11 ก.ย. 2554

วิชาเกษตรอินทรีย์03

ในตอนนี้เรามาทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกันดิน...กันครับ

ลักษณะของดิน
ดิน(soil) ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น จะต้องประกอบด้วย
สมบัติ 3 ประการ คือ
1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช
ซึ่งประกอบด้วย
  1.1 ธาตุอาหารพืชหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (Nitrogen, N) 
  ฟอสฟอรัส (phosphorus, P) และ โพแทสเซี่ยม (Potassium, K)
  1.2 ธาตุอาหารรอง  ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
  1.3 ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน
โมลิบดินัม แมงกานีส และ คลอรีน และ มีปฏิกิริยาของดิน
ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือมีความเค็มจนเกินไป

2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุลของอากาศและน้ำ
กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี
 มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกัน อย่างหลวมๆ
เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยาย และ ชอนไชไปหาแร่ธาตุ
อาหารพืชได้ง่าย ในระยะที่กว้างและไกล เป็นดิน ที่อ่อนนุ่ม
ไม่แข็งกระด้าง

3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดินที่มีความสมดุล ของจุลินทรีย์
กล่าวคือ เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดินที่
เป็นประโยชน์ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์และ
สิ่งที่มีชีวิตเล็กๆ ในดินที่เป็นโทษแก่พืชได้เป็นอย่างดี และ
จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน สามารถสร้างกิจกรรมต่างๆ
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พืชได้ดี เช่น สามารถย่อยแร่ธาตุในดิน
ที่ยังไม่เป็นประโยชน์แก่พืช หรือให้ประโยชน์น้อยให้เป็นประโยชน์
แก่พืชและเพิ่มปริมาณ ที่มากขึ้น ตรึงธาตุอาหารพืชจากอากาศ
ให้เป็นประโยชน์ แก่พืช สร้างสารปฏิชีวนะปราบโรค และ ศัตรูพืช
ในดินได้ เสริมสร้างพลังให้ แก่พืช และ ทำลายสารพิษ ในดินได้

ดินที่มีปัญหาพิเศษ (problem soils)
1. ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soils) เป็นดิน
    ที่มีค่าของความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 ตั้ง
2. ดินเค็ม (saline and sodic soils) เป็นดิน ที่มีเกลือที่ละลายน้ำได้
    เป็นองค์ประกอบอยู่สูงจนเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก พบมากที่สุด
    ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
3. ดินทรายจัด (sandy soils) ที่พบในประเทศไทยแบ่งได้เป็น
    2 ประเภท คือ ดินทรายธรรมดา และดินทรายที่มีชั้นดาน
จับตัวกันแข็งโดยเหล็กและฮัวมัสเป็นตัวเชื่อม เป็นดินมีความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติต่ำและมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำด
4. ดินปนกรวด (skeletal soils) เป็นดินที่มีชั้นลูกรัง เศษหิน กรวดกลม
และเศษหินอื่นๆ โดยที่ชั้นกรวดหินนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไช
ของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต

5. ดินบริเวณพื้นที่พรุหรือดินอินทรีย์ (organic soils) เป็นดิน
ที่เกิดในที่ลุ่มต่ำ (lagoon) มีน้ำเค็มและน้ำกร่อยจากทะเล
เข้าท่วมถึง มีชั้นเศษพืชหรือชั้นอินทรียสาร ที่สลายตัวดีแล้ว
และกำลังสลายตัวสะสมกันเป็นชั้น เป็นดินที่มีศักยภาพเป็นกรดจัด
มีสภาพไม่อยู่ตัวขึ้นอยู่กับระดับน้ำใต้ชั้นอินทรีย์สารและเป็นดิน
ที่ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชค่อนข้างรุนแรง

6. ดินเหมืองแร่ร้าง (Tin – mined tailing lands)  เนื้อดินมี
หิน ทรายและกรวดปนอยู่มาก และ มักแยกกันเป็นส่วนของ
เนื้อดินหยาบปนกรวดทรายส่วนหนึ่งและเนื้อดินละเอียด
จะไปรวมอยู่กันในที่ต่ำ (slime area) พวกแร่ธาตุอาหารพืช
ถูกชะล้างออกไปในระหว่างขั้นตอนการทำเหมืองแร่ ฉะนั้น
ความอุดมสมบูรณ์ของดินเหมืองแร่ร้าง จึงต่ำมาก

ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion)
   เป็นสิ่งที่ทำให้ดินเสื่อมโทรม นับว่าเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง
ของประเทศและจำเป็นต้องมีการป้องกัน และ แก้ไข เพื่อรักษา
คุณภาพของดินให้เหมาะสมและใช้ประโยชน์ในระยะเวลายาวนาน

การชะล้างพังทลายของดิน ในประเทศไทยเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ
1. การชะล้างพังทลายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (egologic erosion)
เกิดจากการที่น้ำฝนกัดกร่อนและชะล้างดิน จากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ
มักเกิดในที่เป็นภูเขามีความลาดเทของพื้นที่สูงและมีป่าไม้คลุม
ไม่หนาแน่น
   นอกจากนั้น การชะล้างพังทลายแบบเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ชนิดหรือลักษณะของดิน ความลาดเท
ของพื้นที่ ความหนาแน่นของต้นไ ที่ขึ้นปกคลุม และ ปริมาณฝน
ที่ตกลง สำหรับการชะล้างพังทลาย

2. การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
(manmade erosion) เกิดจากการใช้พื้นที่ป่ามาใช้การเพาะปลูก
โดยไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น