6 ก.ย. 2554

การสมาสและการสนธิคำ

ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของวิธีการสร้างคำโดยการสมาสและการสนธิ
คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยปกติการสร้างคำใหม่โดย
วิธีการคำในภาษาอื่นมาใช้มีหลายวิธี เช่น การใช้อุปสรรค,
การใช้ปัจจัย, การใช้วิภัตติ, การสมาส, การสนธิ, การแผลงคำ
แต่ในตอนนี้จะให้ดูเฉพาะการสมาสและการสนธิคำก่อน

การสมาส
สมาส คือ วิธีการผสมคำ ของภาษาบาลีและสันสกฤต ไทยได้นำ
มาดัดแปลงเป็นวิธีการสมาสแบบภาษาไทย โดยมีหลักดังนี้
1. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น
    ราชการ ราชครู ราชทูต ราชบุตร ราชโอรส
2. ศัพท์ประกอบไว้หน้า ศัพท์หลักไว้หลัง เช่น
    ปฐมเจดีย์ ภารกิจ สัตโลหะ อุดมคติ อุดมศึกษา
3. แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่น
    ชัยภูมิ =  ที่ตั้งทัพที่ทำ ให้ได้รับชัยชนะ

    ยุทธวิธี = วิธีการทำ สงคราม
    วาทศิลป์ = ศิลปะการพูด
    วีรบุรุษ = บุรุษผู้กล้าหาญ
    อักษรศาสตร์ = วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ
4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ อะ และตัวการันต์ เช่น
    กาลเทศะ ไม่ใช่ กาละเทศะ
    กิจการ ไม่ใช่ กิจะการ
    ธุรการ ไม่ใช่ ธุระการ
    แพทยศาสตร์ ไม่ใช่ แพทย์ศาสตร์
    มนุษยธรรม ไม่ใช่ มนุษย์ธรรม
    วารดิถี - ไม่ใช่ วาระดิถี

5. ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก
    เกษตรกรรม อ่านว่า กะ – เสด – ตระ - กำ
    ธาตุเจดีย์ อ่านว่า ทา – ตุ – เจ - ดี
    ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ – หวัด – ติ - สาด
    สิทธิบัตร อ่านว่า สิด – ทิ - บัด
    อุณหภูมิ อ่านว่า อุน – หะ - พูม

 ยกเว้นบางคำ อ่านตามความนิยมโดยไม่ออกเสียงสระ
 เช่น สุขศาลา ชาตินิยม ไตรรัตน์ บุรุษเพศ ชลบุรี
 ธนบุรี ธาตุวิเคราะห์ สุภาพบุรุษ

6. คำ ว่า วร, พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาส
    เพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่น
    พระกรรณ  พระนลาภ พระนาสิก พระเนตร  พระบัปผาสะ
    พระบาท  พระเสโท พระหทัย  พระองค์ พระโอษฐ์

แต่คำว่า พระ ที่ประสมกับคำในภาษาอื่นไม่ถือคำสมาส เช่น
พระเก้าอี้  พระขนง  พระขนน  พระเขนย  พระโธรน
พระสุหร่าย พระอู่

การสนธิ
การสนธิ คือการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤตถือว่า
เป็นคำ สมาสชนิดหนึ่งแต่เป็นคำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลง
รูปศัพท์ ไทยนำ มาดัดแปลงเป็นการสนธิแบบไทย โดยมีหลักดังนี้
1. ต้องเป็นคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
2. ศัพท์ประกอบไว้หน้า ศัพท์หลักไว้หลัง
3. แปลจากหลังมาหน้า
4. ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว อ
5.มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป

การสนธิ มีอยู่ 3 ชนิด คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ  นฤคหิตสนธิ
1. สระสนธิ  คือ การนำ คำ บาลีสันสกฤตมาสนธิกับคำ
    ที่ขึ้นต้นด้วยสระ มีหลักดังนี้
1.1) ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลัง เช่น
ขีปน + อาวุธ เป็น ขีปนาวุธ      คทา + อาวุธ เป็น คทาวุธ
จินต + อาการ เป็น จินตนาการ    ชล + อาลัย เป็น ชลาลัย
ทรัพย + อากร เป็น ทรัพยากร   เทว + อาลัย เป็น เทวาลัย
ประชา + อากร เป็น ประชากร    พุทธ + โอวาท เป็น พุทโธวาท
มหา + อรรณพ เป็น มหรรณพ    มหา + อัศจรรย์ เป็น มหัศจรรย์
มหา + ไอศวรรย์ เป็น มไหสวรรค์    วชิร + อาวุธ เป็น วชิราวุธ
วร + โอกาส เป็น วโรกาส      วิทย + อาการ เป็น วิทยาการ
วิทย + อาลัย เป็น วิทยาลัย   ศิลป + อากร เป็น ศิลปาก
อน + เอก เป็น อเนก

