18 ส.ค. 2554

เฉลยใบงาน-วิชาภาษาไทย ม.ปลาย

ใบงานวิชาภาษาไทย ระดับมัธยม.ปลาย


ใบงานที่ 1 (หน่วยที่ 1)
1. วิจารณญาณในการอ่าน คือ อะไร
   คือการรับสารจากการอ่านให้เข้าใจเนื้อหาสาระแล้วใช้สติปัญญา
   ใคร่ครวญไตร่ตรอง โดยอาศัยความรู้ ความคิด ประสบการณ์
   มาเป็นเหตุผลประกอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2. วิจารณญาณในการอ่านมีขั้นตอนอย่างไร
   1. อ่านให้เข้าใจตลอดเรื่อง
   2. วิเคราะห์เรื่อง
   3. ประเมินค่าของเรื่อง
   4. นำเรื่องที่อ่านไปใช้

3. ให้เขียนคำอ่านของคำต่อไปนนี้
   รโหฐาน = ระ-โห-ถาน
   ประโยค = ประ-โหยก
   ขยำ = ขะ – หยำ
   กมุท = กะ-มุด
   เทศนา = เท-สะ-นา หรือ   เทด-สะ-หนา
4. การอ่านวินิจสารมีลักษณะอย่างไร
    เป็นการอ่านอย่างพิจารณาถี่ถ้วนด้วยความเข้าใจ
    เพื่อให้ได้ประโยชน์หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
5. การอ่านจับใจความ คืออะไร
    คือการอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องนั้นทั้งหมดของหนังสือ
   แต่ละเล่มที่เป็นส่วนใจความสำคัญและส่วนขยายใจความสำคัญ

6. การอ่านวิเคราะห์สาร คือ อะไร
    เป็นการอ่านอย่างละเอียดให้ได้ความอย่างครบถ้วนและแยกแยะ
    ว่าส่วนต่างๆ นั้นมีความหมายและความสำคัญอย่างไร แต่ละ
    ด้านสัมพันธ์กับส่วนอื่นอย่างไร
7. รูปแบบฉันทลักษณ์ คือ อะไร
    รูปแบบการเรียบเรียงถ้อยคำที่มีข้อบังคับ มีการจำกัดคำ
    มีวรรคตอนมีสัมผัสและมีกฏเกณฑ์เฉพาะของร้อยกรองแต่ละประเภท
8. บทประพันธ์ที่ดีมีลักษณะอย่างไร
    มีแนวความคิดที่ดี มีกลวิธีการแต่งที่ดี มีประโยชน์
9. หนังสือแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    4 ประเภท คือ ตำราวิชาการ, สารคดี, บันเทิงคดี,
    วารสารและหนังสือพิมพ์

* * * *
ใบงานที่ 2 (หน่วยที่ 2)
1. การเขียนที่ดีมีลักษณะอย่างไรบ้าง
   มีความรอบรู้ในเรื่องที่เขียน, มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวน,
   มีความรับผิดชอบในงานเขียนตนเอง, มีความประณีต, มีวิศัศน์,
   มีความมานะพยายาม, สามารถเลือกรูปแบบและกลวิธีในการเขียน
2. รูปแบบของการเขียนหรือลักษณะของสารมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
    3 อย่างคือ ยึดรูปแบบคำประพันธ์เป็นเกณฑ์, ยึดจุดมุ่งหมาย
    ของการแต่งเป็นเกณฑ์, ยึดรูปแบบโดยทั่วไปที่มีผู้กำหนดขึ้น
3. อารัมภบท คืออะไร
    เป็นการเขียนนำเข้าสู่เรื่องเพื่อนำเข้าสู่ประเด็นสำคัญ
    เพื่อชักจุงให้ผู้อ่านเกิดความสนใจใจเรื่องนั้น
4. สารัตภาพ คืออะไร
    คือการเน้นความสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าและของเรื่อง
   ทั้งหมดโดยใช้ถ้อยคำหรือประโยชน์ที่มีความกระชับ ชัดเจน
   สื่อความเรื่องทั้งหมดได้เป็นอย่างดี

5. บทความ คืออะไร
   ความเรียงชนิดหนึ่งเป็นข้อเขียนที่แสดงออกซึ่งความรู้
   ความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆไป
6. พลความ คืออะไร
    ข้อความที่สำคัญน้อยกว่าใจความ ทำหน้าที่ขยายใจความ
    ให้ชัดเจนและถ้าตัดออกก็ไม่ทำให้สารเปลี่ยนแปลง
7. การย่อความที่ดีมีหลักการอย่างไร
    1. อ่านเรื่องให้ชัดเจน
    2. หาใจความสำคัญ
    3. จดบันทึกใจควมสำคัญ
    4. นำใจความสำคัญมาเรียบเรียงใหม่
    5. เปลี่ยนคำสรรพนามให้เหมาะสม
    6. มีเนื้อความเหลือ 1 ใน 4
    7. เขียนรูปแบบให้ถูกต้อง

8. จดหมายมีกี่ประเภท(เรียงตามความเป็นทางการมากที่สุด)
    จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ, จดหมายธุรกิจ,
    จดหมายกิจธุระ, จดหมายส่วนตัว

