8 ก.ย. 2554

วิชาคิดเป็นกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง02

เศรษฐกิจพอเพียง(ต่อ)
** ข้อเป็นข้อมูลบางส่วนจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาคภาษาไทย ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ **

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัส
แก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่าง
ชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง
และยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็น
ที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า
ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกัน
การเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้

เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม
ของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง

ผลที่เกิดขึ้นคือ
1) เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สั
     ดส่วนใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
2) รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจาก
     ปัจจัยภายนอก

คำว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หมายถึง "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน"
บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้
อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด
ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน
และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน
และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทาง
การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้
เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง
สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว

แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3
แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 ความว่า:
"บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ
และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนิน
การตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของ
ประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"

ความคิดเห็นจากนักคิด
ศ.ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี
สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และ
มองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิด
ผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี

ศ.ดร. อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบล
สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียง
กับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ
อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่
คุณค่าของชีวิตมนุษย์

นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า
หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ
และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถ
สร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน
และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและ
แนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ"

** ชาวต่างชาติยังชื่นชมและเห็นความสำคัญ ชาวไทยเราจะนิ่งเฉยได้อย่างไร
ราควรศึกษาให้เข้าใจและนำมาปฏิบัติให้เห็นผล จึงเป็นการแสดงออกถึง
วามจงรักภักดีอย่างแท้จริง
**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น