1.2) ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลัง แต่เปลี่ยนสระหน้าคำหลัง
  จาก อะ เป็น อา   จาก อิ เป็น เอ   จาก อุ เป็น อู, โอ เสียก่อน เช่น

** ราช + ธิราช เปลี่ยน อะ หลัง เป็น อา แล้วสนธิเป็น ราชาธิราช
คำอื่นเช่น
ประชา + อธิปไตย เป็น ประชาธิปไตย
ธรรม + อธิปไตย เป็น ธรรมาธิปไตย
เทศ + อภิบาล เป็น เทศาภิบาล
ธรรม + อธรรม เป็น ธรรมาธรรม
ทูต + อนุทูต เป็น ทูตานุทูต
ฐาน + อนุกรม เป็น ฐานานุกรม

** ราม + อิศวร  เปลี่ยน อิ หลัง เป็น เอ แล้วสนธิเป็น ราเมศวร
คำอื่นเช่น
ปรม + อินทร์ เป็น ปรเมนทร์
นร + อิศวร เป็น นเรศวร
นร + อินทร์ เป็น นเรนทร์
มหา + อิสี เป็น มเหสี

ยกเว้นบางคำเช่น
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
กรี + อินทร์ เป็น กรินทร์
โกสี + อินทร์ เป็น โกสินทร์

** ราช + อุปโภค เปลี่ยน อุ หลัง เป็น อู สนธิเป็น ราชูปโภค
** ราช + อุบาย เปลี่ยน อุ หลัง เป็น โอ สนธิเป็น ราโชบาย
คุณ + อุปการ เป็น คุณูปการ

ชล + อุทร เป็น ชโลทร
นย + อุบาย เป็น นโยบาย
ราช + อุทิศ เป็น ราชูทิศ
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์
ราชินี + อุปถัมภ์ เป็น ราชินูปถัมภ์
สาธารณ + อุปโภค เป็น สาธารณูปโภค

ยกเว้น มัคค + อุเทศก์ – มัคคุเทศก์

1.3) เปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้าจาก อิ อี เป็น จาก อุ อู เป็น
   รติ + อารมณ์ เปลี่ยน อิ เป็น จะได้ รตย สนธิเป็น รตยารมณ์,รัตยารมณ์
คำอื่นเช่น
สามัคคี + อาจารย์ เป็น สามัคยาจารย์
อัคคี + โอภาส เป็น อัคโยภาส
รังสี + โอภาส เป็น รังสโยภาส
อธิ + อาศัย เป็น  อัธยาศัย
ราชินี + อนุสรณ์ เป็น ราชินยานุสรณ์

ยกเว้น
หัตถี + อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์
ศักดิ + อานุภาพ เป็น ศักดานุภาพ

** ธนู + อาคม เปลี่ยน อู เป็น เป็น ธนว สนธิเป็น ธันวาคม
เหตุ + อเนกรรถ เป็น เหตวาเนกรรถ
สินธุ + อานนท์ เป็น สินธวานนท์
จตุ + อังค์ เป็น จัตวางค์

2. พยัญชนะสนธิ คือ คำ บาลีสันสกฤตที่นำ มาสนธิกับพยัญชนะ
มีหลักดังนี้
2.1)  คำ ที่ลงท้ายด้วย สนธิกับพยัญชนะ เปลี่ยน เป็น เช่น
มนัส + ธรรม เป็น มโนธรรม
มนัส + มัย เป็น มโนมัย
มนัส + กรรม เป็น มโนกรรม
มนัส + คติ เป็น มโนคติ
รหัส + ฐาน เป็น รโหฐาน

