27 ก.ค. 2554

เนื้อหาเสริม-วิชาพัฒนาอาชีพ1-5

ในตอนนี้มารู้จักกับคำว่า SMEs ที่เราคุ้นๆหูให้ชัดเจนมากขึ้น

ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม
    โดยทั่วไป คำว่า ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต
 การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง
 ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง
ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจอื่น
มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก
    คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise
(SME หรือSMEs) ในภาษาอังกฤษสำหรับคำที่ใช้ในภาษาไทยคือ
 “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม    1. ธุรกิจขนาดย่อมช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมทำให้มีการกระจายรายจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ
ไปสู่คนกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มีรายได้
ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น

   2. ธุรกิจขนาดย่อม สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะ
ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคง
มียอดการผลิตที่สูงขึ้น และซึ่งส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
มาใช้ ทำให้เกิดการขยายตัวเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

   3. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นต้นกำเนิดของสินค้าใหม่ ๆ ที่ได้มาจาก
การรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด โดยที่ในบางสินค้านั้นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุน

SMEs ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่    1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม
       (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing)
       และเหมืองแร่ (Mining)
   2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale)
       และการค้าปลีก (Retail)
   3) การบริการ (Service Sector)

ข้อเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจขนาดย่อมกับธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดใหญ่1.  โดยทั่วไปเจ้าของกิจการไม่บริหารงานเอง แต่ว่าจ้าง
      ผู้ที่มีความสามารถมาเป็นผู้จัดการ
2.  ดำเนินงานที่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ
3.  มีการจัดองค์งานที่ซับซ้อน
4.  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบริษัท
5.  เจ้าของอาจจะไม่รู้จักลูกจ้างพนักงานทุกคน
6.  การเสี่ยงต่อความล้มเหลวมีน้อย
7.  มีการแบ่งงานกันทำชัดเจนและทำงานตามความสามารถ

ธุรกิจขนาดย่อม 
1.  เจ้าของมักจะเป็นผู้จัดการหรือร่วมบริหารด้วย
2.  ดำเนินงานอยู่ภายในท้องถิ่น หรืออาจมีสาขาน้อย
3.  การจัดองค์งานเป็นแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน
4.  โดยมากเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว
5.  เจ้าของกับพนักงานระดับต่าง มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
6.  มีความเสี่ยงที่ล้มเหลวได้มาก
7.  เจ้าของเป็นผู้บริหารงานในส่วนต่างๆ ในธุรกิจเกือบทั้งหมด

* * * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น