มาดูความหมายของธุรกิจ จากหนังสือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ ธุรกิจทั่วไป
ความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ
ธุรกิจ (Business) หมายถึง กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจ
ที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต การซื้อขาย
แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไร
หรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น
ดังนั้น กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit) ถือว่า
เป็นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างร้าน ส่วนรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่เป็น
การดำเนินงานของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างถนนหนทาง
โรงเรียน โรงพยาบาล และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจ เพราะมิได้มี
จุดมุ่งหมายด้านกำไร แต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชน
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ คือ ต้องการให้ได้กำไร
มากที่สุด (Maximized Profit) ซึ่งต่างจากการดำเนินงานของ
หน่วยราชการและองค์การกุศล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการ
แก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทน
ความสำคัญของธุรกิจ พอสรุปได้ดังนี้
1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
3. ธุรกิจทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น
4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม
5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
หน้าที่ของธุรกิจ การประกอบธุรกิจนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่ต่าง ๆ
เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี หน้าที่ต่าง ๆ ของธุรกิจมีดังนี้
1. การผลิตสินค้า ธุรกิจอาจเลือกผลิตสินค้าหลายชนิด
เช่น ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป
2. การให้บริการ เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค
3. การจำแนกแจกจ่ายสินค้า ธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขาย
4. การจัดซื้อ ธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการดำเนินการ
5. การเก็บรักษาสินค้า ธุรกิจจะต้องเก็บรักษาวัตถุดิบและ
สินค้าสำเร็จรูปเพื่อบริการให้แก่ลูกค้า
6. การจัดจำหน่าย ธุรกิจมีหน้าที่จัดแสดงสินค้าเพื่อง่ายต่อการซื้อ
7. การจัดการทางการเงิน ธุรกิจมีหน้าที่จัดหาเงินทุนและบริหารเงินทุน
ที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
8. การจัดทำบัญชี ธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษี
9. การทำการโฆษณาสินค้า ธุรกิจมีหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์
ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าและเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด
ความรับผิดชอบของธุรกิจ ธุรกิจมีฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ
ต่อบุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการ ดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุด
2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด
3. ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ 4. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ในด้านของค่าตอบแทนและ
สวัสดิการของลูกจ้าง
5. ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้สังคมได้รับประโยชน์ตามสมควร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจแยกได้ 2 ลักษณะคือ
1. ปัจจัยภายใน หรือทรัพยากรของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ธุรกิจ
สามารถสร้างขึ้นและสามารถควบคุมได้ ได้แก่
คน (Man) หมายถึง กำลังคน
เงิน (Money) หมายถึง เงินทุน
วัสดุ (Meterial) หมายถึง วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต
2. ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถจะควบคุมกำหนด
หรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น
ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง คู่แข่ง เทคโนโลยี ฯลฯ
* * * * *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น