2 มี.ค. 2555

สรุปวิชาวิทยาศาสตร์

ตอนมาเปลี่ยนมาดูเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์กันบ้าง
โดยครูนำมาจากหนังสือ รายวิชา วิทยาศาสตร์ (พว31001)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ ม. ต้นก็อ่านได้ เพราะเนื้อหา
ไม่ต่างกัน

บทที่ 1
ทักษะทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สาระสำคัญ
   วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์
ใช้ทักษะต่างๆ สำรวจและตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติ และนำผลที่ได้มาจัดให้เป็นระบบ และตั้งขึ้นเป็นทฤษฏี
ซึ่งทักษะทางวิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
1. การสังเกต เป็นวิธีการได้มาของข้อสงสัย รับรู้ข้อมูล พิจารณาข้อมูล
  จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น
2. ตั้งสมมติฐาน เป็นการการระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็น
  คำตอบของปัญหาหรือ ข้อสงสัยนั้น ๆ
3. ออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ต้องศึกษา
  โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
4. ดำเนินการทดลอง เป็นการจักกระทำกับตัวแปรที่กำหนด
  ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม
5. รวบรวมข้อมูล เป็นการบันทึกรวบรวมผลการทดลองหรือ
  ผลจากการกระทำของตัวแปรที่กำหนด
6. แปลและสรุปผลการทดลอง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต ( Observing ) หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ในการ สังเกต ไก้แก่ ใช้ตาดูรูปร่าง ใช้หูฟังเสียง ใช้ลิ้นชิมรส
ใช้จมูกดมกลิ่น และใช้ผิวกายสัมผัสความร้อนเย็น เป็นต้น
การใช้ประสาทสัมผัสเหล่านี้จะใช้ทีละอย่างหรือหลายอย่าง
พร้อมกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลก็ได้โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นของ
ผู้สังเกตลงไป

2. ทักษะการวัด ( Measuring )  หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือ
วัดปริมาณของสิ่งของออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
และถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับเสมอในการวัดเพื่อหาปริมาณของสิ่งที่วัด
ต้องฝึกให้ผู้เรียนหาคำตอบ 4 ค่า คือ จะวัดอะไร วัดทำไม ใช้เครื่องมือ
อะไรวัดและจะวัดได้อย่างไร

3. ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
หมายถึง การแบ่งพวกหรือการเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ใน
ปรากฏการณ์โดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการจำแนกประเภท
ซึ่งอาจใช้เกณฑ์ความเหมือนกัน ความแตกต่างกัน หรือความสัมพันธ์
กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ผู้เรียนจะเลือกใช้เกณฑ์ใด
นอกจากนี้ควรสร้างความคิดรวบยอดให้เกิดขึ้นด้วยว่าของกลุ่มเดียวกัน
อาจแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่เลือกใช้
และวัตถุชิ้นหนึ่งในเวลาเดียวกันจะต้องอยู่เพียงประเภทเดียวเท่านั้น

4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
(Using Space/Relationship) หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ
ที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ เวลา ฯลฯ
การหาความสัมพันธ์ระหว่าง เวลากับเวลา เช่น การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
จังหวะการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกากับจังหวะการเต้นของชีพจร ฯลฯ

5. ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )
หมายถึง การนำเอาจำนวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และ
การทดลองมาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร
การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำค่าที่ได้จาก
การคำนวณ ไปใช้ประโยชน์ในการแปล

6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Communication )
หมายถึง การนำเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลอง ฯลฯ
มาจัดกระทำเสียใหม่ เช่น นำมาจัดเรียงลำดับ หาค่าความถี่
แยกประเภท คำนวณหาค่าใหม่ นำมาจัดเสนอในรูปแบบใหม่
ตัวอย่างเช่น กราฟ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร ฯลฯ การนำข้อมูล
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่างเช่นนี้เรียกว่า การสื่อความหมายข้อมูล

7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล( Inferring ) หมายถึง
การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดย
อาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลอาจจะได้จาก
การสังเกต การวัด การทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลเดียวกัน
อาจลงความเห็นได้หลายอย่าง

8. ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting ) หมายถึงการคาดคะเนหา
คำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
การวัด รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ศึกษามาแล้ว
หรืออาศัยประสบการณ์ที่เกิดซ้ำ ๆ

ส่วนที่ 2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่
9. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน( Formulating Hypothesis ) หมายถึง
การคิดหาค่าคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทำการทดลอง โดยอาศัย
การสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้า
ยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน คำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้านี้
มักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น
กับตัวแปรตามเช่น ถ้าแมลงวันไปไข่บนก้อนเนื้อ หรือขยะเปียก
แล้วจะทำให้เกิดตัวหนอน

10. ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables ) หมายถึง
การควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทำให้ผลการ
ทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนๆกัน และ
เป็นการป้องกันเพื่อมิให้มีข้อโต้แย้ง ข้อผิดพลาดหรือตัดความ
ไม่น่าเชื่อถือออกไป

ตัวแปรแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น,
ตัวแปรตาม,  ตัวแปรที่ต้องควบคุม

11. ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data )
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของลักษณะตาราง
รูปภาพ กราฟ ฯลฯ การนำข้อมูลไปใช้จึงจำเป็นต้องตีความให้
สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน

* การตีความหมายข้อมูล คือ การบรรยายลักษณะและคุณสมบัติ
* การลงข้อสรุป คือ การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่ เช่น
 ถ้าความดันน้อย น้ำจะเดือด ที่อุณหภูมิต่ำหรือน้ำจะเดือดเร็ว
 ถ้าความดันมากน้ำจะเดือดที่อุณหภูมิสูงหรือน้ำจะเดือดช้าลง

12. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
หมายถึง การกำหนดความหมาย และขอบเขตของคำต่างๆ
ที่มีอยู่ในสมมุติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจ
ตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้ เช่น “ การเจริญเติบโต ”
หมายความว่าอย่างไร ต้องกำหนดนิยามให้ชัดเจน เช่น
การเจริญเติบโตหมายถึง มีความสูงเพิ่มขึ้น เป็นต้น

13. ทักษะการทดลอง ( Experimenting) หมายถึง กระบวน
การปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆ เช่น การสังเกต การวัด การพยากรณ์
การตั้งสมมุติฐาน ฯลฯ มาใช้ร่วมกันเพื่อหาคำตอบ หรือทดลอง
สมมุติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน
1) การออกแบบการทดลอง
2) การปฏิบัติการทดลอง
3) การบันทึกผลการทดลอง

การใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ แสวงหาความรู้ หรือแก้ปัญหา
ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดผลผลิตหรือ
ผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
ที่แปลกใหม่ และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น

คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร์ 6 ลักษณะ
1. เป็นคนที่มีเหตุผล
2. เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น
3. เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง
4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ และมีใจเป็นกลาง
5. มีความเพียรพยายาม
6. มีความละเอียดรอบคอบ

เรื่องที่ 2 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นแนวทางการดำเนินการโดย
ใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ใช้ในการจัดการ ซึ่งมีลำดับขั้นตอน 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหา เป็นการกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
หรือปฏิบัติการแก้ปัญหาเป็นปัญหาที่ได้มาจากการสังเกต จากข้อสงสัย
ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็น เช่น ทำไมต้นไม้ที่ปลูกไว้ ใบเหี่ยวเฉา
 ปัญหามีหนอนมาเจาะกิ่งมะม่วงแก้ไขได้อย่างไร ปลากัดขยายพันธุ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การตั้งสมมติฐานและการกำหนดตัวแปร เป็นการคาดคะเน
คำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูลจาก
การสังเกต การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การพบผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ
ฯลฯ และกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ได้แก่ ตัวแปรต้น
 ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม

สมมติฐาน ตัวอย่าง
   แผ่นใยขดช่วยลดอัตราการไหลของน้ำ (ทำให้น้ำไหลช้าลง)
ตัวแปร
  ตัวแปรต้น คือ แผ่นใยขัด
  ตัวแปรตาม คือ ปริมาณน้ำที่ไหล
  ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ำที่เทหรือรด

