7 ก.ย. 2554

วิชาทักษะพัฒนาชัวิต1-03

มาดูกันต่อในเรื่องต่อไปกันนะครับ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ ประกอบด้วย
1.จมูก (Nose)
   รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูก
และกรองฝุ่นละอองด้วย

2. หลอดคอ (Pharynx)
    เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรง
หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูกจึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก
กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้
ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน
ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า"ลูกกระเดือก"

3. หลอดเสียง (Larynx)
    ในผู้ชาย เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 ซ.ม. และ ในผู้หญิง 3.5 ซ.ม.
หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว
หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจาก
สายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้น
อย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิด
จากฮอร์โมนของเพศชาย

4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะ
รูปร่างเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือ
รูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง
ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ
เรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา
จึงทำให้อากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลัง
ช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้าย
และขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่
เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus)
ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณ
แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์

5. ปอด (Lung)

6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
    เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้นและเป็นมันลื่น หุ้มผิว
ภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิว
หนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอด
ซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี
ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

กระบวนการในการหายใจ
ในการหายใจนั้นมีโครงกระดูกส่วนอกและกล้ามเนื้อบริเวณอกเป็น
ตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้ามเนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอก
ขยายออกไปข้างหน้าและยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะ
ลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย
ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนึ้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอก
ยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ใน
ลักษณะเดิม กระบวนการเช่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น
เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ
อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยแรกที่ทำให้
อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิดจากความดันที่
แตกต่างกันนั่นเอง

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน
เมื่อหายใจเข้าอากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยัง
ถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้น
อากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่าน
ผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจาก
เม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ
20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13

* * * * *

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น