8 ก.ย. 2554

วิชาคิดเป็นกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง01

ในตอนนี้จะเป็นเรื่องที่เราคนไทยควรมีความภาคภูมิใจและ
ควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้มาในชีวิตประจำวันของเรา ให้มี
ความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละคน เพราะเป็น
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทยทุกคน
ทรงพระราชทานให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต คือ
เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตน
ของประชาชนในทุกระดับ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้
ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้
ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
     ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง
ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมี
ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุก
ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มี
สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก
ภายนอกได้เป็นอย่างดี


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทาง
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่
การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่
สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว
(Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10
นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้
ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจ
ที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ
(UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime
Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ
26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง
สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มี
ประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บน
พื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน
การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และ
ปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิม
ของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็น
การมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นก
ารมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้น
การรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืน
ของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ
การปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ
พร้อม ๆ กันดังนี้
  3.1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และ
ไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต
และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  3.2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของ
ความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจาก
เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก
การกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3.3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับ
ลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึง
ถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ใน
ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
กล่าวคือ
   4.1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมา
พิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัด-
ระวังในขั้นปฏิบัติ
   4.2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย ความตระหนัก
ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน
    2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น
   ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน
    จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น
    (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น