2.2) อุปสรรค ทุสุ กัน นิสุ สนธิกับพยัญชนะ เปลี่ยน เป็น เช่น
ทุส + กรรม เป็น ทุรกรรม, ทรกรรม

ทุส + กันดาร เป็น ทุรกันดาร
ทุส + ชน เป็น ทุรชน, ทรชน
ทุส + พล เป็น ทุรพล, ทรพล
ทุส + พิษ เป็น ทุรพิษ, ทรพิษ
ทุส + ยศ เป็น ทุรยศ, ทรยศ
ทุส + ยุค เป็น ทุรยุค, ทรยุค
ทุส + ราชย์ เป็น ทุรราชย์, ทรราช
ทุส + ลักษณ์ เป็น ทุรลักษณ์, ทรลักษณ์
นิส + กรรม เป็น นิรกรรม
นิส + คุณ เป็น นิรคุณ, เนรคุณ
นิส + ทุกข์ เป็น นิรทุกข์
นิส + เทศ เป็น นิรเทศ, เนรเทศ
นิส + โทษ เป็น นิรโทษ
นิส + ภัย เป็น นิรภัย
นิส + อาศ เป็น นิราศ
3. นฤคหิตสนธิ  คือ คำ บาลีสันสกฤตที่นำ มาสนธิกับ นฤคหิต

มีหลักดังนี้
3.1) นฤคหิต สนธิกับสร เปลี่ยน นฤคหิต เป็น  เช่น
สํ + อาคม เป็น สมาคม       สํ + อิทธิ เป็น สมิทธิ
สํ + อาทาน เป็น สมาทาน  สํ + ฤทธิ์ เป็น สัมฤทธิ์
สํ + อาบัติ เป็น สมาบัติ       สํ + อาโยค เป็น สมาโยค
สํ + อุจเฉท เป็น สมุจเฉท   สํ + อุทัย เป็น สมุทัย

3.2) นฤคหิต สนธิกับพยัญชนะวรรค เปลี่ยน นฤคหิต
เป็น พยัญชนะท้ายวรรค

** สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน นฤคหิต เป็น เช่น
สํ + กร เป็น สังกร        สํ + เกต เป็น สังเกต
สํ + ขาร เป็น สังขาร    สํ + คม เป็น สังคม
สํ + คีต เป็น สังคีต      สํ + ฆาฏิ เป็น สังฆาฏิ

**สนธิกับวรรค จะ เปลี่ยน นฤคหิต  เป็น เช่น
สํ + จร เป็น สัญจร     สํ + ชาติ เป็น สัญชาติ
สํ + ญา เป็น สัญญา   สํ + ญาณ เป็น สัญญาณ

** สนธิกับวรรค ฏะ เปลี่ยน นฤคหิต  เป็น เช่น
สํ + ฐาน เป็น สัณฐาน    สํ + ฐิติ เป็น สัณฐิติ

** สนธิกับวรรค ตะ เปลี่ยน นฤคหิต เป็น เช่น
สํ + ดาน เป็น สันดาน        สํ + เทศ เป็น สันเทศ,สนเทศ
สํ + นิบาต เป็น สันนิบาต  สํ + นิวาส เป็น สันนิวาส
สํ + โดษ เป็น สันโดษ      สํ + ดาป เป็น สันดาป

** สนธิกับวรรค ปะ เปลี่ยน นฤคหิต เป็น เช่น
สํ + บัติ เป็น สมบัติ         สํ + บูรณ์ เป็น สมบูรณ์
สํ + ปทา เป็น สัมปทา     สํ + ปทาน เป็น สัมปทาน
สํ + ผัส เป็น สัมผัส         สํ + พล เป็น สัมพล
สํ + พันธ์ เป็น สัมพันธ์    สํ + พงศ์ เป็น สมพงศ์
สํ +พุทธ เป็น สัมพุทธ    สํ + เพช เป็น สมเพช
สํ + ภพ เป็น สมภพ

3.3)  นฤคหิตสนธิกับเศษวรรค เปลี่ยน นฤคหิต เป็น ก่อนสนธิ เช่น
สํ + โยค เป็น สังโยค      สํ + วร เป็น สังวร
สํ + หรณ์ เป็น สังหรณ์    สํ + วาส เป็น สังวาส
สํ + สิทธิ เป็น สังสิทธิ     สํ + หาร เป็น สังหาร

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น