29 ก.ค. 2554

คำศัพท์ทางด้านการบริหาร

ในหนังสือแบบเรียนวิชาพัฒนาอาชีพฯ ใช้คำหลายคำที่น่าสนใจ
อยู่หลายคำ วันนี้เลยจะคำเหล่านั้นมาขยายความให้เข้าใจมากขึ้นกัน

วิสัยทัศน์ (VISION)    วิสัยทัศน์  หมายถึง การมองภาพในอนาคตของผู้นำขององค์กร
(หรือพนังงานก็ได้)  และนำมากำหนดเป็นจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยง
กับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
      วิสัยทัศน์ (VISION)  เกิดจาก
      ภาพของอนาคตที่มองเห็น (IMAGE) + การกระทำ (ACTION)
ความสำคัญ
1. เป็นตัวกำหนดทิศทางที่จะดำเนินงานขององค์กร อย่างจุดหมายที่ชัดเจน
2. ช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่า แต่ละคนนั้นมีความสำคัญต่อการไปสู่จุดหมาย
   และรู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ทำอย่างไร (How)
   และทำเมื่อใด (When)
3. ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมีความรู้สึกน่าสนใจ เกิดมุ่งมั่นปฏิบัติงานด้วย
    ความเต็มใจ และทำงานด้วยความทุ่มเทเพื่อคุณภาพของผลงาน
4. เป็นตัวกำหนดมาตรฐานขององค์กรและสังคม

****

พันธกิจ (Mission)
    พันธกิจ คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่า
ทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้
เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์
และยุทธศาสตร์  เราจะใช้ คำว่า ภารกิจหรือปณิธาน แทน พันธกิจ ก็ได้
*******

เป้าประสงค์
   เป้าประสงค์ คือ สภาพความสำเร็จของการดำเนินงานในขั้นสุดท้าย
ของแต่ละยุทธศาสตร์ ที่กำหนดตามช่วงเวลาเช่น 3 ปี 5 ปี เป็นต้น
    การกำหนดเป้าประสงค์ในระยะยาว (Long term objective)
ก็อาจจะมีการกำหนดสภาพความสำเร็จของการดำเนินงานในแต่ละปีร่วม
ก็ได้

เป้าหมาย (Goal)
    เป้าหมาย คือการบอกถึงสิ่งที่องค์กรปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
และพยายามทำเพื่อบรรลุถึงสิ่งนั้น  โดยมีการกำหนดที่ชัดเจน  กระชับ
ตรงจุด  และสามารรถวัดผลได้ 
*******

กลยุทธ์ (Strategic) 
1. กลยุทธ์ คือ แนวทางในการทำงานที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย
2. กลยุทธ์ คือ วิธีการในการแข่งขันที่จะทำให้สามารถเอาชนะคู่แข่งได้

การนำแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ
3 ประการได้แก่
   1) การวิเคราะห์ (Strategic Analysis)
   2) การจัดทำ (Strategic Formulation)
   3) การปฏิบัติ (Strategic Implementation)
*******

การวางแผนกลยุทธ์       การวางแผนกลยุทธ์เป็นการะบวนการกำหนดเป้าหมายระยะยาว
ขององค์การ (Long Range Goals) การเลือกวิถีทาง (Means) เพื่อให้
บรรลุจุดหมายนั้น
    การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ ที่ประกอบด้วย
    1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
    2) ระบุธรรมชาติขององค์การ
    3) กำหนดจุดหมายและ
    4) จำแนก ประเมิน และเลือกแนวการปฏิบัติสำหรับองค์การ
*******

SWOT Analysis
    เป็นวิธีการในการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
องค์กร เพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค และ
ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการหาจุดยืนขององค์กร และเพื่อ
การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยเป็นคำย่อของคำ 4 คำคือ
   S  (Strength) คือ การวิเคราะห์หาจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
  W (Weakness) คือ การวิเคราะห์หาจุดอ่อนหรือข้อด้อย
  O (Opportunity) คือ การวิเคราะห์โอกาส
  T (Threat) คือ การวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดขึ้น
*******

เรื่องของ ISO

ในหัวข้อนี้จะขอนำเรื่องที่ ต่อเนื่องจากหลักการ 5ส มาให้อ่านกัน

ISO คือ อะไร ?ISO คือ อะไร ?  มาย่อจากคำว่า International Standardization
and Organization (องค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการมาตรฐาน สำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
หมายถึง มาตรฐานด้านเทคนิคและระบบต่างๆ  เพื่อจัดระเบียบการค้าโลก
สร้างมาตรฐานสากลให้การรับรอง…

วัถตุประสงค์หลักของ ISO คือ
1. เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจและขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน
    ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ
    ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกล่าวง่าย ๆ ได้ว่า องค์กรใดที่ได้
    รับเครื่องหมาย ISO ก็หมายความว่า สินค้าหรือบริการนั้น มีมาตรฐานในระดับสากล

หน่วยงาน ISO ในประเทศไทย คือ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ.)  ตั้งอยู่ที่ ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400
ทำหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและออกใบรับรองให้อย่างเป็นทางการ 
เลขที่ตามหลัง ISO คืออะไร
ตัวเลขที่อยู่หลัง ISO เป็นตัวที่ใช้ในการแบ่งแนวทางและ
วิธีการในการบริหารองค์กร ดังนี้
ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถ
    ตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ
    และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต
    การติดตั้งและการบริการ
ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ
    และการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิด
    ประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการใน
    ระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้น
    ให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ISO แล้วมีประโยชน์อย่างไร
ในส่วนขององค์กรและพนักงาน
1.  ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีระบบ
2. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
3. สร้างภาพพจน์ที่ดีให้องค์กรและพนักงาน
4. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
5. ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับบุคลากร
6. ทำให้มีระบบและขอบเขตที่ชัดเจนในการทำงาน
7. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน

ในส่วนผู้บริโภค
1. มีความมั่นในตัวสินค้าและบริการมากขึ้น
2. ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องความปลอดภัยในตัวสินค้าและบริการ
3. ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ข้อสำคัญ มาตรฐานเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากขาด
หลักการพื้นฐานของ 5ส
* * * * *

27 ก.ค. 2554

เนื้อหาเสริม-วิชาพัฒนาอาชีพ1-5

ในตอนนี้มารู้จักกับคำว่า SMEs ที่เราคุ้นๆหูให้ชัดเจนมากขึ้น

ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม
    โดยทั่วไป คำว่า ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต
 การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง
 ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง
ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจอื่น
มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก
    คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise
(SME หรือSMEs) ในภาษาอังกฤษสำหรับคำที่ใช้ในภาษาไทยคือ
 “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม    1. ธุรกิจขนาดย่อมช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมทำให้มีการกระจายรายจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ
ไปสู่คนกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มีรายได้
ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น

   2. ธุรกิจขนาดย่อม สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะ
ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคง
มียอดการผลิตที่สูงขึ้น และซึ่งส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
มาใช้ ทำให้เกิดการขยายตัวเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

   3. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นต้นกำเนิดของสินค้าใหม่ ๆ ที่ได้มาจาก
การรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด โดยที่ในบางสินค้านั้นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุน

SMEs ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่    1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม
       (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing)
       และเหมืองแร่ (Mining)
   2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale)
       และการค้าปลีก (Retail)
   3) การบริการ (Service Sector)

ข้อเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจขนาดย่อมกับธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดใหญ่1.  โดยทั่วไปเจ้าของกิจการไม่บริหารงานเอง แต่ว่าจ้าง
      ผู้ที่มีความสามารถมาเป็นผู้จัดการ
2.  ดำเนินงานที่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ
3.  มีการจัดองค์งานที่ซับซ้อน
4.  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบริษัท
5.  เจ้าของอาจจะไม่รู้จักลูกจ้างพนักงานทุกคน
6.  การเสี่ยงต่อความล้มเหลวมีน้อย
7.  มีการแบ่งงานกันทำชัดเจนและทำงานตามความสามารถ

ธุรกิจขนาดย่อม 
1.  เจ้าของมักจะเป็นผู้จัดการหรือร่วมบริหารด้วย
2.  ดำเนินงานอยู่ภายในท้องถิ่น หรืออาจมีสาขาน้อย
3.  การจัดองค์งานเป็นแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน
4.  โดยมากเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว
5.  เจ้าของกับพนักงานระดับต่าง มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
6.  มีความเสี่ยงที่ล้มเหลวได้มาก
7.  เจ้าของเป็นผู้บริหารงานในส่วนต่างๆ ในธุรกิจเกือบทั้งหมด

