11 ก.ย. 2554

วิชาเกษตรอินทรีย์04

ในตอนนี้เราจะมาศึกษาในเรื่องของแนวทางในการดูแลรักษาดิน

แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/Appendix/oat/oat01.html

1.การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ระบบพืช เช่น
   1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
   1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
   1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
   1.4 การปลูกพืชคลุมดิน

ประโยชน์ที่ได้ คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ป้องกันดินเป็นโรค
5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
6. ลดศัตรูพืช ในดิน
7. รักษาอุณหภูมิดิน
8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

2. การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร   2.1 การใช้ปุ๋ยคอกด
  2.2 การใช้ปุ๋ยหมักด
  2.3 การใช้เศษพืช

ประโยชน์ที่ได้ คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
5. ลดศัตรูพืช ในดิน
6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
8. รักษาอุณหภูมิดิน
9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

3. การใช้จุลินทรีย์ (microorganisms) การใช้จุลินทรีย์
    ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สารและอนินทรีย์สารในดินให้เกิดประโยชน์
3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด

4. การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้วัสดุที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล (Mar) โดโลไมท์ (Dolomite)
หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และ
เปลือกหอย กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุง
ดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ
เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม
และฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน

4.2 การใช้แร่ยิปซัม ลดความเค็มและเพิ่มธาตุอาหาร
เช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน

5. การใช้เขตกรรม (Deep Cultivation) การไถพรวนลึก
ช่วยปรับปรุงดินได้ คือ
5.1 ป้องกันการเกิดโรค ในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น

6. การใช้น้ำฝน (Rain water)
    น้ำฝนเป็นน้ำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ขณะที่ฝนตกมีฟ้าแลบ
ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็น
แอมโมเนีย (NH3) ก๊าซนี้ละลายปะปนมา
กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ ต่อ
พืช ที่ปลูกได้

7. การปรับปรุงดินโดยใช้ไส้เดือน (Eargth worm)
ประโยชน์ที่ได้ คือ
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศในดิน

* * * *
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เพื่อเกษตรอินทรีย์
 ในการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพและเป็นหัวเชื้อ
เร่งการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ได้แก่
1. จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์
แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
  1.1 ปุ๋ยชีวภาพที่ให้ไนโตรเจน
  1.2 ปุ๋ยชีวภาพที่ให้ฟอสฟอรัส
  1.3 จุลินทรีย์ที่เร่งการสลายตัว ของอินทรีย์วัตถุ

2. จุลินทรีย์ที่ใช้ในการปรับศัตรูพืชและวัชพืช
แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
  2.1 จุลินทรีย์ปราบแมลงศัตรูพืช
  2.2 จุลินทรีย์ ที่ใช้ปราบโรคพืช และ ไส้เดือนฝอย
  2.3 จุลินทรีย์ใช้ปราบวัชพืช

3. จุลินทรีย์ ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ
แบ่งได้ มี 3 ประเภท ดังนี้
  3.1 ป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา
  3.2 ป้องกันโรคพืชจากแบคทีเรีย
  3.3 ป้องกันแมลง

4. จุลินทรีย์ ที่ใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้แก่
  4.1 เป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์ต่างๆ
  4.2 การทดสอบการสะอาด ของน้ำ
  4.3 กำจัดมลภาวะ

* * จบเรื่องของเกษตรอินทรีย์ไว้เพียงเท่านี้ครับ * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น