13 ก.ค. 2554

ภาษาไทย-คำสมาส

วันนี้ครูขอเปลี่ยนมาเป็นวิชาภาษาไทยบาง เป็นเรื่องของคำสมาส
ครูได้รวมรวมและสรุปมาให้ได้พวกเราได้อ่านกัน
อ่านแล้วต้องพยายามแยกให้ออกคำว่า คำสมาสมี 2 ความหมาย
คือ 1. เป็นคำรวมๆให้เป็นชื่อของการสร้างคำใหม่ กับ
       2. เป็นวิธีการสร้างคำให้

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน
เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

การสมาสมี 2 แบบ 
1.  การสมาสแบบสมาส คือ “คำสมาส” (ชนกัน).....มองเห็นศัพท์เดิมเป็นคำๆต่างๆ
2.  การสมาสแบบสนธิ คือ “คำสนธิ” (เชื่อมกัน).....มองไม่เห็นศัพท์เดิมเป็นตัวๆ

ตัวอย่างคำสมาสแบบสมาส
กาญจน์ + บุรี = กาญจนบุรี
ชาติ + พันธุ์ = ชาติพันธุ์
ชาติ + ภูมิ = ชาติภูมิ
ทศชาติ = ทศ + ชาติ
ทาส + กรรมกร=ทาสกรรมกร
ธน + บัตร = ธนบัตร
ธนบัตร = ธนะ + บัตร
ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์
พุทธศักราช = พุทธะ + ศักราช
แพทย์+ศาสตร์ = แพทยศาสตร์
ภูมิ+ศาสตร์ = ภูมิศาสตร์ 
มนุษย์ + ธรรม = มนุษยธรรม
ยุคลบาท = ยุคล +บาท
ราช + รถ = ราชรถ
วนาราม = วนา + อาราม
วิทยฐานะ = วิทยะ + ฐานะ
วิทยาเขต = วิทยา + เขต
วีรสตรี = วีระ + สตรี
ศัลยแพทย์ = ศัลย์ + แพทย์
ศิลปะ+ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์ 
สกลมารค = สกล + มารค
สวัสดิ์+ภาพ = สวัสดิภาพ
สาธารณสมับติ = สาธารณะ + สมบัติ
สารคดี = สาระ + คดี
สิทธิ+บัตร = สิทธิบัตร
เสรีภาพ = เสรี + ภาพ
อิสระ+ภาพ = อิสรภาพ
อุบัติ + เหตุ = อุบัติเหตุ
เอก + ภาพ = เอกภาพ

คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม
คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

