7 ก.ย. 2554

วิชาพัฒนาทักษะชีวิต1-07

ในตอนนี้เป็นเรื่องของอวัยวะที่ใช้ในการมองเห็น

นัยน์ตา (eye)
นัยน์ตา หรือ ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้
มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่
  1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
  1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
  1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิด-เปิดรับแสงและควบคุมปริมาณ
ของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและการหลับตา
เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วย
รักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติเรากระพริบตา 25 ครั้ง/นาที
  1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆอยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา
มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ
ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับ
ท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก
2. ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็น
ทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุ
อยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่
   2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
เหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา
มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้
ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรัยกว่า กระจกตา (Cornea)
ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน การมองเห็น
และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้

   2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้
และมีสีตามชาติพันธุ์ คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ
จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil)
ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ใน
ที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้า
ลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย
ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพ
ได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง

   2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆเหมือนแก้ว
คล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง
แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา
กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพใน
ระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็น
ภาพได้ชัดเจนทุกระยะ

   2.4 จอตา หรือฉากตา (Ratina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มัลักษณะเป็นผนัง
ที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้
ทำหน้าทั่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา
ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมาย
ให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ

การมองเห็นภาพ
เรามองเห็นภาพต่างๆได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้า
สู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา ไปตกที่จอตา เซลล์รับ
ภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาท
สู่สมองส่วนท้ายทอย สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตาม
เดิมของสิ่งที่เห็น

ความผิดปกติของสายตา
1. สายตาสั้น คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆได้แต่สิ่งที่อยู่ไกล
จะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตา
และจอตาอยู่ห่างกันเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

2. สายตายาว คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป
 ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆไม่ชัดเจน
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

3. สายตาเอียง คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมอง
เห็นภาพในแนวดิ่งชัด แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา
เห็นเลข 3,9 ชัด แต่เห็นเลข 6,12 ไม่ชัด
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ
จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าทุกแนว
การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์รูปกาบกล้วยหรือรูปทรงกระบอก
แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตา ให้ตกลงบนจอตาให้หมด

4. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่
ตาส่อนและตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่ง
ไม่ตรงกัน ถ้าเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และถ้าตาเขมากๆ เรียกว่า
ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจาก
ตาสองข้างทับกัน ไม่สนิท
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตา อ่อนกำลัง
กล้ามเนื้อมัดตรงข้าม ยังทำงานปกติ จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้
สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไป ยังสิ่งที่ต้องการเหมือนลูกตา
ข้างที่ดีได้
การแก้ไข แพทย์อาจรักษาโดยการใช้แว่นตาหรือฝึกกล้ามเนื้อที่
อ่อนกำลังให้ทำงานดีขึ้นหรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด

การถนอมดวงตา
1. อย่าใช้สายตานานเกินควรหรือไม่ควรเพ่งดูสิ่งใดนานๆ
    ควรพักสายตาเป็นระยะๆ
2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย
    ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือประมาณ 1 ฟุต
3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่ง
    ห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของของขนาดโทรทัศน์ เช่น
    โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว  (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์
    14 x 5 = 70 นิ้ว = 70/12 ฟุต = 5.83 นิ้ว หรือประมาณ 6 ฟุต
4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้
    น้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ เพราะจะทำให้
    เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
6. อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา เช่น ดินสอ ปากกา
7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า
8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา
    ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น