8 ก.ย. 2554

วิชาคิดเป็นกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง03

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อ)
ที่มาของ “การเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามแนวพระราชดำริ

การปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร
ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ
“ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของ
ความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด
การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ฯลฯ
ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเ
ศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ

ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการ ในด้านเงินทุน การตลาด
การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล นัยสำคัญของแนวคิด
ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคใน
ครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึง
การผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาด
ก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลาย
สถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็น
ตัวกระทำหรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และ
หลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบ
ริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ

ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่ม
ของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็น
ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้ง
การเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจ
และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้
รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้ว
เกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจ
โดยรวมของประเทศก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับ
สภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมี
ความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน
ในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว
หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้าง
ความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถ
ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย
ให้คงอยู่ตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น