29 ส.ค. 2554

ภาษาไทย03

มาต่อกันเลยนะครับถ้ายังไม่เหนื่อย

การเขียนเรียงความ

เรียงความ คือ การนำเอาคำมาประกอบแต่งเป็นเรื่องราวอาจใช้
วิธีการเขียนหรือการพูดก็ได้ เช่น การเขียนจด รายงาน
การตอบคำถาม ข่าว บทความ ต่างก็อาศัยพื้นฐานของเรียงความ
เรียงความมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนสรุปหรือส่วนท้าย

แนวทางการเขียนเรียงความ มีดังนี้
1. การเลือกเรื่อง
2. ประเภทของเรื่องที่จะเขียน แบ่งได้ 4 ประเภทคือ
    เพื่อความรู้ , เพื่อความเข้าใจ, เพื่อโน้มน้าวใจ
3. การวางโครงเรื่องก่อนเขียน
4. การเขียนย่อหน้า
5. การเชื่อมโยงย่อหน้า
6. สำนวนภาษา
7. การใช้หมายเลขกำกับ
8. การแบ่งวรรคตอนและเครื่องหมายวรรคตอน
9. สำนวนโวหาร

****

การย่อความ
การย่อความ คือ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องเดิมมาเขียนใหม่
ให้สั้นกว่าเดิมเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจและการนำไปใช้

คำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมาย
1. ญาติผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
    คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
    คำลงท้าย กราบเท้าด้วยความเคารพอย่างสูง หรือ
                      กราบเท้าด้วยความเคารพรักอย่างยิ่ง

2. ญาติลำดับรองลงมา เช่น ลุง ป้า น้า อา
    คำขึ้นต้น กราบ....ที่ความเคารพ หรือ กราบ....ที่ความเคารพอย่างสูง
    คำลงท้าย กราบมาด้วยความเคารพ หรือ ด้วยความเคารพ หรือ
                      ด้วยความเคารพอย่างสูง

3. พี่หรือญาติชั้นพี่
    คำขึ้นต้น พี่...ที่รัก หรือ ถึง ... ที่รัก หรือ ....เพื่อนรัก หรือ ...น้องรัก
    คำลงท้าย ด้วยความรัก หรือ รัก หรือ คิดถึง หรือ รักและคิดถึง

4. ครู อาจารย์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง
   คำขึ้นต้น กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
   คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง

5. ผู้บังคับบัญชาระดับใกล้ตัว
    คำขึ้นต้น เรียน ..... ที่เคารพ
    คำลงท้าย ด้วยความเคารพ

6. ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา
    ประวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา
    คำขึ้นต้น  กราบเรียน
    คำลงท้าย  ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

7. ข้าราชการตำแหน่งอื่นทุกตำแหน่งและคนทั่วไป
    คำขึ้นต้น เรียน
    คำลงท้าย ขอแสดงความนับถือ

8. พระสงฆ์
    คำขึ้นต้น นมัสการ
    คำลงท้าย ขอนมัสการความเคารพอย่างสูง หรือ
                      ขอนมัสการความเคารพ

ประเภทของจดหมาย
จดหมายแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ (เรียงลำดับจากเป็นทางการน้อยไปมาก)
1. จดหมายส่วนตัว
2. จดหมายกิจธุระ
3. จดหมายธุรกิจ
4. จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ

จดหมายราชการ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ

1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
4. หนังสือสั่งการและโฆษณา
5. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น