6 ก.ย. 2554

วิชาพัฒนาทักษะชีวิต1-01

เนื้อหาในตอนนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพัฒนาทักษะชีวิต1
ที่ได้รวบรวมและสรุปมาให้ได้อ่านกัน ไม่ให่เสียเวลามาลุยกัยเลย

อวัยวะภายใน
ปอด (Lung)
ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญปอดมี 2 ข้าง บรรจุอยู่ในโพรงของทรวงอก
ตอนบนทั้งด้านซ้ายและด้านขวา มีรูปร่างคล้ายกรวยมีฐานของปอด
แต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม โดยปอดข้างขวา
จะมีขนาดใหญ่กว่าปอดข้างซ้าย ปอดมี 2 ข้าง มีความยืดหยุ่น
คล้ายฟองน้ำและภายในปอด มีถุงลมเล็กๆ เป็นจำนวนมาก

ปอดมีหน้าที่ฟอกเลือดดำเลือด(เลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
หรือ CO2) ให้เป็นเลือดแดง(เลือดที่มีก๊าซออกซิเจนหรือ O2)
โดยรับเลือดดำที่ส่งมาหัวใจด้านขวา มาถ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ออกจากเลือดดำ และส่งก๊าซออกซิเจนให้แทนซึ่งจะทำให้เลือดดำเป็นเลือดแดง

การหายใจเอาอากาศที่มีฝุ่นละออง ควันพิษหรือสารพิษเข้าไป
จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค มะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้น
เราจึงควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่สูบบุหรี่และ
ไม่อยู่ใกล้ชิดคนที่เป็นวัณโรค

กระเพาะอาหาร (Stomach)
กระเพาะอาหาร ตั้งอยู่บริเวณใต้ทรางอกมีส่วนปลายงอไปทางขวา
มีรูปร่างคล้ายอักษรตัวเจ (J) กระเพาะอาหารมีลักษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อ
ขนาดใหญ่ มีความเหนียวและสามารถยืดตัวออก เพื่อรับอาหารจำนวน
มากได้ กระเพาะอาหาร ทำหน้าเก็บอาหารที่ย่อยมาจากปากบ้างส่วน
 แล้วมาทำการย่อยต่อ โดยอาหารจะผสมกับน้ำย่อยก่อนที่อาหาร
จะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่น ๆ

กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมี
ค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ
นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยใน
การย่อยอาหารอีกด้วย

หน้าที่การทำงานหน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสา
รอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ
(hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้
กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน
คือเอนไซม์เพพซิน (pepsin)

นอกจากนั้นแล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ
ไอออนต่างๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ แอสไพริน และกาเฟอีนอีกด้วย

การกินอาหารที่มีรสจัดกินอาหารไม่ตรงเวลา จะเป็นสาเหตุของ
โรคกระเพาะอาหารได้ เราจึงควรกินอาหารให้ตรงเวลา งดกินอาหาร
ที่มีรสจัด ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร
ดังนั้น เราควรทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ไม่เครียด

ลำไส้ (intestine)
ลำไส้เป็นอวัยวะที่ยาวมาก มีลักษณะขดเป็นท่อลวง อยู่ในช่องท้อง
ตอนบน แบ่งได้ 3 ส่วน คือ ลำไส้ดูโอดีนัม ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
สำไส้แต่ละส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกัน
1) สำไส้ดูโอดีนัม จะทำหน้าที่เปลี่ยนกรดที่ได้รับจากกระเพาะอาหาร
    ให้เป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้ส่วนอื่น ๆ ได้รับอันตราย
2) ลำไส้เล็ก มีรูปร่างเป็นท่อ จะทำหน้าที่ย่อยอาหารในขั้นตอนสุดท้าย
    และดูดซึมอาหารที่ถูกย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำสารอาหาร
    ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป โดยที่น้ำย่อยส่วนหนึ่งมาจาก
    ตับอ่อนและอีกส่วนมาจากลำไส้เล็กเอง ความยาวของลำใส้เล็ก
     ประมาณ 3.3 เมตร
3) ลำไส้ใหญ่ จะทำหน้าที่ดูดน้ำจากกากอาหารที่ผ่านมาจากลำไส้เล็ก
    คืนให้แก่ร่างกาย จนเหลือเพียงกากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการ
    และขับถ่ายกากอาหารที่เรียกว่า อุจจาระ ออกทางทวารหนัก
    การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสจัด
    จะช่วยทำให้ลำไส้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติ

ไต (kidney)
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ไตมี 2 ข้าง
ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของกระดูกสันหลัง บริเวณเอวด้า
นละ 1 อัน ไตมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว มีสีแดงแกมน้ำตาล ไตมีหน้าที่
กรองของเสียออกจากเลือดและขับถ่ายออกจากร่างกาย ที่เราเรียกว่า
ปัสสาวะ

นอกจากนี้ ไตยังมีหน้าที่ดูดซึมและเก็บสารอาหารที่สำคัญและ
เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งไตยังทำหน้าที่รักษาปริมาณน้ำ
และเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอีกด้วย การดูแลรักษา
ไตให้ทำงานได้อย่างปกติ เราควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็มจัด
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เป็นเวลานาน ๆ ควรดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

หัวใจ (Heart)
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งตั้งอยู่กลางทรวงอก ระหว่างปอด
ทั้ง 2 ข้าง ส่วนปลายหัวใจอยู่ค่อนมาทางซ้าย หัวใจมีรูปร้างคล้าย
ดอกบัวตูม มีขนาดเท่ากับกำปั้นแน่นของผู้เป็นเจ้าของภายในหัวใจ
แบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างขวา

หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และ
ระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในหัวใจซึ่งสร้างและ
ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจเมื่อหัวใจคลายตัวก็จะสูบเลือดเข้ามา
เมื่อหัวใจบีบตัวก็จะฉีดเลือดออกไปการบีบและคลายตัวนี้ เราเรียกว่า
การเต้นของหัวใจ
อัตราการเต้นของหัวใจในคนปกติ จะมีการเต้นประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที

** พักไว้เพียงเท่านี้ก่อนไว้อ่านต่อในตอนหน้า **

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น