ในตอนมาเราจะมาศึกษากันในเรื่องของทฤษฎใหม่
เพราะหลายคนยังมีความสับสน ในคำว่าเศรษฐกิจแบบพอเพียง
และทฤษฎใหม่
ทฤษฎีใหม่
(ข้อมูลจาก นิธิชัยพัฒนา)
ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจ
พอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้
พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
ที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มี
ผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต
โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
1. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
2. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
3. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
4. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
5. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต ได้แก่
5.1) ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
5.2) ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
5.3) ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหาร
การจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็ก
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญของทฤษฎีใหม่
1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน
เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะ
กักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย
โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐
ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บ
กักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจน
การเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็น
อาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัด
ค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก
พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือ
บริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์
ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตน
จนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกัน
ในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน
การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก
2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิต
ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหา
ยุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขาย
ผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร
โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ
กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น
มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืม
เพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น
มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง
6. สังคมและศาสนา
ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ
โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น
จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ
องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร
ก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน
เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน
มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกร
และฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
1. เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
2. ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ
(ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
3. เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกัน
ซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
4. ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร
เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่
ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา
“เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมา
ปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียน
ชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้
สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อน
ในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและ
ช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือ
มากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด
ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูก
พืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถ
สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและ
ช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือ
มากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
* * * *
(ข้อมูลจาก KnationBlog )
ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากทฤษีใหม่ ได้แก่
1. สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง เนื่องจากไม่ถูก
กดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เพราะเป็นการจำหน่ายแก่ผู้ซื้อโดยตรง
2. ซื้อวัสดุปุกรณ์การเกษตรได้ในราคาถูก เนื่องจากเป็นการซื้อ
ในราคาขายส่ง เพราะซื้อผ่านกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์
ประโยชน์ที่แหล่งเงินทุนจะได้รับ ได้แก่
1. ซื้อผลผลิตการเกษตรได้ในราคาต่ำ เนื่องจากเป็นการรับซื้อ
จากเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง
2. สามารถกระจายบุคลากรได้มากขึ้น เนื่องจากในแหล่งชุมชน
นั้นมีกิจการของแหล่งเงินทุนดำเนินการอยู่ จึงทำให้สามารถ
ขยายกิจการ เพิ่มงานและเพิ่มบุคลากรได้มากยิ่งขึ้น
* * * * *
พวกเราคนไทยโชคดีที่มีในหลวงและพระราชินีที่รักเรา
ดังนั้น เราก็ควรแสดงความรักต่อพระองค์ท่านด้วย
การเป็นคนดี รู้รักสามัคคี ศึกษาและปฎิบัติตนตามแนวทาง
ที่พระองค์ได้วางแนวทางไว้ให้ เพื่อประโยชน์สุขของตัวเราเอง
สังคมและประเทศของเรา
เนื้อหาต่อไปจะเป็นวิชาอะไร ก็โปรดติดตามต่อไป
รักจุกนะ จากไก่
ตอบลบหน้าจะมีแปลภาษาอังกฤษน๊ะครับ
ตอบลบ