 * * * *

ใบงานที่ 3 (หน่วยที่ 3)
1. หลักการฟังที่ดี มีอะไรบ้าง
    1. ผู้รับสารมีความพร้อม
    2. มีสมาธิ
    3. มีความกระตือรือร้น
    4. ฟังและดูให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย
    5. ไม่มีอคติ
    6. มีการสรุปและจดบันทึก
2. คำพ้องเสียงคืออะไร
    คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่สะกดต่างกัน
3. การวิจารณ์ คืออะไร
    การพิจารณาอย่างมีหลักเกณฑ์ในเรื่องที่ฟังและดู
4. สื่อ คืออะไร
    คือ เครื่องมือในการถ่ายทอดสารของตนไปยังผู้สาร
5. ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างกันอย่างไร
    ภาษาพูดเป็นภาษาที่ไม่เคร่งครัดในแบบแผนมากเท่ากับภาษาเขียน
6. การพูดมีกี่แบบ อะไรบ้าง
    3 แบบ คือ การพูดแบบเป็นทางการ, การพูดแบบเป็นกึ่งทางการ,
    การพูดแบบไม่เป็นทางการ
7. การอภิปราย หมายถึง อะไร
    การที่บุคคลคณะหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 2 คนไปร่วมกันพูดแสดงความรู้
    ความคิดเห็น และประสบการร์ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือความคิดใหม่

* * * *

ใบงานที่ 4 (หน่วยที่ 4)
1. ภาษาไทยมีลักษณะสำคัญอย่างไร (เฉพาะหัวข้อ)
    1. ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดดมีรูปคำเป็นพยางค์เดียว
    2. ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์
    3. ภาษาไทยมีตัวการันต์
    4. ภาษาไทยเป็นภาษาลำดับคำ
    5. ภาษาไทยเป็นภาษาที่ร่ำรวย
    6. ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรม
    7. ภาษาไทยเมีการสร้างคำขึ้นใช้หลายวิธี
2. หาคำที่พ้องเสียงกับคำเหล่านี้มาอย่างละ 5 คำ
    อิน = สิน, บิน, หิน, ดิน, ศิลปิน
    กัน = ขัน, มัน, ฉัน, สัน, อัน
    เรียง = เสียง, เอียง, เกียง, เฉียง, เปรียง, เกรียง
3. สำนวนคืออะไร
    ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษคือมีชั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด
4. แปลความหมายของสำนวนต่อไปนี้
    หมาเห่าไม่กัน = ดีแต่พูด แต่ไม่กล้าทำ
    ปล่อยไก่ = พูดหรือทำแบบไม่ฉลาด ไม่ถูกกาละเทศะ
    ใจปลาซิว = ขี้กลัวไม่กล้าทำ
    วัวเคยเขา ม้าเคยขา = คนหรือสิ่งที่คุ้นเคยกันมา

5. คำพังเพยคืออะไร
    คือ คำกล่าวเป็นกลางๆ ยกมาอ้างประกอบการพูดให้เข้ากับเรื่อง
6. แปลความหมายของคำพังเพยต่อไปนี้
    หนีเสือปะจระเข้ = หนีจากสิ่งไม่ดีอย่างไปพบกับสิ่งไม่ดีอีกอย่าง
    หอกข้างแคร่ = ศัตรูที่อยู่ใกล้ๆตัว
    ปากว่าตาขยิบ = ทำอย่างทำอีกอย่าง
7. พจนานุกรมและสารารุกรมต่างกันอย่างไร
    พจนานุกรม เป็นหนังสือที่รวบรวมคำและความหมายของคำต่าง
    สารารุกรม เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ต่างๆ อย่างเป็นหมวดหมู่

8. การยืมภาษา คือ อะไร
    การที่ภาษาหนึ่งนำเอาศัพท์หรือลักษณะทางภาษาของอีกภาษามาใช้
9. ยกตัวอย่างคำ 5 คำที่ยืมมาจากภาษาอ่าน
    ตู้, คอมพิวเตอร์, เต้นท์, ฟรี, เก้าอี้, บัณฑิต
10. คำซ้อนคืออะไร พร้อมยกตัวอย่างมา 6 คำ
      คำ 2 คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันนำมาวางคู่กัน
      เพื่อให้เกิดความหมายที่ชัดเจนขึ้น เช่น
     หนาวเย็น, อบอ้าว, อบอุ่น, ร้าวราน, เจ็บปวด, ปราบปราม

11. คำที่จะมาสมาสกันได้ต้องมีลักษณะอย่างไร
      ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เท่านั้น

* * * *

ใบงานที่ 5 (หน่วยที่ 5)
1. วรรณคดีคืออะไร
     หนังสือที่ได้รับกายกย่องว่าแต่งดีมีลักษณะเด่นในเชิงการประพันธ์
     มีคุณค่าในด้านความดี อารมณ์และความเพลิดเพลิน
2. วรรณกรรมคืออะไร
    งานเขียนด้านต่างๆ ในรูปแบบงานบทละคร, สารคดี, เรื่องสั้น ฯลฯ
3. นวนิยายคือคืออะไร และมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    หนังสือที่เขียนเป็นร้อยแก้ว เล่าถึงชีวิตในแง่ต่างๆของมนุษย์
    เช่น ความคิด ความประพฤติ
4. สารัตถะ คืออะไร
   แนวคิด จุดมุ่งหมายหรือทัศนะของผู้แต่งที่ต้องการสื่อมาถึงผู้อ่าน

* * * * *
อย่าลืมอ่านหนังสือเพิ่มเติมด้วยครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 กรกฎาคม 2566 เวลา 02:46

    ใบงาน. เรืองภาษาพาสนุก. วิชา พท 31001 ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ความรู้พอสังเขป เกียวกับวิชาภาษาไทย เฉลย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ23 สิงหาคม 2567 เวลา 20:25

    ดีนะคับเเต่เเนะนำให้อ่านหนังสือด้วยนะเพราะบ้างอย่างก็หาในอินเทอร์เน็ตไม่ได้

    ตอบลบ