11 ก.ย. 2554

วิชาเกษตรอินทรีย์02

มาดูกันต่อมาเราสาเหตุอะไรที่การทำเกษตรอินทรีย์จึงเป็น
ทางเลือกแห่งการอยู่รอดที่ยังยืน

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์
จากนการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
เมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48
ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4
ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้า
สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท
เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ใน
การเพาะปลูก ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับ
ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนต่อไร่สูงและต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น
ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้น
เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

การเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหา
ทางการเกษตรมากมาย เช่น
1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกทำลายต่อเนื่อง ส่งผลให้
    เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน
2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจะได้รับ
    ผลผลิตเท่าเดิม
3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทำให้เพิ่มความยุ่งยากใน
    การป้องกันและกำจัด
4. แม่น้ำและทะเลสาบถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมีและ
     ความเสื่อมโทรมของดิน
5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนด
     ทำให้เกิดภัยจากสารพิษสะสมในร่างกายของผู้บริโภค
6. เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมถูกทำลาย
     จนยากจะเยียวยาให้กลับมาคืนดังเดิม

นอกจากนั้น การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์
จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้
ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และต่อเนื่องทำให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์
และไข่ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว

* * * *

หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สุพจน์ ชัยวิมล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริม
และพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร


1. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิด
    ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช
    และฮอร์โมน
2. เน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุเช่นปุ๋ยคอก
    ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน
     เพื่อให้พืชแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคแมลง
3. รักษาความสมดุลของธาตุอาหารภายในฟาร์ม โดยใช้
    ทรัพยากรในท้องถิ่นมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ป้องกันมิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีจากภายนอกฟาร์ม
    ทั้งจากดิน น้ำ และอากาศ โดยจัดสร้างแนวกันชน
    ด้วยการขุดคู หรือปลูกพืชยืนต้น และพืชล้มลุก
5. ใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่มีความต้านทาน และมีหลากหลาย
    ห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ ที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม
6. การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดินที่ดี และแรงงานคนหรือ
    เครื่องมือกลแทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
7. การป้องกันกำจัดวัชพืชใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
    แทนการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
8. ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากน้ำสกัดชีวภาพ
    แทนการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
9. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการักษาไว้ซึ่ง
    พันธุ์พืช หรือสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น
    ตลอดจนปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นมาใหม่
10. การปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้ใช้
   วิธีธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน
11. ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์
12. ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อรอการตรวจสอบ

* * * *

คำศัพท์ที่ควรทราบ
อาหารอินทรีย์ (Organic food)
    คือ อาหารที่ได้จากผลิตผลและ/หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ที่ผลิตจากระบบการเกษตร โดยใช้วัสดุธรรมชาติ แต่ไม่ใช้พืชหรือ
สัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม ทั้งนี้ เน้นการปฏิบัติที่ไม่เพิ่ม
มลพิษแก่ภาวะแวดล้อม

ผักไร้สารพิษ
   คือ ผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
สารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิดแต่จะ
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้ง สิ้น

ผักปลอดภัยจากสารพิษ
   คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและ
ปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว
ได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย
ของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538

ผักอนามัย
   ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช
รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษ
ตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความ ปลอดภัยของผู้ริโภค
และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
ตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อได้คุณลักษณะ

มกท. - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
A.C.T.(Organic Ariculture Cetification Thailand) 
   เป็นตราของไทยเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของไทย
เรียกว่า Certified Organic ซึ่งเป็นสมาชิกของ IFOAM
(International Federation of Organic Agriculture Movements)
หรือ สมาพันธ์เกษตรอนิทร์นานาชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์
นี้จึงได้รับการรับรองระดับสากลด้วย


ระดับชั้นและขั้นตอน ของกระบวนการเกษตรยั่งยืน 4 ระดับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
ระดับที่ 1 เกษตรอินทรีย์
  สามารถพัฒนากระบวนการผลิตแบบครบวงจร เลิกใช้
สารเคมีทุกประเภท

ระดับที่ 2 เกษตรไร้สารพิษ
   เลิกใช้สารเคมีกำจัดโรคและศัตรูพืชแต่อาจมีการใช้
ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อยตามความจำเป็นของพืช เพื่อจัดการ
ธาตุอาหารให้สมดุล

ระดับที่ 3 เกษตรปลอดสารพิษ
ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี อยู่บ้างผสมผสาน กับปุ๋ยอินทรีย์
เพื่อจัดการธาตุอาหารให้สมดุล และ ยังใช้สารเคมี
กำจัดโรค และ ศัตรูพืชอยู่บ้าง แต่ไม่มาก และใช้ใน
ช่วงระยะเวลา ที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค

ระดับที่ 4 เกษตรเคมี 100 %
มีการใช้ปุ๋ยเคมี และ ยาเคมีกำจัดโรค และศัตรูพืช
ในปริมาณมากเกินความจำเป็น จนเป็นอันตรายต่อพืช,
มนุษย์, สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น