* * * * * *

เนื้อหาเสริม-วิชาพัฒนาอาชีพ1-4

มาดูความหมายของธุรกิจ จากหนังสือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ  ธุรกิจทั่วไป
ความรู้พื้นฐานทางธุรกิจ
    ธุรกิจ (Business) หมายถึง  กระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจ
ที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิต  การซื้อขาย
แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไร
หรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น
   ดังนั้น  กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit)  ถือว่า
เป็นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างร้าน ส่วนรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่เป็น
การดำเนินงานของรัฐ เช่น  การป้องกันประเทศ  การสร้างถนนหนทาง
โรงเรียน  โรงพยาบาล  และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจ เพราะมิได้มี
จุดมุ่งหมายด้านกำไร  แต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชน
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ        จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ  คือ  ต้องการให้ได้กำไร
มากที่สุด (Maximized Profit)  ซึ่งต่างจากการดำเนินงานของ
หน่วยราชการและองค์การกุศล  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการ
แก่ประชาชน  โดยไม่หวังผลตอบแทน

ความสำคัญของธุรกิจ  พอสรุปได้ดังนี้
   1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
   2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
   3. ธุรกิจทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น
   4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม
   5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

หน้าที่ของธุรกิจ     การประกอบธุรกิจนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่ต่าง ๆ
เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี  หน้าที่ต่าง ๆ ของธุรกิจมีดังนี้
   1. การผลิตสินค้า  ธุรกิจอาจเลือกผลิตสินค้าหลายชนิด
       เช่น ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป
   2. การให้บริการ  เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค
   3. การจำแนกแจกจ่ายสินค้า  ธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขาย
   4. การจัดซื้อ  ธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการดำเนินการ
   5. การเก็บรักษาสินค้า  ธุรกิจจะต้องเก็บรักษาวัตถุดิบและ
       สินค้าสำเร็จรูปเพื่อบริการให้แก่ลูกค้า
   6. การจัดจำหน่าย  ธุรกิจมีหน้าที่จัดแสดงสินค้าเพื่อง่ายต่อการซื้อ
   7. การจัดการทางการเงิน  ธุรกิจมีหน้าที่จัดหาเงินทุนและบริหารเงินทุน
       ที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   8.  การจัดทำบัญชี  ธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษี
   9.  การทำการโฆษณาสินค้า  ธุรกิจมีหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์
        ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าและเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด

ความรับผิดชอบของธุรกิจ       ธุรกิจมีฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ
ต่อบุคคล  หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
   1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการ  ดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุด
   2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า  การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด
   3. ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ   4. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง  ในด้านของค่าตอบแทนและ
       สวัสดิการของลูกจ้าง
   5. ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้สังคมได้รับประโยชน์ตามสมควร

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจแยกได้ 2 ลักษณะคือ
   1. ปัจจัยภายใน  หรือทรัพยากรของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ธุรกิจ
       สามารถสร้างขึ้นและสามารถควบคุมได้  ได้แก่
       คน (Man)  หมายถึง  กำลังคน
       เงิน (Money) หมายถึง  เงินทุน
       วัสดุ (Meterial)  หมายถึง  วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต
   2. ปัจจัยภายนอก  เป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถจะควบคุมกำหนด
       หรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  เช่น
       ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง  คู่แข่ง  เทคโนโลยี ฯลฯ
* * * * *

เนื้อหาเสริม-วิชาพัฒนาอาชีพ1-3

มาติดตามกันต่อในเรื่องของธุรกิจครับ

หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business Function)   หน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ มีดังนี้
1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management : O & M)
    องค์การ (Organization) เป็นระบบการจัดการที่ออกแบบและดำเนินงาน
    ให้บรรลุวัตถุ-ประสงค์เฉพาะอย่าง หรือหมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
    ทำงานร่วมกันและประสานงานกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ประสบความสำเร็จ
  
   การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ
องค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization)
การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อม
ทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) เป็นกิจกรรม
    ด้านการผลิตสินค้าและบริการ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ
   (Conversion Process) จากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้ออกมาเป็น
    ปัจจัยนำออก (Output) เพื่อให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้า
    โดยมีความเสียหายน้อยที่สุดและเกิดผลผลิตสูงสุด ตลอดจนมี
    ความรวดเร็วในปรับตัวหาความต้องการซื้อของลูกค้าได้ถูกต้อง

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management : HRM)
   เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุ
   วัตถุประสงค์ขององค์การและเป้าหมายเฉพาะบุคคล

4. การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนและการบริหาร
    แนวความคิดเกี่ยวกับการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัด
    จำหน่ายสินค้า บริการหรือความคิดเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยน
   เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของบุคคลและบรรลุเป้าหมายขององค์การ

5. การบัญชี (Accounting) เป็นขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์
   และการรายงานหรือสรุปข้อมูลทางการเงิน

6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด
   ความเจริญเติบโต และความคล่องตัวทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิด
   กำไรสูงสุดและความมั่งคั่งสูงสุด หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา
   เงินทุน และการใช้เงินทุนด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดมูลค่าของธุรกิจสูง

7. ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หรือ ระบบสารสนเทศ
   ของกิจการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบของ
   กระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวม เก็บรักษา แยกแยะ และ
   นำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน
   และการควบคุม

วงจรธุรกิจ (Business Life Cycle)    วงจรธุรกิจมีลำดับขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเจริญรุ่งเรือง (Prosperity) เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนนิยมลงทุน
    มากที่สุด เพราะเป็นขั้นที่ธุรกิจกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2. ขั้นถดถอย (Recession) เป็นขั้นที่การลงทุนโดยทั่วไปจะลดลง
    ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจมีการขยายตัวเต็มที่แล้ว
3. ขั้นตกต่ำ (Depression) เป็นขั้นที่ธุรกิจจำเป็นต้องลดการผลิต
    และลดการลงทุน เนื่องจากสินค้าขายไม่ออกและมีราคาต่ำจน
    ผู้ผลิตขาดทุน
4. ขั้นฟื้นตัว (Recovery) เป็นขั้นที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวและเข้าสู่ขั้น
   เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง

* * * * * *

เนื้อหาเสริม-วิชาพัฒนาอาชีพ1-2

มาดูกันต่อ วันนี้มาเรียนรู้เรื่องของธุกิจกันครับ

ความหมายของธุรกิจ
     ธุรกิจ(Business) หมายถึง กิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีความเกี่ยวพันใน
วงการของสถาบัน เพื่อที่จะจำหน่ายและให้บริการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
โดยมีความสัมพันธ์กับบริการอื่นและกลุ่มผู้ทำงานร่วมมือให้บรรลุถึงจุดหมายอัน
เดียวกัน คือ ความสำเร็จของหน่วยงาน

    การประกอบธุรกิจ หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ และการนำสินค้า
และบริการนั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ฉะนั้นถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
ได้ถูกนำมาใช้บริโภคเอง ไม่ได้นำไปขายหรือจำหน่ายจึงเรียกว่า การอุปโภคบริโภค
(Consumption) ของตนเอง แต่ถ้าการผลิตสินค้าและบริการได้ถูกนำไปขายหรือ
จำหน่ายต่อไปจึงเรียกว่า การค้า (Commerce) / การประกอบธุรกิจ
(Business Activities)
สรุปก็คือว่า ธุรกิจ เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต
การจำหน่าย และการให้บริการนั่นเอง

จุดมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจ (Business Goals)     ผู้ประกอบธุรกิจแทบทุกประเภทมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างเดียวกัน
คือ ต้องการกำไร แต่ธุรกิจไม่ควรมุ่งกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว
เพราะธุรกิจควรมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ธุรกิจบางอย่าง
ที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น กิจการไฟฟ้า ประปา
การเดินรถประจำทาง โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เป็นต้น

สรุป ผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. มุ่งหวังกำไร (Profit Earning) ได้แก่ ธุรกิจของเอกชนทั่วไป
2. ไม่ได้มุ่งหวังกำไร (Social Prestige) ได้แก่ ธุรกิจประเภทสาธารณูปโภค
     (Public Utilities) และสาธารณูปการ (Public Services) ซึ่งส่วนใหญ่
     มักจะเป็นของรัฐบาล
ข้อสังเกต ในการดำเนินธุรกิจนั้น ผลต่างระหว่างรายได้และค่าใช้จ่าย
ทั้งหมด คือ กำไรหรือขาดทุนของธุรกิจนั่นเอง

บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ  บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลัก ๆ หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ
(Key Participants) นั้น อาจจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ ผู้ที่ทุ่มเทเวลา ความพยายาม
    และเงินทุน เพื่อดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากธุรกิจ
    เป็นผลประโยชน์ตอบแทนความเสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจ
2. ผู้ให้สินเชื่อ (Creditors) คือ ผู้ที่ให้เงินแก่ผู้ประกอบการกู้ยืมไปลงทุน
    โดยต้องการผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและการส่งคืนเงินต้น
    จากกิจการ
3. พนักงานภายในองค์การธุรกิจ (Employees) คือ พนักงานทุกระดับ
    นับตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ(คนงาน) หัวหน้างาน ผู้จัดการ
     จนกระทั่งถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (Chief Executive Officer
     หรือใช้คำย่อว่า CEO)
4. ลูกค้าของกิจการ (Customers) คือ บุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุน
     กิจการโดยการซื้อสินค้าและบริการ หัวใจที่สำคัญที่สุดของกิจการ
     เพราะเป็นผู้ตัดสินความอยู่รอดของธุรกิจ
* * * * * *

