ตอนนี้มาดูระบบต่างๆในร่างกายของเรากันบ้าง
1. ระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน(O2)และ
สารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)และของเสียออกนอกร่างกาย
ระบบวงจรเลือดประกอบด้วย
1) หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของระบบวงจรเลือด หัวใจทำหน้าที่สูบฉีด
เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2 หลอดเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย ประกอบด้วยหลอดเลือดแดงและ
หลอดเลือดดำ
หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจ
ไปสู่อวัยวะต่างๆ โดยภายในหลอดเลือดแดงมีเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนมาก
หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจ โดยในหลอดเลือด
ดำมีเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก
3 เลือด เป็นของเหลวอยู่ในหลอดเลือด ประกอบด้วย น้ำเลือดและเม็ดเลือด
ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่
เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และ
สร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายของเรา
2. ระบบหายใจ
ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่
2.1) จมูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง
และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่น
2.2) หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
2.3) ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง
อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ทำหน้าที่เป็นฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดง
การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและ
กล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก
3. ระบบขับถ่าย
ระบบกำจัดเป็นระบบการกำจัดของเสียออกจากร่างกายและ
ช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย
3.1 การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบ
ด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง
โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ
1) ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นที่ริมฝีปาก
และอวัยวะสืบพันธุ์ มีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจาก
ต่อมนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม
และยูเรีย
2) ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ
ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายที่ใหญ่กว่า
สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือ กลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตาม
ท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
3.2 การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึมสารอาหาร
ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส
ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง
และจะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และ
ขับถ่ายออกจากกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ
3.3 การกำจัดของเสียทางปอด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหาร
ภายในเซลล์จะถูกส่งมาที่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มี
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรอง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดย
การหายใจออก
* * * * *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น