31 ส.ค. 2554

ภาษาไทย04

บทความ

บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขั้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริงและ
ในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์
เอาไว้ เป็นสิ่งที่เราพบได้ในหนังสือพิมพ์

ลักษณะเฉพาะของบทความ
1. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังใสใจในขณะนั้น
2. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติม
3. ต้องมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกอยู่
4. มีวิธีเขียนให้ชวนอ่าน
5. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่าน

รายงาน

รายงาน คือ การรวบรวมหลักฐานที่แสดง ถึงข้อเท็จจริงเป็นข้อมูล
ที่สามารถนำมาปฏิบัติหรือปรับปรุงงานได้

การรายงานมี 3 ประเภทคือ
1. การรายงานด้วยการพูด
2. การรายงานด้วยการเขียน
3. การรายงานโดยใช้โสตทัศนูปการณ์

ส่วนประกอบของรายงาน
1. ปกนอก
2. ใบรองปก
3. ปกใน
4. คำนำ ในรายงานมีความสำคัญ คือ
    1. รายงานนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
    2. มีแรงบันบาลใจอย่างไรทำให้สนใจรายงานนี้หรือ
        ได้รับมอบหมายจากใคร
    3. มีอุปสรรคและปัญหาในการค้นคว้าอย่างไร
    4. รายงายมีประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างไร
    5. มีใครความช่วยเหลือในการทำงานอย่างไร โดยกล่าว
        ขอบคุณในต่อท้าย
5. สารบัญ เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านว่า เรื่องหรือบทต่างๆอยู่ในหน้าใด
6. บัญชีตาราง
7. บัญชีภาพ
8. เนื้อหาและส่วนประกอบเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
    เพราะเป็นส่วนที่กล่าวถึงเนื้อหาหรือข้อมูลที่ได้มา
9. บรรณานุกรม คือ รายชื่อเอกสาร หรือ สิ่งตีพิมพ์ หนังสือ สื่อ วัสดุ
    ที่ผู้รายงานนำมาประกอบในการค้นคว้าเพื่อเขียนรายงาน
    เป็นส่วนประกอบสุดท้ายของรายงาน
ตัวอย่างการเขียนบรรณนุกรม
1. แบบทราบผู้แต่ง
    ลัลลนา ศิริเจริญ. คู่มือกำสรวลศรีปราชญ์. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2517
    สิทธิ พินิจภูวดลและนิตยา กาญจนวรรณ. ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2520.
2. แบบไม่ทราบผู้แต่ง
    ลิลิตพระลอ. พิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2501, 190 หน้า

****

เชิงอรรถ
เชิงอรรถ คือ ข้อความที่เขียนไว้ส่วนล่างของหน้า โดยมีส้นคั่นแยก
จากเนื้อเรื่องและมีเลขกำกับไว้ตรงส่วนท้ายของข้อความและส่วนต้น
ของเชิงอรรถ เพื่อบอกแหล่งที่มาของเนื้อหาเพื่อขยายความตรงส่วนนั้น
เช่น

“สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์คือ คุณค่าในการดำรงชีวิต เพื่อรู้จักและ
เข้าใจชีวิต เข้าใจธรรมะ มนุษย์ย่อมสละได้ซึ่งทรัพย์เพื่ออวัยวะ
สละอวัยวะเพื่อชีวิต และสละชีวิตเพื่อธรรมะ”
------------------
 ศ.ศิวลักษณ์, อนาคตของไทย (กรุงเทพมหานคร : ทาสิโน, 2522) หน้า 184.

****

โครงการ
โครงการ คือ สารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างรอบคอบเป็นขั้นตอนพร้อมกับ
มีแผนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนโครงงาน เป็นการเขียนเพื่อประโยชน์ทางวิชาการประเภทหนึ่ง

โครงงานมี 3 ประเภทคือ โครงงานที่นำเสนอโดยส่วนตัว
โครงงานที่นำเสนอโดยกลุ่ม โครงงานที่นำเสนอโดยหน่วยงาน

องค์ประกอบของโครงการ
1. ส่วนนำ หมายถึงส่วนที่จะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ
   โดยบอกว่า โครงการนั้นคือ โครงการอะไร เกี่ยวข้องกับใคร
   ใครเป็นผู้เสนอและดำเนินโครงการ ฯลฯ โดยมีส่วนประกอบย่อยดังนี้
   คือ ชื่อโครงการ ชื่อผู้เสนอและ / หรือผู้ดำเนินโครงการ ความเป็นมา
   และความสำคัญของโครงการ วัตถุประสงค์
2. ส่วนเนื้อความ ในส่วนนี้จะบอกรายละเอียดวิธีการดำเนินโครงการ
   ว่ามีลำดับอย่างไร โดยระบุ วัน เวลา สถานที่
3. ส่วนขยายของการเขียนโครงการ ประกอบด้วยค่าใช่จ่ายใน
    การดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาจแบ่งเป็น
    3 ส่วน ได้แก่
   1. หมวดค่าตอบแทน เป็นเงินให้กับวิทยากร
   2. หมวดค่าใสอย เป็นเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่จ่าย ค่าพาหนะ
   3. หมวดค่าวัสดุ เป็นเงินที่ใช้ในการซื้อวัสดุ อุปกรณ์

****

คำประพันธ์หรือร้อยกรอง
คำประพันธ์หรือร้อยกรอง คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ
ตามที่บัญญัติไว้ในตำราว่าด้วยการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
 ตำราดังกล่าวนี้ เรียกว่า “ฉันท์ลักษณ์”

คำสำคัญที่ควรรู้จัก1. คณะ คือ แบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์นั้นๆ
    แต่ละบทจะมีกี่บาท แต่ละบาทจะมีกี่วรรค เป็นต้น
2. สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำที่มีเสียงคล้องจองกัน มี 2 ชนิดคือ
    1) สัมผัสสระ เป็นเสียงที่สระ ตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น อ้อน – งอน, กด – รด, บน – กรน
    2) สัมผัสอักษร เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นหรือกัน เช่น รัก – ร้าง
นอกจากนั้นสัมผัสยังแบบได้อีก 2 แบบคือ สัมผัสนอก(วรรค), สัมผัสใน(วรรค)

3. คำครุ คือ เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว
    ในมาตราแม่ ก.กา เช่น อำ, ไอ, เอา, จำ, ดารา
4. คำลหุ คำที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น
    เช่น จะ, กุ, ผลิ, หิว, กะทิ
5. คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ขา ตี แท้ เครือ ทู
6. คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น แกลบ เย็บ
    โขก สุด ฤทธิ์ ประกบ
7. คำนำ คือ คำที่กล่าวขึ้นต้นในบทนำของคำประพันธ์
    เช่น บัดนั้น สักวา
8. คำสร้อย คือ คำที่ใช้ลงท้ายบทหรือ บาทร้อยกรอง เพื่อให้
   ความสมบูรณ์ เช่น พี่เอย แฮ แลนา ก็ดี

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น