25 ก.ค. 2554

เนื้อหาเสริม-วิชาการพัฒนาอาชีพ1-1

ตอนนี้มาดูเนื้อหาในวิชาอื่นที่ไม่ใช่วิชาภาษาอังกฤษกันบ้าง
แต่เป็นเนื้อหาเสริมในวิชาการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

ผู้ประกอบการ คือ บุคคลที่จัดตั้งธุรกิจโดยพร้อมที่จะเผชิญกับ
ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อหาแสวงหา
ผลกำไรและการเติบโตของธุรกิจนั้นๆจากโอกาสในการประกอบการ
และรวบรวมทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับลงทุนในกิจการ รวมทั้งค้นหา
ความต้องการของตลาดและเปิดกิจการใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการ
ผู้ประกอบการ(Entrepreneur) คือ บุคคลซึ่งมีความเต็มใจและสามารถ
ที่จะนำความคิดใหม่ (New Idea) หรือสิ่งประดิษฐ์ (Invention) นำไปสู่
วัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ

หมายเหตุ  ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) นั้น เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส

คุณสมบัติของการเป็นเจ้าของธุรกิจ   การมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง เป็นความใฝ่ฝันของพวกเรา
หลายๆ คนที่ต้องการเป็นเจ้านายตนเองไม่เป็นเพียงมนุษย์เงินเดือน
หลายคนมีความพยายามจนสามารถเปิดกิจการเป็นของตนเองได้
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะก้าวไปถึงความสำเร็จอย่างที่ได้ตั้งใจไว้
แล้วอะไรบ้างที่เป็น 'คุณสมบัติส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ'
1. การรู้จักตนเอง คือ ตนเองมีนิสัยอย่างไร สนใจและเหมาะกับการทำงานใด
2. ความรู้ คือ คุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เพราะความรู้เป็นเป็นกุญแจ
    ในการริเริ่มสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ โดยความรู้ที่สำคัญมีอยู่ด้วย
     กัน 2 ส่วนด้วยกันคือ
    * ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
    * ความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับธุรกิจ
3. ความคิดสร้างสรรค์ การเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เจ้าของธุรกิจ
   ได้เปรียบในการเริ่มสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ เพราะความคิดสร้างสรรค์ในมา
    ใช้สร้างความน่าสนใจในการดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาทดลองซื้อผลิตภัณฑ์
    ทั้งสินค้าและบริการของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยอาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง
    ได้มาก ยิ่งไปกว่านั้นความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นสิ่งที่ช่วยปรับปรุงและต่อ
     ยอดธุรกิจเดิมได้อีกด้วย
4. ความกล้าและความเป็นผู้นำ ได้แก่ความกล้าในการตัดสินใจที่จะลงมือทำ
    หรือไม่ลงมือทำในสิ่งต่างๆ เพราะการตันสินใจแต่ละครั้งอาจจะหมายถึง
     อนาคตของกิจการด้วย
5. ความรักในสิ่งที่ทำธุรกิจ การมีความรักในสิ่งที่ทำให้เจ้าของธุรกิจทำเกิด
    ความพยายามในการศึกษาหาความรู้ และนำมาพัฒนาธุรกิจของตนเองดีมากที่สุด
6. ความพยายาม
7. ความประหยัด
8. ไหวพริบ ในการทำธุรกิจมีการแข่งขันยู่ตลอดเวลา การมีไหวพริบจะช่วยให้
    เราสังเกตสิ่งที่ต่างที่จะมาช่วยดำเนินงานต่างๆได้ และช่วยการตัดสินใจได้
    อย่างรวดเร็ว
9. เงินทุน               
10. การมีเพื่อนหรือมีสังคมที่กว้างขวาง

* * * โปรคติดตามในตอนต่อไป * * *

ภาพงานวิ่ง-2

มาดูบรรยายกาศทั่วไปของงานกันบ้าง...
ฮีโร่ก็มาวิ่งด้วย

ไม่รู้จักกันแต่ก็ยิ้มให้กันได้
นี่ก้อ....ไม่รู้จักแต่ก็ยิ้มให้กันได้

ที่หน้าด้านลานพระรูปฯ

ที่หน้าเวทีกลาง
    เป็นงานที่มีผู้คนมากมายจริงๆครับ...ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม แสดงให้ถึง
ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของพวกเราคนไทยที่รักและเทิดทูนในหลวงของเรา

ภาพงานวิ่ง-ภาค1

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา ทางศรช วัดบางประทุนนอกของเรา
ได้มีโอกาสไปร่วมในงานเดินวิ่งเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา
เลยขอนำภาพบางส่วนมาให้พวกเราได้ดูกัน
มาตั้งขบวนที่หน้าลานพระบรมรูปทรงม้าแต่ช้ามืด

ให้รู้ว่าเขตจอมทองของเราก็มา

จุดปล่อยตัว

เริ่มออกเดินด้วยความมุ่งมั่นพร้อมรอยยิ้ม



มาช้าดีกว่าไม่มา....นะค่ะ...


เดินไปถ่ายภาพไป(ไม่เบื่อ...ดี)

 

รุ่นใหญ่ก็ทำได้
 

คนอื่นดมยาดมแต่เรายังไว ...(หรือเปล่า???)


รับใบประกาศฯและหรียญ Olympic

หนูก็ทำได้

มีต่อตอนที่ 2 โปรดติดตามครับ

21 ก.ค. 2554

ภาษาไทย

อ่านภาษาอังกฤษมาพอสมควรแล้วมาดูภาษาไทยของเรากันมา
จำกันได้หรือเปล่าว่า ในภาษาไทยของเรามีพยัญชนะอยู่กี่ตัว
ถ้าจำไม่ได้เรามาทบทวนกัน
พยัญชนะไทย
พยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง 44 รูป (ฃ และ ฅ ยกเลิกไปแล้ว) คือ
ก ข  ฆ ง จ ฉ ช
ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด
ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ
ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส
ห ฬ อ ฮ

สระในภาษาไทย    สระในภาษาไทย มี 24 เสียง 21 รูปเสียงสระ ได้แก่
อะ อา อิ อี อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ
โอ เอาะ ออ อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ
และ อีกกลุ่มเรียกว่าสระเกิน คือ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

วรรณยุกต์   วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ
    1. เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) 2. เสียงเอก 3. เสียงโท 
    4. เสียงตรี  5. เสียงจัตวา
  
การยืมภาษา
     การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา เกิดขึ้นเมื่อแต่ละชาติมีการติดต่อกัน
จะเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษาของอีกภาษามาใช้ในภาษาของตน
ประเภทของการยืม
   1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก
กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า
   2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิดจากประเทศที่อยู่ติดกัน
   3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน

สาเหตุการยืมของภาษาไทย   1. ความสัมพันธ์ทางถิ่นฐาน คือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
   2. ความสัมพันธ์ทางการค้า
   3. ความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม
   4. การศึกษาและการกีฬา คือ การที่คนไทยไปเรียนต่อในต่างประเทศ
   5. ความสัมพันธ์ทางการฑูต
   6. เกิดจากการที่ชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวและพักอยู่ในประเทศ

***  โปรดติดตามตอนต่อไป ***

ภาษาอังกฤษม.ปลาย-4

มาดูอังกฤษของม. ปลายกันบ้าง
หน้า 43
Situation 1 (สถานการณ์ที่1)
Suda : What do you think about the movie?
สุดา : คุณคิดย่างไรกับหนังเรื่องนั้น
Malee : I don't like it, it make me unpleasant. And you?
มาลี : ฉันไม่ชอบมัน มันทำให้ฉันรู้สึกไม่ดี แล้วคุณล่ะ?
Suda : Wow! For me, I think it's wonderful. I'm so pleased with this movie.
สุดา : ว้าว.. สำหรับฉัน ฉันคิดว่าหนังเรื่องนี้ยอดเยี่ยมมาก ฉันรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้มากเลย

อธิบายเสริม
1. เมื่อต้องการ ถามความเห็นของคนอื่น เราสามารถใช้
   What do you think about …คำนามหรือคำกริยา+ing …ได้ เช่น
   * What do you think about that book?
      คุณคิอย่างไรกับหนังสือเล่มนั้น
   * What do you think about that my teaching?
      คุณคิอย่างไรกับการสอนของฉัน
2. ในประโยค I'm so pleased... คำว่า so ใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (adv.)
     มีความหมายเหมือนกัน very = มาก
   ซึ่งคำว่า so มีวิธีใช้ที่หลากหลาย ขอให้นักศึกษาคอยสังเกตและจดจำ 
3. คำว่า please ในที่นี้เป็นคำกริยา = ชอบ, โปรดปราน
    แต่ปกติ จะอยู่หน้าหรือหลัง ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง เช่น
    Please, open the window. ช่วยเปิดหน้าต่าง
    Close that book, please.   ช่วยปิดหนังสือเล่มนั้น
* * * * * *
หน้า 44
Situation 2 (สถานการณ์ที่2)
Mana : How is the movie?
มานะ : หนังเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง?

