3 มี.ค. 2556
สรุปเนื้อหา-โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
โครงการเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้ ที่มีกระบวนการทำงานอย่างมีระบบ แบบแผนที่ชัดเจน ผลงานต้องสอดคล้องกับหลักสูตรและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงการ รวมทั้งนำไปใช้ได้จริง
โครงการ(Project Approach) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ศึกษาหาคำตอบ
โครงการ หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรียนนั้นๆให้มากอย่างขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ
โครงงานจะแบ่งออกเป็นประเภท 4 ประเภท คือ
1. โครงงานสำรวจ เช่น
- การสำรวจความคิดเห็นของงวัยรุ่นต่อผู้สมัครในการเลือกตั้ง
- สำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
- สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนในเรื่องสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
2. โครงงานศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
โครงงานประเภททดลอง ส่วนใหญ่มักเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนโครงงานสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นโครงงานศึกษาค้นคว้าเท่านั้น
- พระสุพรรณกัลยามีจริงหรือไม่
- โครงการรวบรวมวรรณกรรมพื้นฐานของภาคอีสาน
- โครงการรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ
- โครงขุดหาวัตถุโบราณ
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
ในการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์นี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ที่มีพื้นฐานในการทำงาน โดยอาจมาจากการสำรวจ ศึกษาค้นคว้า หรือได้ทฤษฎีมาก่อน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ย่อมเป็นรากฐานที่ดีต่อการสร้างสรรค์โครงงานสิ่งประดิษฐ์
- การวิจัยคิดค้นยาใหม่ๆในรักษาโรคต่างๆ
- การประดิษฐ์เครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ๆ
- ขนมไทยตำรับสมัยพระนารายณ์
- เครื่องแยกขยะในชุมชน
- เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำที่ทำมาจากวัสดุและภูมิปัญญาพื้นบ้าน
4. โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลงานเดิมที่มีอยู้แล้วให้มีประโยชน์มีคุณค่าหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น มี 2 ลักษณะ
4.1 การพัฒนาโครงงานเดิมที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
4.2 การพัฒนาชิ้นงานเดิมที่อยู่แล้วในท้องถิ่นหรือชุมชน
การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน
การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน เป็นการกระบวนที่สามารถส่งเสริมทักษะการคิดและวิเคราะห์แก่ผู้เรียนเป็นอย่างดี มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำโครงงานไดสอดคล้องกับหลักสูตร
2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
ลักษณะของโครงการที่ดี
1. เลือกทำตราความสนใจ
2. เป็นการศึกษาเชิงลึก
3. สอดคล้องกับหลักสูตร
4. เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ
5. ความคิดสร้างสรรค์
6. สามารถนำไปใช้ได้จริง
ลักษณะของโครงการที่ดี ต้องสะท้อนให้เห็นถึง
1. ความสัมพันธ์ของทุกส่วนประกอบ
2. ความสมเหตุสมผล
3. ความชัดเจน
4. สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ คือ จะทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำให้ใคร จะเริ่มทำและเสร็จเมื่อใด มีประโยชน์อะไร กับใครบ้าง ใครเป็นผู้ทำ ที่ไหน ใช้งบประมาณเท่าไหร่
5. สามารถตรวจสอบความสำเร็จได้
ส่วนประกอบของโครงงาน
3.1 ชื่อโครงงาน
3.2 หลักการและเหตุผล
หลักการ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้
เหตุ หมายถึง สภาพบางอย่างที่ควรได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้การนำเทคนิค วิธีการหรือกระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
ผล หมายถึงข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งดีๆ ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นภายหลังที่ได้นำวิธึการเทคนิดหรือกระบวนการมาใช้
3.3 วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ ต้นทาง แสดงให้เห็นว่า คืออะไรหรือจะทำอะไร มีลักษณะของข้อความคือ เพื่อจะทำ....
วัตถุประสงค์ ปลายทาง แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดจากโครงงาน มีลักษณะของข้อความคือ เพื่อให้.......
3.4 เป้าหมาย เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการทำงาน มี 2 ลักษณะ
เชิงปริมาณ หมายถึง ผลผลิตหรือผลงานที่สามารถนับได้
เชิงคุณภาพ หมายถึง การแสดงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต
3.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน
3.6 สถานที่ดำเนินงาน
3.7 งบประมาณ
3.8 วิธีดำเนินงาน
3.9 การประเมินผล
3.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำชิ้นงานไปใช้
3.11 ผู้รับผิดชอบโครงงาน
3.12 ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงงาน มีส่วนประกอบคือ
1. บทคัดย่อ เป็นการสรุปภาพรวมของการทำโครงการ ประกอบด้วยส่วน วัตถุประสงค์ ความสำคัญ วิธีการ และผลที่ได้รับการทำโครงงาน
2. กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความให้เกียรติและยกย่องบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้นำแนะนำ
3. คำนำ แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายการทำโครงงาน ให้ผู้อ่านทราบภาพรวม
4. สารบัญ
5. สารบัญตาราง
6. สารบัญภาพ
7. บทนำ ประกอบด้วย
7.1 หลักการและเหตุผล
7.2 ความสำคัญ
7.3 วัตถุประสงค์
7.4 ขอบข่ายของการทำโครงงาน
7.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
7.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8. เอกสาร/ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
9. วิธีการดำเนินงาน
10. ผลการดำเนินงาน
11. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
11.1 สรุป เป็นการแสดงข้อมูลในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานโดยย่อ
11.2 อภิปรายผล เป็นกาเขียนอภิปรายเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ผลงานออกมาในทำนอง น่าพอใจ/ไม่สนพอใจ สอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับผลงานที่คนอื่นทำไว้ และอื่นๆ
11.3 ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนเพื่อเสนอแนะแก่ผู้อื่นที่จะทำโครงงานในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกันให้สมบูรณ์มากขึ้น
12. บรรณนุกรม
13. ภาคผนวก เป็นข้อมูลอื่นๆที่ไม่สามารถหือไม่เหมาะสมจะนำไม่ใช้ในตัวเนื้อหาหลักที่กำหนดไว้ตามสารบัญ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น