ตอนที่มาดูในเรื่องของอวัยวะที่เกี่ยวกับการฟังกันบ้าง
หู (Ear)
หูเป็นอวัยวะที่ช่วยในการยินเสียงต่างๆและการทรงตัวของร่างกาย
ในขณะที่เราเคลื่อนไหว
ส่วนประกอบของหู
หูแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
1. หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
1.1) ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดัก
และรับเสียงเข้าสู่รูหู
1.2) รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ 2.5 ซม. ผนังของรูหูบุ
ด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน ทำหน้าที่ขับ
ไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับ
สิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่
เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย
1.3) เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่
ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของ
คลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
2. หูชั้นกลาง
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุ
กระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู
กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน
ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลางจะมีท่อยูสเตเชี่ยน
ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับ
ความกดอากาศ ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เรา
ไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือ
กลืนอาหาร
3. หูชั้นใน
เป็นส่วนอยู่ถัดจากกระดูกโกลนเข้ามา หูชั้นนี้ประกอบด้วย
อวัยวะที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
3.1) ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกัน
อยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้าน
ในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
3.2) ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่ง
วงกลมเล็กๆ 3 วง วางเรียงติดต่อกันตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของ
ครึ่งวงกลมทั้ง 3 นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง 3 นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ
ที่มีประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น
ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว
เมื่อเราเคลื่อนไหว ศ๊รษะ หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุ
ภายในท่อทั้ง 3 นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ
ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่ง
ความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้ ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ใน
ลักษณะใด ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตาม
ความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
ของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ เมื่อขึ้นไปอยู่
ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น
การได้ยินเสียง
เสียงเกิดขึ้นทุกชนิดอยู่ในลักษณะของ คลื่นเสียง ใบหูรับคลื่นเสียง
เข้าสู่รูหูไปกระทบเยื่อแก้วหู เยื่อแก้วหูถ่ายทอดความสั่นสะเทือน
ของคลื่นเสียงไปยังกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งอยู่
ในหูชั้นกลางและเลย ไปยังท่อรูปครึ่งวงกลม แล้วต่อไปยังของเหลว
ในท่อรูปหอยโข่ง และประสาทรับเสียงในหูชั้นในตามลำดับ ประสาทรับ
เสียงถูกกระตุ้นแล้วส่งความรู้สึกไปสู่สมองเพื่อแปลความหมายของ
เสียงที่ได้ยิน
โรคและความผิดปกติของหู
1.หูน้ำหนวก พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะเป็นหวัดบ่อยๆ
อาการ หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยินและปวดหูมาก เกิดจากการอักเสบในหู
ชั้นกลางแล้วมีหนองอยู่ภายใน ถ้าหนองดันทะลุผ่านเยื่อแก้วหูออกมา
อาการปวดจึงจะทุเลาลง ถ้าไม่รักษาก็จะเป็นหนองไหลออกมาจาก
รูหูอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามเข้าสมอง
เกิดฝีในสมองจนเสียชีวิตได้
การป้องกันและการรักษา
1. ควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัดและไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ
2. หากมีอาการของโรคหูน้ำหนวกควรปรึกษาแพทย์
3. ในกรณีที่แพทย์รักษาจนหนองแห้งแล้ว ไม่ควรให้น้ำเข้าหู
เพราะแก้วหูยังทะลุอยู่ ถ้าน้ำไม่สะอาดเข้าหูชั้นกลาง
อาจทำให้เกิดการอีกเสบได้อีก
2. แก้วหูทะลุ
สาเหตุ เกิดจากกแรงอัดสูงๆ ในรูหู เช่น ถูกตบที่ข้างหูหรือจาก
การใช้ของแข็งแคะหู ซึ่งอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด
อาการ รู้สึกปวดหูในระยะแรก และทำให้หูข้างนั้นได้ยินไม่ชัดเจน
หรือหูอื้อ
การป้องกันและการรักษา
1. ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งอื่นๆ แคะหู
2. หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์
3. เชื้อราในช่องหู
สาเหตุ เกิดจากรูหูสกปรกและเปียกชื้น
อาการ คันในรูหูมาก ทำให้อยากแคะหู ถ้าใช้วัตถุแข็งๆ เข้าไปเกา
จะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
การป้องกันและการรักษา
1. ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
2. ไม่ควรใช้ของแข็งแคะหรือเกาหู เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อได้
การดูแลรักษาหู
1. ไม่ควรแคะขี้หูด้วยวัตถุแข็ง เพราะขี้หูเป็นสิ่งที่ขับออกมาตาม
ธรรมชาติ จะมีกลิ่นพิเศษที่ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหูได้ จึงไม่ควรต้อง
แคะออก ควรใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่
นิ้วมือจะสอดเข้าไปได้
2. เวลาเป็นหวัดไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดแรงอัด
ดันให้เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลางได้
3. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป
4. เมื่อมีแมลงเข้าหู ควรใช้น้ำมันพืชหยอดลงในรูหู แล้วทิ้งไว้สักครู่
เพื่อให้แมลงตาย แล้วจึงเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับแมลง
แล้วใช้สำลีเช็ดให้แห้ง
5. ในเด็กเล็ก ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ไม่ควรเอาออกเอง
เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู ควรไปพบแพทย์
* * * * *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น