Wichai : Well, it's O.K. How about your opinion?
วิชัย : ก็ดี.. แล้วคุณมีความเห็นอย่างไร?

Mana : It's a little bit fantasies. It's good for children.
มานะ : มันออกแนวเพ้อฝันมากไปหน่อย มัน(น่าจะ)ดีสำหรับเด็ก

Wichai : I agree.
วิชัย : ผมเห็นด้วย

อธิบายเสริม
1. เมื่อต้องการ ถามความเห็นของคนอื่น เราสามารถใช้
    * How is …. คำนาม….?
    * How about your opinion?
2. เมื่อเรามีความคิดตรงกับคนอื่นเราสามารถใช้
    I agree (with you). ฉันเห็นด้วย(กับคุณ)
    I think so. ฉันก็คิดแบบนั้น
    สังเกต so ในประโยคนี้ ใช้เป็นคำสรรพนาม(pron.)
    แทนเรื่องราวที่ได้ยินมาทั้งหมด โดยไม่ตั้งพูดซ้ำ
3. คำว่า  well โดยปกติป็นคำคุณศัพท์(adj.)หรือ คำกริยาวิเศษณ์(adv.) = ดี
   แต่ในที่ในเป็นใช้คำอุทานเพื่อใช้หยุดคิดก่อนที่จะพูดต่อไป 
* * * * *

ภาษาอังกฤษม.ต้น-04

มาดูภาษาอังกฤษกันต่อ
หน้า 36

Situation 2 (สถานการณ์ที่2)
การคุยทางโทรศัพท์กรณีบุคคลที่เราต้องการพูดด้วยไม่อยู่ ณ
ที่นั้นและไม่ต้องฝากข้อความไว้ แต่ว่าจะโทรศัพท์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

Suda : Hello. This is Suda. Could I speak to Wipa, please?
สุดา : สวัสดีคะ นี่สุดา ขอสายคุณวิภาหน่อยค่ะ?

Malee : Sorry. She isn't in. Would you like to leave a message?
มาลี : ขอโทษคะ ตอนนี้เธอไม่อยู่ คุณต้องการฝากข้อความไว้หรือเปล่าคะ?

Suda : No, thank you. I'll call her later on.
สุดา : ไม่คะ ขอบคุณ เดี๋ยวจะโทรมาใหม่

Malee : All right. Goodbye.
มาลี : ได้คะ  สวัสดี

Suda : Thanks. Goodbye.
สุดา : ขอบคุณ สวัสดีคะ

อธิบายเสริม
1. เรามักใช้ซึ่งมักใช้ Can, Could, May ขึ้นต้นประโยคคำถาม
    ที่เป็นทางการเพื่อความสุภาพ เช่น การขอคุยกับอีกคนที่เราโทรหา
     Can I speak to Wipa, please?
     Could I speak to Wipa, please?
     May I speak to Wipa, please?
2. Call = เรียกหา, โทรหา
* * * * *

หน้า 37
Situation 3 (สถานการณ์ที่3)
กรณีบุคคลที่เราต้องการพูดด้วยไม่อยู่ ณ ที่นั้นและต้องฝากข้อความไว้

Suda : Hello. Here's Suda speaking. Is Malee in?
สุดา : สวัสดีคะ.. นี้สุดากำลังพูด... มาลีอยู่หรือเปล่าค่ะ?

Wipa : Sorry. She's out. Would you like to leave a message?
วิภา : ขอโทษคะ เธอออกไปข้างนอก คุณอยากฝากข้อความไว้หรือเปล่าค่ะ?

Suda : Yes, please tell her that I can't see her tomorrow.
สุดา : ดีคะ...ช่วยบอกเธอว่าฉันไม่สามารถไปพบเธอในวันพรุ่งนี้ได้

Wipa : Alright, I'll tell her.
วิภา : ได้คะ...ฉันจะบอกเธอให้

Suda : Thanks a lot. Goodbye.
สุดา : ขอบคุณมาก สวัสดีคะ

Wipa : You're welcome. Goodbye.
วิภา : ยินดีคะ...สวัสดี

อธิบายเสริม
1. ขอให้สังเกตว่าในบทสนทนานี้ มีการใช้คำสรรพนาม(pron.)
    คือ her, she ซึ่งหมายถึงคนเดียวกันคือ Malee
2. I'll tell her ย่อมาจาก  I will tell her.
    ฉันจะบอกเธอให้
* * * * *

18 ก.ค. 2554

ภาษาอังกฤษม.ปลาย-03

ก็มาดูกันต่อในส่วนของภาษาอังกฤษม.ปลาย
หน้า 32
I’m sorry about that (เสียใจด้วยนะกับเรื่องนั้น)

Suree : Excuse me, sir. I’d like to take a few days off.
สุรีย์ : ขอโทษครับ ฉันต้องการขอลาพักหยุดสัก 2-3 วัน

Boss : Why? What’s the matter, Suree?
หัวหน้า : ทำไม? เกิดอะไรขึ้น คุณสุรีย์?

Suree : Well, my father’s ill. He’s going to have an operation.
สุรีย์ : ค่ะ พ่อของฉันป่วย เขากำลังจะผ่าตัด

Boss : Oh dear. I’m sorry to hear that. I feel sympathy for you.
            How long will you be away?
หัวหน้า : โอ้... เสียใจด้วยนะกับเรื่องนั้น ผมรู้สึกเห็นใจคุณ
            คุณจะไป(ลางาน)นานแค่ไหน?

Suree : I hope to be back next Monday.
สุรีย์ : ฉันคิดว่าจะกลับมาในวันจันทร์หน้า

Boss : That’s all right, Suree. And I hope your father gets better soon.
หัวหน้า : ได้ครับ คุณสุรีย์ แล้วก็ผมหวังว่าพ่อของคุณคงจะดีขึ้นในเร็ววัน

Suree : Thank you so much.
สุรีย์ : ขอบคุณมากค่ะ

อธิบายเสริมในบทสนทนานี้มีคำศัพท์-สำนวนที่น่าสนใจ เช่น
* that ในประโยค I’m sorry about that.
   ใช้เป็นคำสรรพนาม(pron.) แทนเรื่องราวที่ได้ยินมา
* I’d like to ย่อมาจาก I would like to + คำกริยาช่อง 1 (v1)
     = อยากจะทำอะไร
* จาก take a few days off คำว่า take …… off
    = ลาหยุด, ลาพักร้อน
   ในภาษาอังกฤษเราจะพบว่าที่มีลักษณะแบบนี้มาก ทำให้เป็นอุปสรรค
    ในการอ่านและแปลมาก ขอในนักศึกษาหมั่นสังเกตและจดจำ
* to have an operation = ทำการผ่าตัด
    นอกจากนั้น คำว่า operation (n.) = การดำเนินงาน, กิจการได้
* is / am / are  going to + คำกริยาช่อง 1 (v1) = กำลังที่จะทำอะไร 
   แสดงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้โดยมีการวางแผน
   หรือความตั้งใจไว้แล้ว
* * * * * *

หน้า 33
Drill the dialogue with your friend.
(ฝึกพูดบทสนทนานี้กับเพื่อ)

Situation 1 (เหตุการณ์ที่ 1)
A : I think I’ve got the flu, I’ve got a fever and a terrible headache.
เอ : ฉันคิดว่าฉันเป็นไข้หวัด (คือ..) ฉันมีไข้กับปวดหัวมาก (มาระยะหนึ่งแล้ว)

B : I’m sorry to hear that. Get well soon.
บี : เสียใจด้วยนะกับเรื่องนั้น หายเร็วๆนะ

A : Thank you so much.
เอ : ขอบคุณมาก


อธิบายเสริม
ในบทสนทนานี้มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ เช่น
* drill เป็นคำนาม (n.) = การฝึกฝน, การขุดเจาะ, การหว่านเมล็ดพืช
* drill เป็นคำกริยา (n.) = ฝึกฝน, ขุดเจาะ, หว่านเมล็ดพืช
* Terrible เป็นคำคุณศัพท์(adj.) = น่ากลัว, ซึ่งแย่มาก
แต่เมื่อใช้ร่วมคำกับคำอื่นเราสามารถเปลี่ยนคำแปลให้เข้าคำนั้นๆ ได้
เพื่อสื่อความให้เข้าใจได้ง่าย แต่ต้องไม่เปลี่ยนความหมายดั่งเดิมของคำนั้น

Situation 2 (เหตุการณ์ที่ 2)