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองและรวบรวมข้อมูล เป็นการปฏิบัติการทดลอง
ค้นหาความจริงให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นตอน
การตั้งสมมติฐาน (ขั้นตอนที่ 2 ) และรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง
หรือปฏิบัติการนั้นอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากขั้นตอน

ขั้นที่ตอนที่ 5 การทดลองและรวบรวมข้อมูล (ขั้นตอนที่ 3 )
มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อนำมาอธิบาย
และตรวจสอบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน
(ขั้นตอนที่ 2) ถ้าผลการวิเคราะห์ไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน
สรุปได้ว่าสมมติฐานนั้นไม่ถูกต้อง ถ้าผลวิเคราะห์สอดคล้องกับ
สมมติฐาน ตรวจสอบหลายครั้งได้ผลเหมือนเดิมก็สรุปได้ว่าสมมติฐาน
และการทดลองนั้นเป็นจริง สามารถนำไปอ้างอิงหรือเป็นทฤษฎีต่อไปนี้

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น 5 ขั้นตอนนี้แล้ว ผู้ดำเนินการต้องจัดทำ
เอกสารรายงานการศึกษา การทดลองหรือการปฏิบัติการนั้น
เพื่อเผยแพร่ต่อไป


เทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีไปใช้
เทคโนโลยี(Technology) หมายถึง ความรู้ วิชาการรวมกับความรู้
วิธีการและความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สนองความต้องการของมนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยใน
การทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร,
วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น ระบบหรือ
กระบวนการต่าง ๆ

เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต
ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ
รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรม
ในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร
เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร
การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก
แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ

2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต
ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก
แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อม
หลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ
การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืน
ต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก

เทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีมากมายเนื่องจาก
การได้รับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีกันอย่างกว้างขวาง เช่น
การหาความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต การพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
การอ่านหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ต ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีที่มีกาวหน้าง
อย่างรวดเร็ว เป็นการประหยัดเวลาในและสามารถหาความรู้ต่างๆ ได้รวดเร็ว

เทคโนโลยีที่เหมาะสม  หมายความถึงเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม
และความต้องการของประเทศ เทคโนโลยีบางเรื่องเหมาะสมกับบางประเทศ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละประเทศ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. การตัดต่อยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม
(recombinant DNA) และ เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย(molecular markers)
2. การเพาะเลี้ยงเซลล์ และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
(cell and tissue culturing) พืช และสัตว์
3. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์บางชนิดหรือใช้ประโยชน์จากเอนไซม์ของจุลินทรีย์


เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
ได้แก่การพัฒนาการเกษตร ด้านพืช และสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
1. การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตพืชพันธุ์ใหม่
2. การผลิตพืชพันธุ์ดีให้ได้ปริมาณมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น
3. การผสมพันธุ์สัตว์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4. การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีและจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
5.การปรับปรุงขบวนการการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพและ
  มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
6. การริเริ่มค้นคว้าหาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
  และการสร้างทรัพยากรใหม่

เรื่องที่ 3 วัสดุและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือเครื่องมือที่ให้ทั้งภายในและภายนอก
ห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ทดลองและหาคำตอบต่างๆทางวิทยาศาสตร์

ประเภทของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
1. ประเภททั่วไป เช่น บีกเกอร์ หลอดทดสอบ กระบอกตวง
หลอดหยดสาร แท่งแก้วคนสาร ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ผลิตขึ้น
จากวัสดุที่เป็นแล้วเนื่องจากป้องกันการทำปฏิกิริยากับสารเคมี
นอกจากนี้ยังมี เครื่องชั่งแบบต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ ตะเกียงแอลกอฮอล์
เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้วิธีใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
2. ประเภทเครื่องมือช่าง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ทั้งภายใน
ห้องปฏิบัติการ และภายนอกห้องปฏิบัติการ เช่น เวอร์เนีย
 คีม และแปรง เป็นต้น

3. ประเภทสิ้นเปลือง และสารเคมี เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น กระดาษกรอง
กระดาษลิตมัส และสารเคมี

ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (LAB)
ในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้นผู้ทดลองควรทำ
การทดลองในห้องปฏิบัติการเนื่องจากว่าภายในห้องปฏิบัติ
การปราศจากสิ่งรบกวนจากภายนอก อาทิเช่น กระแสลม
 ฝุ่นละออง ซึ่งตัวแปรเหล่านี้อาจทำให้ผลการ ทดลองคลาดเคลื่อนได้

ความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ
(1) ระมัดระวังในการทำปฏิบัติการ และทำปฏิบัติการอย่างตั้งใจ
(2) เรียนรู้ตำแหน่งที่เก็บและศึกษาการใช้งานของอุปกรณ์ที่
เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น ตู้ยา ที่ล้างตาหรือก๊อกน้ำ
เครื่องดับเพลิง ที่กดสัญญาณไฟไหม้ (ถ้ามี)และทางออกฉุกเฉิน
(3) อ่านคู่มือปฏิบัติการให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ แต่ถ้าไม่เข้าใจ
ขั้นตอนใดหรือยังไม่เข้าใจการใช้งานของอุปกรณ์ทดลองใดๆ
ก็จะต้องปรึกษาครูจนเข้าใจก่อนลงมือทำปฏิบัติการ
(4) ปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ต้องการทำปฏิบัติการ
นอกเหนือจากที่กำหนด จะต้องได้รับอนุญาตจากครูก่อนทุกครั้ง
(5) ไม่ควรทำปฏิบัติการอยู่ในห้องปฏิบัติการเพียงคนเดียว
(6) ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการ
และไม่ใช้อุปกรณ์ทำปฏิบัติการเป็นภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่ม
(7) ดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบบนโต๊ะทำปฏิบัติการตลอดเวลา
(8) อ่านคู่มือการใช้อุปกรณ์ทดลองทุกชนิดก่อนใช้งาน
(9) การทดลองที่ใช้ความร้อนจากตะเกียงและแก๊ส
ต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
(10) สารเคมีทุกชนิดในห้องปฏิบัติการเป็นอันตราย ไม่สัมผัส ชิม
หรือสูดดมสารเคมีใด ๆ และไม่นำสารเคมีออกจากห้องปฏิบัติการ
(11) ตรวจสอบสลากที่ปิดขวดสารเคมีทุกครั้งก่อนนำมาใช้
(12) การทำปฏิบัติการชีววิทยา จะต้องทำตามเทคนิคปลอดเชื้อ
ด้วยการล้างมือด้วยสบู่ก่อนและหลังทำปฏิบัติการ ทำความสะอาดโต๊ะ
(13) เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นให้รายงานครูทันที
(14) เมื่อทำการทดลองเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดเครื่องมือและ
เก็บเข้าที่เดิมทุกครั้ง ทำความสะอาดโต๊ะทำปฏิบัติการ

การทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมี
(1) สารที่เป็นของแข็ง ควรใช้แปรงกวาดสารมารวมกัน
ตักสารใส่ในกระดาษแข็งแล้วนำไปทำลาย
(2) สารละลายกรด ควรใช้น้ำล้างบริเวณที่มีสารละลายกรดหก
เพื่อทำให้กรดเจือจางลง และใช้สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
เจือจางล้างเพื่อทำลายสภาพกรด แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้ง
(3) สารละลายเบส ควรใช้น้ำล้างบริเวณที่มีสารละลายเบสหกและ
ซับน้ำให้แห้ง เนื่องจากสารละลายเบสที่หกบนพื้นจะทำให้พื้นบริเวณนั้นลื่น
ต้องทำความสะอาดลักษณะดังกล่าวหลายๆ ครั้ง และถ้ายังไม่หายลื่น
อาจต้องใช้ทรายโรยแล้วเก็บกวาดทรายออกไป
(4) สารที่เป็นน้ำมัน ควรใช้ผงซักฟอกล้างสาร
(5) สารที่ระเหยง่าย ควรใช้ผ้าเช็ดบริเวณที่สารหยดหลายครั้งจนแห้ง
(6) สารปรอท กวาดสารปรอทกองรวมกันแล้วใช้เครื่องดูดเก็บรวบรวมไว้
หรืออาจใช้ผงกำมะถันโรยบนปรอทเพื่อให้เกิดเป็นสารประกอบซัลไฟด์
แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น