10 มิ.ย. 2555

สรุปวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่1

รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง (ทช31001)

สาระสำคัญ
   เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
   ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

เรื่องที่1 ความเป็นมาความหมายหลักแนวคิด
   พระบาทสมเด็จพระเจ้า้อยู่หัวได้พั้ฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เขา้ถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืนทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
  จุดเด่นของแนวปรัชญานี้ คือ แนวทางที่สมดุลโดยชาติสามารถทันสมัยและก้า้วสูความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้า้นกระแสโลกาภิวัฒน์

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนโดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาเมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไปหากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้า้งความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียวโดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วยก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้นซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ณหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคมพ.ศ .2517

เรื่องที่2 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“3 ห่วง 2 เงื่อนไข”

3 ห่วง คือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการเตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

2 เงื่อนไข คือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียงคือการยึดหลัก 5 ประการที่สำคัญในการดำเนินการ ได้แก่
1. ทางสายกลาง ในการดำเนินชีวิตตั้งแต่ระดับครอบครัวชุมชนและระดับรัฐรวมถึงเศรษฐกิจในทุกระดับ
2. มีความสมดุล ระหว่างคนสังคมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจมีความสมดุลในการผลิตที่หลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความพอประมาณ ความพอเพียงในการผลิตและการบริโภคบนพื้นฐานของความพอประมาณอย่างมีเหตุผลไม่ขัดสน ไม่ฟุ่มเฟือยในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มีความพอเพียง
4. มีระบบภูมิคุ้มกัน ในการดำรงชีวิตมีสุขภาพดีมีศักยภาพมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและมีความรอบรู้อย่า่งเหมาะสมพร้อมรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ
5. รู้เท่าทันโลก มีความรู้ มีสติปัญญาความรอบคอบ มีความอดทนมีความเพียร มีจิตสำนักในคุณธรรมและความซื่อสัตย์

  เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนทุกกลุ่มมิใช่แค่เกษตรกร การสร้างความความ“พอกิน-พอใช้”ในเศรษฐกิจพอเพียงนี้ มุ่งไปที่ประชาชนในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ที่ยังมีชีวิตแบบ“ไม่พอกิน-ไม่พอใช้” หรือยังไม่พอเพียง ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่คนชนบทหรือเกษตรกร เป็นแต่เพียงว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังยากจนนั้นมีอาชีพเกษตรกรมากกว่าสาขาอาชีพอื่นทำให้
  ความสำคัญลำดับแรกจึงมุ่งเข้าสู่ภาคเกษตรหรือชนบทที่แร้นแค้นจนมีรูปธรรมของการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกมาเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเป็นที่ประจักษ์ในความสำเร็จของการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น