A : I had a nasty fall yesterday.
เอ : ฉันหกล้มแบบไม่เป็นท่าเมื่อวานนี้

B : I’m sorry to hear that. You have to be careful next time.
บี : เสียใจด้วยนะกับเรื่องนั้น คราวหน้าคุณที่ระวังให้ดีหน่อย

A : Thank you.
เอ : ขอบคุณ
*********

ภาษาอังกฤษม.ต้น-3

มาดูภาษาอังกฤษ ม.ต้น กันต่อมานะครับ
หน้า 16
Situation 2 (สถานการณ์ที่2)
Wichai : Hello. I'm Wichai, my nickname is Chai.
วิชัย : สวัสดีครับ ผมชื่อวิชัย ชื่อเล่นว่า ชัย

Mana : Hello. My name is Mana and my nickname is Na.
มานะ : สวัสดีครับ ผมชื่อมานะ ชื่อเล่นว่า นะ

Wichai : I'm glad to meet you.
วิชัย : ผมยินดีที่ได้พบคุณครับ

Mana : I'm glad to meet you, too.
มานะ : ยินดีที่ได้พบคุณเช่นกันครับ

อธิบายเสริม
1. การใช้พูดแนะนำตัวเองเราสามารถใช้
    My name is ….ชื่อ…. หรือ
    I'm ….ชื่อ ….   ก็ได้ ซึ่งการแนะนำแบบนี้เป็นแบบไม่เป็นทางการ
2. หลังจากที่ทราบชื่อกันแล้ววัฒนธรรมของฝรั่งจะเริ่ม
    สร้างสัมพัทธ์ที่ดีด้วยกันพูดว่า
    I'm glad to meet you. หรือ
    Nice to meet you.  หรือ
    How do you do?
    ซึ่งคำตอบรับต้องตอบด้วยประโยคเดียวกัน
    แล้วจึงเริ่มพูดคุยเรื่องอื่นต่อไป
* * * * *

หน้า 36
Situation 1 (สถานการณ์ที่1)
การคุยทางโทรศัพท์กรณีที่เราต้องการพูดด้วยอยู่ ณ ที่นั้น

Suda : Hello. Can I speak to Wipa, please?
สุดา : สวัสดีค่ะ ขอพูดสายคุณวิภาค่ะ?

Malee : Hello. Who's calling, please?
มาลี : สวัสดีค่ะ นั่นใครโทรมาคะ?

Suda : I'm Suda.
สุดา : ฉันสุดาค่ะ

Malee : Hold on, please
มาลี : ถือสายรอสักครู่นะคะ
* * * * *

14 ก.ค. 2554

วันเข้าพรรษา

สัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเราก็ได้ช่วยกัน ถวายเทียนพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษากันแล้ววันครูจะนำเรื่องของวันเข้าพรรษาที่ได้รวบรวมและเอามาสรุปให้อ่านกัน
    วันเข้าพรรษา ถือเป็นวันสำคัญที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ในช่วง 3 เดือนที่เป็นฤดูฝน ตามที่พระธรรมวินัย โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกเราเรียกว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) เป็นพิธีสำคัญสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

   สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาซึ่งจะเป็นไปด้วยความลำบาก เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเดินเหยียบย่ำต้นพืชของชาวบ้านที่ปลูกไว้และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วยกัน

ประเภทของการเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
2.ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

ประเพณีที่เกี่ยวกับการเข้าพรรษาในประเทศไทย
1. ประเพณีถวายเทียนพรรษา 
     เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีต จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษา
2.ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
    ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา) ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งาม นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
3. ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา (หลังออกพรรษา)
    ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4  แต่สำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจำนำพรรษาได้เช่นกัน แต่สามารถรับได้ในช่วงกำหนดเพียง 1 เดือน ในเขตจีวรกาลสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐินเท่านั้น

4. ประเพณีถวายผ้าอัจเจกจีวร (ระหว่างเข้าพรรษา)
    ผ้าอัจเจกจีวร แปลว่า จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน คือผ้าจำนำพรรษาที่ถวายล่วงหน้าในช่วงเข้าพรรษา ก่อนกำหนดจีวรกาลปกติ ด้วยเหตุรีบร้อนของผู้ถวาย เช่น ผู้ถวายจะไปรบทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ชีวิต หรือเป็นบุคคลที่พึ่งเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควรรับไว้ฉลองศรัทธา
    ผ้าอัจเจกจีวรนี้ เป็นผ้าที่มีความมุ่งหมายเดียวกับผ้าจำนำพรรษา เพียงแต่ถวายก่อนฤดูจีวรกาลด้วยวัตถุประสงค์รีบด่วนด้วยความไม่แน่ใจในชีวิต ซึ่งประเพณีนี้คงมีสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏเป็นพิธีใหญ่ เพราะเป็นการถวายด้วยสาเหตุส่วนตัวเฉพาะรายไป ส่วนมากจะมีเจ้าภาพผู้ถวายเพียงคนเดียวและเป็นคนป่วยหนักที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
* * * * *

13 ก.ค. 2554

ภาษาไทย-คำสมาส

วันนี้ครูขอเปลี่ยนมาเป็นวิชาภาษาไทยบาง เป็นเรื่องของคำสมาส
ครูได้รวมรวมและสรุปมาให้ได้พวกเราได้อ่านกัน
อ่านแล้วต้องพยายามแยกให้ออกคำว่า คำสมาสมี 2 ความหมาย
คือ 1. เป็นคำรวมๆให้เป็นชื่อของการสร้างคำใหม่ กับ
       2. เป็นวิธีการสร้างคำให้

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน
เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

การสมาสมี 2 แบบ 
1.  การสมาสแบบสมาส คือ “คำสมาส” (ชนกัน).....มองเห็นศัพท์เดิมเป็นคำๆต่างๆ
2.  การสมาสแบบสนธิ คือ “คำสนธิ” (เชื่อมกัน).....มองไม่เห็นศัพท์เดิมเป็นตัวๆ

ตัวอย่างคำสมาสแบบสมาส
กาญจน์ + บุรี = กาญจนบุรี
ชาติ + พันธุ์ = ชาติพันธุ์
ชาติ + ภูมิ = ชาติภูมิ
ทศชาติ = ทศ + ชาติ
ทาส + กรรมกร=ทาสกรรมกร
ธน + บัตร = ธนบัตร
ธนบัตร = ธนะ + บัตร
ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์
พุทธศักราช = พุทธะ + ศักราช
แพทย์+ศาสตร์ = แพทยศาสตร์
ภูมิ+ศาสตร์ = ภูมิศาสตร์ 
มนุษย์ + ธรรม = มนุษยธรรม
ยุคลบาท = ยุคล +บาท
ราช + รถ = ราชรถ
วนาราม = วนา + อาราม
วิทยฐานะ = วิทยะ + ฐานะ
วิทยาเขต = วิทยา + เขต
วีรสตรี = วีระ + สตรี
ศัลยแพทย์ = ศัลย์ + แพทย์
ศิลปะ+ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์ 
สกลมารค = สกล + มารค
สวัสดิ์+ภาพ = สวัสดิภาพ
สาธารณสมับติ = สาธารณะ + สมบัติ
สารคดี = สาระ + คดี
สิทธิ+บัตร = สิทธิบัตร
เสรีภาพ = เสรี + ภาพ
อิสระ+ภาพ = อิสรภาพ
อุบัติ + เหตุ = อุบัติเหตุ
เอก + ภาพ = เอกภาพ

คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม
คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

