหล่งทรัพยากรใหม่ เพื่อนำมา
ใช้แทนทรัพยากรธรรมชาติที่หายาก
8. ต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
9. ต้องเต็มใจเข้ารับการอบรมศึกษา ให้เข้าใจถึงปัญหาและ
วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

3.2 ระดับชุมชน
1. ประชาชนในชุมชนจะต้องตระหนักถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมใน
การอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชนของตน
2. ประชาชนในชุมชนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบ
ของการจัดการ และสามารถแก้ไขปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น
3. จัดระบบวิธีการอนุรักษ์ และพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน
ของตนให้ประสานงานกับหน่วยของรัฐและเอกชน

3.3 ระดับรัฐบาล
1. รัฐบาลควรกำหนดนโยบาย และวางแนวทางการอนุรักษ์และ
พัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. ในฐานะที่เป็นพลเมืองดีของชุมชนและของประเทศ คนไทยทุกคน
ควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับ หรือตามกฎหมายเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
3. หน่วยงานของรัฐทั้งในท้องถิ่นและภูมิภาค จะต้องเป็นผู้นำและ
เป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม รวมทั้ง
จะต้องให้ความสนับสนุนและร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชนไปด้วย
4. เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลกฎหมายท้องถิ่น และความรู้ทางด้านการอนุรักษ์
และพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. หน่วยงานที่รับผิดชอบในท้องถิ่น ภูมิภาค ต้องรีบเร่งดำเนินการ
แก้ไขฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไปให้กลับสู่สภาพเช่นเดิม
และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดสภาพการณ์เช่นนั้นขึ้นมาอีก

เรื่องที่ 8 สภาวะโลกร้อน สาเหตุและผลกระทบ การป้องกัน
และการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
(Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก
อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก
มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์หรือ
มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับ
สู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ที่ตอน
กลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ
กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้น
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก มีดังนี้
**คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
** มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ เช่น
ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ ) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
** CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็น
ต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
** Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์
การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง

การป้องกัน
1. ลดระยะทางใช้สำหรับการขนส่งและการเดินทาง
2. ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพัก
3. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด
เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน,
ปิดไฟขณะไม่ใช้งาน, ปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่,
ลดจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง
4. Reuse นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่น ๆ กลับไปใช้ใหม่
5. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด
6. ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยน
นิสัยการขับรถ เช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพ
ลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง รถยนต์เมื่อ
ต้องการเร่งความเร็ว และทดลองเดินให้มากที่สุด

วิธีการแก้ปัญหาโลกร้อนมีดังนี้
1. เปลี่ยนหลอดไฟ การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้เป็นฟลูออเรสเซน
2. ขับรถให้น้อยลง
3. รีไซเคิลให้มากขึ้น
4. เช็คลมยางของรถยนต์
5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง ในการทำน้ำร้อนใช้พลังงานในการต้มสูงมาก
6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ
8. ปลูกต้นไม้ ต้นไม้จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้
** *** **

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น