ตัวอย่างคำสมาสอื่นๆ
กรรมกร, กายกรรม, กายภาพ, กาฬทวีป, กาฬพักตร์, กิจกรรม,
กิจการ, เกษตรกรรม, ขัณฑสีมา, ครุศาสตร์, คหกรรม, คุณธรรม,
ฆาตกร, จตุปัจจัย, จิตวิทยา, จินตภาพ, จีรกาล, ฉันทลักษณ์,
ชีววิทยา, ฌาปนสถาน, ดาราศาสตร์, ไตรทวาร, ทวิบาท, 
ทาสกรรมกร, ธุรกิจ, นาฏศิลป์, นามธรรม,  นิติศาสตร์, 
บุตรทาน, บุตรทารก, บุปผชาติ, โบราณสถาน, ประถมศึกษา,
ปัญญาชน, พระชงฆ์, พระปฤษฏางค์, พระพุทธ, พระหัตถ์,
พัสดุภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน, พุทธธรรม, พุพภิกขภัย, 
เพศศึกษา, แพทย์ศาสตร์, ภารกิจ, ภูมิศาสตร์, มนุษยวิทยา
มนุษยสัมพันธ์, มโนธรรม, มโนภาพ, มรณภาพ, มรรคนายก,
มหกรรม, มหานคร, มหานิกาย, มหาภัย, มหาราช
มัจจุราช, มัณฑนศิลป์, มาฆบูชา, ยุทธวิธี, รัฐศาสตร์,
รัตติกาล, ราชการ, ราชทัณฑ์, ราชอุบาย, ราชโอรส, 
รูปธรรม, ฤทธิเดช, วรพงศ์, วรรณกรรม, วรรณคดี,
วสันตฤดู, วัฏสงสาร, วัตถุธรรม, วาตภัย, วิจิตรศิลป์
วิทยฐานะ, วิทยาธร, วิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, 
วิศวกร, วิสาขบูชา, เวชกรรม, เวทมนตร์, ศิลปกรรม,
ศิลปศาสตร์, ศิลปศึกษา, ศีลธรรม, เศรษฐกิจ
สตรีวิทยา, สถานภาพ, สมณพราหมณ์, สังคมวิทยา
สังฆเภท, สังฆราช, สันติภาพ, สัมมาอาชีพ, 
สามัคคีธรรม, สารัตถศึกษา, สุขภาพ, สุขศึกษา
สุคนธรส, สุนทรพจน์, หัตถศึกษา, อธิการบดี
อักษรศาสตร์, อัคคีภัย, อัฏฐางคิกมรรค
อิทธิพล, อินทรธนู, อุดมคติ, อุตสาหกรรม
อุตสาหการ, อุทกภัย, อุทกภัย, อุบัติเหตุ
เอกชน, เอกภพ
วิธีการสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น
    เทพเจ้า  (เจ้า เป็นคำไทย)
    พระโทรน  (โทรน เป็นคำอังกฤษ)
    บายศรี  (บาย เป็นคำเขมร)
2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น
    ประวัติวรรณคดี แปลว่า ประวัติของวรรณคดี
    นายกสมาคม แปลว่า นายกของสมาคม
    วิพากษ์วิจารณ์ แปลว่า การวิพากษ์และการวิจารณ์
3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น
    ปรากฏการณ์  อ่านว่า  ปรา – กด – กาน
     สุภาพบุรุษ อ่านว่า สุ – พาบ – บุ – หรุด
     สุพรรณบุรี อ่านว่า สุ – พรรณ – บุ – รี
     สามัญศึกษา อ่านว่า สา – มัน – สึก – สา

ข้อควรจำ
1. ลักษณะที่สำคัญคือคำสมาสทั้งสองแบบภาษาที่ใช้
    จะต้องเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต
2. ยกเว้น คำเหล่านี้ไม่ใช่ “คำสมาส ทั้ง ๒ แบบ เช่น ผลไม้
    กระยาสารท คุณค่า ทุนทรัพย์ ราชวัง ราชดำเนิน พลความ
    พลเมือง มูลค่า สรรพสิ่ง พลเรือน พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ชำนาญการ
    เคมีภัณฑ์ ภูมิลำเนา กลเม็ด กรมท่า กรมวัง เมรุมาศ
3. วิธีสังเกตคำสมาส คือ เวลาอ่านตรงกลางจะออกเสียงสระด้วย
    เช่น ราช(ชะ)การ, อุบัติ(ติ)เหตุ, แพทย(ทะยะ)ศาสตร์, กิจ(จะ)กรรม
    ยกเว้นบ้างบางคำเช่น รสนิยม(รด-นิ-ยม), ปรากฎการณ์ (ปรา-กด- กาน),
    เหตุการณ(เหต – กาน), สุขศาลา(สุข – สา-ลา)

ขอให้นักศึกษาอ่านทบทวนในหนังสือแบบเรียนประกอบด้วย
* * * * *

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 กันยายน 2566 เวลา 00:15

    ไครสามารถสอนผมอ่านกลเม็ด ที่เป็นข้อความลับที่อยู่บนยูทูปมีรางวัล

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 กันยายน 2566 เวลา 00:16

    ติดต่อได้ที่เฟส นรสิงห์ เสนารินทร์
    น่ะ

    ตอบลบ