ตัวอย่างคำสมาสอื่นๆ
กรรมกร, กายกรรม, กายภาพ, กาฬทวีป, กาฬพักตร์, กิจกรรม,
กิจการ, เกษตรกรรม, ขัณฑสีมา, ครุศาสตร์, คหกรรม, คุณธรรม,
ฆาตกร, จตุปัจจัย, จิตวิทยา, จินตภาพ, จีรกาล, ฉันทลักษณ์,
ชีววิทยา, ฌาปนสถาน, ดาราศาสตร์, ไตรทวาร, ทวิบาท, 
ทาสกรรมกร, ธุรกิจ, นาฏศิลป์, นามธรรม,  นิติศาสตร์, 
บุตรทาน, บุตรทารก, บุปผชาติ, โบราณสถาน, ประถมศึกษา,
ปัญญาชน, พระชงฆ์, พระปฤษฏางค์, พระพุทธ, พระหัตถ์,
พัสดุภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน, พุทธธรรม, พุพภิกขภัย, 
เพศศึกษา, แพทย์ศาสตร์, ภารกิจ, ภูมิศาสตร์, มนุษยวิทยา
มนุษยสัมพันธ์, มโนธรรม, มโนภาพ, มรณภาพ, มรรคนายก,
มหกรรม, มหานคร, มหานิกาย, มหาภัย, มหาราช
มัจจุราช, มัณฑนศิลป์, มาฆบูชา, ยุทธวิธี, รัฐศาสตร์,
รัตติกาล, ราชการ, ราชทัณฑ์, ราชอุบาย, ราชโอรส, 
รูปธรรม, ฤทธิเดช, วรพงศ์, วรรณกรรม, วรรณคดี,
วสันตฤดู, วัฏสงสาร, วัตถุธรรม, วาตภัย, วิจิตรศิลป์
วิทยฐานะ, วิทยาธร, วิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, 
วิศวกร, วิสาขบูชา, เวชกรรม, เวทมนตร์, ศิลปกรรม,
ศิลปศาสตร์, ศิลปศึกษา, ศีลธรรม, เศรษฐกิจ
สตรีวิทยา, สถานภาพ, สมณพราหมณ์, สังคมวิทยา
สังฆเภท, สังฆราช, สันติภาพ, สัมมาอาชีพ, 
สามัคคีธรรม, สารัตถศึกษา, สุขภาพ, สุขศึกษา
สุคนธรส, สุนทรพจน์, หัตถศึกษา, อธิการบดี
อักษรศาสตร์, อัคคีภัย, อัฏฐางคิกมรรค
อิทธิพล, อินทรธนู, อุดมคติ, อุตสาหกรรม
อุตสาหการ, อุทกภัย, อุทกภัย, อุบัติเหตุ
เอกชน, เอกภพ
วิธีการสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น
    เทพเจ้า  (เจ้า เป็นคำไทย)
    พระโทรน  (โทรน เป็นคำอังกฤษ)
    บายศรี  (บาย เป็นคำเขมร)
2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น
    ประวัติวรรณคดี แปลว่า ประวัติของวรรณคดี
    นายกสมาคม แปลว่า นายกของสมาคม
    วิพากษ์วิจารณ์ แปลว่า การวิพากษ์และการวิจารณ์
3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น
    ปรากฏการณ์  อ่านว่า  ปรา – กด – กาน
     สุภาพบุรุษ อ่านว่า สุ – พาบ – บุ – หรุด
     สุพรรณบุรี อ่านว่า สุ – พรรณ – บุ – รี
     สามัญศึกษา อ่านว่า สา – มัน – สึก – สา

ข้อควรจำ
1. ลักษณะที่สำคัญคือคำสมาสทั้งสองแบบภาษาที่ใช้
    จะต้องเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต
2. ยกเว้น คำเหล่านี้ไม่ใช่ “คำสมาส ทั้ง ๒ แบบ เช่น ผลไม้
    กระยาสารท คุณค่า ทุนทรัพย์ ราชวัง ราชดำเนิน พลความ
    พลเมือง มูลค่า สรรพสิ่ง พลเรือน พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ชำนาญการ
    เคมีภัณฑ์ ภูมิลำเนา กลเม็ด กรมท่า กรมวัง เมรุมาศ
3. วิธีสังเกตคำสมาส คือ เวลาอ่านตรงกลางจะออกเสียงสระด้วย
    เช่น ราช(ชะ)การ, อุบัติ(ติ)เหตุ, แพทย(ทะยะ)ศาสตร์, กิจ(จะ)กรรม
    ยกเว้นบ้างบางคำเช่น รสนิยม(รด-นิ-ยม), ปรากฎการณ์ (ปรา-กด- กาน),
    เหตุการณ(เหต – กาน), สุขศาลา(สุข – สา-ลา)

ขอให้นักศึกษาอ่านทบทวนในหนังสือแบบเรียนประกอบด้วย
* * * * *

11 ก.ค. 2554

กิจกรรม-บริจาคโลหิต

ภาพจากกิจกรรมบริจาคโลหิตที่ กศน.วัดนางนองในวันที่ 10 ก.ค. 54 ที่ผ่านมา






อาจารย์จากศรช. อื่นก็ร่วมบริจาคโลหิตด้วย
กิจกรรมการบริจาคโลหิตในครั้งนั้ ทำให้นักศึกษาหลายๆ คนเลิกกลัวเข็มไปได้
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะมีครั้งต่อๆไป
* * * * *

กิจกรรม-ถวายเทียน

ทางศรช. วัดบางประทุนนอกของเราได้ทำกิจกรรมถวายเทียนพรรษา
กับวัดบางประทุนนอกเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ก็เช่นกัน จึงได้นำภาพ
บางส่วนมาให้ดูอ่านกัน
ภาพจากงานถวายเทียนพรรษาในวันที่ 10 ก.ค. 54 ที่ผ่านมา

องค์กรนักศึกษากำลังจัดเตรียมงาน

องค์กรและครูกำลังนับซองและสิ่งของที่จะถวาย

ตั้งขบวนแห่และเดินมาที่โบสถ์นำทีมโดยหัวหน้าองค์กรนักศึกษา

 เดินมาที่โบสถ์นำทีมโดยหัวหน้าองค์กรนักศึกษา

 หยุดพักเตรียมเดินรอบโบสถ์

 แห่เทียนรอบโบสถ์

 ร้อนยังไงก็ยังยิ้มได้



 ท่านเจ้าอาวาสผู้มีเมตตากับทางศรช.ของเรามาในพิธีด้วยตัวเอง







 อาจารย์อิงอร ถวายเงินที่ได้รับมากับท่านเจ้าอาวาส
นักศึกษาร่วมกันถวายสิ่งของ

คณะสงฆ์ให้พรเป็นศิริมงคล
ด้วยจิตศรัทธาของทุกคนก็ทำให้เราสามารถถวายเงินด้วยยอดเงิน 14,137 บาท
พวกเราชาวศรช. วัดบางประทุนนอกก็ขออนุโมทนาและขอขอบคุณของคนทุกท่าน
มา ณ.โอกาสนี้
* * * * *

ภาษาอังกฤษ ม.ต้น-2

วันนี้มาดูภาษาอังกฤษกันต่อเลยนะครับ

หน้า 9 
Situation 3 (สถานการณ์ที่3)
Wichai : Hi, Suda. How are you doing?
วิชัย : สวัสดีครับ...สุดา คุณเป็นอย่างไรบ้าง?
Suda : Not so well, thanks, and you?
สุดา : ก็ไม่ค่อยดีนัก ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ?
Wichai : Fine, What's happened?
วิชัย : ดีครับ เกิดอะไร(กับคุณ)หรือครับ?
Suda : I catch a cold. I have to see the doctor now. Goodbye.
สุดา : ฉันเป็นไข้ ฉันต้องไปหาหมอก่อนแล้ว ลาก่อน
Wichai : Take care of yourself, Suda.
วิชัย : รักษาตัวด้วยครับ สุดา

อธิบายเสริม1. เราใช้ How are you doing? แทน  How are you?  ในการทักทายกันได้
2. สำนวน I catch a cold. = ฉันเป็นไข้ หรือ คนไทยจะพูดว่า ฉันจับไข้
3. have,  has แปลว่า มี, กิน แต่
   have to หรือ has to + คำกริยาช่องที่ 1 (v1 )
   แปลว่า ต้องทำอะไร 

หน้า 10

Situation 5 (สถานการณ์ที่5)
Mana : When will you leave for England?
มานะ : คุณจะเดินทางไปประเทศอังกฤษเมื่อไหร่?
Wichai : Next week. You can visit me if you have time.
วิชัย : สัปดาห์หน้าครับ คุณไปเยี่ยมเยียนผมได้ถ้าคุณมีเวลา
Mana : I love to. Have you already prepared all things?
มานะ : ได้เลยครับ แล้วคุณเตรียมของเสร็จแล้วหรือ?
Wichai : Yes. I'll go to say goodbye to all of my cousins during these days
       I'm afraid I have to go now. Bye.
วิชัย : ใช้ครับ ผมจะไปบอกลาญาติทุกๆคนในระหว่าง 2 – 3 วันนี้
      ผมเกรงว่าผมคงต้องไปก่อนแล้วครับ โชคดี
Mana : Don't forget to write.
มานะ : แล้วอย่าลืมเขียน (จดหมายมาบ้างครับ)

อธิบายเสริม
  ขอให้จำว่า leave = ละทิ้ง, ออกจาก แต่ leave for = เดินทางไปที่

* * * * * *

8 ก.ค. 2554

ภาษาอังกฤษ- ม.ปลาย-1

วันเพื่อไม่ให้น้อยหน้ากัน ครูจะเอาเนื้อเรื่องของภาษาอังกฤษ ม.ปลาย
มาแปลให้พวกเราได้อ่านกันบ้าง

รายวิชา ภาษอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
หน้า 21

What was that terrible noise?
(เสียงน่ากลัวนั้นเป็นเสียงจากอะไร)

Jane dropped a stack of plates on the floor because they were too slippery.
Her mother wasn’t at all happy….
เจนทำจานตั้งหนึ่งหล่นพื้นเพราะมันลื่นมาก แม่ของเธอรู้สึกที่พอใจ

Mother : Jane, Oh no! What is going on in the kitchen?
แม่ : เจน โอ้..ไม่น่า..เกิดอะไรขึ้นในครัว?

