18 มิ.ย. 2555

สรุปวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่2

นักศึกษาและผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเนื้อหา ในตอนนี้ได้ที่
http://kruteeworld.siamvip.com/B000000004-กศน..xhtml

บทที่2 ชุมชนความพอเพียง
สาระสำคัญ
    ชุมชนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาชุมชนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชุมชนที่พอเพียงรวมทั้งตัวอย่างของชุมชนพอเพียงที่ประสบความสำเร็จและตัวอย่างของชุมชนพอเพียงด้านพลังงาน
   ความหมายของชุมชนชุมชนหมายถึงถิ่นฐานที่อยู่ของกลุ่มคนถิ่นฐานนี้มีพื้นที่อ้างอิงได้และกลุ่มคนนี้มีการอยู่อาศัยร่วมกันมีการทำกิจกรรมเรียนรู้ติดต่อสื่อสาร ร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาประจำถิ่นมีจิตวิญญาณและความผูกพันอยู่กับพื้นที่แห่งนั้นอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน

ขยายความ
ภูมิ มีความหมายว่า พื้น ชั้น พื้นเพ
ปัญญา หมายความว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด
ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นความรู้ ความสามารถ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หมายถึง ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น
การถ่ายทอดความรู้หรือการสอน หมายถึง บอกวิชาความรู้ให้แสดงเข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว
*****

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. กลุ่มคน หมายถึงการที่คน 2 คนหรือมากกวา่นั้นเขา้มาติดต่อเกี่ยวข้องกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วยความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน
2. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแล้วและมีวิวัฒนาการไปถึงขั้นตั้งองคก์รทางสังคมแล้วก็จะมีการกำหนดแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสามารถดำเนินการตามภารกิจ
3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ หมายถึงตำแหน่งทางสังคมของคนในกลุ่มหรือสังคมบทบาท หมายถึง พฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคม

เรื่องที่2 การพัฒนาชุมชน
สนทยา พลตรี(2533:65–68)ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 3 ประการสรุปได้ดังนี้
1. การเขา้มีส่วนร่วมของประชาชนเอง เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ใ่ห้ดีขึ้นโดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย
2. การจัดให้มีการบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆ ที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่มการช่วยตนเอง
3. ช่วยเหลือกันและกันอันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(2539:1–2)ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วยสรุปได้ดังนี้
1.การพัฒนาคน ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพ
2.การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัวและชุมชน
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

กิจกรรมที่ชุมชนต้องรับผิดชอบ คือ
1. ตั้งคณะกรรมการบริหาร
2. ประเมินสภาพของชุมชน
3. เตรียมแผนการปฏิบัติ
4. หาทรัพยากรที่จำเป็น
ทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมของชุมชนทั้งหมดจะต้องมีการติดตามและการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน



กระบวนการชุมชน
1. วิเคราะห์ชุมชน
2. การเรียนรู้และการตัดสินใจของชุมชน
3. การวางแผนชุมชน
4. การดำเนินกิจกรรมชุมชน
5. การประเมินผลการดำเนินงานของชุมชน

องค์ประกอบการขับเคลื่อนชุมชน
1.โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของชุมชน
2.ความคิดพื้นฐานของประชาชน
3.บรรทัดฐานของชุมชน
4.วิถีประชาธิปไตย

ตัวอย่างของชุมชนพอเพียงด้านพลังงาน
   ตลอด 3 ปี (2549-2551)ของการเดินหน้าโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน 80 ชุมชน สนองพระราชดำริ“เศรษฐกิจพอเพียง”ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานด้วยมองเห็นศักยภาพชุมชนในการจัดการด้านพลังงานที่ชุมชนทำเองได้ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนใช้ในการดำเนินชีวิตนั้นทำได้จริง

แผนพลังงานชุมชน” คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกชุมชนที่เข้าร่วมในระยะเวลาที่ต่างกันพร้อมกับกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคชุมชนและภาควิชาการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดหรือสำนักงานพลังงานภูมิภาคซึ่งเป็นตัวแทนกระทรวงพลังงานไปเผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ“พลังงานเรื่องใกล้ตัว”และนำเสนอเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนหลากหลายประเภทให้ชาวบ้านเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการเพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วม คือ การต่อยอดหรือนำเทคโนโลยีที่กระทรวงพลังงานนำมาให้นั้นนำไปประยุกต์ต่อเพื่อการใช้งานที่สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันการลองทำลองใช้ให้เห็นผลกระจ่างชัดแล้วจึงบอกต่อ

พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน เป็นคำกล่าวรวมหมายถึงแหล่งที่มาของพลังงานที่สามารถนำมาทดแทนพลังงานเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ โดยไม่มีผลกระทบอื่นเกิดขึ้น
1. พลังงานแสงอาทิตย์
2. พลังงานความร้อนใต้พิภพ
3. พลังงานลม
4. เทคโนโลยีพลังงานชีวมวลและชีวภาพ
5. พลังงานขยะ
6. พลังงานนิวเคลียร์
7. ก๊าซธรรมชาติเหลว - Liquefied Natural Gas (LNG)
8. พลังงานไฮโดรเจน - พลังงานสมบูรณ์แบบ
9. พลังงานถ่านหินสะอาด
10. แก๊สโซฮอล์
11. ไบโอ-ดีเซล
12. ก๊าซธรรมชาติ

* * * * *



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น