Jane : I’m sorry. I’ve just dropped a stack of plates.
เจน : หนูขอโทษค่ะ หนูเพิ่งทำจานตั้งหนึ่งหล่น

Mother : Were you hurt?
แม่ : แล้วหนูได้รับบาดเจ็บที่ไหนหรือเปล่า?

Jane : Fortunately, no. But I’m terribly sorry.
เจน : ยังโชคดีค่ะ แต่หนูเสียใจมากๆ

Mother : I’m glad you’re not hurt, but please, you must be careful next time!
แม่ : แม่ดีใจที่หนูไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่หนูต้องระวังในครั้งต่อไป

Jane : I will. I will. Trust me.
เจน : ได้..ได้.. เชื่อใจหนูได้เลย

อธิบายเสริม
ในบทสนทนานี้มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ
   I’m glad + ประโยค = ฉันดีใจที่...
   เป็นประโยคที่แสดงถึงความยินดี, ดีใจกับคนอื่น
   I’m glad you can come. (ฉันดีใจที่คุณมา)
   I’m glad you can understand it. (ฉันดีใจด้วยที่คุณเข้าใจมัน)
* * * * * *

หน้า 25
How terrible! You’re late again.
(แย่จัง..คุณมาสายอีกแล้ว)

Mrs. Jone : Jim, you’re late again.
คุณโจน : จิม, คุณมาสายอีกแล้วนะ

Jim : I apologize, Mrs. Jone. I missed the bus this morning.
จิม : ผมขอโทษครับ, คุณโจน ผมขึ้นรถไม่ทันเมื่อเช้านี้

Mrs. Jone : Did you finish your homework?
คุณโจน : แล้วนี่คุณทำการบ้านสร็จแล้วหรือยัง?

Jim : I’m sorry. I didn’t.
จิม : ผมขอโทษครับ ผมยังทำไม่เสร็จ

Mrs. Jone : How terrible! I’m very disappointed with you.
คุณโจน : แย่จัง ผมรู้สึกผิดหวังกับคุณมากเลย

Jim : I wasn’t feeling well last night. I had a fever. So I took medicine and slept earlier.
จิม : (คือว่า...) ผมรู้สึกไม่แค่สบายเมื่อคืนก่อน.. ผมมีไข้.. ผมทานยานและนอนแต่หัวค่ำ

Mrs. Jone : That’s O.K., then. These things happen. But try to finish it today, will you?
คุณโจน : ก็โอเค ถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว แต่ต้องทำมันให้เสร็จในวันนี้ จะได้ไหม?

Jim : I’ll do that.
จิม : ได้ครับ

อธิบายเสริม
ในบทสนทนานี้มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ เช่น
* took medicine เป็นคำกริยาช่อง2 (v2) ของคำว่า
    take medicine = ทานยา, กินยา (มีความหมายเชิงบวก)
   แต่คำว่า do drug = ยาเสพ (มีความหมายเชิงลบ)
   เรามักพบประโยคนี้บ่อยๆ คือ Don’t do drug = อย่าเสพยา
* คำว่า it เป็นคำสรรพนาม(pron.)โดยปิกติเป็นว่า มัน
   แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้วมักจะมีความหมายเปลี่ยนได้ตามเนื้อเรื่อง
   ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนอ่านที่จะต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่า
    มัน ในเรื่องนี้หมายถึง homework (การบ้าน)
* * * * * *
ครูก็หว้งว่า นักศึกษาคงพอเข้าบ้างนะครับ
แล้วอย่าลืม ถ้าอ่านคำไหนหรือประโยคไหนไม่อ่าน
ก็อย่าลืมว่าพี่กู --- Google ช่วยได้นะครับ

5 ก.ค. 2554

ภาษาอังกฤษ ม.ต้น-1

ในตอนนี้จะเป็นเรื่องของวิชาภาษาอังกฤษ ที่ครูจะนำ
บางส่วนบางตอนในหนังสือแบบเรียนของพวกเราที่ไม่มี
การแปลมาแปลให้พวกเราได้ลองอ่านกัน
มาจากหนังวิชาภาษาอังกฤษ ระดับม.ต้น
หน้า 7
Situation 1 (สถานการณ์ที่1)
Suda : Hello, Mana.
สุดา: สวัสดี...มานะ

Mana : Hello, Suda. How are you?
มานะ : สวัสดีครับ...สุดา คุณสบายดีหรือ?

Suda : Fine, thanks. And you?
สุดา: ดีคะ...ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ?

Mana : Very well, thanks. Where's Malee?
มานะ : ดีมากครับ ขอบคุณ แล้วมาลีอยู่ที่ไหน?

Suda : She goes to the hospital.
สุดา: เธอไปโรงพยาบาล

Mana : What's happened?
มานะ : เกิดอะไรขึ้นหรือครับ?

Suda : She accompanies her mother to see the doctor.
สุดา: เธอไปเป็นเพื่อนแม่เพื่อไปหาหมอ

Mana : Please tell her, I miss her. I've to go now. Good bye.
มานะ : ช่วยบอกเธอด้วยว่า... ผมคิดถึงเธอ ผมต้องไปแล้ว โชคดีครับ

Suda : See you later.
สุดา: แล้วเจอกันค่ะ

อธิบายเสริม
1. บทสนทนานี้ได้ แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ
   * ช่วงการทักทาย ใช้รูปแบบการทักทายที่เป็นที่นิยมเพราะจำง่าย, สะดวก
   * การพูดคุยกันเล็กๆน้อย ใช้การถามถึงบุคคลที่บุคคลที่ 3 เป็นหัวช้อการสนทนา
   * การบอกลา ใช้รูปแบบที่ง่ายและประหยัดเวลา
2. miss เป็นคำกริยา(v) = คิดถึง, พลาด
    Miss ใช้เป็นคำนำหญิงชื่อของผู้หญิง
3. ในบทสนทนานี้ she, her เป็นคำสรรพนาม(pron.) หมายถึง Malee
4. I've to ย่อมาจาก I have to + กริยาช่องที่ 1 (v1) = ฉันต้องไปทำอะไร
* * * * * *

หน้า 8
Situation 2 (สถานการณ์ที่2)
Keawta : I'll teach the supplementary lessons on Saturday.
แก้วตา : ฉันจะสอนบทเรียนเสริมในวันเสาร์

Malee : That's a very kind of you.
มาลี : คุณชังใจดีจังเลย

Keawta : It's my pleasure. Goodbye.
แก้วตา : ด้วยความยินดี ลาก่อน

Malee : See you on Sunday.
มาลี : แล้วพบกันวันเสาร์

อธิบายเสริม
1. เมื่ออ่านบาทสนทนานี้แล้วต้องทราบว่า Keawta น่าจะเป็นครู
2. เมื่อมีการเสนอความช่วยเหลือจากคนอื่น เราควรแสดง
    ความขอบคุณต่อเขาด้วยประโยค เช่น
    Thank you (very much) = ขอบคุณ(มาก)
    That's a very kind of you. = คุณชังใจดีจังเลย
    Thank you for your help. = ขอบคุณสำหรับการช่วยเหลือ
3.  I'll ย่อมาจากคำว่า I will + คำกริยาช่องที่ 1 (v1) = ฉันทำอะไร
4. ในประโยคที่มีการกล่าวถึงวันและเดือน ต้องมีคำบุพบท (prep.)
     คำว่า on นำหน้า
* * * * *
หรือใครจะลองอ่าน-ลองแปลมาก่อนแล้วนำมาเปรียบเทียบ
กับที่ครูแปลได้ก็จะดีมาก

อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก

มีนักศึกษาหลายคนอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้เลยทำให้กลัวภาษาอังกฤษ
วันนี้ครูมีคำแนะนำง่ายๆ ดังนี้
  *ใน CD ที่ครูให้ไปก็มีเสียงอ่านให้นักศึกษาได้ฟังอยู่แล้ว
  ** หรือ เข้ามาเว็บไซด์ของ Google ก็ช่วยได้โดยมีวิธี ดังนี้
 1. หลังจากที่เข้าเว็บของ Google แล้ว กดที่คำว่า แปลภาษา



2.  พิมพ์คำหรือประโยคที่ต้องการเข้าไปในช่องหรือจะใช้การคัดลอก(copy) มาก็ได้
      แล้ว กดที่คำว่า ฟัง แต่อย่าลืมเปิดลำโพงด้วย แล้วยังมีแปลภาษาไทยให้ด้วย


....ชอบกันหรือเปล่าครับ...ต่อไปขึ้นอยู่กับตัวนักศึกษาแล้วนะครับว่าจะมี
...ความขยัน....ความพยายาม....มีเวลา....มากน้อยแค่ไหน
ครูก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก็แล้วกัน

แต่สำหรับคนที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือไม่ค่อยได้เล่นอินเตอร์เน็ตทำอย่างไร??
....คำแนะนำของครูคือ อ่านไม่ออกไม่ต้องน้อยใจ แค่พยายามจำคำศัพท์ให้
ได้ว่า คำๆนี้แปลว่าอะไรก็พอแล้ว ประโยคนี้ประโยคนั้นแปลความได้ แบบนี้
ก็ OK แล้ว เพราะตอนสอบจริงๆ เขาดูแค่ว่าเราแปลได้หรือเปล่า
หรือ เข้าใจคำถามหรือเปล่าและเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้หรือไม่
ก็ขอให้หมั่นจดจำศัพท์ให้ได้มากที่สุดก่อนก็แล้วกัน
* * * * * *

ภาษาไทย-คำราชศัพท์2

มาต่อกันเรื่องของราชาศัพท์กันอีกตอนนะครับ
หมวดร่างกาย
กล่องพระสกุล = มดลูก
กล้ามพระมังสา = กล้ามเนื้อ
ขมวดพระศก, ขมวดพระเกศา = ขมวดผมที่เป็นก้นหอย
ข้อนิ้วพระหัตถ์, พระองคุลีบัพ = ข้อนิ้วมือ
ข้อพระกร, ข้อพระหัตถ์ = ข้อมือ
ข้อพระบาท = ข้อเท้า
ช่องพระนาสิก = ช่องจมูก
ช่องพระโสต, ช่องพระกรรณ = ช่องหู
ดวงเนตรขาว, ดวงพระเนตรขาว = ตาขาว
ต้นพระชิวหา, มูลพระชิวหา = โคนลิ้น, ลิ้นไก่
ต้นพระหนุ = ขากรรไกร
ต่อมพระเนตร = ต่อมน้ำตา
นิ้วพระบาท = นิ้วเท้า
ผิวพระพักตร์, พระราศี = ผิวหน้า
ฝ่าพระบาท = ฝ่าเท้า
ฝ่าพระหัตถ์ = ฝ่ามือ
พระกฏิฐิ = กระดูก สะเอว
พระกนิษฐา = นิ้วก้อย
พระกนีนิกา, พระเนตรดารา = แก้วตา
พระกร = ศอกถึงข้อมือ
พระกรรณ = หู ใบหู
พระกราม = ฟันกราม
พระกฤษฎี, บั้นพระองค์, พระกฏิ = สะเอว เอว
พระกัจฉโลมะ = ขนรักแร้
พระกัจฉะ = รักแร้
พระกัณฐมณี = ลูกกระเดือก
พระกัประ, พระกะโประ = ข้อศอก
พระกำโบล, กระพุ้งพระปราง = กระพุ้งแก้ม
พระกิโลมกะ = พังผืด
พระกุญชะ = ไส้พุง
พระเกศา พระเกศ พระศก = เส้นผม
พระขนง, พระภมู = คิ้ว
พระเขฬะ = น้ำลาย
พระครรโภทร, พระคัพโภทร = มีครรภ์ มีท้อง
พระคีวัฐิ = กระดูกคอ
พระคุยหฐาน, พระคุยหประเทศ = องค์ที่ลับชาย
พระโคปผกะ = ตาตุ่ม
พระจุฑามาศ = มวยผม, ท้ายทอย
พระจุไร, ไรจุก = ไรผม
พระเจ้า = หัว ศีรษะ ( พระมหากษัตริย์ )
พระฉวี = ผิวหนัง
พระฉายา = เงา
พระชงฆ์ = แข้ง
พระชังฆัฐิ = กระดูก แข้ง
พระชัตตุ = คอต่อ
พระชานุ = เข่า
พระชิวหา = ลิ้น
พระชีพจร = ชีพจร
พระดัชนี = นิ้วชี้
พระตาลุ, เพดานพระโอษฐ์ = เพดานปาก
พระถัน พระเต้า พระปโยธร เต้านม
พระทนต์ = ฟัน
พระทันตมังสะ, พระทันตมังสา = เหงือก
พระทาฐะ, พระทาฒะ = เขี้ยว
พระทาฐิกะ, พระทาฒิกะ = เครา
พระที่นั่ง = ก้น
พระธมนี = เส้นประสาท
พระนขา, พระกรชะ = เล็บ
พระนลาฏ = หน้าผาก
พระนหารู = เส้นเอ็น
พระนาภี = สะดือ, ท้อง
พระนาสิก = จมูก
พระเนตร, พระนัยนะ, พระจักษุ = ดวงตา
พระเนตรดำ, ดวงพระเนตรดำ = ตาดำ
พระบังคนเบา = ปัสสาวะ
พระบังคนหนัก = อุจจาระ
พระบาท = เท้า
พระบุพโพ = น้ำหนอง, น้ำเหลือง
พระปรัศว์ = สีข้าง
พระปราง = แก้ม
พระปฤษฏางค์, พระขนอง = หลัง
พระปัณหิ, พระปราษณี, ส้นพระบาท = ส้นเท้า
พระปัปผาสะ = ปอด
พระปัสสาสะ = ลมหายใจ เข้า
พระปาทัฐิ = กระดูกเท้า
พระปิฐิกัณฐกัฐ ิ= กระดูกสันหลัง
พระปิตตะ = ดี
พระปิหกะ = ม้าม
พระปีฬกะ = ไฝ
พระผาสุกะ = ซี่โครง
พระผาสุกัฐิ = กระดูกซี่โครง
พระพักตร์ = ดวงหน้า
พระพาหัฐิ = กระดูกแขน
พระพาหา, พระพาหุ = บ่า
พระเพลา = ขาตัก
พระมังสา = เนื้อ
พระมัชฌิมา = นิ้วกลาง
พระมัตถลุงค์ = มันในสมอง
พระมัสสุ = หนวด
พระมุฐิ, กำพระหัตถ์ = กำปั้น, กำมือ
พระเมโท = ไคล
พระโมลี, พระเมาลี = จุก หรือ มวยผม
พระยกนะ (ยะ-กะ-นะ) = ไต
พระยอด = ฝี, หัวฝี
พระโยนี = องค์ที่ลับหญิง
พระรากขวัญ = ไหปลาร้า
พระลสิกา = น้ำในไขข้อ
พระโลมจักษะ, ขนพระเนตร = ขนตา
พระโลมนาสิก, ขนพระนาสิก = ขนจมูก
พระโลมา = ขน
พระวัตถิ = กระเพาะปัสสาวะ
พระวาโย = ลม
พระเวณิ = เปียผม ช้องผม
พระศอ = คอ
พระเศียร = หัว ศีรษะ
พระสกุล, พระครรภมล = รก
พระสิรัฐิ (สิ-รัด-ถิ ), พระสีสกฏาหะ = กะโหลกศีรษะ
พระเสโท = เหงื่อ
พระเสมหะ = เสลด
พระโสณี = ตะโพก
พระหทัย, พระกมล = หัวใจ
พระหนุ (หะ-นุ) = คาง
พระหนุฐิ = กระดูก คาง
พระหัตถ์ = มือ
พระหัตถัฐิ = กระดูก มือ
พระองคาพยพ = ส่วนต่างๆของร่างกาย
พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ
พระอนามิกา = นิ้วนาง
พระอสา = สิว
พระอังคาร, พระสรรางคาร = เถ้ากระดูก
พระอังคุฐ = นิ้วหัวแม่มือ
พระอังสกุฏ = จะงอยบ่า
พระอังสัฐิ = กระดูกไหล่
พระอังสา = บ่า
พระอัฐิ = กระดูก
พระอัณฑะ = ลูกอัณฑะ
พระอันตคุณ = ไส้น้อย
พระอันตะ = ไส้ใหญ่
พระอัสสาสะ = ลมหายใจออก
พระอัสสุธารา, พระอัสสุชล, น้ำพระเนตร = น้ำตา
พระอุทร = ท้อง
พระอุนาโลม = ขนหว่างคิ้ว
พระอุระ, พระทรวง = อก
พระอุรัฐิ = กระดูกหน้าอก
พระอุหลบ, พระบุษปะ = เลือดประจำเดือน
พระอูรัฐิ = กระดูกขา
พระอูรุ = ต้นขา
พระโอษฐ์ = ปาก, ริมฝีปาก
ม่านพระเนตร = ม่านตา
มูลพระนขา = ขี้เล็บ
มูลพระนาสิก = น้ำมูก
ยอดพระถัน, พระจูจุกะ = หัวนม
ไรพระเกศา, ไรพระศก = ไรผม
ไรพระทนต์ = ไรฟัน
ลำพระศอ = ลำคอ
สันพระนาสิก, สันพระนาสา = สันจมูก
สายพระสกุล = สายรก
เส้นพระเจ้า = เส้นผมของพระมหากษัตริย์
เส้นพระโลหิต,หลอดพระโลหิต = เส้นเลือด
หนังพระเนตร, หลังพระเนตร = หนังตา, หลังตา
หลอกพระวาโย = หลอดลม
หลังพระชงฆ์ = น่อง
หลังพระบาท = หลังเท้า
หลังพระหัตถ์ = หลังมือ
อุณหภูมิพระวรกาย = อุณหภูมิร่างกาย